© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ต้นไม้สายย่อ อย่าง ต้นไม้แคระ หรือต้นไม้จิ๋วที่คนทั่วไปรู้จักกันดี น่าจะเป็นต้นไม้จำพวกบอนไซ แต่นอกจากบอนไซแล้ว ยังมีต้นไม้อีกหลายชนิดที่ลงท้ายด้วย “จิ๋ว” หรือ “แคระ” มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไม้ใบ ไม้ดอก หรือไม้ผล ที่มีลักษณะสวยงามเหมือนต้นไม้ใหญ่ แต่ถูกย่อขนาดลง เพื่อตอบโจทย์คนเมืองที่อยากปลูกต้นไม้แต่มีพื้นที่จำกัด บ้านและสวน จึงพามารู้จัก ต้นไม้สายย่อ แบบต่าง ๆ กัน ต้นไม้จิ๋วและต้นไม้แคระ ที่เราพบเห็นกันทั่วไปตามท้องตลาด อาจเกิดจากการควบคุมบังคับปัจจัยต่าง ๆ เช่น กระถาง ดิน น้ำ ปุ๋ย ที่ช่วยในการเจริญเติบโต ทำให้ต้นไม้มีขนาดเล็กกว่าปกติ หรือเรียกว่า “จิ๋ว” แต่ถ้าหากเลิกควบคุมปัจจัยเหล่านั้น ต้นไม้ก็อาจจะกลับมาเจริญเติบโตได้ตามปกติ ส่วนต้นไม้แคระหรือสายพันธุ์แคระเกิดจากการกลายพันธุ์ของต้นไม้ แล้วนำไปขยายพันธุ์ต่อให้คงที่ ซึ่งแต่ละครั้งนั้นใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานในการทำให้ความสูง ลำต้น ใบ มีขนาดเล็ก และโตช้า แต่ยังสามารถให้ดอกออกผลได้อย่างสมบูรณ์ ไม่เหมือนกับต้นไม้ที่เป็นโรคแคระแกร็น ซึ่งถ้าต้นที่เป็นโรคอาจเกิดจากการขาดธาตุอาหาร หรือมีเชื้อโรค แมลง ศัตรูพืช ทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ ปัจจุบันนิยมใช้ต้นไม้จิ๋วและต้นไม้แคระในการจัดสวนมากขึ้น เหมาะสำหรับสวนที่มีพื้นที่เล็ก เพราะต้นไม่ใหญ่หรือสูงจนเกินไป แถมดูแลได้ง่าย เช่น หญ้าน้ำพุแคระ ยี่โถแคระ หลิวแคระ แก้วแคระ เป็นต้น บอนไซ (Bonsai) เป็นชื่อเรียกภาษาญี่ปุ่น […]
บอนไซ อีกตัวเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว ดังเช่น คุณนที วงศ์เสงี่ยม ที่สนใจการปลูกบอนไซเพรมน่าสำหรับขายสร้างรายได้
เขามอเป็นรูปแบบการจัด สวนถาด ที่มีมาแต่โบราณซึ่งคาดว่ามีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย คำว่า “มอ” คาดว่าแผลงมาจากภาษาเขมรว่า “ถมอ” ...
ด้วยความรัก บอนไซ โดยเริ่มสะสมทีละเล็กน้อย จนปัจจุบันมีมากถึงราว 3,000 ต้น จึงตั้งใจให้เป็นสถานที่จัดแสดงและรีสอร์ตภายใต้ชื่อว่า สวนผึ้ง บอนไซ วิลเลจ
สำหรับพวกเราที่มีชีวิตอยู่ในเขตร้อน เวลาที่พูดถึง “สน” ก็จะนึกไปถึงต้นไม้ที่มีของตกแต่งสีสวยๆ ประดับประดาสวยงามในวันคริสตมาส หรือไม่ก็นึกถึงต้นไม้รูปทรงปิรามิด ยอดแหลมๆ ที่อยู่ท่ามกลางหิมะขาวโพลน แต่ก็มีไม่น้อยที่อาจคิดไปถึงต้นไม้สูงๆ ใบเป็นเส้นๆ คล้ายเข็มที่ปลูกเรียงรายอยู่ริมทะเล “สน” พรรณไม้โบราณ ตามหลักฐานบันทึกไว้ว่า “สน” มีอายุอยู่ในช่วงต้นยุค Permian หรือประมาณ 290-248 ล้านปี หรือก่อนที่ไม้ดอกชนิดต่างๆ จะถือกำเนิดขึ้นบนโลกนี้ โดยจัด”สน” ไว้ในกลุ่มพืช Gymnosperms ซึ่งก็คือ พืชเมล็ดเปลือย หรือไม่มีสิ่งห่อหุ้มไข่ เมื่อเจริญเป็นเมล็ดจึงไม่มีเนื้อแบบผลไม้หรือพืชมีดอกอื่นๆ (ยกเว้นสนสกุล Juniperus) “สน” เป็นไม้ยืนต้น มีอายุหลายปี และเกือบทุกชนิดเขียวสดตลอดปี บางชนิดเปลี่ยนสีในหน้าหนาว มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ผลัดใบ ใบสนมีหลายแบบ บางชนิดลดรูปเป็นรูปเข็ม (aristate) รูปลิ่ม (awl-shaped) หรือเป็นเกล็ด (scale-like) และมีอายุยาวนาน บางชนิดติดอยู่บนต้นนาน 15-20 ปี ช่อดอกมีลักษณะเป็นเกล็ดเรียงซ้อนกันเป็นรูปไข่ รูปรีหรือค่อนข้างกลม เมล็ดอยู่ในซอกเกล็ดแต่ละอัน ช่อดอกเพศผู้กับเพศเมียอยู่แยกกัน แต่อาจอยู่บนต้นเดียวกันหรือแยกต้น เนื้อไม้สนมีน้ำยาง เรียกว่า […]