บ้านชนบท
La casa que crece บ้านชั้นเดียวจากอิฐบล็อกและเมทัลชีท
บ้านอิฐบล็อก ชั้นเดียว ในพื้นที่แถบชนบทของประเทศเม็กซิโก ออกแบบขึ้นภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้เมทัลชีท และอิฐบล็อก ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ใช้งานได้ดี และประหยัดงบประมาณ เพื่อให้ที่กลายเป็น บ้านอิฐบล็อก ที่ใคร ๆ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างได้ ทั้งยังสอดคล้องกับภูมิอากาศ และวิถีชีวิตการอยู่อาศัยของชาวเม็กซิโกได้อย่างดี โครงสร้างหลักของ บ้านอิฐบล็อก เป็นคอนกรีตสำเร็จที่ออกแบบมาจากโรงงาน หลังจากประกอบเข้าด้วยกันเเล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการแบ่งพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ของบ้านอิฐบล็อก โดยสามารถปรับเปลี่ยนต่อขยายได้ตามความเหมาะสมของแต่ละครัวเรือน พร้อมกับมีพื้นที่ส่วนกลางและลานปูนหน้าบ้าน เพื่อใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวตามวัฒนธรรมพื้นถิ่นของเม็กซิโก ซึ่งคล้ายคลึงกับบ้านตามต่างจังหวัดในไทยเราไม่น้อย นอกจากนี้ชานปูนยังสามารถต่อขยายพื้นที่ สำหรับรองรับสมาชิกเเบบครอบครัวขยาย ที่ยังต้องการอยู่อาศัยบนที่ดินผืนเดียวกันกับญาติพี่น้องได้ในอนาคต เกิดเป็นหมู่อาคารขนาดย่อมที่สะท้อนถึงความกลมเกลียวกันของครอบครัว ที่นี่จึงเป็นตัวอย่างที่ดีทั้งในเเง่ของการสร้างความผูกพัน รวมถึงเป็นการเลือกใช้วัสดุสำหรับสร้างบ้านเเบบง่าย ๆ ที่คนทั่วไปอาจมองว่าเป็น “วัสดุราคาถูก” หรือ “วัสดุบ้าน ๆ” เเต่เมื่ออิฐบล็อก เเละเมทัลชีทถูกผนวกเข้ากับงานออกแบบที่ดี ก็สามารถกลายเป็นบ้านที่ใช้งานได้ดี อบอุ่น และลงตัวอย่างที่เห็น ออกแบบ : JC Arquitectura, Kiltro Polaris Arquitectura ภาพ : […]
บ้านชั้นเดียวมินิมัล แบบมูจิ ที่สนทนากับธรรมชาติและผู้สูงอายุ
บ้านชั้นเดียวมินิมัล แบบมูจิ ที่รวมเอาประสบการณ์ 15 ปีในการออกแบบบ้านของ MUJI มาเรียงร้อยเพื่อนำเสนอรูปแบบการอยู่อาศัยตามปรัชญา “ความสุขเล็กๆที่เรียบง่ายและอบอุ่น” นี่คือหัวใจสำคัญของ Yō no Ie House บ้านชั้นเดียวมินิมัล แบบมูจิ ขนาดกะทัดรัดกับแปลนบ้านแบบผังอิสระที่ไร้ผนังกั้น พร้อมทั้งชานไม้ขนาดใหญ่ที่เน้นการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ยืดหยุ่นต่อรูปแบบการอยู่อาศัย และเอื้อต่อการเติบโตของครอบครัว “ไม่ใช่แค่สิ่งก่อสร้างที่เรียกว่าบ้าน แต่เป็นวิถีการดำเนินชีวิต” Yō no Ie House คือแบบบ้านที่มูจิเลือกนำเสนอในวาระครบรอบ 15 ปีที่ได้เริ่มธุรกิจบ้านสำเร็จของตนขึ้น ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปในปี 2004 สิ่งที่ทำให้ MUJI สนใจในธุรกิจบ้านสำเร็จรูปก็คือ คำถามคาใจว่าทำยังไงจะแก้ปัญหาความเสื่อมราคาของตัวบ้านตั้งแต่วันที่ซื้อและถูกรื้อทิ้งเมื่อผ่านไป 30 ปี (ที่ญี่ปุ่นมีกฎหมายที่บังคับให้ต้องรื้อบ้านทิ้งหรือรีโนเวตทุกๆ 30 ปี เพื่อความปลอดภัยของชุมชนโดยรวม) ด้วยเหตุนี้เอง MUJI จึงตั้งใจที่จะนำเสนอบ้านที่สามารถอยู่อาศัยไปได้อย่างมั่นคง และผูกพันธ์กับครอบครัวของเจ้าของบ้านตราบทศวรรษจากรุ่นสู่รุ่นด้วยความเชื่อใน “ความสุขที่เรียบง่ายและอบอุ่น” ซึ่งจะนำพา “ชีวิตที่ดี” มาสู่เจ้าของและชุมชนโดยรวม ความพิเศษของ “ บ้านชั้นเดียวมินิมัล แบบมูจิ ” เรียบง่าย อยู่สบาย […]
อยู่ตามวิถีธรรมชาติในบ้านชนบทที่ บ้านต้นเต๊า
เรามาเยือน บ้านต้นเต๊า ในช่วงปลายฤดูฝน บรรยากาศของบ้านจึงดูชุ่มชื้นและสดชื่นเป็นอย่างมาก บ้านใต้ถุนสูงสีขาวสลับไม้ที่ใครหลายคนอาจเคยเห็นผ่านตา ที่นี่คือ “โฮมสเตย์ บ้านต้นเต๊า ” บ้านใต้ถุนสูงสีขาวสลับไม้ที่ใครหลายคนอาจจะเคยเห็นผ่านตาจากโลกโซเชียล บ้านหลังนี้เริ่มต้นจากการที่ คุณเกด – ภัคธิมา วรศิริ ได้มาเป็นอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ส่วน คุณปอ – ชิติพัทธ์ วังยาว ก็สนใจธุรกิจข้าวอินทรีย์ จึงได้แวะเข้ามาที่ “บ้านบัว” หมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงและหมู่บ้านข้าวอินทรีย์ของจังหวัดพะเยา เมื่อได้เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตเรียบง่ายอันเปี่ยมสุข ประกอบกับกำลังมองหาที่ดินสร้างบ้าน จึงได้พบที่หัวมุมถนนติดกับคลองที่เคยเป็นป่าว่างๆ ที่แห่งนี้มักมีน้ำท่วม แต่ด้วยความเป็นสถาปนิก ทำให้คุณเกดคิดว่าไม่ใช่ปัญหา และที่ผืนนี้มีต้นเต๊าหรือตองเต๊าตั้งอยู่กลางที่ดิน จึงใช้เป็นชื่อของบ้าน ทั้งสองจึงคิดปรับแนวทางมาสู่การค่อยๆ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้านแห่งนี้ “เราอยู่กันง่ายๆ คนที่มาพักกับเราก็ต้องอยู่กันแบบง่ายๆตามเรา ที่นี่มีแค่สองห้องเท่านั้น กับคาเฟ่ที่เสิร์ฟอาหารจากผลิตผลในหมู่บ้าน ถ้ามีแขกเกินกว่านั้นเราก็จะให้เขาไปพักที่บ้านหลังอื่นในหมู่บ้านแทน เมื่อมาพักเราก็จะแนะนำให้ไปเยี่ยมบ้านอื่นๆในหมู่บ้านที่มีกิจกรรมอื่นๆให้ทำอีก เช่น สานเข่งหรือสุ่มไก่ และวิถีแบบเกษตรพอเพียงที่น่าสนใจ” คุณปอเล่าให้เราฟัง พลางพาเดินชมตัวบ้าน บ้านหลังนี้ออกแบบในลักษณะ “ไทยพื้นถิ่นร่วมสมัย” เพราะคุณเกดเรียนจบด้านสถาปัตยกรรมไทย จึงได้นำเอาเอกลักษณ์ของบ้านในพื้นที่ กับรูปแบบของหลองข้าวซึ่งเป็นอาคารเก็บข้าวเปลือกมาใช้กับตัวบ้านด้วย แต่ปรับเปลี่ยนวัสดุและสีสันให้เป็นโครงสร้างเหล็กผสมปูน และเน้นสีขาวเพื่อความสะอาดตา […]
บ้านที่มีลมหายใจ…และกำไรของชีวิต
ณ หัวโค้งหนึ่งของทางหลวงชนบทที่ลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในตำบลบ้านชัฏป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มองเข้าไปก็จะเห็นบ้านหลังคาแป้นเกล็ดที่ดูแปลกตากว่าบ้านเรือนโดยรอบ ตัวอาคารคอนกรีตแซมด้วยองค์ประกอบไม้แลดูนิ่งสงบและอบอุ่น บ้านหลังนี้คือบ้านของ คุณเต้อ – นันทพงศ์ ยินดีคุณ และครอบครัว เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ “มีความคิดว่าเมื่อคุณพ่อเกษียณก็อาจมาอยู่ทำสวนทำไร่ ใช้ชีวิตง่ายๆอยู่ที่นี่” คุณเต้อเล่าถึงสาเหตุที่มาปลูก บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน อยู่ที่นี่ “เริ่มมาจากตอนหนีน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปี 2554 เราทั้งครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และผมมาเช่ารีสอร์ตซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่แปลงนี้ และก็เริ่มติดใจบรรยากาศของพื้นที่แถบนี้” แม้จังหวัดราชบุรีจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ หากขับรถก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ แต่อำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังยังมีบรรยากาศแบบชนบทอย่างเต็มเปี่ยม “ที่นี่ไม่ได้ไกลจากกรุงเทพฯ ผมสามารถขับรถไปทำงานที่อาศรมศิลป์ได้บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่บ้านตากอากาศ แต่เป็นบ้านอีกหลังที่หากคุณพ่อเกษียณแล้วคงมาอยู่กัน” มองจากภายนอกบ้านหลังนี้ดูใหญ่โตทีเดียว แต่ความจริงแล้วการออกแบบเริ่มมาจากการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แล้วจึงนำมาผนวกเข้าด้วยกัน “บ้านที่อยู่ปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ร่วมกัน บ้านใหม่ก็เลยอยากให้ทุกคนได้มีพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็เชื่อมพื้นที่เหล่านั้นด้วยโถงทางเดิน เปิดพื้นที่ตรงกลางเป็นสวนและกั้นความเป็นส่วนตัวของทุกห้องออกจากกัน แต่ก็ยังหลวมพอที่ลมจะไหลเวียนผ่านทุกส่วนของบ้านได้” บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังนี้จึงมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่ทับซ้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีลานหินกรวดซึ่งปลูกต้นไม้ใหญ่สองสามต้นอยู่ตรงกลาง หากมองจากด้านบนก็จะเห็นว่ามีส่วนกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความสดชื่นให้ทุกพื้นที่ในบ้าน แต่มองจากด้านล่างกลับดูนิ่งสงบ เข้ากับห้องทำงานของคุณเต้อที่ต้องการสมาธิในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ทางเดินทั้งหมดภายในบ้านและระเบียงของแต่ละห้องตั้งอยู่บนคานยื่น (Cantilever) ด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม […]
บ้านไม้ในโครงสร้างเหล็ก ที่เล่าเรื่องไทยอีสานสมัยใหม่ในบริบทเดิม
บ้านไทยอีสานในรูปแบบสมัยใหม่ที่กลมกลืนไปกับบริบทของสิ่งแวดล้อมแบบชนบท ของคุณปิแอร์ เวอร์เมียร์ ที่อยู่เมืองไทยมาได้ 6 ปี จึงคุ้นเคยกับวิถีแบบไทยและติดใจในความเป็น “บ้านนอกที่อบอุ่น” ในจังหวัดอุดรธานีแห่งนี้
แบบบ้านไทย เรียบง่าย สไตล์คุ้มล้านนา
บ้านเก่าอายุกว่า 80 ปี ซึ่งเคยเป็นคุ้มของ เจ้าบุ ณ ลำปาง ผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองลำปาง ก็คิดไปว่าบ้านนี้น่าจะเป็นบ้านที่ดูเงียบๆ มีบรรยากาศน่าเกรงขาม แต่เมื่อมาพบเข้าจริงๆ ผมกลับรู้สึกได้ถึงความมีชีวิตชีวา
LIFE IN PLACE, REST IN ART ศิลปะในความสงบ
เยือนบ้านของนักศิลปะบำบัดที่มี “ธรรมชาติสร้างสมดุล” และ “ศิลปะสร้างความสงบ” เป็นใจความหลักของบ้าน…