แบบบ้านชั้นเดียว บ้านชั้นเดียว หลากหลายสไตล์ - บ้านและสวน

บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น ที่เน้นความโปร่งโล่งแบบไทย และอยู่อย่างสมถะแบบญี่ปุ่น

บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น ปนไทย โดยออกแบบให้ดูเรียบง่าย มีความสมถะ ซึ่งตรงกับความเป็นเซนที่พบในบ้านญี่ปุ่น แต่ประยุกต์ใช้วัสดุและพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะกับเมืองไทย โดยเฉพาะการเลือกใช้ไม้เก่าอย่างรู้คุณค่า พร้อมทำผนังบ้านให้โปร่งโล่งเพื่อเปิดรับธรรมชาติอันสวยงามของปากช่อง เจ้าของ : คุณวรพจน์ – คุณศิริพร ประพนธ์พันธ์ุ ออกแบบ : คุณประวิทย์ จงยิ่งศิริ บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น หลังนี้เป็นบ้านพักหลังเล็กๆในจังหวัดนครราชสีมาของ คุณวรพจน์ ประพนธ์พันธ์ุ ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการของเก่ามานาน โดยผสมผสานความเป็นบ้านไทยเข้ากับสไตล์เซนของญี่ปุ่นได้อย่างกลมกล่อม “ผมตั้งใจออกแบบบ้านหลังนี้ให้เป็นเหมือนโรงเตี๊ยมหลังเล็กๆสำหรับพักผ่อนในวันหยุด อยู่ท่ามกลางทุงหญ้าป่าเขาที่ปากช่องแห่งนี้ โดยออกแบบเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว รูปทรงสี่เหลี่ยมที่มีพื้นที่ใช้สอยเท่าที่จำเป็น ที่เหลือก็ปล่อยให้เป็นธรรมชาติโอบล้อมบ้านเอาไว้” จากแนวคิดเบื้องต้นทำให้บ้านหลังนี้ตกแต่งในรูปแบบผสมผสานระหว่างความเป็นไทยกับญี่ปุ่น โดยดึงเอางานไม้สัก หลังคาทรงปั้นหยา บานประตูหน้างต่าง บานกระทุ้งและบานเฟี้ยมของไทยมาประยุกต์ใช้ แต่ปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยใหม่โดยนำข้อดีของบ้านญี่ปุ่นมาประยุกต์ โดยยกพื้นขึ้นเล็กน้อยและโรยกรวดรอบบ้านกันสัตว์ร้ายปีนขึ้นบ้าน นอกจากนี้ยังใช้บานเลื่อนโชจิที่เป็นโรงไม้กรุกระดาษสา ทำให้สามารถเลื่อนปิดกันฝนหรือกันลมหนาว หากฤดูร้อนก็สามารถเปิดออกรับลมเข้าบ้านอย่างเต็มที่ เรียกได้ว่าบ้านนี้เกิดจากการผสมผสานข้อดีของเรือนไทยและญี่ปุ่นมาไว้ด้วยกัน เพื่อให้เหมาะกับสภาพอากาศของปากช่อง ซึ่งมีทั้งช่วงอากาศร้อน ฝนและหนาว การแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านก็เป็นไปอย่างเรียบง่าย โดยใช้ทุกมุมเป็นมุมพักผ่อนได้ทั้งหมด เน้นพื้นที่โถงหน้าบ้านเปิดโล่งเป็นทางยาวเชื่อมต่อกับระเบียงรอบบ้านได้ทุกมุมเพื่อรับลมเย็นๆ แบ่งส่วนห้องน้ำและครัวแพนทรี่ไว้ฝั่งตะวันตกให้แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค และช่วยบังความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน ส่วนภายในมีการยกระดับขึ้นแบ่งสัดส่วนและสามารถปิดมุมมองด้วยบานเลื่อนเพื่อความเป็นส่วนตัว กั้นห้องเท่าที่จำเป็น โดยกั้นแค่ห้องนอนเล็กๆและห้องน้ำเท่านั้น ที่เหลือสามารถใช้งานได้อเนกประสงค์ “งานโครงสร้างและพื้นที่ใช้สอยนั้นผมต้องยกความดีให้เพื่อนสนิทอย่าง คุณประวิทย์ จงยิ่งศิริ […]

บ้านเหล็กในป่าใหญ่

บ้านเหล็กสวยเท่ในแถบเขาใหญ่ที่เน้นการก่อสร้างได้รวดเร็ว การตกแต่งภายในเป็นไปอย่างเรียบง่าย จัดวางเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ไม้สอยแต่พอดีเน้นการใช้งานง่าย สะดวกสบาย ดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก และใช้งบประมาณอย่างประหยัด ที่สำคัญคืออยู่ร่วมกับธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ด้วยความเข้าใจและอ่อนน้อม เจ้าของ – ออกแบบ : คุณประภากร วทานยกุล บ้านโครงสร้างเหล็ก “คนรู้จักหลายคนเคยชวนผมมาซื้อที่ปลูกบ้านที่นี่  แต่ผมไม่เคยเชื่อ  จนได้มาสัมผัสบรรยากาศด้วยตัวเองและได้พบที่ดินผืนนี้ซึ่งอยู่ในฝั่งที่ผู้คนและความเจริญยังคืบคลานเข้ามาไม่ถึง  ผมจึงตัดสินใจซื้อที่และสร้างบ้านหลังนี้ทันที  ก่อนที่ธรรมชาติและความสวยงามของเขาใหญ่จะค่อยๆ จืดจางไป”  พี่เล็ก-คุณประภากร  วทานยกุล  สถาปนิกรุ่นพี่มากฝีมือ  กรรมการผู้จัดการบริษัทสถาปนิก 49  จำกัด  และอดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์  ผู้เป็นเจ้าของ “บ้านสวนสงบ  เขาใหญ่” หลังนี้  เล่าถึงความเป็นมาให้ฟังด้วยรอยยิ้มแห่งความสุขจนผมสัมผัสได้ เลยทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไปสักระยะผ่านวิถีชีวิตชนบทไปตามถนนลูกรังขนาดเล็กอันคดเคี้ยวซึ่งสองฝั่งขนาบด้วยไร่อ้อยและมันสำปะหลังสูงท่วมศีรษะ  ภาพ บ้านโครงสร้างเหล็ก ชั้นเดียวสีเทาดำที่วางตัวขนานไปกับทิวเขาเบื้องหลังอย่างสงบนิ่งก็ค่อยๆ ปรากฏสู่สายตาของพวกเรา พี่เล็กพยายามออกแบบตัวบ้านบนที่ดินกว่า9 ไร่  โดยคงสภาพแวดล้อมเดิมให้มากที่สุด  และการก่อสร้างต้องไม่มีผลกระทบต่อธรรมชาติ  ผมเดินเข้าไปใกล้ตัวบ้านซึ่งออกแบบด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า  โครงสร้างหลักเป็นเหล็กทั้งหมด  ยกพื้นสูงจากระดับดิน 1.20 เมตร  เพื่อป้องกันความชื้นและระบายอากาศได้ดี  ผนังอาคารเป็นบานกระจกขนาดใหญ่ที่เปิดรับลมธรรมชาติได้รอบทิศทางหลังคาเหล็กยื่นยาว 3.50 เมตร  ป้องกันตัวอาคารโดยรอบจากแสงแดด  ทั้งหมดนี้เป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นอย่างประเทศไทย ภายในออกแบบเป็นโถงโล่งด้วยเพดานสูง 5 เมตรวางพื้นที่ใช้งานในลักษณะ […]

บ้านหลังเล็ก แต่จัดสรรพื้นที่ใช้สอย 100 ตารางเมตร อย่างชาญฉลาด

MT HOUSE บ้านหลังเล็ก แต่จัดสรรพื้นที่ใช้สอย 100 ตารางเมตร อย่างชาญฉลาด

บ้านหลังเล็ก หลังนี้มีจุดเริ่มต้นจากความต้องการของผู้อาศัย ซึ่งอยากมีพื้นที่ใช้งานขนาดกะทัดรัดสำหรับสองชีวิตที่ครบถ้วนและสะดวกสบาย โดยมีโจทย์สำคัญสำหรับสถาปนิกในการออกแบบและจัดสรรพื้นที่อย่างชาญฉลาดและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

ตกแต่งบ้านชั้นเดียว

บ้านชั้นเดียวของทุกคนในครอบครัว

เมื่อจะสร้างบ้านสำหรับครอบครัว จึงตั้งใจออกแบบพื้นที่ ให้ทุกคนในบ้านได้ใช้เวลาด้วยกันได้อย่างสะดวก มีพื้นที่เชื่อมถึงกัน และ ตกแต่งบ้านชั้นเดียว ได้อย่างน่าสนใจ ด้วยของตกแต่งที่ ออกแบบ และ ประดิษฐ์ ขึ้นมาใหม่ เพิ่มความน่าสนใจให้กับบ้านหลังนี้ เจ้าของ – ออกแบบ : คุณเชิงชาย ทิพย์สุข ไม่ง่ายนักที่เราจะเห็นบ้านชั้นเดียว ในกรุงเทพมหานครตอบสนองการใช้งาน ของสมาชิกทุกคนในครอบครัวได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง การ ตกแต่งบ้านชั้นเดียว ของครอบครัว “ทิพย์สุข” ขนาด 105 ตารางวา หลังนี้ นอกจากจะมีฟังก์ชันครบทุกการใช้งาน ยังเป็นสตูดิโอทํางานของเจ้าของบ้านอีกด้วย คุณเชิงชาย ทิพย์สุข ผู้คร่ําหวอดในวงการอีเว้นต์มากว่า 20 ปี ปัจจุบันผันตัวเองมาทํางานเป็น Brand Stylist กับโปรเจ็คท์แรกที่ประสบความสําเร็จอย่างไม่ต้องตั้งคําถาม คือ เพลินวาน หัวหินและ Mansion 7 Boutique Thriller Mal lมอลล์คอนเซ็ปต์ใหม่ในกรุงเทพฯ “ผมเคยอยู่บ้านตึกแถวมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วรู้สึกว่าพื้นที่แนวตั้งมันทําให้สมาชิกในครอบครัวไม่ค่อยได้เจอกัน ทุกคนใช้เวลาอยู่ชั้นใครชั้นมัน ดังนั้นตอนซื้อบ้านผมจึงเลือกบ้านชั้นเดียว เพราะทุกคนอยู่ในระดับเดียวกัน […]

บ้านปูนชั้นเดียว

บ้านปูนชั้นเดียว ตกแต่งแบบธรรมชาติ

บ้านปูนชั้นเดียว หลังเล็กขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร สร้างขึ้นจากวัสดุที่มีในพื้นถิ่นอย่างเรียบง่าย เพื่อประหยัดงบ แต่ได้บ้านที่อยู่สบาย ภายใน บ้านปูนชั้นเดียว หลังนี้ มีสมาชิกของบ้านประกอบด้วย คุณจ๊อบ – วัชรมน มหัทธนาสิงห์ และ คุณเก๋- กฤษณพร เรืองสุวรรณ คู่สามีภรรยาที่หันเหชีวิตจากเมืองฟ้าอมรอย่างกรุงเทพฯมาปักหลักปลูกบ้านหลังกะทัดรัดซึ่งรายรอบด้วยทิวทัศน์ของชนบท พร้อมด้วยมูมู่กับเมจิ บริวารสี่ขาผู้น่ารัก เมื่อปลูกบ้านแล้วพื้นที่ส่วนที่เหลือนั้น เจ้าของบ้านยังคงอนุญาตให้ชาวบ้านทำนากระเทียมในที่ดินผืนนี้ต่อไปได้ ตราบที่ยังไม่คิดจะทำอะไรกับพื้นที่ที่เหลือ “ตอนแรกมาเที่ยวปายแล้วรู้สึกชอบ สมัยนั้นที่นี่ยังเล็กและสงบไม่โด่งดังแบบทุกวันนี้ ก่อนหน้านั้นอยู่กรุงเทพฯ ทำธุรกิจส่งออก แต่พอถึงจุดหนึ่งก็รู้สึกอิ่มตัวและคงถึงคราวต้องเปลี่ยนด้วย” คุณจ๊อบเกริ่นถึงที่มาที่ไปให้เราฟัง “มาเที่ยวแล้วเกิดติดใจ จึงหาลู่ทางมาเปิดร้านเล็กๆ ขายของที่ระลึกงานประดิษฐ์ งานไอเดียต่างๆ ขายให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ เพราะเราก็จบทางด้านศิลปะจากจุฬาฯ งานเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำ ประกอบกับทุนที่ได้จากการทำธุรกิจเดิมทำให้ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ได้แบบสบาย พอหาที่ได้แล้วก็มีแนวคิดว่าจะปลูกบ้านที่เรียบง่ายและประหยัดที่สุด เพราะเราไม่ต้องการให้ดูแปลกแยกจากบ้านของชาวบ้านในแถบนี้เกินไป” เจ้าของบ้านทั้งสองเป็นผู้ออกไอเดียเกี่ยวกับบ้านทั้งหมด ตั้งแต่การวางแปลน การออกแบบพื้นที่ใช้สอย รวมถึงหาของตกแต่ง มีเพียงรายละเอียดด้านโครงสร้างและงานระบบที่ต้องปรึกษารุ่นน้องซึ่งเป็นสถาปนิกแปลนบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวบ้านออกแบบให้มีช่องเปิดมากมายรับแสงสว่างและช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่มีการทำฝ้าเพดานทำให้บ้านหลังเล็กมีสเปซที่เปิดโล่งไม่อึดอัด นอกจากนี้ยังเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่ทั่วไปสามารถหาได้ในท้องถิ่น ทั้งอิฐ ไม้ กระเบื้องดินเผา […]

บ้านชั้นเดียว สไตล์มินิมัล ที่หยิบความเป็นญี่ปุ่นดั้งเดิมมาเล่าใหม่

YOMOGIDAI HOUSE บ้านชั้นเดียว หน้าตาเรียบง่าย ดูคล้ายศาลเจ้าญี่ปุ่นโบราณ เหลือเชื่อกับการก่อสร้างขึ้นจากไม้สนทั้งหลัง  ด้วยเทคนิคการเข้าไม้ที่ไม่ใช้นอตหรือตะปูใด ๆ บ้านชั้นเดียว ที่กำลังกล่าวถึงนี้ ตั้งอยู่ในเมืองนาโงะยะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นผลงานการออกแบบโดย Tomoaki Uno Architects จากเหตุผลด้านข้อจำกัดของที่ตั้ง ซึ่งมีขนาดความกว้างเพียง 8 เมตร และยาว 28 เมตร ได้กลายเป็นโจทย์ให้ทีมสถาปนิกเลือกออกเเบบตัวบ้านให้ยาวตามเเนวที่ดิน ก่อนจะบรรจุฟังก์ชันการใช้งานไว้อย่างครบถ้วน ด้วยขนาดพื้นที่ใช้สอยรวม 82.80 ตารางเมตร ตัวบ้านออกแบบให้ตั้งอยู่บนเนินดินที่ทำสโลปไล่ระดับลงมายังลานจอดรถหน้าบ้าน ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้บ้านชั้นเดียวนี้ดูโดดเด่นเเตกต่างจากบ้านละเเวกใกล้เคียง นอกจากนั้นยังได้ยกใต้ถุนให้สูงเล็กน้อย เเละทำหลังคาเป็นเเบบทรงจั่วที่มีชายคายื่นยาว ซึ่งอ้างอิงมาจากสถาปัตยกรรมที่ดูคล้ายบ้านหรือศาลเจ้าญี่ปุ่นโบราณ โดยก่อสร้างขึ้นจากไม้สนที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นทั้งภายนอกเเละภายใน ด้วยเทคนิคการเข้าไม้ที่ไม่ใช้นอต หรือตะปูใด ๆ ด้านหน้าบ้านที่หันออกสู่ถนน สถาปนิกตั้งใจออกแบบผนังด้านนี้ให้เป็นผนังโชว์ลายไม้สวย ๆ โดยไม่มีช่องเปิดใด ๆ เลย ทั้งนี้ก็เพื่อความสวยงามเเละความเป็นส่วนตัวของเจ้าของบ้าน เเต่ใช่ว่าบรรยากาศภายในบ้านจะทึบตันอย่างที่คิด เพราะสถาปนิกได้ออกแบบผนังกระจกใสสูงจากพื้นจรดเพดาน เพื่อเปิดรับเเสงธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ จากทางด้านหลังของบ้านเเทน ในส่วนของเเผนผังการใช้งานภายใน ได้กำหนดให้ห้องนอนอยู่ที่บริเวณด้านหน้าบ้าน ขนาบข้างด้วยห้องน้ำเเละห้องซักรีด โดยมีช่องทางเดินอยู่ตรงกลางพุ่งยาวไปยังพื้นที่อเนกประสงค์ขนาดใหญ่ด้านหลัง สำหรับใช้เป็นพื้นที่นั่งเล่นเเละรับประทานอาหารไปในตัว ซึ่งสามารถเปิดรับเเสงเเละวิวสวนได้เต็มที่จากมุมนี้ เป็นความอบอุ่นเรียบง่ายด้วยองค์ประกอบเเละเฟอร์นิเจอร์จากงานไม้ […]

บ้านจีนแฝด…บ้านปูนชั้นเดียวริมน้ำในบรรยากาศรีสอร์ต

บ้านปูนชั้นเดียวริมน้ำในจังหวัดเชียงรายที่มีการประยุกต์ใช้ข้อดีของบ้านสไตล์จีน ไทย และโมเดิร์นเข้าไว้ด้วยกัน กลายเป็นบ้านสไตล์เอเชียร่วมสมัยที่เข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี โดยวางแปลนอาคารแยกออกเป็นบ้านแฝดสองหลังที่มีขนาดและหน้าตาภายนอกเหมือนกันทุกอย่าง DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: JR CREATIA วันนี้เรามีโอกาสเดินทางมาเยี่ยมบ้านพักตากอากาศหลังน้อยตามคำชักชวนของ คุณเจมส์-จิตติพงศ์ จารุโรจน์ มัณฑนากรหนุ่มรุ่นใหม่ เมื่อมาถึงที่หมาย ภาพที่เห็นตรงหน้าไม่ทำให้เราผิดหวังเลยจริงๆ บ้านชั้นเดียวทรงจีนทั้งสองหลังดูสวยงามโดดเด่นด้วยการผสมผสานความเก่าและความร่วมสมัยไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัวและน่าสนใจ ตั้งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศเงียบสงบบนเนินเขาริมน้ำ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองจังหวัดเชียงรายมากนัก “บ้านหลังนี้เป็นบ้านพักตากอากาศหลังที่สองของครอบครัวครับ ผมตั้งใจสร้างบ้านหลังนี้ขึ้นหลังจากผมและครอบครัวเดินทางมาดูทำเลตรงนี้ตามคำชักชวนของเพื่อนคุณพ่อ เมื่อแรกเห็นพวกเราประทับใจมาก เพราะที่นี่มีบรรยากาศดี ติดริมน้ำ ร่มรื่นเย็นสบาย คงดีไม่น้อยถ้าจะสร้างบ้านพักในสไตล์เอเชียร่วมสมัย ณ ที่ตรงนี้” เมื่อถามถึงความต้องการและรายละเอียดด้านการออกแบบว่าเจ้าของบ้านอยากให้บ้านตากอากาศหลังนี้ออกมาสวยงามถูกใจอย่างไร คุณเจมส์เล่าให้ฟังว่า “ผมต้องการให้ภายนอกดูคล้ายบ้านจีนสไตล์ชิโน-โปรตุกีสที่พบเห็นได้ในจังหวัดภาคใต้ ออกแบบให้เป็นบ้านชั้นเดียวหลังคาทรงจั่ว ผนังด้านนอกฉาบปูนซีเมนต์ขาวไม่ทาสีทับ เพื่อให้เหมือนการสร้างบ้านในอดีต ส่วนผนังด้านในฉาบปูนขัดมันแบบโมเดิร์น แม้ทั้งสองส่วนจะดูขัดแย้งกัน แต่ก็กลมกลืนเข้ากันได้ดีด้วยโทนสีและการตกแต่งภายใน” เสน่ห์และความน่าสนใจของบ้านจีนหลังนี้อยู่ที่การประยุกต์ใช้ข้อดีของบ้านสไตล์จีน ไทย และโมเดิร์นเข้าไว้ด้วยกัน กระทั่งกลายเป็นบ้านสไตล์เอเชียร่วมสมัยที่เข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ด้านการออกแบบได้วางแปลนอาคารแยกออกเป็นสองหลังให้มีขนาดและหน้าตาภายนอกเหมือนกันทุกอย่าง กำหนดพื้นที่สวนขนาดเล็กไว้ตรงกลางเพื่อเป็นช่องดักลมให้ลมพัดผ่านเข้าภายในบ้านได้สะดวก เพิ่มความโปร่งโล่งด้วยช่องประตูหน้าต่างยาวตลอดแนว แม้ผนังข้างตัวบ้านวางตัวในทิศตะวันออก-ตะวันตกรับแสงแดดตรงๆ แต่บ้านกลับไม่ร้อนอย่างที่คิด เพราะสถาปนิกได้ออกแบบให้ผนังด้านนี้ทึบตลอดแนวเพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน ภายในแบ่งสัดส่วนอย่างลงตัว มีมุมมองที่น่าสนใจหลายมุม เช่น ซุ้มประตูทางเข้าออกแบบให้เป็นซุ้มประตูแบบบ้านจีน มีทางเดินปูนขนาบข้างด้วยบ่อน้ำเล็กๆให้ความรู้สึกราวกับกำลังเดินข้ามสะพานเข้าสู่ตัวบ้าน ได้อารมณ์เหมือนกำลังอยู่ในรีสอร์ต พื้นที่ภายในบ้านพักทั้งสองหลังออกแบบให้มีห้องโถงสูงใหญ่สามารถใช้งานได้หลากหลายตามความต้องการ บ้านหลังแรกออกแบบให้มีห้องพักผ่อน […]

บ้านไม้สักชั้นเดียว อบอุ่น โปร่งสบาย

บ้านไม้ถอดประกอบที่คิดต่อยอดจากภูมิปัญญาของคนที่อยู่กับแหล่งไม้สัก ผสานเทคนิคงานไม้เข้ากับการรู้จักธรรมชาติของไม้สักอย่างถ่องแท้ เพื่อให้แต่ละส่วนของ บ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียว มีความสวยงามและใช้ไม้ได้อย่างคุ้มค่า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PREBUILT ASIA บ้านไม้ถอดประกอบอาจดูเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป ทั้งจากเรือนไทยโบราณและบ้านน็อกดาวน์ในสมัยนี้ แต่บ้านหลังนี้ซึ่งออกแบบโดย คุณปอย - ปวีณา ถือคำ แห่ง PREBUILT ASIA สถาปนิกสาวที่คิดต่อยอดภูมิปัญญางานไม้ที่มาจากกิจการโรงไม้ของครอบครัวในจังหวัดแพร่ มาสู่การออกแบบ บ้านน็อคดาวน์ชั้นเดียว ที่เริ่มคิดจากธรรมชาติของไม้สัก ตั้งแต่การเลือกแหล่งปลูก อายุ ขนาด และวิธีการประกอบ เพื่อให้ใช้ไม้ประกอบเป็นแต่ละส่วนของบ้านอย่างคุ้มค่าที่สุด ปัจจุบันยังรับออกแบบและสร้างบ้านสำเร็จรูปและออกแบบตามบ้านตามความต้องการ โดยใช้ระบบคำนวณแบบ BOQ ด้วยภูมิประเทศของจังหวัดแพร่ที่เป็นภูเขาและมีป่าสักมาก ที่นี่จึงเป็นแหล่งไม้สักคุณภาพดีของประเทศ ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเกี่ยวกับไม้สัก และการได้คลุกคลีกับวัตถุดิบมานานจากรุ่นสู่รุ่น จึงเข้าใจธรรมชาติของไม้ในแต่ละช่วงอายุว่าเหมาะกับการนำมาใช้งานอย่างไร อีกทั้งยังรู้จักการเลือกไม้คุณภาพดี การเตรียมไม้ก่อนนำมาใช้ และมีช่างที่มีความชำนาญ ดังนั้นเมื่อคุณปอยเรียนจบจึงคิดออกแบบบ้านไม้สักระบบกึ่งสำเร็จรูปให้เป็นบ้านไม้สไตล์เอเชียร่วมสมัย ซึ่งมีจุดเด่นตรงการใช้พื้นที่ต่อเนื่องร่วมกัน โดยไม่แบ่งเป็นห้อง ๆ ขาดจากกัน นอกจากจะมีพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนรวม มีพื้นที่ภายนอกและภายในแล้ว ยังมีพื้นที่ก้ำกึ่ง (Semi Space) ที่ใช้เชื่อมพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น ชาน เฉลียง และทางเดิน อย่างบ้านนี้มีพื้นที่เฉลียงและชาน 18 ตารางเมตร และภายในบ้าน 36 ตารางเมตร จึงออกแบบให้เดินเข้ามาเจอชานที่เปิดโล่งก่อน แล้วจึงเดินขึ้นมาบนเฉลียงที่มีหลังคาคลุม เป็นการค่อยๆปรับความรู้สึกจากพื้นที่โล่งไปยังพื้นที่ปิดล้อม จากนั้นจึงค่อยขึ้นไปบนบ้านซึ่งเป็นห้องมีผนังปิดล้อมโดยออกแบบเป็นโถงโล่ง มีระยะระหว่างเสา 3 x 3 เมตร ซึ่งคิดจากการใช้พื้นที่ที่เมื่อยืนอยู่แล้วพอจะเอื้อมไปรอบๆได้ง่าย และสัมพันธ์กับความยาวไม้มาตรฐานที่ยาว 3 - 4 เมตร โดยคิดเป็นยูนิต และนำแต่ละยูนิตมาต่อกัน แม้อยู่เฉลียงภายนอกบ้านก็ยังมองเห็นหรือพูดคุยกับคนในบ้านได้เพราะพื้นที่ภายในกับภายนอกต่อเนื่องกัน การก่อสร้างบ้านให้ทำฐานรากคอนกรีตหล่อในที่ แล้วยกส่วนประกอบบ้านเป็นชิ้นๆ หรือเป็นแผงมาประกอบกันที่หน้างาน เลือกใช้ไม้สักป่าปลูกอายุ 20 ปี ซึ่งเป็นอายุที่คุ้มค่าที่สุด คือเนื้อไม้มีความแข็งแรงพอ สามารถปลูกทดแทนได้เร็ว และเลือกแปรรูปไม้จากส่วนต่างๆ แล้วนำไปใช้งานให้เหมาะกับความแข็งแรง อย่างแก่นไม้ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดจะนำมาทำโครงสร้าง ส่วนที่ไม่ได้รับน้ำหนักใช้ไม้ที่แข็งแรงน้อยกว่า หรือใช้ไม้อายุน้อยกว่าได้ อีกทั้งออกแบบโครงสร้างประหยัดไม้ โดยใช้ไม้ขนาดเล็ก หน้าตัด 3 x 3 นิ้ว 4 ท่อนมาประกอบเป็นเสาบ้านให้มีช่องว่างห่างกันแล้วดามจุดต่อ 3 จุด คือตรงหัวเสา ฐานเสา และกลางเสา เพื่อช่วยรับแรง อีกทั้งยังมีข้อดีที่สามารถนำคานมาเสียบเข้าช่องว่างระหว่างเสาได้เลย และยังสามารถซ่อนไฟไว้ในเสาแทนการใช้โคมไฟได้ด้วย ที่สำคัญเป็นการลดการใช้ทรัพยากร เพราะการใช้เสาต้นใหญ่จะต้องใช้ไม้ที่มีอายุมากขึ้น หากพินิจดูแต่หน้าตาของบ้าน อาจจะดูพิเศษกว่าบ้านไม้อื่นๆ ที่มีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่เมื่อได้รู้แนวความคิดที่เริ่มจากต้นทางของไม้ นำมาสู่การออกแบบที่พอดี ก็ทำให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านสวยที่ไม่ธรรมดาเลย เรื่อง : ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์ ภาพ : ธนาวุฒิ โชติประดิษฐ สไตล์ : ธัญญานันท์ ศรีชัยวรรณ “บ้านชุมดวง” การคืนชีวิตบ้านไม้ 100 ปี ใกล้พัง ใน 97 วัน บ้านมะค่าโมง บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่มีลมโกรกตลอดทั้งปี บ้านในใจ…บ้านหน้าจั่วที่กลั่นความในใจสู่บ้านสุดอบอุ่น

รีโนเวท, บ้านเก่า, ฟังก์ชั่น, บ้านชั้นเดียว

HOUSE OF THE FLYING BEDS รีโนเวท บ้านเก่า ชั้นเดียว ใส่ฟังก์ชั่นใหม่ให้มีเตียงลอยได้

รีโนเวตบ้านเก่า นั้นเรียกว่าแทบจะอยู่อาศัยไม่ได้แล้วและทรุดโทรมมากที่เอกวาดอร์ให้กลับมามีชีวิตชีวาในราคาประหยัด ด้วยวัสดุทดแทนและของเหลือใช้

รวมแบบบ้านหลังเล็ก สวยน่ารัก ตอบโจทย์คนรักสันโดษ

ชม แบบบ้านหลังเล็กอยู่สบาย 4 สไตล์ ที่แม้จะเป็นบ้านไซส์เอส (S) ดู "คับที่" แต่ในด้านดีไซน์และการใช้งานนั้นจัดได้ว่า "คับแก้ว" จิ๋วแต่แจ๋ว

บ้านจีน

TWISTING COURTYARD รีโนเวท บ้านจีน ให้โมเดิร์นด้วยคอร์ตดีไซน์โค้ง

รีโนเวตบ้านเก่า แบบจีนที่เรียกว่า "Siheyuan" หรือบ้านชั้นเดียวที่ล้อมรอบคอร์ตตรงกลางไว้ทั้งสี่ด้าน ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่เอาผนังหินโค้งมาเป็นจุดเด่น

1 ห้องนอนกลางทุ่งนา ในบ้านชั้นเดียวสไตล์โคโลเนียล

บ้านพักผ่อนสไตล์โคโลเนียลที่มีเพียง 1 ห้องนอน 1ห้องนั่งเล่น โดยออกแบบให้พื้นห้องมีระดับต่างกัน เพื่อเป็นการแยกสัดส่วนแทนการทำกำแพง จึงได้ความรู้สึกเหมือนว่าทั้งบ้านมีห้องเดียว  บ้านชั้นเดียวสไตล์โคโลเนียล เจ้าของ-ออกแบบตกแต่ง : คุณสุริยา เสาร์หมื่น เมื่อถึงคราวต้องออกแบบบ้านของตัวเอง คุณสุริยา เสาร์หมื่น สถาปนิกลูกล้านนาโดยกำเนิด ผู้มีพื้นเพอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่ กลับต้องคิดให้มากยิ่งกว่าการออกแบบให้ผู้อื่น  บ้านชั้นเดียวสไตล์โคโลเนียล “หลายคนติดภาพว่าผมถนัดการออกแบบสไตล์ล้านนา เลยพลอยคิดว่าผมทำเป็นแต่สไตล์นี้เท่านั้น จริงๆแล้วนั่นเป็นเพียงโอกาสหนึ่งที่ทำให้เราได้ทำงานตรงนั้น และก็กลายเป็นเหตุผลหนึ่งซึ่งทำให้ผมอยากจะเลี่ยงงานแบบนั้นเมื่อทำบ้านของตัวเอง ไม่ใช่ว่าไม่ชอบ แต่ผมอยากได้บ้านที่เป็นบ้านของผมเอง” นอกจากออกแบบบ้านให้ตัวเองแล้ว คุณสุริยายังต้องทำเผื่อเพื่อนอีกสามคนด้วย เพราะทั้งสี่คนร่วมกันซื้อที่ดินผืนหนึ่งกลางทุ่งนาในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และแบ่งสร้างเป็นบ้าน 4 หลัง อีกส่วนหนึ่งสร้างเป็นโรงแรมขนาดเล็กชื่อว่า “at Villa Sansai” โดยออกแบบสิ่งก่อสร้างทั้งหมดให้กลมกลืนกัน บ้านทั้งสี่หลังเป็นบ้านชั้นเดียว มีขนาดและรูปทรงภายนอกใกล้เคียงกัน ส่วนภายในจะแตกต่างกันไปตามบุคลิกของเจ้าของบ้านแต่ละคน “ผมออกแบบบ้านหลังนี้โดยเริ่มต้นจากการคิดถึงพื้นที่ภายในก่อน เพราะมีประสบการณ์จากบ้านหลังเดิมที่กั้นแต่ละส่วนเป็นห้องเล็กๆ ทำให้รู้สึกอึดอัดเหมือนอยู่ในกล่อง ผมอยากให้พื้นที่เกือบทุกส่วนในบ้านหลังนี้เปิดถึงกัน ดังนั้นจึงออกแบบให้พื้นห้องมีระดับต่างกัน เพื่อเป็นการแยกสัดส่วนแทนการทำกำแพง จึงรู้สึกเหมือนว่าทั้งบ้านมีห้องเดียว” บ้านหลังนี้มีทางเข้าสองด้าน ทางเข้าหลักอยู่ด้านหน้าออกแบบเป็นซุ้มประตูยื่นออกมาจากตัวบ้าน บานประตูเป็นไม้เก่าจากประเทศอินเดียแกะลายอย่างละเอียดลออ บริเวณนี้ยังทำม้านั่งปูนหล่อไว้ด้วย ส่วนทางเข้าอีกด้านเป็นทางเดินขนานกับโรงรถ ต้องเดินผ่านซุ้มประตูซึ่งมีลักษณะคล้ายซุ้มเรือนแก้ว ทางเข้านี้นำไปสู่ชานพื้นปูนด้านหลังบ้าน ภายในบ้านแบ่งพื้นที่เป็นสองส่วนใหญ่ๆ […]