บ้านทรอปิคัล
HUONG’S HOUSE บ้านคอนกรีต ดีไซน์ดิบ หยิบธรรมชาติเข้ามาหลอมรวม
บ้านคอนกรีต กับการออกแบบได้อย่างชาญฉลาดในการจัดสรรพื้นที่ให้เพียงพอสำหรับสมาชิก 5 คน โดยในความดิบกระด้างของโครงสร้างและวัสดุนั้น สถาปนิกสัญชาติเวียดนาม H-H Studio ไม่ลืมหยิบเสน่ห์ความเป็นธรรมชาติ และกาลเวลาเข้ามาช่วยเติมความงดงามที่ไร้การปรุงแต่ง หลังจากตัดสินใจซื้อบ้านเก่าในเมืองดานังขนาด 240 ตารางเมตร พร้อมที่ดินข้างบ้านขนาด 120 ตารางเมตร ซึ่งเทียบเท่ากับพื้นที่ของตัวบ้าน เพื่อทำการรีโนเวตใหม่ให้เป็นบ้านที่เหมาะกับสมาชิกทั้ง 5 คน ซึ่งประกอบด้วยคู่สามีภรรยา และลูก ๆ อีก 3 คน ภายใต้แนวคิดทางสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายเข้ากับสภาพภูมิอากาศของเวียดนาม กลายเป็น บ้านคอนกรีต ที่มีพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนได้อย่างเป็นส่วนตัว และสะท้อนการอยู่อาศัยของครอบครัวแบบดั้งเดิม การออกแบบอาคารมีลักษณะเป็นรูปตัวที (T) โครงสร้างเป็นคอนกรีตเปลือยสูงขนาด 2 ชั้น ชั้นล่าง เมื่อเข้ามาจากหน้าบ้านจะพบกับห้องโถงเพดานสูงโปร่งเชื่อมต่อกับส่วนรับประทานอาหาร ที่สามารถเดินออกไปยังส่วนพักผ่อน ซึ่งอยู่ใต้ท้องคานของห้องนอนใหญ่ ส่วนต่อขยายใหม่จากตัวบ้านเดิม เป็นพื้นที่ไฮไลต์ของบ้านที่เหมาะมานั่งรับลมชมวิวสวนและสระน้ำเล็ก ๆ เสมือนเป็น พื้นที่ Buffer Spaces ที่ผู้ออกแบบตั้งใจให้ทำหน้าที่ช่วยระบายอากาศในฤดูร้อน ซึ่งตรงกับทิศใต้ที่มีลมและแสงแดดตลอดวัน สร้างสภาวะน่าสบายให้แก่ผู้อยู่อาศัย แตกต่างจากบรรยากาศของบ้านเก่าก่อนได้รับการรีโนเวตที่ตัวบ้านเป็นผนังทึบทั้งหมด การรีโนเวตครั้งนี้จึงเป็นการช่วยแก้ปัญหาให้บ้านมีบรรยากาศปลอดโปร่ง ทุกคนได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่แตกต่างไปของธรรมชาติในแต่ละช่วงเวลา นอกจากชั้นล่างจะเป็นส่วนพักผ่อนร่วมกันแล้ว ยังออกแบบให้มีห้องนอนเล็กสำหรับคุณยายที่มักเดินทางจากเมืองเว้มาเยี่ยมหลาน […]
DHY HOUSE เท่อย่าง บ้านคอนกรีต อยู่สบายอย่าง บ้านทรอปิคัล
บ้านคอนกรีต ของนักออกแบบแฟชั่นชาวบ้านเวียดนาม ที่แอบซ่อนพื้นที่ชีวิตไว้หลังผนังคอนกรีต กับบ้านที่เปิดต้อนรับลมและสวนเขียวขจี ความพิเศษของ บ้านคอนกรีต หลังนี้ คือการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนหลัก คือมีร้านกาแฟอยู่ในส่วนหน้าบ้านซึ่งเปิดเป็นแบบ Private coffee shop ก่อนจะคั่นแบ่งด้วยผนังคอนกรีตสูงตระหง่าน มีช่องประตูไม้เล็ก ๆ พาเดินเข้าสู่พื้นที่ของบ้านพักที่ปิดล้อมมิดชิด ก่อนจะค่อย ๆ เผยให้พบกับพื้นที่ชีวิตที่ส่งเสริมการระบายอากาศตามธรรมชาติ พร้อมพื้นที่สีเขียวเล็ก ๆ ที่แซมด้วยร่มเงาของต้นไม้ ช่วยในเรื่องการไหลเวียนของอากาศ ทำให้มั่นใจได้ว่าพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดของบ้านจะเย็นสบาย แม้ในวันที่มีอากาศร้อนที่สุด เป็นงานออกแบบที่ตอบรับโจทย์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ไปพร้อมกับบ้านดีไซน์โมเดิร์นทันสมัยแปลกตาด้วยรูปทรงแบบเรขาคณิต แต่กลับส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยแนวคิดตามวิถีทรอปิคัล ผลงานออกแบบโดย AHL Architects ที่มีแรงบันดาลใจการดีไซน์มาจากรูปทรงของ Japanese knot bag หรือถุงผ้าแบบคล้องมือสไตล์ญี่ปุ่น เน้นแนวคิดการปรับตัวทางสถาปัตยกรรมเพื่อให้บ้านโมเดิร์นยุคใหม่ เข้ากับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการใช้ชีวิต โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ มาช่วย อาทิ การวางตำแหน่งของบ้านเพื่อรับลม ออกแบบระเบียงให้มีขนาดกว้าง ใช้ระแนง กำแพงขนาดหนาเพื่อกันความร้อน และการปลูกต้นไม้เพื่อสร้างร่มเงา ผสานกับองค์ประกอบของวัสดุที่มาจากธรรมชาติอย่างไม้เพื่อให้บ้านมีความอบอุ่น แนวคิดเรื่องพื้นที่กันชนได้รับการถ่ายทอดผ่านการออกแบบพื้นที่ระเบียงบ้านทั้งลึกและมีขนาดใหญ่ เป็นวิธีที่สถาปนิกเล่าว่า เขาได้หยิบยกมาจากภูมิปัญญาการสร้างบ้านดั้งเดิมของเวียดนาม ก่อนที่จะมีเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมเข้ามาใช้งานในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งลักษณะพิเศษของบ้านพื้นถิ่นของเวียดนามเหนือ กับการสร้างบ้านส่วนใหญ่ให้มีระเบียงขนาดกว้างคอยทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องเข้ามาถึงภายในโดยตรง […]
TROPICAL CHALET วิลล่าหลังใหญ่ริมทะเลสาบ ไอเดียออกแบบบ้านอิฐจากเมืองดานัง
วิลล่าริมทะเลสาบสำหรับครอบครัวใหญ่ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเรียบง่ายของบริบทอันงดงาม ผ่านการออกแบบที่มีการนำ “อิฐ” วัสดุท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม มาใช้เป็นวัสดุหลัก ออกแบบบ้านอิฐ ซึ่งอิฐในประเทศเวียดนามนั้น ถือเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 4 เพราะเหมาะกับการสร้างบ้านในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เนื่องจากเนื้อวัสดุมีรูพรุนจึงทำหน้าที่ระบายความร้อนช่วยให้บ้านเย็น และเป็นฉนวนได้อย่างดี อีกทั้งยังนำมาสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมได้หลายรูปแบบ เช่นการเรียงต่อกันแบบเว้นช่องว่าง เพื่อสร้างลวดลายที่สวยงามอย่างบ้านหลังนี้ โดยจับคู่กับไม้ และพื้นผิวคอนกรีต ออกแบบบ้านอิฐ ตัวอาคารได้รับการออกแบบเป็นรูปตัวแอล (L) รอบบ้านเป็นสวนขนาดใหญ่ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ออกมาใช้เวลาในการพักผ่อนร่วมกัน องค์ประกอบหลัก ๆ ของอาคารมีอยู่ 2 ประการ ประการแรก คือช่องว่างของฟาซาดอิฐ ช่วยทำหน้าที่สร้างความสวยงามให้แก่อาคาร ไปพร้อม ๆ กับการทำหน้าที่เป็นแผงบังแดด เมื่อเข้ามาที่ชั้นล่างจะพบกับพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ห้องอาหาร ห้องนั่งเล่น และห้องครัว จะสามารถชื่นชมวิวสวนที่แสนร่มรื่น และสูดอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มปอด ประการที่สอง คือรูปแบบอันโดดเด่นของหลังคาทรงเรขาคณิตรูปสามเหลี่ยม ที่วางตัวต่อเนื่องกันคล้ายลูกคลื่น ช่วยทำให้เกิดมุมมองที่ไม่ซ้ำใคร เมื่อมองจากภายนอกจะเห็นส่วนผสมของวัสดุต่างชนิดกันอย่าง เสาและคานคอนกรีตแว็กซ์พื้นผิวเรียบ ทำหน้าที่เป็นกรอบโครงสร้างให้แก่หลังคากระเบื้องดินเผาที่ต่อเนื่องกัน และเป็นเส้นแนวยาวลงมาด้านล่าง หรือเป็นเสาให้แก่อาคาร เสริมความแข็งแรง และความทนทานให้แก่โครงสร้าง จากเหตุผลของการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติ ร่วมกับการออกแบบพื้นที่ใช้สอยแบบโปร่งโล่ง […]
บ้านทรอปิคัลโมเดิร์นที่เรืองแสงได้ดั่งหิ่งห้อย
“บ้านหิ่งห้อย” เป็นชื่อที่สถาปนิกตั้งให้บ้านหลังคาทรงจั่วสีขาวที่ผสมผสานความเป็นไทยและโมเดิร์นหลังนี้ ซึ่งโดดเด่นด้วยหลังคาอะลูมิเนียมเจาะรูให้โปร่ง แล้วออกแบบไฟแสงสว่างไว้ภายในหลังคาให้เรืองแสงในยามค่ำคืน แต่ภายใต้รูปทรงที่ดูเรียบง่ายนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบที่สอดคล้องกับภูมิอากาศเขตร้อนชื้นและความเป็นธรรมชาติซึ่งเป็นหัวใจที่ทำให้บ้านอยู่สบาย บ้านไทย Designer directory : ออกแบบ EAST architect www.eastarchitects.com บ้านไทย เจ้าของ คุณธนวัสส์ ยงค์สงวนชัย จุดบรรจบของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก เมื่อความ “ต่างขั้ว” ถูกตีความให้เป็นทั้งความย้อนแย้ง การผสมผสาน และความงาม โดยเผยตัวตนและแฝงความนัยอยู่ภายใต้บ้านรูปทรงจั่วสีขาวโมเดิร์นและไทยเดิมสองหลังที่วางแนวแกนตัดกันอยู่กลางที่ดิน โดยไม่อิงกับแนวถนนหรือแนวขอบเขตที่ดิน แต่อิงกับทิศทางแสงแดดและลมเพื่อให้บ้านอยู่สบายตามธรรมชาติ เป็นหลักการออกแบบพื้นฐานของสถาปนิกที่ให้คำจำกัดความตัวเองว่า “สถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สยาณี วิโรจน์รัตน์ แห่ง EAST architect ที่ออกแบบบ้านทรอปิคัลโมเดิร์นหลังนี้ให้เป็นจุดบรรจบของวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ในมิติของภูมิปัญญาดั้งเดิมและความโมเดิร์น บ้านหลังใหม่ที่แยกจากครอบครัวใหญ่ ก่อนจะสร้างบ้านนี้เจ้าของบ้านอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อพื้นที่บ้านเดิมเริ่มไม่เพียงพอกับสมาชิก คุณแม่จึงยกที่ดิน 2 ไร่แปลงนี้สำหรับปลูกบ้านใหม่ และด้วยเจ้าของบ้านเป็นแฟนนิตยสาร บ้านและสวน จึงได้พบและชื่นชอบบ้านของอาจารย์พิรัสที่ลงในนิตยสาร อาจารย์พิรัสได้เล่าย้อนไปเมื่อเริ่มออกแบบบ้านว่า “เจ้าของบ้านได้บอกเล่าความต้องการเป็นจดหมายเล่าเรื่องว่า เมื่อเข้ามาในบ้านแล้วอยากพบเจออะไร ชอบอยู่แบบใกล้ชิดธรรมชาติ มีความโปร่งสบายเย็นโดยไม่ต้องเปิดแอร์ […]
Tropical Dream : แต่งบ้าน สไตล์“ฝันกลางวัน”
งานออกแบบจาก Maison & objet 2018 ประเทศฝรั่งเศส เมื่อการ แต่งบ้าน แบบทรอปิคัลกลายเป็นบ้านในฝันของชาวยุโรป และเขานิยามไว้ว่า Tropical Dream
บ้านทาวน์เฮ้าส์ที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับต้นไม้
ในความแตกต่างอันหลากหลายของคำว่า ทรอปิคัลและโมเดิร์น บ้านในนครโฮจิมินห์หลังนี้คือสิ่งที่อยู่กึ่งกลางได้อย่างลงตัว สร้างบรรยากาศธรรมชาติภายในบ้าน
อยู่กับลมและแสงใน บ้านทรอปิคัล ที่พอดี
บ้านทรอปิคัล เปิดโล่งด้วยผนังกระจกสลับกับระแนงไม้เพื่อช่วยกรองแสง พร้อมกับชายคาที่ยื่นยาวเพื่อป้องกันฝน เน้นการดีไซน์แบบ Passive
บ้านทรอปิคัล ณ เกาะพะงัน
“ บ้านทรอปิคัล ” เป็นคำที่คุณเข็มนิยามถึงบ้านหลังนี้ บ้านไม้ซึ่งปลูกเป็นแนวยาวจากหน้าบ้านสู่หลังบ้าน ยกเพดานสูง มีพื้นที่เปิดถึงกันหมดตั้งแต่ห้องรับแขก โถงบันได ครัว ออกไปสู่นอกชานและยาวลงทะเลไปเลย
"บ้านครอบครัวขยาย" อยู่ร่วมกันบนพื้นที่เดียวกัน
บ้านครอบครัวขยาย นี้ใช้แนวคิด Co-Housing & Co-Living ที่มีการพึ่งพาอาศัยกันแบบพี่น้อง ถึงแม้จะอาศัยอยู่ในหลังเดียวกัน แต่ทุกคนต่างมีพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง