- Page 3 of 12

พักผ่อนตลอด 365 วัน ในบ้านชั้นเดียวกลิ่นอายชนบท อยู่สบาย ผ่อนคลายทุกเวลา

บ้านไทยสไตล์รีสอร์ทที่บริเวณรอบๆเป็นทุ่งนาโล่งเปิดรับลมได้เต็มที่ เหมาะกับการออกแบบเป็นบ้านที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ห่างไกลจากสังคมที่วุ่นวาย  ดังที่เจ้าของบ้านต้องการ บ้านชั้นเดียวบรรยากาศรีสอร์ท สถาปนิก : คุณคเณศวร์ ไชยนาพงษ์ / ตกแต่ง : คุณจุฑามณี พิพิธปิยะปกรณ์ ไกรคุณาศัย / เจ้าของ : คุณเศรษฐพล ไกรคุณาศัย – คุณจุฑามณี พิพิธปิยะปกรณ์ ไกรคุณาศัย หลังจากต้องเจอกับงานหนักมาตลอดทั้งวัน การได้กลับมาพักผ่อนในบ้านที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ น่าจะเป็นความสุขอย่างหนึ่งของคนเรา หลายคนจึงพยายามหาโอกาสสร้างบ้านบนทำเลที่ตัวเองชื่นชอบ เพื่อให้ทุกนาทีที่อยู่บ้านเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข คุณเศรษฐพล ไกรคุณาศัย และคุณจุฑามณี พิพิธปิยะปกรณ์ ไกรคุณาศัย  ก็เป็นผู้หนึ่งที่เคยมีบ้านอยู่ในสถานที่ทำงาน จึงทำให้ทั้งคู่รู้สึกเหมือนต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีโอกาสสร้างบ้านใหม่ สิ่งแรกที่เจ้าของบ้านทั้งสองทำก็คือ ตระเวนหาทำเลบ้านที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ห่างไกลจากสังคมที่วุ่นวาย  จนพบที่ดินที่ถูกใจแถบชนบทของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ และแวดล้อมด้วยทุ่งนาอันเงียบสงบ เพื่อสามารถสูดกลิ่นอายแห่งพืชพรรณของรวงข้าวที่ตนเองชอบได้อย่างเต็มที่ จากความตั้งใจที่จะให้บ้านหลังใหม่แตกต่างจากบ้านตึกหลังเดิมที่เคยอยู่ ทั้งสองจึงตัดสินใจสร้างบ้านไทยสไตล์รีสอร์ทตรงตามความต้องการ คุณคเณศวร์ ไชยนาพงษ์ สถาปนิกผู้รับหน้าที่ออกแบบบ้านหลังนี้เล่าให้เราฟังว่า “ครั้งแรกที่มาดูที่ดินกับเจ้าของบ้าน ก็คิดว่าที่นี่เป็นทำเลสร้างบ้านที่ดีมากครับ เพราะบริเวณรอบๆเป็นทุ่งนาโล่งเปิดรับลมธรรมชาติได้เต็มที่ เหมาะกับการออกแบบบ้านสไตล์รีสอร์ทอย่างที่เจ้าของบ้านต้องการ อีกทั้งยังมีต้นไม้ใหญ่หลายต้นขึ้นอยู่แล้ว ซึ่งทำให้ไม่ต้องซื้อต้นไม้ใหม่มาปลูก […]

บ้านปูนเปลือย ชั้นเดียวสร้างง่าย โอบล้อมด้วยนาข้าวและขุนเขา

บ้านปูนเปลือย ที่ตั้งอยู่ในอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ท่ามกลางผืนนาและทิวเขาที่เรียงสลับกันอยู่เบื้องหน้าบ้าน ตัวบ้านมีลักษณะบ้านแฝด

แบบบ้านชั้นครึ่งยกสูง

บ้านชั้นครึ่งกลางทุ่งโล่ง สวยงามราวสวรรค์บนดิน

แบบบ้านชั้นครึ่งยกสูง สไตล์ร่วมสมัยที่ตั้งอยู่กลางทุ่งโล่งในอำเภอปาย เป็นบ้านชั้นครึ่งที่โปร่งโล่ง เพื่อให้มองออกไปเห็นทิวเขาและทุ่งนา

รวมบ้านไม้สไตล์ล้านนา อบอุ่น อยู่สบาย

เอาใจคนรักบ้านสไตล์ล้านนา ด้วยไอเดียการแต่งบ้านไม้ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของภาคเหนือ แต่มีการผสมผสานฟังก์ชันการใช้งาน และความทันสมัยให้สอดรับกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบบ้านมีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นให้ภายในบ้านมีการระบายอากาศที่ดี และมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบบ้าน เพื่อให้คนในบ้านอยู่อาศัยได้อย่างอบอุ่น สบายกายและสบายใจ 1.บ้านตถตา บ้านไม้บนรอยเท้าของชาวล้านนา เจ้าของ : แพทย์หญิงจิตราภรณ์ ความคนึง และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร    บ้านล้านนาอยู่สบาย สถาปัตยกรรม: บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด โดยคุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์ ออกแบบภายใน : คุณปรียชนัน สายสาคเรศ ผู้รับเหมา: คุณวันไชย หงษ์แก้ว (สล่าเก๊า) ผู้ควบคุมงาน : ยางนาสตูดิโอ และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร บ้านพื้นถิ่นประยุกต์ที่เลือกเฟ้นไม้เก่าจากบ้านในจังหวัดน่านมาออกแบบใหม่ โดยไม่ทิ้งงานฝีมือเชิงช่างของล้านนา ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านสนใจ นอกจากนี้ผู้ออกแบบยังกำหนดให้ภายในบ้านมีพื้นที่เชื่อมโยงกัน โดยรวมใต้ถุนกับชานเป็นส่วนเดียวกัน สามารถนั่งรับลมได้ภายใต้บรรยากาศที่เสมือนโอบล้อมด้วยป่าใหญ่ ส่วนภายในบ้านก็มีความโปร่งโล่ง สามารถมองเห็นกันและกันได้ในทุกพื้นที่ อีกทั้งการเปิดพื้นที่ส่วนต่างๆ เพื่อรับลมก็ยังเหมาะสมกับภูมิอากาศของเมืองไทยด้วย  อ่านต่อ  2.บ้านน้อยบนดอยที่มีวิวภูเขาโอบล้อม 360 องศา เจ้าของ-ออกแบบ : คุณณชนก […]

บ้านกลางทุ่ง

5 บ้านกลางทุ่ง อยู่สบายทั้งกายและใจ

หลายคนฝันไว้ว่าอยากมี บ้านกลางทุ่ง ที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มองออกไปเป็นทุ่งนาเขียวขจี บ้านและสวนจึงได้รวบรวมบ้านสวยกลางทุ่งนา ที่ใครได้อยู่หรือแค่เพียงได้เห็นรูปก็มีความสุขแล้ว มาฝากกัน...

บ้านไม้

บ้านไม้ แบบไทยๆ กลิ่นอายโมเดิร์นของ ป๊อด ธนชัย อุชชิน ( ป๊อด โมเดิร์นด็อก )

บ้านไม้ สไตล์ไทยโมเดิร์นของ ป๊อด โมเดิร์นด็อก ศิลปินคนดัง ที่ปลีกตัวมาใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายในช่วงวันธรรมดากับคุณแม่

บ้านวัยเกษียณ

บ้านชั้นเดียว สำหรับวัยเกษียณ ในอ้อมกอดของขุนเขา

บ้านชั้นเดียว สำหรับวัยเกษียณ ออกแบบเน้นให้ดูแลรักษาง่าย ยกพื้นเล็กน้อยพร้อมทำทางลาดแทนบันไดขึ้นบ้านให้ความรู้สึกต่อเนื่องกับพื้นดิน

ชีวิตธรรมดาใน บ้านไม้ใต้ถุนสูง

บ้านไม้ใต้ถุนสูง แบบไทยๆ ได้แรงบันดาลใจจากบ้านทรงไทยมอญของชุมชนใกล้เคียง เน้นการทำช่องเปิดไว้ทางฝั่งทิศตะวันออกให้มากกว่าฝั่งทิศตะวันตก

รับวิวตะวัน ที่บ้านไร่สไตล์โรงนา

บ้านสไตล์โรงนา หลังนี้ ตั้งอยู่กลางไร่พลิศาซึ่งเป็นไร่ปลอดสาร บนเส้นบายพาสชะอำ-หัวหิน มีความพิเศษตรงการวางตัวอาคาร และช่องเปิดของบ้านให้รับวิวสวย ๆ ได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตกดินจากทิวเขาที่อยู่ล้อมรอบไปสุดตา DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Phyicalist คุณตุ๋ย-อมรรัตน์ จันต๊ะ เจ้าของบ้าน บ้านสไตล์โรงนา แห่งนี้ มีกิจการร้านอาหารไทยในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ในนาม Chat Thai ซึ่งมีการทำไร่ออร์แกนิกที่ไบรอนเบย์อยู่แล้ว จึงได้นำประสบการณ์มาทำไร่ออร์แกนิกปลูกพืชหมุนเวียนในที่ดินแห่งนี้ โดยนำวัตถุดิบบางส่วนส่งกลับไปใช้ที่ร้านอาหารในออสเตรเลียด้วย ทั้งยังมีร้านอาหารเปิดให้บริการแก่คนทั่วไปในพื้นที่ของไร่พลิศา พร้อมกับวางผังตรงกลางให้เป็นบ้านส่วนตัว รายล้อมไปด้วยความสดชื่นของไม้ดอกและไม้ใบตามความชอบ ลักษณะของบ้านจึงมีโครงสร้างที่คล้ายกับอาคารทางกสิกรรม แต่ทำการยกสูงแบบใต้ถุนไทยให้เหมาะกับเขตร้อน บนเนินที่มีความสูง 3 เมตร จากระดับถนนปกติ สถาปนิกผู้ออกแบบคุณกาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ แห่ง Physicalist ได้นำเสนอแนวคิดการเปิดช่องว่างเพื่อให้รับกับวิวและสายลมได้เต็มที่ วางแนวอาคารทอดตัวยาวรับด้านพระอาทิตย์ขึ้นเป็นด้านห้องนอนของคุณตุ๋ย ด้านพระอาทิตย์ตกเป็นด้านห้องนอนของคุณเทิดน้องชายคุณตุ๋ย และห้องนั่งเล่นอยู่ปลายอีกด้าน ทั้งหมดเชื่อมกันด้วยทางเดินยาว ทำหน้าที่สร้างความไหลลื่นให้กับทางสัญจรและให้อากาศถ่ายเท ภายใต้หลังคาขนาดใหญ่ซึ่งยื่นออกไปจากตัวชั้นสอง 2.5 เมตร เมื่อดูจากแปลนเราก็จะเห็นผนังทึบ ผนังโปร่ง และช่องเปิด เรียงสลับกันไปอย่างลงตัว การเปิดประตูออกจากห้องสู่พื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ใต้ชายคา จึงเหมือนการเปิดประตูสู่พื้นที่สีเขียวของไร่ในทันที ชั้นล่างที่เป็นชั้นใต้ถุน เป็นโครงสร้างปูน […]

FUKAKUSA STUDIO HOUSE สตูดิโอของคู่รักงานไม้กลางป่าไผ่ในเกียวโต

บ้านกึ่งสตูดิโอ ของคู่รักงานไม้ ในจังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ทั้งคู่ได้ตัดสินใจสร้างบ้านเป็นของตนเอง จึงวางใจให้สถาปนิกจากสำนักงานออกแบบ masaru takahashi เป็นผู้สานฝันให้บ้านใหม่นี้ มีฟังก์ชันเป็นทั้งที่พักอาศัยเเละพื้นที่ทำงานคราฟต์ที่พวกเขาหลงรัก โดยเริ่มจากการหาทำเลดี ๆ ที่ถูกใจผ่านเว็บไซต์ จนมาพบกับที่ดินอันเงียบสงบใกล้ ๆ กับป่าไผ่ ซึ่งได้ทั้งวิวป่าไผ่และทุ่งนา กลายเป็นทิวทัศน์ที่ช่วยเสริมให้ บ้านกึ่งสตูดิโอ หลังนี้ ดูโดดเด่นสวยงามท่ามกลางธรรมชาติ แต่ที่ดินนี้ก็มีข้อจำกัดเรื่องปัญหาการเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติดินถล่ม อีกทั้งยังติดกฎระเบียบทางสถาปัตยกรรมมากมาย เช่น กฎหมายภูมิทัศน์เมืองเกียวโต ซึ่งได้กลายมาเป็นความท้าทายในการออกแบบครั้งนี้อย่างยิ่ง เนื่องจากที่ตั้งของบ้านอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน ซึ่งมีความสูงของพื้นที่ฝั่งหนึ่งมากถึง 1.7 เมตร จากฝั่งถนน และอีกฝั่งก็มีสภาพพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม ผู้ออกแบบจึงแก้ปัญหาด้วยการออกแบบผนังให้มีความหนา 250 มิลลิเมตร เพื่อเป็นกำแพงกันดินในฝั่งดังกล่าว ซึ่งมีธรณีสัญฐานเป็นดินและทราย ขณะเดียวกันก็พลิกข้อกำจัดของพื้นที่ให้เป็นโอกาสด้วยการผสานตัวอาคารให้เป็นหนี่งเดียวกับป่าไผ่ เริ่มจากการวางผังอาคารขนาด 3 ชั้น ที่หันทิศทางหน้าบ้านไปทางป่าไผ่ เพื่อมอบวิวดี ๆ สำหรับต้อนรับเมื่อเจ้าของเปิดประตูเข้าบ้าน พื้นที่ชั้น 1 กำหนดให้เป็นสตูดิโอทำงานไม้ เน้นช่องเปิดที่ให้แสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในให้มากที่สุด และมองเห็นป่าไผ่ขณะทำงานได้อย่างเต็มตา ในชั้นนี้กั้นห้องแบบผนังหนาพิเศษ สำหรับการทำงานไม้ที่มักมีเสียงดังรบกวน โดยวางห้องไว้ตำแหน่งในสุด ส่วนของโถงทางเข้าและโถงบันไดมีช่องเปิดเพียงเล็กน้อย เพื่อควบคุมปริมาณแสงสำหรับเป็นพื้นที่แกลเลอรี่จัดแสดงผลงาน […]

บ้านชั้นเดียว

บ้านชั้นเดียว กลางทุ่ง พร้อมพื้นที่เกษตรพอเพียง

บ้านชั้นเดียว กลางทุ่ง รูปทรงเรียบง่ายที่ผสมผสานด้วยฟังก์ชันเก๋ๆ  โดยเชื่อมต่ออยู่ภายใต้หลังคาจั่วเดียวกัน ท่ามกลางธรรมชาติอันสงบเงียบในจังหวัดปทุมธานี

แบบบ้านชั้นเดียว

บ้านชั้นเดียวบนเนิน โชว์ผิวสัมผัสไม้สน

แบบบ้านชั้นเดียว สร้างขึ้นจากไม้สนด้วยระบบน็อกดาวน์ โชว์สีสันและผิวสัมผัสแบบไม้สนอย่างสวยงาม คู่กับหลังคายางชิงเกิ้ลสีเทาดูเข้ากัน