บ้านปูนผสมไม้ อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ

บ้านปูนผสมไม้ ขนาด 2 ชั้น ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบ้านกลางสวนป่าของสถาปนิก Geoffrey Bawa ที่ศรีลังกา โดยอาศัยความร่มรื่นจากต้นไม้ใหญ่รอบบริเวณ

บ้านปูนทรงกล่อง โปร่งด้วยอิฐช่องลม และซ่อนผาจำลองไว้ภายใน

บ้านทรงกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวเรียบที่นิ่งจนเกือบจะดุดัน แต่มีเสน่ห์ด้วยช่องเปิดกว้างๆ พร้อมกับแพตเทิร์นของอิฐช่องลมที่มีความหลากหลายตั้งแต่แนวรั้วหน้าบ้านร้อยเรียงต่อเนื่องไปทั่วผนังอาคาร นั่นเพราะว่า บ้านหลังนี้ออกแบบขึ้นมาเพื่อเน้นฟังก์ชันการใช้งานภายในตามความต้องการของคุณหนู–มนต์ทิพย์ ลิปิสุนทรและคุณโป้ง-วิบูลย์ศิริ วิบูลย์มา ผู้เป็นเจ้าของ ที่อยากได้พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยถึง 3 ครอบครัว บนที่ดินเดิมซึ่งมีลักษณะเหมือนสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดราว 200 ตารางวา ฟังก์ชันภายในจึงเป็นตัวกำหนดผังพื้นที่เกือบ 1,000 ตารางเมตรใน บ้านปูนทรงกล่อง ขนาด 4 ชั้น ซึ่งเน้นมุมที่มองจากภายในออกมามากกว่าสร้างรูปทรงของบ้านให้โดดเด่นแล้วค่อยใส่ฟังก์ชันเข้าไป “เราเคยลองไปหาทำเลอื่นดูเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็เลือกที่จะรื้อบ้านหลังเดิมที่เก่ามากแล้วออก เพื่อสร้างหลังใหม่ให้ใหญ่พอสำหรับการใช้งาน โดยรวมครอบครัวคุณพ่อคุณแม่ของเราสองคนมาอยู่ด้วยกัน และยังมีห้องเผื่อสำหรับน้าและน้องสาวไว้ด้วย“คุณโป้งเล่าถึงโจทย์เริ่มต้น และเสริมด้วยว่าเขาเองก็ทำงานด้านรับเหมาตกแต่งภายในอยู่แล้ว อีกทั้งชอบในผลงานการออกแบบบ้านที่มีเส้นสายเรียบนิ่งของทีมสถาปนิก Anonym จึงน่าจะร่วมกันสร้างบ้านหลังนี้ได้ดี สถาปัตยกรรมที่เปิดให้สายลมพัดผ่าน สิ่งแรกที่คุณบอย–พงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ สถาปนิกผู้ออกแบบสัมผัสได้เมื่อมาดูพื้นที่คือสายลมเย็นที่ปะทะผ่าน เพราะหน้าบ้านหันไปทางทิศใต้และเป็นแนวช่องลมที่ดี ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการออกแบบบ้านที่เน้นการเปิดช่องลมควบคู่ไปกับคว้านสเปซภายในให้เกิดเป็นคอร์ตหน้าบ้านและตรงกลาง โดยคอร์ตหน้าบ้านออกแบบให้เป็นหน้าผาจำลองเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ที่หลงใหลการปีนผาของคุณโป้ง และคอร์ตตรงกลางเป็นแกนเชื่อมต่อมุมมองของทุกพื้นที่ในบ้าน รวมถึงเป็นช่องรับแสงธรรมชาติซึ่งส่องผ่านจากช่องหลังคากระจกใสด้านบนลงมา “เราออกแบบภายในให้เหมือนเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ที่แยกพื้นที่ของครอบครัวไว้ในแต่ละชั้น โดยมีชั้นล่างเป็นพื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน แล้วเปิดสเปซให้ลมหมุนเวียนได้ตั้งแต่คอร์ตปีนผาด้านหน้าเข้ามาถึงโถงนั่งเล่นด้านในซึ่งเป็นอีกคอร์ตหนึ่งที่มองเห็นทางเดินของแต่ละชั้นวางสลับเยื้องกัน และเติมแลนด์สเคปแทรกไปกับตัวบ้านด้วยการออกแบบกระบะปลูกต้นไม้เพื่อให้ทุกชั้นมีพื้นที่สีเขียวของตัวเอง เวลาใช้พื้นที่ทางเดินก็จะไม่รู้สึกเวิ้งว้างเพราะยังมองเห็นพื้นที่ส่วนอื่นได้ ส่วนหลังคากลางคอร์ตนี้เป็นกระจกใสติดฟิล์มกันร้อนและยกผนังก่อนถึงหลังคาไว้เกือบเมตรเพื่อเจาะเป็นช่องให้ลมถ่ายเทได้ ตามไดอะแกรมแล้วจึงมีช่องทางให้ลมเข้าออกในแต่ละชั้นได้ไปจนถึงชั้นบนสุดของบ้าน ในขณะที่การวางผังห้องจะยังมีความเป็นส่วนตัวอยู่“ ผนังคอนกรีตกับการเปิดของอิฐช่องลม ต่อเนื่องจากแนวคิดการเปิดช่องให้สายลมพัดผ่าน สถาปนิกยังเลือกใช้อิฐช่องลมโอบล้อมเป็นผนังส่วนใหญ่ของบ้าน ยกเว้นส่วนทิศตะวันตกที่เน้นการปิดทึบและกำหนดให้เป็นพื้นที่ของห้องน้ำไว้เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันแสงแดดเข้าถึงในทุกๆ ชั้น อีกทั้งเพิ่มความน่าสนใจด้วยการผสมผสานแพตเทิร์นของอิฐช่องลมที่หลากหลาย และไล่เรียงช่องเปิดมากขึ้นตามระดับการเข้าถึงในแต่ละชั้นจากชั้นล่างที่มีช่องเปิดน้อยเพื่อคงความเป็นส่วนตัวจากภายนอก […]

Maison T การพลิกโฉมบ้านจัดสรรเป็น Party House

ถ้าไม่บอกคงดูไม่ออกว่าบ้านดีไซน์จัดเต็มแบบนี้คือบ้านจัดสรรในโครงการ แถมยังเป็นคอนเซ็ปต์เฮ้าส์ที่ออกแบบในธีมปาร์ตี้ แล้วยังการันตีในดีไซน์จัดจ้าน ดีเทลแน่น ซึ่งออกแบบโดย Hyper-Haus ที่เป็นหนึ่งในบริการจาก Apostrophy’s Group มาดูกันว่าบ้านจัดสรรที่ใครๆต่างมีภาพจำว่าเป็นบ้านที่หน้าตาเหมือนๆกัน เมื่อผ่านการเมคโอเวอร์จะเป็นอย่างไร ออกแบบตกแต่งภายใน / ก่อสร้าง / พร็อปส์สไตลิสต์  : HYPER-HAUS  www.HYPER-HAUS.com เมคโอเวอร์บ้านจัดสรร 100 ตารางวา หลังนี้เป็นบ้านใหม่อยู่ในโครงการ บ้านจัดสรร ย่านราชพฤกษ์ พื้นที่ใช้สอย 320 ตารางเมตร บนพื้นที่ดิน 100 ตารางวา เจ้าของบ้านเป็นนักธุรกิจที่ชอบความพร้อม ความรวดเร็ว และการมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร บ้านจัดสรร พร้อมอยู่ในโครงการที่มีสาธารณูปโภคครบครันจึงตอบโจทย์ในขั้นแรก แล้วจึงสร้างเอกลักษณ์ด้วยดีไซน์และบริการออกแบบตกแต่งภายในจาก Hyper-Haus โดย คุณเบียร์ – พันธวิศ ลวเรืองโชค นักออกแบบ และ CEO Apostrophy’s Group เล่าถึงการออกแบบว่า “บ้านเดิมเป็นโครงสร้างเสาคานคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐฉาบปูนปกติ การทุบรื้อผนังจึงไม่มีปัญหาเหมือนผนังคอนกรีตสำเร็จรูป ข้อจำกัดของบ้านคือมีพื้นที่ขนาดเล็ก และฟังก์ชันไม่ตรงกับการใช้งานที่เจ้าของบ้านต้องการ จึงเมคโอเวอร์ภายในบ้านใหม่ทั้งหมด มีการทุบรื้อค่อนข้างมาก […]

บ้านปูนเรียบง่ายที่ออกแบบมาเพื่อชมดอย ชมดาว

บ้านปูนเรียบง่ายที่ดูไม่แปลกแยกจากบ้านของชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง บนทำเลที่อยู่บนเนินเขาที่มีระดับลาดเอียง  เป็นบ้านธรรมดาๆที่อยู่สบาย แต่ได้วิวดีสุดๆ ทั้งวิวดอยสุดลูกหูลูกตาในตอนกลางวัน และดวงดาวนับล้านในยามค่ำคืน สมกับชื่อของบ้านหลังนี้ที่ตั้งว่า “บ้านล้านดาว” สถาปนิก : คุณสะเทื้อม กะดีแดง  /  เจ้าของ : คุณธิดา สิริสิงห บ้านปูนต่างจังหวัด “บ้านล้านดาว” เป็นชื่อน่ารักๆที่ คุณธิดา สิริสิงห ตั้งให้บ้านหลังนี้ด้วยเหตุผลง่ายๆที่ว่าในคืนเดือนมืดหากได้ออกมานั่งที่ระเบียงบ้านก็จะมองเห็นดวงดาวมากมายเหลือคณานับ ที่ตั้งของบ้านหลังนี้อยู่บนเนินเขาที่มีระดับลาดเอียงในอาณาบริเวณประมาณสองไร่ครึ่งแถบอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภาพที่ปรากฏเบื้องหน้าของบ้านคือเวิ้งหุบเขาอันแสนกว้างใหญ่ที่ค่อยๆลดระดับลงไปเป็นแอ่งกระทะก่อนจะไปบรรจบกับแนวเทือกเขาด้านหลังของดอยสุเทพโดยปราศจากสิ่งใดๆขวางกั้น  บ้านปูนต่างจังหวัด  มองผิวเผินบ้านหลังนี้ดูคล้ายบ้านเดี่ยวที่มีระดับหลังคาต่างกัน แต่ที่จริงแล้วเป็นการสร้างบ้านแบบเรือนกลุ่มที่อยู่ใกล้ชิดกันโดยแยกเป็น 3 หลังหลักๆ ผนังภายนอกเป็นคอนกรีตเปลือย เรือนกลางหรือห้องอเนกประสงค์เป็นหลังใหญ่สุดใช้งานเป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนกลาง ตั้งอยู่ตรงกับทางเข้าบ้านพอดี ลักษณะเป็นห้องโปร่งไม่มีฝ้าเพดาน ปล่อยให้เห็นโครงสร้างของหลังคา ภายในห้องจัดมุมหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับประตูทางเข้าเป็นแพนทรี่ขนาดพอเหมาะ ส่วนพื้นที่ที่เหลือใช้เป็นส่วนนั่งเล่นแบบสบายๆ หน้าห้องนี้เป็นระเบียงกว้างที่จะได้เห็นภาพทิวทัศน์สวยๆดังที่กล่าวไปตอนต้น ส่วนห้องนอนสร้างแยกกันคนละด้านของเรือนกลาง ด้านหนึ่งเป็นห้องนอนใหญ่ ส่วนอีกด้านเป็นห้องนอนเล็กซึ่งเพิ่มมาในภายหลัง เพราะเจ้าของบ้านเห็นว่าเรือนกลางใช้เสาค่อนข้างสูง (เนื่องจากสร้างบนพื้นที่ลาดเอียง) ดูแล้วไม่ค่อยสวยงาม จึงสร้างห้องนี้โดยใช้โครงสร้างเดิม โดยห้องนอนแต่ละห้องเน้นความเรียบและโปร่ง ผนังด้านระเบียงทั้งสองห้องเป็นบานเลื่อนกระจกใสเพื่อเปิดมุมมองอันสวยงาม เฟอร์นิเจอร์ในห้องก็เลือกที่ดูเข้ากับบรรยากาศของการพักผ่อน เช่น เตียงหรือเก้าอี้หวายสีธรรมชาติ  บ้านปูนต่างจังหวัด  คุณธิดาพูดถึง “บ้านล้านดาว” ในตอนท้ายด้วยสีหน้าเปี่ยมสุขว่า […]

บ้านปูนชั้นเดียว ที่ยกใต้ถุนสูงเผื่อน้ำท่วม

บ้านปูนชั้นเดียว เท่ๆ หลังนี้ยกใต้ถุนขึ้นสูงประมาณ 1.60 เมตร เนื่องจากเคยมีน้ำท่วมมาก่อน มีชายคาคอนกรีตยื่นยาวประมาณ 4 เมตรโดยไม่มีเสารองรับ เพราะตั้งใจให้เป็นที่จอดรถ บ้านปูนชั้นเดียว หลังนี้เป็นของ คุณขวัญชัย สุธรรมซาว ผู้ก่อตั้งสำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ซึ่งตั้งใจสร้างบ้านนี้ให้คุณพ่อ คุณแม่ และน้องชาย ตัวบ้านตั้งอยู่บนที่ดินเดิมของบ้านคุณพ่อคุณแม่ ภายในชุมชนเล็กๆ ที่เงียบสงบของอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เป็นบ้านที่น่าอยู่และไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่เป็นบ้านที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ของผู้อยู่อาศัย รูปแบบของบ้านปูนชั้นเดียวนี้ดูโมเดิร์นทั้งหน้าตาและวิธีการคิด เส้นสายที่ตรงไปตรงมาและการออกแบบที่เน้นเรื่องการใช้งานเป็นหลัก ทำให้บ้านนี้ดูเข้ายุคสมัย คุณขวัญชัยบอกว่า นำวัสดุบางส่วนจากบ้านเก่าซึ่งปลูกในบริเวณใกล้เคียงกันมาซ่อมแซมและออกแบบใช้ใหม่กับบ้านนี้ให้มากที่สุด นอกจากช่วยประหยัดงบประมาณการก่อสร้างได้มากแล้วยังเป็นการรียูส (reuse) ซึ่งไม่ทำลายทรัพยากรโลกอีกด้วย เช่นไม้ทำระแนงและผนังตกแต่งก็เป็นไม้ส่วนพื้น บันได และจันทันของบ้านเก่า ผนังภายนอกของบ้านที่มีผิวเป็นคลื่นเป็นลอนก็คือกระเบื้องลอนคู่ของบ้านเก่าเช่นกัน นำมายึดติดกับผนังก่ออิฐเลย ไม่ต้องฉาบก่อน ประหยัดค่าฉาบผนังได้อีก บ้านชั้นเดียวหลังนี้มีการยกใต้ถุนขึ้นสูงประมาณ 1.60 เมตร เนื่องจากพื้นที่นี้เคยมีน้ำท่วมมาก่อน เจ้าของบ้านจึงอยากได้บ้านที่มีใต้ถุนเพื่อความอุ่นใจเวลาน้ำมา และพื้นที่นี้ยังใช้เป็นที่จอดรถและใช้งานในบางกิจกรรมหรือเป็นที่เก็บของได้ด้วย ข้อดีอีกอย่างของการยกพื้นก็คือ ทำให้บ้านไม่ร้อน เพราะลมพัดพาเอาความร้อนออกไปได้มากขึ้น บ้านวางผังเป็นรูปตัวแอล (L) ทำช่องเปิดรับแสงแดดยามเช้าด้านทิศตะวันออก แม้แสงจะสาดส่องเข้ามาถึงภายในบ้าน แต่ก็เป็นแสงอ่อนๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนผนังอาคารด้านที่หันสู่แสงแดดตรงๆ ก็มีระแนงแนวตั้งคอยกรองแสง […]

เปลี่ยนคอร์ตรับลมบ้านปูน เป็นบรรยากาศ บ้านไม้ฝั่งธน

พื้นที่ 100 ตารางวาผืนนี้ มีโจทย์เป็นบ้านสองหลังของพี่และน้อง โดยแบ่งที่ดินออกเป็นสองส่วนแต่ยังมีพื้นที่เชื่อมต่อเพื่อรำลึกถึงบรรยากาศ บ้านไม้ฝั่งธน ซึ่งทั้งสองเติบโต เป็นเป็นคอร์ตรับแสงซ่อนตัวไว้อยู่ภายในบ้านทรงโมเดิร์นภายนอก

รวมบ้านชั้นเดียว สวย น่าอยู่

บ้านชั้นเดียวดูจะเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคน อาจเพราะเป็นบ้านที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ดูแลรักษาได้ง่าย เป็นงานออกแบบที่เรียกว่า “อารยสถาปัตย์” หรือ Universal Design (UD) ซึ่งออกแบบมาให้คนทุกเพศทุกวัยสามารถใช้งานได้สะดวกสบาย โดยเฉพาะวัยผู้สูงอายุ ที่อาจมีข้อจำกัดทางด้านสุขภาพ ซึ่งเดินขึ้นบันไดไม่ค่อยสะดวก เราได้รวบรวม 7 บ้านชั้นเดียวน่าอยู่ ภายใต้บรรยากาศสุดชิล ห้อมล้อมด้วยความเป็นธรรมชาติ ที่ทำให้การอยู่อาศัยเต็มไปด้วยสุนทรียภาพแห่งความสุข บ้านชั้นเดียวน่าอยู่ ที่มีแนวคิดในการออกแบบที่เน้นความอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะตั้งอยู่ใกล้กับวัดเพียงแค่ข้ามถนนไป เจ้าของบ้านบอกว่าหากสร้างสองชั้นอาจไม่เหมาะสม เพราะจะอยู่สูงกว่าวัดซึ่งเป็นวัดที่ครอบครัวนับถือกันมานาน โดยสถาปนิกได้สอดแทรกสถาปัตยกรรมโมเดิร์นด้วยการใช้หลังคา Flat Slab ซึ่งมีการยื่นชายคาออกไปมากกว่าปกติเพื่อบังแสงแดดไม่ให้ตัวบ้านร้อน แต่ยังดูกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมที่ล้อมรอบด้วยสวนและต้นไม้ >> อ่านต่อ  เจ้าของ : คุณรัตนา – คุณชาตรี เตชะติ ออกแบบ : Is Architects Co., Ltd. โดยคุณศรายุทธ ใจคำปัน บ้านชั้นเดียวที่มีสวนเป็นคอร์ตยาร์ดอยู่กลางบ้าน แม้หน้าตาของบ้านจะดูเรียบง่าย มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน แต่แฝงการใช้งานแบบเต็มที่ มีการคิดเตรียมการเพื่ออำนวยความสะดวกแด่คุณแม่สุดที่รัก เพื่อให้ท่านได้ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ไร้ความกังวล >> อ่านต่อ  เจ้าของ […]

บ้านขนาดกะทัดรัด สำหรับอยู่กับคุณแม่ผู้สูงวัย

เชื่อว่าคนในเมืองใหญ่ที่อยากหลีกหนีความสับสนวุ่นวายไปอาศัยอยู่จังหวัดอื่นเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ทุกวัน หากไม่นับเงื่อนไขด้านเงินทองแล้วก็คงต้องติดเงื่อนไขอื่นๆ ทั้งหน้าที่การงานและการดูแลเอาใจใส่คนในครอบครัว การย้ายถิ่นฐานไปยังเมืองที่สงบ ร่มรื่น อากาศดี เพื่อสร้าง บ้านขนาดกะทัดรัด จึงเป็นไปไม่ได้ง่ายนัก เจ้าของ : ครอบครัวสุวัจฉราภินันท์ สถาปนิก : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 2929 Designlab โดย ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ ทว่าสำหรับ ดร.สันต์  สุวัจฉราภินันท์  สถาปนิกห้างหุ้นส่วนจำกัด 2929 Designlab และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลับมีจังหวะชีวิตที่ลงตัว เพราะที่ตั้งของ บ้านขนาดกะทัดรัด หลังใหม่นี้สอดรับกับหน้าที่การงานในตำแหน่งหัวหน้าหลักสูตรบัณฑิตศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งยังรองรับการอยู่อาศัยของคุณพ่อคุณแม่ซึ่งย้ายมาจากกรุงเทพฯเพื่อการดูแลได้อย่างใกล้ชิดในบรรยากาศที่คนวัยเกษียณท่านใดเห็นก็ต้องอิจฉา “บ้านหลังนี้เริ่มต้นจากเมื่อสองปีที่แล้วพยายามหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านของตัวเอง  ช่วงนั้นคุณแม่เริ่มป่วยและเข้าออกโรงพยาบาลบ่อย  ทำให้ต้องเดินทางไปกลับกรุงเทพฯ – เชียงใหม่อยู่เสมอ  จากที่คิดจะสร้างบ้านเพื่อตัวเองก็เริ่มเปลี่ยนแผนว่าจะสร้างบ้านให้คุณพ่อคุณแม่ย้ายมาอยู่ที่เชียงใหม่ด้วยกันแทน”อาจารย์สันต์เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของบ้านหลังนี้ให้เราฟัง “จากนั้นจึงมองหาที่ดินซึ่งมีคุณสมบัติ3 อย่าง  คือ  หนึ่ง  ต้องอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  สอง  ต้องอากาศดี  สาม  ราคาไม่แพงเกินไป  ดูมาหลายแห่ง  บางที่ก็สวยมากแต่ราคาแพง  บางที่อยู่ในโครงการหมู่บ้านซึ่งมีเงื่อนไขในการออกแบบบ้านจุกจิก  เราต้องการจะออกแบบบ้านเอง  จนมีคนแนะนำให้มาดูที่ดินแถวแม่ริมตรงนี้  พอมาดูที่ปุ๊บก็รู้สึกคลิกทันที  […]

บ้านปูน คู่กลางหุบเขากลิ่นอายสไตล์ทัสคานี

บ้านปูน สไตล์ทัสคานี ขนาดกะทัดรัดที่อยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่แวดล้อมด้วยหุบเขาในจังหวัดเชียงใหม่กับวิวธรรมชาติ

บ้านปูนดิบเท่ที่ขอมองโลกแบบ 360 องศา

  บ้านปูนเรียบโล่ง ที่สามารถมองออกไปเห็นวิวโดยรอบได้ 360 องศา ไม่ต้องมีอะไรมาบดบัง พร้อมสร้างเสน่ห์ให้บ้านด้วยการเลือกใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น อาทิ ไม้ กระเบื้องหลังคาลอนคู่ พื้นและผนังซีเมนต์ขัดมัน โดยใช้ช่างฝีมือในท้องถิ่นซึ่งไม่เน้นความ “เนี้ยบ” แต่ยังดูกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เจ้าของ – ไอเดียออกแบบ   :  คุณเนตรนภิส ภิรมย์รื่น คุณชัชวาล ขนขจี  และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรชัย เอกพลากร บ้านปูนเรียบโล่ง อาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมต่างขนาดเรียงต่อกันสามหลังตั้งตระหง่านคล้ายกับเป็นตัวแทนของเจ้าของบ้านสามท่าน ได้แก่ คุณเนตรนภิส ภิรมย์รื่น คุณชัชวาล ขนขจี และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรชัย เอกพลากร ซึ่งเป็นหุ้นส่วนช่วยกันดูแลเกสต์เฮ้าส์นามว่า love pai home “อยากจะทำบ้านในแบบของเราเอง เป็นบ้านโล่งๆ สามารถมองออกไปเห็นวิวโดยรอบได้ 360 องศา ไม่ต้องมีอะไรมาบดบัง ตอนแรกคิดว่าจะทำเป็นที่พักส่วนตัว แต่หลังๆถ้ามีแขกมาพักที่เกสต์เฮ้าส์ ก็สามารถเข้ามาดูทีวีหรือทำอาหารในครัวที่อยู่ข้างบ้าน ถือเป็นพื้นที่สาธารณะซึ่งใช้งานร่วมกันได้” คุณชัชวาล หนึ่งในหุ้นส่วนของเกสต์เฮ้าส์แห่งนี้และกราฟิกดีไซเนอร์กล่าว แม้ลักษณะภายนอกอาคารจะเป็นเหมือนกล่องสี่เหลี่ยมเรียงต่อกัน แต่แปลนภายในเป็นพื้นที่โล่งทะลุถึงกัน ไม่มีการกั้นห้องใดๆทั้งสิ้น โดยเจ้าของบ้านใช้ชั้นลอยเป็นส่วนนอน การออกแบบภายในเป็นลักษณะพื้นที่เดียวแต่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย (One […]

บ้านปูนผสมไม้เก่า รูปทรงเรียบง่ายอยู่ริมทุ่งนา

บ้านปูนผสมไม้ ขนาด 2 ชั้นที่ออกแบบให้วางขวางทิศทางของลม และเน้นช่องเปิดของประตูหน้าต่างจากงานไม้เก่าเพื่อรับลมธรรมชาติหมุนเวียน

บ้านทรงจั่ว ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ

ความสุขเล็กๆ จากการได้มองธรรมชาติผ่านมุมมองจากในบ้านหรือสถานที่ที่เราคุ้นเคยคือความสุขใจที่หลายคนโหยหา บ้านแนวคิด inside out จึงตอบโจทย์อารมณ์แบบนั้นได้ดี เหมือน บ้านทรงจั่ว ที่สวยสไตล์โมเดิร์นในอำเภอแม ่ริมจังหวัดเชียงใหม่ หลังนี้ซึ่งออกแบบเชื่อมโยงพื้นที่ภายนอกสู่ภายใน และมีพื้นที่ว่างเพื่อสร้างมุมมองภายในสู่ภายนอกที่ปลอดโปร่ง จึงเกิดภาวะน่าสบายและไม่ถูกจำกัดอยู่แค่ในกรอบสี่เหลี่ยม เจ้าของ : คุณสถาพร – คุณธิดา สิริสิงห สถาปนิก : บริษัทแผลงฤทธิ์ สถาปัตย์ จำกัด โดยคุณขวัญชัย สุธรรมซาว บ้านทรงจั่ว โครงปูนสองชั้นสไตล์โมเดิร์น ออกแบบแปลนเป็นรูปตัวซี(C) หันหน้าไปทางทิศเหนือ ทำให้ได้แสงธรรมชาติในช่วงบ่าย ด้านหน้าเป็นห้องนั่งเล่นชั้นเดียว เปิดเพดานโล่ง โดยมีหลังคาทรงจั่วแหลมสูงและมีแนวเอียงในองศาที่ต่างกัน เพื่อให้ส่วนต่างของโครงหลังคาทั้งสองมีช่องว่างที่เป็นช่องแสง ช่วยเพิ่มความสว่างให้ภายใน ส่วนด้านหลังเป็นบ้านทรงกล่องสองชั้น แปลนบ้านที่วางเป็นรูปตัวซี(C) ยังทำให้เกิดพื้นที่ว่างในส่วนกลางบ้าน ซึ่ง คุณขวัญชัยสุธรรมซาว  สถาปนิกผู้ออกแบบ บอกว่ามีส่วนคล้ายกับชานกว้างของบ้านเรือนไทยแต่บ้านนี้ปรับเป็นสระว่ายน้ำที่มีมุมนั่งเล่นรอบสระแทน ช่วยสร้างความรู้สึกเย็นสบายให้บ้านได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ตัวบ้านทั้งสองฝั่งยังช่วยบังแสงแดดยามบ่ายให้สระว่ายน้ำ รวมถึงห้องนั่งเล่นด้วย สำหรับชั้นสองของบ้านประกอบด้วยห้อนอนใหญ่และห้องนอนเล็ก ซึ่งแบ่งสัดส่วนเป็นมุมทำงานและอ่านหนังสือที่กว้างขวางเพียงพอ เน้นความทันสมัย เรียบง่าย ดูโปร่งสบายตา เลือกใช้โทนสีสว่างจากไม้สีอ่อน เช่นไม้ธรรมชาติ รวมถึงการเปิดช่องแสงในส่วนต่างๆ เช่น […]

บ้านปูน ดูทันสมัยแต่อบอุ่นด้วยงานไม้

บ้านปูน แลดูทันสมัยนี้สร้างใหม่แทนบ้านไม้หลังเก่าซึ่งอยู่กันมานาน เปลี่ยนผ่านช่วงอายุคนจากรุ่นสู่รุ่น แม้นัยหนึ่งรุ่นพ่ออาจยังมีความลังเลในความต่างจากรูปทรงและวิถีการอยู่อาศัยแบบเดิมๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านนี้ตั้งอยู่ในย่านชานเมืองเชียงใหม่ แวดล้อมด้วยบ้านใกล้เรือนเคียงซึ่งเป็นบ้านไม้เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็รับได้กับสิ่งที่เปลี่ยนไปตามที่รุ่นลูกเลือกสรร เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณเฉลิมชนม์ อินตื้อ สถาปนิก : บริษัทแผลงฤทธิ์ สถาปัตย์ จำกัด บ้านปูน หลังนี้มีจุดเริ่มต้นที่คุณเฉลิมชนม์  อินตื้อ เจ้าของบ้าน ซึ่งเล่าว่า “บ้านนี้รวมคนสามรุ่นมาอยู่ร่วมกัน  คือคุณพ่อคุณแม่ของผม  ผมกับภรรยา  และลูกของผมจึงอยากทำบ้านที่รวมทุกส่วนเข้าด้วยกัน  ตัวผมเองชอบบ้านรูปยาว  มีส่วนใช้สอยที่ต่อเนื่องกัน  ไม่ต้องกั้นเป็นห้องๆ  อยากได้แบบโล่งๆ  เดิมผมอยากได้บ้านชั้นเดียว  แต่พื้นที่ใช้สอยไม่พอกับความต้องการ  จึงจำเป็นต้องทำห้องนอนของผมอยู่ชั้นบน  ของคุณพ่อคุณแม่อยู่ชั้นล่าง  (คนละด้านของตัวบ้าน)  แต่สิ่งที่ระบุกับสถาปนิกอย่างชัดเจนก็คือ  อยากได้บ้านที่มีแปลนเป็นรูปตัวยู(U)” แม้ที่ดินจะเป็นรูปสามเหลี่ยมที่แต่ละด้านไม่เท่ากัน สถาปนิกก็สามารถออกแบบและวางผังตัวบ้านได้ลงตัว กล่าวคือ ได้แปลนบ้านรูปตัวยูตามความต้องการของเจ้าของบ้าน จัดสรรพื้นที่ภายในได้โล่งเรียบ และผังของบ้านก็ยังอยู่ในทิศทางที่แสงแดดเข้ามาในตัวบ้านเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น ด้านหนึ่งของห้องชั้นล่างจึงทำผนังกระจกใสเพื่อเน้นบรรยากาศแบบเปิดโล่ง ทำให้ภายในและภายนอกบ้านดูเหมือนเป็นส่วนเดียวกันตัวบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมตรงๆ ใช้ปูนเปลือยเป็นวัสดุหลัก แต่ก็มีการเลือกใช้หลากหลายเทคนิคทั้งฉาบเรียบ ฉาบมัน ฉาบผสมสีขาวและสีเทา ในแปลนรูปตัวยูนี้ด้านหนึ่งเป็นบ้านสองชั้น พื้นที่ใช้สอยต่างๆ อยู่ในส่วนนี้เกือบทั้งหมด ชั้นล่างประกอบด้วยส่วนรับแขก- นั่งเล่น […]

บ้านเล็กที่มีโถงบันไดกลางบ้าน เป็นพื้นที่สีเขียว

บ้านแคบยาวที่สถาปนิกแก้ปัญหาด้วยการสร้างวิวสวนกลางบ้าน ให้เป็นช่องเปิดแบบ 3 in 1 ใช้นำแสงมาสู่ตัวบ้าน เป็น โถงบันได และคอร์ทยาร์ดที่มีต้นไม้ใหญ่เชื่อม

บ้านปูน ที่มีความเป็นพื้นถิ่นไทยร่วมสมัย

คําว่า “บ้านไทยพื้นถิ่น” เป็นสิ่งที่หลายคนคงจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก แต่ บ้านปูน สไตล์โมเดิร์นหลังนี้ที่จังหวัดอ่างทองสามารถคลี่คลายนิยามของคําว่า “บ้านไทยพื้นถิ่นร่วมสมัย” ได้อย่างลงตัวและสวยงาม เพราะเป็นบ้านที่มีเอกลักษณ์แบบโมเดิร์น แต่ไม่ทิ้งภูมิปัญญาเดิม และมีความเข้าใจสภาพภูมิอากาศของไทย ชานบ้านเป็นพื้นที่โปรดของครอบครัว ทั้งใช้นั่งเล่น รับแขก วันหยุดก็นั่งอ่านหนังสือชมวิวสวนจากตรงนี้ บ้านหลังนี้ยัง เปิดรับลมรับแดดที่เป็นความสบายแบบชนบทอยู่ เพราะคําว่าพื้นถิ่นไม่จําาเป็นว่าจะต้องกลับไปใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก หลังคาต้องมุงจาก หรือทําาลวดลายแบบไทยดั้งเดิม แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะมีความสําคัญในเชิงวัฒนธรรม แต่สิ่งที่สําคัญกว่าก็คือพื้นฐานของการอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติ ซึ่ง บ้านปูน หลังนี้คือตัวอย่างของการทําความเข้าใจในบริบทพื้นถิ่นและวิถีการอยู่อาศัยที่เหมาะสม “เราชอบของเราแบบนี้ อยากให้บ้านมีเอกลักษณ์ เพราะที่นี่เป็นต่างจังหวัด อยากให้คนขับรถผ่าน แล้วก็รู้ว่านี่ แหละบ้านคุณพยอม” คุณพยอม อัคควุฒิ เจ้าของบ้าน เอ่ยตอบเราอย่างอารมณ์ดีเมื่อถามว่าทํา ไมผู้ใหญ่วัยใกล้เกษียณถึงทํา บ้านปูน ที่ดูทันสมัยได้เช่นนี้ แนวคิด บ้านปูน ผสมความเป็นชนบท “ผู้ออกแบบมาคุยกับเราและอธิบายส่วนต่างๆ ของบ้าน จริงๆ ก็เป็นบ้านที่เหมือนบ้านชนบทเรานี่แหละ ตรงชานบ้านเป็นพื้นที่โปรดของเราเลย ทั้งใช้นั่งเล่น รับแขก วันหยุดก็นั่งอ่านหนังสือชมวิวสวนจากตรงนี้ ไม่ใช่บ้านโมเดิร์นที่ปิดทึบเปิดแอร์ตลอดเวลา บ้านนี้ยังเปิดรับลมรับแดดที่เป็นความสบายแบบชนบทอยู่”คุณอุ้ม- รักตระกูล ใจเพียร และคุณแมน- ศตวรรษ […]

บ้านโมเดิร์น สีขาวโปร่ง รับแสงและเงาสวย

คงไม่มีใครปฏิเสธว่าความร่มรื่นของต้นไม้ ช่วยสร้างบรรยากาศที่น่าอยู่ ร่มเงาจากต้นไม้ยังช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านให้ต่ำกว่าอุณหภูมิภายนอก จึงช่วยสร้างภาวะน่าสบายได้ไม่ยาก เช่นเดียวกับ บ้านโมเดิร์น แถบชานเมืองของนครโฮจิมินห์ซิตีหลังนี้ซึ่งมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ไม่ต่างจากเมืองไทยเท่าไร แต่ภายในบ้านกลับเย็นสบายราวกับปลูกบ้านอยู่ใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่ เจ้าของ : Mr. Le Minh สถาปนิก : A 21 Studio นั่นเป็นเพราะกลุ่มสถาปนิกชาวเวียดนามที่ใช้ชื่อว่า A 21 Studio มีไอเดียในการออกแบบ บ้านโมเดิร์น หลังนี้โดยอิงกับธรรมชาติ และผลงานของพวกเขาก็กำลังเป็นที่จับตามองในวงการออกแบบของประเทศเวียดนาม ประตูรั้วภายนอกของบ้านออกแบบให้มีความสูงพอสมควร นอกจากดูปลอดภัยแล้ว ยังให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว ซึ่งเข้ากับนิสัยรักสันโดษ ของเจ้าของบ้าน เมื่อเดินเข้าไปภายในบ้านก็เห็น การจัดวางพื้นที่อย่างเรียบร้อยและสวยงามใน แบบฉบับ“มินิมัล” พื้นที่ของชั้นล่างออกแบบให้มีความต่อเนื่อง ไหลลื่น และดูโปร่งด้วยการกรุผนังกระจกใส แต่ละส่วนของบ้านไม่ว่าจะเป็นส่วนรับแขก ส่วนรับประทานอาหาร หรือแพนทรี่ สามารถมองเห็น กันได้ผ่านสวนเล็กๆ กลางบ้าน โดยทำช่องแสงด้านบนเพื่อเปิดรับแสงธรรมชาติเข้ามาสู่ภายใน และช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตต่อไปได้ ทั้งยังสร้างบรรยากาศร่มรื่น ดูสบายตาและสบายใจ การตกแต่งเน้นความเรียบเกลี้ยงของพื้นผิว วัสดุอย่างพื้นซีเมนต์ขัดมัน ผนังทาสีเรียบ และ ผนังกระจกใส ด้านในสุดออกแบบเป็นห้องนอนไว้ รองรับเพื่อนหรือญาติที่มาเยี่ยมเยือนเป็นครั้งคราว […]

20 บ้านชั้นเดียวที่มีคนเข้าชมมากที่สุด

นี่คือบ้านชั้นเดียวที่แฟนเว็บไซต์บ้านและสวนชื่นชอบมากที่สุด เราจึงขอรวมมาให้ชมกันในโพสต์นี้โพสต์เดียวแบบจุใจ สามารถเซฟภาพเก็บไว้ชมเพลินๆและใช้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบ้านของคุณได้ รับรองว่าสวยและน่าอยู่ทุกหลังเลยละ 1.บ้านชั้นเดียวกลางธรรมชาติ ออกแบบสถาปัตยกรรม: Anonym โดยคุณพงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ์ และคุณปานดวงใจ รุจจนเวทออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม : P_do Landscape Studio บ้านชั้นเดียวอยู่สบาย ที่เน้นบรรยากาศเงียบสงบ สามารถนั่งมองธรรมชาติอันเรียบง่ายรอบตัวที่มุมระเบียงไม้โปร่ง บรรยากาศเหมือนนั่งอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเกียวโต ก่อให้เกิดเเรงบันดาลใจจนนำมาสู่การออกแบบ บ้านชั้นเดียว ที่สร้างความสุขอันลึกล้ำและกลายเป็นช่วงเวลาแห่งความประทับใจ >>อ่านต่อ  2. บ้านปูนชั้นเดียวกลางสวน ติดริมคลอง โปร่งสบายน่าอยู่ เจ้าของ : คุณคำนึง ยินดีสุขออกแบบ : OTATO Architect โดยคุณภุชงค์ สถิรพิพัฒน์กุล บ้านปูนชั้นเดียวกลางสวน บ้านพักผ่อนที่หลานชายผู้เป็นสถาปนิกสร้างให้กับคุณตา โดยใช้พื้นที่ร่มรื่นขนาด 100 ตารางวา กลางสวนมะพร้าวติดริมคลองหนองสลิดมาเป็นทำเลหลัก โดยคงต้นไม้ใหญ่อย่างมะขาม ขนุน และมะพร้าวรอบๆ ไว้ จากนั้นจึงสร้างบ้านปูนแบบชั้นเดียวขึ้นมาด้วยพื้นที่ใช้สอย 75 ตารางเมตร ในรูปทรงเหมือนกล่องตัวยู (U) ต่อกันทั้งหมด 4 ก้อนเชื่อมต่อกันโดยมีการเว้นช่องหน้าต่างทรงสูงเล็กๆ ไว้เพื่อไม่ให้บ้านดูทึบเกินไป >> อ่านต่อ 3. […]

บ้านสีขาว ขนาดร้อยกว่าตารางเมตร

บ้านสีขาว ชั้นเดียวริมแม่น้ำแม่กลอง ในจังหวัดราชบุรี  ตกแต่งแบบมินิมัลผสมผสาน ภายในพื้นที่ร้อยกว่าตารางเมตร เมื่อบ้านที่อยู่ในเมืองไม่อาจมองเห็นท้องฟ้ากว้าง ไม่ได้สัมผัสกับสายน้ำเย็น หรือกระทั่งใกล้พื้นที่สีเขียวมากพอที่จะมาช่วยเติมเต็มความสดชื่นผ่อนคลายได้ คุณตู่-อภินันท์ ปัญญากร จึงมองหาพื้นที่ริมน้ำสวยๆ เพื่อสร้าง บ้านสีขาว เพื่อใช้เป็นพักตากอากาศหลังเล็กๆ ของตัวเอง แล้วก็บังเอิญได้มาพบกับพื้นที่ตรงใจฝันซึ่งถูกปล่อยทิ้งรกร้างอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองในจังหวัดราชบุรี คุณตู่เล่าว่า “เดิมทีตรงนี้เคยเป็นร้านหมูกระทะที่เลิกกิจการไปนานแล้ ว ก่อนจะกลายมาเป็นบ้านอยู่อาศัย ซึ่งตอนที่มาดูก็ทรุดโทรมไปมาก ที่ผมชอบก็คือแม้จะเป็นที่ดินติดถนนแต่ดูแล้วไม่รู้เลยว่ายังมีพื้นที่ที่เป็นเนินลาดลงไปจนถึงขอบตลิ่งริมน้ำได้ นั่นแปลว่าถ้าทำบ้านไว้อยู่ใต้ระดับแนวถนนลงไปก็จะไม่มีใครมองเห็นตัวบ้าน ทำให้ได้ความสงบและเป็นส่วนตัวมากๆ เลย” ด้วยสภาพบ้านเก่าและเนินดินโคลนที่ไม่ได้รับการดูแลมานาน คุณตู่จึงนำแนวคิดนี้ไปปรึกษากับคุณวิน- อิทธิพัทธ์ จิตติโชติพงศ์ มัณฑนากรคู่ใจ เมื่อเห็นพื้นที่ซึ่งมีด้านกว้างราว 8 เมตรแต่ขนานยาวไปตามขอบแม่น้ำสวยร่วม 20 เมตร ประกอบกับความต้องการบ้านพักผ่อนที่เรียบง่ายและสงบส่วนตัว ทั้งคู่จึงเกิดไอเดียเพิ่มเติมว่าจะทำส่วนของอาคารติดหน้าถนนให้เป็นคาเฟ่เล็กๆ ที่เปิดวิวออกสู่แม่น้ำได้ เพื่อซ่อนส่วนของบ้านพักผ่อนไว้ด้านล่าง โดยแยกทางเข้าไว้คนละทางเพื่อความเป็นส่วนตัวที่ชัดเจน คุณวินบอกถึงที่มาของการออกแบบนี้ว่า “เพราะที่นี่เป็นบ้านพักผ่อนซึ่งคุณตู่ไม่ได้อยู่อาศัยทุกวัน การมีคาเฟ่ด้านบนจึงไม่น่าเป็นปัญหาแถมยังสร้างรายได้จากพื้นที่ไปด้วย ผมจึงออกแบบให้เป็นอาคารสีขาวขนาด 2 ชั้นที่ดูเรียบง่ายที่สุด กลมกลืนไปกับบริบทของเพื่อนบ้าน และยังอยู่ในความชอบของผู้เป็นเจ้าของ ส่วนการวางผังภายในนั้นแบ่งไว้เป็น 3 ห้องนอนหลักเรียงต่อกันในแนวยาวเพื่อให้ทุกห้องได้ประโยชน์จากวิวแม่น้ำสวยๆ ได้เหมือนกัน พร้อมกับพื้นที่นั่งเล่นส่วนกลางขนาดกะทัดรัดซึ่งมีคอร์ตต้นไม้ขนาดเล็กในบ้าน ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ใช้สอยราวร้อยกว่าตารางเมตร” เมื่อต้องการสร้างอาคารแนบไปกับเนินดินที่ลาดลงต่ำกว่าระดับถนน […]