© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านชั้นเดียวขนาดเล็ก ท่ามกลางบรรยากาศทุ่งนาธรรมชาติในจังหวัดลำปาง ที่ออกแบบให้ “เฉลียง” เป็นหัวใจของบ้าน เพื่อรองรับวิถีชีวิตของคนในครอบครัว
Mr. New’s Cabin บ้านชั้นเดียวตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัด เชียงใหม่ ออกแบบโดย Housescape Design Lab เป็นบ้านที่ผู้ออกแบบนิยามว่าเป็น “กระท่อม” ของเจ้าของที่เป็นคนกรุงเทพฯ ที่สร้างเป็นบ้านสำหรับพักผ่อนตากอากาศในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งตั้งใจให้บ้านเชื่อมต่อกับธรรมชาติโดยรอบด้วยการทำช่องเปิดรอบบ้าน และรับวิวน้ำหรือ Lake ที่อยู่หลังบ้าน สร้างด้วยวัสดุเกือบทั้งหมดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Housescape Design Lab ตั้งคำถามต่อสถาปัตยกรรมผ่านการออกแบบ ข้อความที่สถาปนิกตั้งใจสื่อสารลงไปในบ้านหลังนี้ คือ การออกแบบรูปทรงคล้ายหินจริง แต่สร้างด้วยวัสดุคอนกรีต ครอบเสานอกบ้าน และในบ้านที่ใต้อ่างล้างจาน เป็นการสร้างสิ่งคล้ายธรรมชาติให้เกิดคำถามถึงการมีอยู่ระหว่าง “ของจริง” และ “ของสังเคราะห์” ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันทั้งสองอย่างนั้นผสมกลมกลืนจนกลายเป็นสิ่งเดียวกันไปแล้วในอาคารหลังหนึ่ง เช่น ในอาคารใหญ่อย่างห้างสรรพสินค้า ผนังที่กรุด้วยวัสดุหน้าตาเหมือนกับหินจริง แต่ความจริงแล้วกลับเป็นวัสดุสังเคราะห์ขึ้นมาให้ดูเหมือนกับของจริง แต่ในความรับรู้ของคนที่ใช้งานเข้าใจว่านั่นคือหินจริง เป็นการตั้งคำถามที่เกิดจากความสงสัยของสถาปนิก ที่ออกแบบเป็นรูปทรงเหมือนหิน ให้ความรู้สึกเหมือนกับเป็นวัสดุธรรมชาติอยู่ภายในบ้าน แต่เป็นวัสดุอื่นที่ผ่านการสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งเมื่อคนมาเห็นก้อนวัตถุนั้น จะเรียกสิ่งนั้นว่าอะไร คราฟต์บ้านด้วยวัสดุและช่างจากท้องถิ่นในบ้านหลังนี้ ผู้ออกแบบได้ทดลองเทคนิคการผลิตที่มากขึ้นจากผลงานก่อนหน้านี้ นอกจากหลังคา และคอนกรีตที่ใช้เป็นวัสดุจากโรงงาน วัสดุอื่นนอกจากสองอย่างนี้ใช้ของที่มีอยู่โดยรอบในรัศมี 10 กิโลเมตรทั้งสิ้น รวมไปถึงรายละเอียดอย่างประตู […]
บ้านปูน พื้นถิ่นร่วมสมัย ที่ดึงเสน่ห์ทั้งงานออกแบบและวัสดุท้องถิ่น ตลอดจนภูมิปัญญาช่างมาใช้ได้อย่างลงลึกซึ้งและลงตัว รองรับชีวิตวัยเกษียณได้ดี
บ้านชนบทสมัยใหม่ ที่หยิบยกความเป็นพื้นถิ่นมาใช้กับองค์ประกอบสำคัญของบ้าน อย่างรูปทรงอาคารที่มีหลังคาเป็นทรงจั่ว เพื่อให้บ้านดูถ่อมตัว
รวมรายชื่อ 20 สถาปนิกบ้านไม้ ผู้เชียวชาญการออกแบบบ้านไม้ที่อบอุ่น อยู่สบาย แบบไทยๆ
บ้านไม้พื้นถิ่นร่วมสมัย ซึ่งออกแบบให้มีสัดส่วนรูปทรงที่สอดคล้องกับการวางฟังก์ชันภายใน ดูกลมกลืนไปกับบ้านไม้ของชุมชนโดยรอบ
บ้านโมเดิร์นพื้นถิ่น ที่แสดงถึงตัวตนของความเป็น Craftmanship ผ่านการเล่นและทดลองวัสดุ จนเกิดเป็นความงามที่น่าสนใจ
บ้านหลองข้าว ที่ได้กลิ่นอายความเป็นบ้านพื้นถิ่น ขณะที่ยังมีสิ่งอำนวนความสะดวกตามสมควร เพื่อให้เหมาะกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน
ด้วยสภาพภูมิอากาศที่ต้องเผชิญกับลมมรสุม ทำให้ แบบบ้านสไตล์ปักษ์ใต้ ต้องรับมือกับลมฝนได้ดี เราจึงมักเห็นบ้านพื้นถิ่นภาคใต้นิยมใช้หลังคาปั้นหยา
แบบบ้านไม้พื้นถิ่นชั้นเดียว ความอบอุ่นของเนื้อไม้ รวมเข้ากับบ้านชั้นเดียว เกิดเป็นบ้านพักอาศัยที่มีความสวยอย่างเรียบง่าย แต่อยู่สบายแน่นอน
บ้านไม้พื้นถิ่นชั้นเดียว ที่ผสมผสาน “ขนำ” เพิงแบบภาคใต้ และ “เพิงผาม”ของภาคเหนือ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: YANGNAR STUDIO จาก “บ้านม่อนอิงสุข” ผลผลิตจากการตกหลุมรักภาคเหนือของเจ้าของบ้าน คุณน้ำ – วริษฐ์ เเละ คุณนุ่น – มุกดา วรรละออ ที่ตั้งใจสร้างไว้สำหรับมาพักผ่อนเเละอยู่อาศัยของครอบครัว เเต่เมื่อวันเวลาผ่านไปตัวบ้านเดิมต้องการขยับขยายพื้นที่เพื่อรองรับสมาชิกในครอบครัวที่แวะเวียนมามากขึ้น เเละตั้งใจปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นเกสต์เฮ้าส์ในอนาคต จึงเกิดเป็นไอเดียที่จะสร้าง “บ้านอิงสุข” เรือนขนาดกะทัดรัดขึ้นมาในเขตพื้นที่ดินเดียวกัน ภายใต้ข้อจำกัดทางงบประมาณ และที่ตั้งของโครงการซึ่งอยู่ลึกเข้าไปใกล้ทางเข้าอุทยานแห่งชาติออบขาน ด้วยความประทับใจในเเนวคิดของ ยางนาสตูดิโอ สถาปนิกผู้ออกแบบบ้านม่อนอิงสุข เจ้าของบ้านจึงมอบโจทย์ให้กับทางยางนาสตูดิโอเช่นเคยโดย คุณเดโชพล รัตนสัจธรรม เเละ คุณเมธี มูลเมือง มารับหน้าที่ออกแบบบ้านอยู่อาศัยขนาดเล็ก ที่มีข้อจำกัดและอยู่ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติที่สวยงามแห่งนี้ บ้านไม้พื้นถิ่นชั้นเดียว “โจทย์หลักของบ้านหลังนี้เราเริ่มกันที่งบประมาณ ให้ทางยางนาสตูิโอมาออกแบบและจัดสรรทรัพยากรที่หาได้ตามท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย รายละเอียดในการออกแบบบางอย่างจึงเกิดขึ้นหน้างาน ซึ่งผมค่อนข้างเปิดกว้าง เเละตั้งใจให้สถาปนิกสามารถทดลองไอเดียต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับทางยางนาด้วย” บ้านที่ประกอบขึ้นจากฟังก์ชันที่แสนจะเรียบง่ายเเละคำนึงถึงภาวะน่าสบาย บ้านหลังนี้ประกอบขึ้นจากฟังก์ชันการใช้งานพื้นฐานเพียงไม่กี่อย่าง แต่เพียงพอสำหรับการอยู่อาศัยได้อย่างสบายในขนาด 50 ตารางเมตร ด้วยลักษณะบ้านเเบบเรือนไทยพื้นถิ่น ภายในบ้านแบ่งแยกพื้นที่ออกจากกันและสามารถเชื่อมต่อถึงกันด้วยชานทางเดินซึ่งทอดยาวไปตลอดทั้งเเนวอาคาร การใช้งานในบ้านประกอบไปด้วยสามฟังก์ชันหลัก ได้แก่ […]
บ้านพื้นถิ่น หลังนี้รีโนเวตมาจากบ้านครึ่งไม้ครึ่งปูนดั้งเดิมที่เคยต่อเติมดัดแปลงมาแล้วหลายครั้ง โดยเน้นปรับแก้ไขปัญหาเดิมของบ้าน และสร้างฟังก์ชันให้เหมาะกับวิถีชีวิตใหม่ด้วยเสน่ห์ของงานช่างฝีมือท้องถิ่