บ้านพื้นถิ่นไทย – บ้านและสวน
thai-wood-house

บ้านพื้นถิ่นไทย ที่อบอุ่นด้วยงานไม้เก่า

บ้านพื้นถิ่นไทย บ้านไม้ ที่ออกแบบมาให้มีช่องเปิดรับแสงในทิศทางที่เหมาะสม มีช่องทางไหลเวียนของลมเพื่อระบายความร้อน ชายคายื่นยาวกันแดดกันฝน และเพิ่มมุมมองที่อบอุ่นนุ่มนวลด้วยงานไม้เก่า

บ้านไทย4ภาคร่วมสมัย

รวมบ้านสวย 4 ภาค ที่ออกแบบในสไตล์ไทยพื้นถิ่นร่วมสมัย

เพราะประเทศไทยในแต่ละภูมิภาคมีลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นแตกต่างกัน จึงทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ มีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเฉพาะตัวที่มีเสน่ห์แตกต่างกันไป เราได้รวบรวม บ้านไทย4ภาคร่วมสมัย ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แต่มีการผสมผสานฟังก์ชันการใช้งาน และความทันสมัยให้สอดรับกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบบ้านมีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นให้ภายในบ้านมีการระบายอากาศที่ดี และมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบบ้าน เพื่อให้คนในบ้านอยู่อาศัยได้อย่างสุขสบาย  บ้านที่มีต้นไม้เป็นศูนย์กลาง เจ้าของ : คุณสิทธิชัย บูรณะกิจไพบูลย์สถาปัตยกรรม – ตกแต่งภายใน : TA-CHA Designผู้รับเหมา : บริษัททวีมงคลก่อสร้าง (2000) จำกัด แม้หน้าตาของบ้านหลังนี้จะมีรูปแบบร่วมสมัย แต่ผู้ออกแบบได้หยิบสาระสำคัญของบ้านเรือนไทยภาคกลางมาใช้ มีการกำหนดฟังก์ชันการใช้งานเกือบเต็มพื้นที่ โดยมีพื้นที่ชานนอกบ้านใหญ่พอๆกับพื้นที่ใช้งานภายใน และให้ต้นไม้เป็นเหมือนศูนย์กลางที่รวมทุกส่วนไว้ด้วยกัน ชั้นล่างแบ่งเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร แต่ละห้องจะเปิดให้ดูโล่งและโปร่ง ส่วนตู้เก็บของทำเป็นงานบิลท์อิน ขณะที่เฟอร์นิเจอร์อื่นๆเลือกใช้แบบลอยตัว ส่วนชั้นบนก็เป็นห้องนอนของสมาชิกแต่ละคน และพื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมครอบครัวใหญ่เข้าด้วยกัน >> อ่านต่อ บ้านสวนริมคลองเจ้าของ: ครอบครัวตุ้มปรึกษาออกแบบ: คุณพงศกร ตุ้มปรึกษา บ้านริมคลองบางมดที่นำภูมิปัญญาของเรือนไทยพื้นถิ่นภาคกลางมาปรับให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและการใช้ชีวิตของครอบครัว เราจึงได้เห็นการยกใต้ถุนสูงหนีน้ำท่วม หนีปลวก การทำหลังคาทรงสูงให้อากาศไหลเวียน ชายคายื่นยาว มีช่องหน้าต่างและช่องคอสองช่วยระบายความร้อน […]

บ้านล้านนาประยุกต์ในอ้อมกอดธรรมชาติ

บ้านฝรั่งหัวใจไทยที่หลงใหลในมนตร์เสน่ห์เมืองล้านนา ออกแบบบ้านโดยอิงกับงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น บนทำเลที่ตั้งอยู่กลางหุบเขาซึ่งแวดล้อมด้วยทุ่งนา เจ้าของบ้านจึงทำระเบียงไว้รอบบ้านเพื่อให้ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนของบ้านก็ขอให้ได้เห็นวิวอันงดงามราวกับสวรรค์สร้างนี้ทุกเวลา เจ้าของ : คุณจอห์น มาร์ และคุณณัฐนันท์ พัศดุธาร ออกแบบ : คุณจอห์น มาร์ บ้านล้านนาประยุกต์ ผมเชื่อว่าใครก็ตามที่ได้มาเห็นความอ่อนช้อยของศิลปวัฒนธรรมไทยผสานกับภูมิประเทศที่งดงามของบ้านหลังนี้จะรู้สึกหลงใหลในมนตร์เสน่ห์แห่งความเรียบง่ายนี้ และผมก็คิดว่า คุณจอห์น มาร์ เจ้าของบ้านชาวอังกฤษผู้นี้คงรู้สึกเช่นเดียวกัน ทว่าเขาไม่เพียงชื่นชอบศิลปวัฒนธรรมล้านนาเท่านั้น แต่ยังตกหลุมรักแม่หญิงเชียงใหม่ คุณณัฐนันท์ พัศดุธาร กระทั่งตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศไทย คุณจอห์นเริ่มบทสนทนาว่า  “ผมทำธุรกิจเกี่ยวกับนำเข้าและส่งออกเฟอร์นิเจอร์อยู่ที่อังกฤษ ทำให้ต้องเดินทางไปดูสินค้าตามประเทศต่างๆเป็นประจำ เมื่อประมาณ 10 ปีก่อนได้มาเที่ยวเชียงใหม่ตามคำชักชวนของเพื่อนชาวไทยซึ่งเป็นพี่ชายของภรรยา พอได้มาสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่และงานศิลปะของชาวล้านนาก็เกิดความชื่นชอบจนถึงขั้นหลงใหล เลยตัดสินใจซื้อที่ดินเพื่อปลูกบ้านที่เชียงใหม่ ครั้งหนึ่งภรรยาพาไปเที่ยวคุ้มเจ้าบุรีรัตน์(น้อยมหาอินทร์)ในตัวเมืองเชียงใหม่ ผมรู้สึกชอบรูปทรงของตัวอาคาร จึงนำมาเป็นไอเดียในการทำบ้าน โดยทำเป็นเรือนหลักสำหรับพักอาศัยเองเพียงเรือนเดียว ไหนๆก็อยู่กันแค่สองคน มีแค่ห้องนอนกับห้องรับแขกอย่างละห้องก็พอ เนื่องจากทำเลของบ้านตั้งอยู่กลางหุบเขาที่แวดล้อมด้วยทุ่งนา ผมคิดว่าไม่ว่าจะนั่งอยู่ตรงไหนของบ้านก็ขอให้ได้เห็นวิว จึงทำระเบียงเสียรอบบ้านเลย” คุณณัฐนันท์เสริมว่า  “คุณจอห์นชอบธรรมชาติมากแต่เป็นฝรั่งขี้หนาว เปิดแอร์เปิดพัดลมไม่ได้เลย บ้านหลังนี้จึงไม่ได้ติดแอร์ แต่มีประตูอยู่รอบบ้านแทน ที่สำคัญคืออยากให้บ้านดูกลมกลืนกับธรรมชาติให้มากที่สุด ชั้นล่างของบ้านจึงทำเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ส่วนชั้นบนเป็นไม้ ส่วนเรือนรับรองที่สร้างแยกไปอีกหลังก็เกิดจากแนวคิดที่ว่าเวลามีญาติหรือเพื่อนฝูงมาจะไปพักที่โรงแรมก็ไม่สะดวก จึงทำไว้เพื่อความเป็นส่วนตัวของทั้งเราและแขกด้วย โดยเรือนรับรองได้แนวคิดมาจากเรือนไทยที่วังสวนผักกาด ลักษณะเป็นบ้านไทยในอยุธยา ใช้โทนสีดำ […]

บ้านปูน ที่มีความเป็นพื้นถิ่นไทยร่วมสมัย

คําว่า “บ้านไทยพื้นถิ่น” เป็นสิ่งที่หลายคนคงจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก แต่ บ้านปูน สไตล์โมเดิร์นหลังนี้ที่จังหวัดอ่างทองสามารถคลี่คลายนิยามของคําว่า “บ้านไทยพื้นถิ่นร่วมสมัย” ได้อย่างลงตัวและสวยงาม เพราะเป็นบ้านที่มีเอกลักษณ์แบบโมเดิร์น แต่ไม่ทิ้งภูมิปัญญาเดิม และมีความเข้าใจสภาพภูมิอากาศของไทย ชานบ้านเป็นพื้นที่โปรดของครอบครัว ทั้งใช้นั่งเล่น รับแขก วันหยุดก็นั่งอ่านหนังสือชมวิวสวนจากตรงนี้ บ้านหลังนี้ยัง เปิดรับลมรับแดดที่เป็นความสบายแบบชนบทอยู่ เพราะคําว่าพื้นถิ่นไม่จําาเป็นว่าจะต้องกลับไปใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก หลังคาต้องมุงจาก หรือทําาลวดลายแบบไทยดั้งเดิม แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะมีความสําคัญในเชิงวัฒนธรรม แต่สิ่งที่สําคัญกว่าก็คือพื้นฐานของการอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติ ซึ่ง บ้านปูน หลังนี้คือตัวอย่างของการทําความเข้าใจในบริบทพื้นถิ่นและวิถีการอยู่อาศัยที่เหมาะสม “เราชอบของเราแบบนี้ อยากให้บ้านมีเอกลักษณ์ เพราะที่นี่เป็นต่างจังหวัด อยากให้คนขับรถผ่าน แล้วก็รู้ว่านี่ แหละบ้านคุณพยอม” คุณพยอม อัคควุฒิ เจ้าของบ้าน เอ่ยตอบเราอย่างอารมณ์ดีเมื่อถามว่าทํา ไมผู้ใหญ่วัยใกล้เกษียณถึงทํา บ้านปูน ที่ดูทันสมัยได้เช่นนี้ แนวคิด บ้านปูน ผสมความเป็นชนบท “ผู้ออกแบบมาคุยกับเราและอธิบายส่วนต่างๆ ของบ้าน จริงๆ ก็เป็นบ้านที่เหมือนบ้านชนบทเรานี่แหละ ตรงชานบ้านเป็นพื้นที่โปรดของเราเลย ทั้งใช้นั่งเล่น รับแขก วันหยุดก็นั่งอ่านหนังสือชมวิวสวนจากตรงนี้ ไม่ใช่บ้านโมเดิร์นที่ปิดทึบเปิดแอร์ตลอดเวลา บ้านนี้ยังเปิดรับลมรับแดดที่เป็นความสบายแบบชนบทอยู่”คุณอุ้ม- รักตระกูล ใจเพียร และคุณแมน- ศตวรรษ […]

บ้านไทยพื้นถิ่น จากวัสดุสมัยใหม่ที่ผสานกันอย่างลงตัว

จากภูมิปัญญาการสร้าง บ้านไทยพื้นถิ่น และการนำวัสดุสมัยใหม่อย่างเหล็กมาผสมผสานได้อย่างลงตัว โดยมีสถาปนิกเป็นผู้รวบรวมองค์ความรู้และควบคุมทุกอย่างให้ตอบโจทย์

เฮือนธรรม บ้านใต้ถุนสูง พื้นถิ่นไทย ในขนบแบบญี่ปุ่น

จุดเด่นของ บ้านใต้ถุนสูง เฮือนธรรมคือการออกแบบที่ผสมผสานข้อดีของ บ้านพื้นถิ่นไทย เข้ากับลักษณะพื้นที่ใช้งานของบ้านญี่ปุ่น ลึกๆแล้วความงามของบ้านหลังนี้

บ้านไม้ในโครงสร้างเหล็ก ที่เล่าเรื่องไทยอีสานสมัยใหม่ในบริบทเดิม

บ้านไทยอีสานในรูปแบบสมัยใหม่ที่กลมกลืนไปกับบริบทของสิ่งแวดล้อมแบบชนบท ของคุณปิแอร์ เวอร์เมียร์ ที่อยู่เมืองไทยมาได้ 6 ปี จึงคุ้นเคยกับวิถีแบบไทยและติดใจในความเป็น “บ้านนอกที่อบอุ่น” ในจังหวัดอุดรธานีแห่งนี้