© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านพื้นถิ่น หลังนี้รีโนเวตมาจากบ้านครึ่งไม้ครึ่งปูนดั้งเดิมที่เคยต่อเติมดัดแปลงมาแล้วหลายครั้ง โดยเน้นปรับแก้ไขปัญหาเดิมของบ้าน และสร้างฟังก์ชันให้เหมาะกับวิถีชีวิตใหม่ด้วยเสน่ห์ของงานช่างฝีมือท้องถิ่
บ้านไม้ พื้นถิ่นใต้ถุนสูง ของสถาปนิกที่กลั่นกรองจากประสบการณ์การออกแบบ นำมาต่อยอด ทดลอง ให้เหมาะกับคนในครอบครัว
รวม แบบบ้านพื้นถิ่น ที่ออกแบบให้มีความร่วมสมัย เน้นความเรียง่าย เพื่อการใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย แต่ยังได้กลิ่นอายวิถีท้องถิ่น
บ้านสวนสไตล์พื้นถิ่นร่วมสมัย ออกแบบเป็น บ้านไม้โครงสร้างเหล็ก ที่เน้นการสร้างได้เร็ว ทันสมัย แต่ยังคงความอบอุ่น
บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ ทรงจั่ว ที่โอบล้อมด้วยป่าเขา หลังบ้านติดลำเหมือง มีศาลานั่งเล่น และเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติของลูกๆ “การตกหลุมรัก” คือจุดเริ่มต้นของบ้านหลังนี้ เนื่องจาก คุณน้ำ – วริษฐ์ วรรละออ ได้เดินทางมาเที่ยวภาคเหนืออยู่บ่อยครั้ง นอกจากได้พบกับภรรยาชาวเชียงราย คุณน้ำยังตกหลุมรักในบรรยากาศสบาย ๆ ของเมืองเหนือ จึงตั้งใจไว้ว่าจะกลับมาสร้างบ้านไว้อยู่อาศัยกับครอบครัวที่นี่สักวัน เมื่อเห็นว่าถึงเวลาประจวบเหมาะ คุณน้ำเเละน้องสาว คุณนุ่น – มุกดา วรรละออ จึงตัดสินใจจะซื้อที่ดิน และพบกับที่ดินว่างเปล่าซึ่งอยู่ท่ามกลางป่าเขาธรรมชาติแห่งนี้ ในตำบลน้ำแพร่ จังหวัดเชียงใหม่เพื่อสร้าง บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูนทรงจั่ว“หลังจากพบกับภรรยา ผมมีโอกาสได้มาเที่ยวเชียงใหม่บ่อย ๆ และชื่นชอบบรรยากาศในช่วงหน้าหนาว เพราะอากาศดีมาก จึงตั้งใจไว้ว่าอยากมีบ้านสักหลัง และพอดีเห็นว่าสถานที่แห่งนี้ตรงคอนเซ็ปต์หมดทุกอย่าง เป็นบ้านกลางป่า และอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่มากนัก เหมาะสำหรับจะเป็นที่ให้ทุกคนในครอบครัวได้มาใช้เวลาพักผ่อนร่วมกัน” บ้านพื้นถิ่นร่วมสมัย ที่ตั้งของบ้านหลังนี้โอบล้อมด้วยพื้นที่ธรรมชาติอันสวยงาม มีภูเขาเป็นฉากพื้นหลัง และเนื่องจากเป็นพื้นที่บริเวณร่องหุบเขา จึงมีลำเหมืองไหลผ่านอยู่ด้านหลังของผืนที่ดิน ริมขอบที่ดินมีต้นจามจุรีขนาดใหญ่ซึ่งเป็นต้นไม้เดิมคอยให้ร่มเงากับตัวบ้าน ด้วยธรรมชาติที่สวยงามนอกจากจะมีพื้นที่ใช้สอยหลักในบ้านแล้ว คุณน้ำจึงตั้งใจอยากให้มีพื้นที่สำหรับนั่งเล่นภายนอก รองรับกิจกรรมนอกบ้านของครอบครัวท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่นแห่งนี้คุณน้ำเล่าว่าตัดสินใจให้ยางนาสตูดิโอมาออกแบบบ้านหลังนี้ให้ เพราะชื่นชอบในสไตล์การออกแบบที่เรียบง่ายของทางสตูดิโอ มีความเป็นพื้นถิ่นในรูปแบบของยางนาสตูดิโอ แต่ทำตัวกลมกลืนกับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี โดยมีโจทย์ทำบ้านให้เรียบง่ายสอดคล้องกับธรรมชาติแวดล้อม และอาจจะสามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกสต์เฮาส์หรือคาเฟ่ได้ในอนาคตในวันที่ครอบครัวไม่ได้มาพักอาศัยเป็นประจำ ขอเพียงแต่อยู่ในงบประมาณที่ตั้งใจไว้ บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูนทรงจั่ว […]
เพราะประเทศไทยในแต่ละภูมิภาคมีลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นแตกต่างกัน จึงทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ มีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเฉพาะตัวที่มีเสน่ห์แตกต่างกันไป เราได้รวบรวม บ้านไทย4ภาคร่วมสมัย ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แต่มีการผสมผสานฟังก์ชันการใช้งาน และความทันสมัยให้สอดรับกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบบ้านมีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นให้ภายในบ้านมีการระบายอากาศที่ดี และมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบบ้าน เพื่อให้คนในบ้านอยู่อาศัยได้อย่างสุขสบาย บ้านที่มีต้นไม้เป็นศูนย์กลาง เจ้าของ : คุณสิทธิชัย บูรณะกิจไพบูลย์สถาปัตยกรรม – ตกแต่งภายใน : TA-CHA Designผู้รับเหมา : บริษัททวีมงคลก่อสร้าง (2000) จำกัด แม้หน้าตาของบ้านหลังนี้จะมีรูปแบบร่วมสมัย แต่ผู้ออกแบบได้หยิบสาระสำคัญของบ้านเรือนไทยภาคกลางมาใช้ มีการกำหนดฟังก์ชันการใช้งานเกือบเต็มพื้นที่ โดยมีพื้นที่ชานนอกบ้านใหญ่พอๆกับพื้นที่ใช้งานภายใน และให้ต้นไม้เป็นเหมือนศูนย์กลางที่รวมทุกส่วนไว้ด้วยกัน ชั้นล่างแบ่งเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร แต่ละห้องจะเปิดให้ดูโล่งและโปร่ง ส่วนตู้เก็บของทำเป็นงานบิลท์อิน ขณะที่เฟอร์นิเจอร์อื่นๆเลือกใช้แบบลอยตัว ส่วนชั้นบนก็เป็นห้องนอนของสมาชิกแต่ละคน และพื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมครอบครัวใหญ่เข้าด้วยกัน >> อ่านต่อ บ้านสวนริมคลองเจ้าของ: ครอบครัวตุ้มปรึกษาออกแบบ: คุณพงศกร ตุ้มปรึกษา บ้านริมคลองบางมดที่นำภูมิปัญญาของเรือนไทยพื้นถิ่นภาคกลางมาปรับให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและการใช้ชีวิตของครอบครัว เราจึงได้เห็นการยกใต้ถุนสูงหนีน้ำท่วม หนีปลวก การทำหลังคาทรงสูงให้อากาศไหลเวียน ชายคายื่นยาว มีช่องหน้าต่างและช่องคอสองช่วยระบายความร้อน […]
บ้านไม้ พื้นถิ่น ที่โอบล้อมไปด้วยทิวทัศน์ของขุนเขาและทุ่งนา เป็นโฮมสตูดิโอของศิลปิน“ เขียนไขและวานิช ”
บ้านฝรั่งหัวใจไทยที่หลงใหลในมนตร์เสน่ห์เมืองล้านนา ออกแบบบ้านโดยอิงกับงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น บนทำเลที่ตั้งอยู่กลางหุบเขาซึ่งแวดล้อมด้วยทุ่งนา เจ้าของบ้านจึงทำระเบียงไว้รอบบ้านเพื่อให้ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนของบ้านก็ขอให้ได้เห็นวิวอันงดงามราวกับสวรรค์สร้างนี้ทุกเวลา เจ้าของ : คุณจอห์น มาร์ และคุณณัฐนันท์ พัศดุธาร ออกแบบ : คุณจอห์น มาร์ บ้านล้านนาประยุกต์ ผมเชื่อว่าใครก็ตามที่ได้มาเห็นความอ่อนช้อยของศิลปวัฒนธรรมไทยผสานกับภูมิประเทศที่งดงามของบ้านหลังนี้จะรู้สึกหลงใหลในมนตร์เสน่ห์แห่งความเรียบง่ายนี้ และผมก็คิดว่า คุณจอห์น มาร์ เจ้าของบ้านชาวอังกฤษผู้นี้คงรู้สึกเช่นเดียวกัน ทว่าเขาไม่เพียงชื่นชอบศิลปวัฒนธรรมล้านนาเท่านั้น แต่ยังตกหลุมรักแม่หญิงเชียงใหม่ คุณณัฐนันท์ พัศดุธาร กระทั่งตัดสินใจใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศไทย คุณจอห์นเริ่มบทสนทนาว่า “ผมทำธุรกิจเกี่ยวกับนำเข้าและส่งออกเฟอร์นิเจอร์อยู่ที่อังกฤษ ทำให้ต้องเดินทางไปดูสินค้าตามประเทศต่างๆเป็นประจำ เมื่อประมาณ 10 ปีก่อนได้มาเที่ยวเชียงใหม่ตามคำชักชวนของเพื่อนชาวไทยซึ่งเป็นพี่ชายของภรรยา พอได้มาสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่และงานศิลปะของชาวล้านนาก็เกิดความชื่นชอบจนถึงขั้นหลงใหล เลยตัดสินใจซื้อที่ดินเพื่อปลูกบ้านที่เชียงใหม่ ครั้งหนึ่งภรรยาพาไปเที่ยวคุ้มเจ้าบุรีรัตน์(น้อยมหาอินทร์)ในตัวเมืองเชียงใหม่ ผมรู้สึกชอบรูปทรงของตัวอาคาร จึงนำมาเป็นไอเดียในการทำบ้าน โดยทำเป็นเรือนหลักสำหรับพักอาศัยเองเพียงเรือนเดียว ไหนๆก็อยู่กันแค่สองคน มีแค่ห้องนอนกับห้องรับแขกอย่างละห้องก็พอ เนื่องจากทำเลของบ้านตั้งอยู่กลางหุบเขาที่แวดล้อมด้วยทุ่งนา ผมคิดว่าไม่ว่าจะนั่งอยู่ตรงไหนของบ้านก็ขอให้ได้เห็นวิว จึงทำระเบียงเสียรอบบ้านเลย” คุณณัฐนันท์เสริมว่า “คุณจอห์นชอบธรรมชาติมากแต่เป็นฝรั่งขี้หนาว เปิดแอร์เปิดพัดลมไม่ได้เลย บ้านหลังนี้จึงไม่ได้ติดแอร์ แต่มีประตูอยู่รอบบ้านแทน ที่สำคัญคืออยากให้บ้านดูกลมกลืนกับธรรมชาติให้มากที่สุด ชั้นล่างของบ้านจึงทำเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ส่วนชั้นบนเป็นไม้ ส่วนเรือนรับรองที่สร้างแยกไปอีกหลังก็เกิดจากแนวคิดที่ว่าเวลามีญาติหรือเพื่อนฝูงมาจะไปพักที่โรงแรมก็ไม่สะดวก จึงทำไว้เพื่อความเป็นส่วนตัวของทั้งเราและแขกด้วย โดยเรือนรับรองได้แนวคิดมาจากเรือนไทยที่วังสวนผักกาด ลักษณะเป็นบ้านไทยในอยุธยา ใช้โทนสีดำ […]
เอาใจคนรักบ้านสไตล์ล้านนา ด้วยไอเดียการแต่งบ้านไม้ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของภาคเหนือ แต่มีการผสมผสานฟังก์ชันการใช้งาน และความทันสมัยให้สอดรับกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบบ้านมีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นให้ภายในบ้านมีการระบายอากาศที่ดี และมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบบ้าน เพื่อให้คนในบ้านอยู่อาศัยได้อย่างอบอุ่น สบายกายและสบายใจ 1.บ้านตถตา บ้านไม้บนรอยเท้าของชาวล้านนา เจ้าของ : แพทย์หญิงจิตราภรณ์ ความคนึง และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร บ้านล้านนาอยู่สบาย สถาปัตยกรรม: บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด โดยคุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์ ออกแบบภายใน : คุณปรียชนัน สายสาคเรศ ผู้รับเหมา: คุณวันไชย หงษ์แก้ว (สล่าเก๊า) ผู้ควบคุมงาน : ยางนาสตูดิโอ และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร บ้านพื้นถิ่นประยุกต์ที่เลือกเฟ้นไม้เก่าจากบ้านในจังหวัดน่านมาออกแบบใหม่ โดยไม่ทิ้งงานฝีมือเชิงช่างของล้านนา ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านสนใจ นอกจากนี้ผู้ออกแบบยังกำหนดให้ภายในบ้านมีพื้นที่เชื่อมโยงกัน โดยรวมใต้ถุนกับชานเป็นส่วนเดียวกัน สามารถนั่งรับลมได้ภายใต้บรรยากาศที่เสมือนโอบล้อมด้วยป่าใหญ่ ส่วนภายในบ้านก็มีความโปร่งโล่ง สามารถมองเห็นกันและกันได้ในทุกพื้นที่ อีกทั้งการเปิดพื้นที่ส่วนต่างๆ เพื่อรับลมก็ยังเหมาะสมกับภูมิอากาศของเมืองไทยด้วย อ่านต่อ 2.บ้านน้อยบนดอยที่มีวิวภูเขาโอบล้อม 360 องศา เจ้าของ-ออกแบบ : คุณณชนก […]
บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย ผ่านการออกแบบให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นเรือนปักษ์ใต้ร่วมสมัยที่เชื่อมโยงคนสามรุ่นไว้ด้วยกัน DESIGNER DIRECTORY : ออกแบบ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และ อรวี เมธาวี / ก่อสร้าง : บุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต / เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด บ้านไม้ หลังนี้เริ่มต้นมาจากการที่คุณพ่อปรีชา และคุณแม่สมทรง รอดสุด คุณพ่อคุณแม่ของคุณวิวัฒน์ รอดสุด ผู้ทำหน้าที่จัดการการสร้างบ้านหลังนี้ คิดที่จะสร้างบ้านเพื่อเป็นที่ระลึกเเด่คุณตาคุณยายจากไม้เก่าที่เหลือจากการรื้อบ้านเดิม เชื่อมโยงเเละส่งต่อความผูกพันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน จนเป็นที่มาของการตั้งชื่อบ้านว่า “เรือนพินรัตน์” ซึ่งเป็นชื่อของคุณตาวิรัตน์ และคุณยายพิน ศิริธร นั่นเอง ฉะนั้นเรือนหลังนี้จึงเป็นเสมือนบ้านส่วนกลางของครอบครัวสำหรับเหล่าลูกหลานเมื่อได้มาที่พัทลุงก็มักจะมาพักอาศัยที่เรือนหลังนี้ได้ โดยมีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว โดยเจ้าของวางแผนไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อาจจะปรับเปลี่ยนที่นี่ทำเป็นโฮมสเตย์ต่อไป แต่ในปัจจุบัน “เรือนพินรัตน์” ยังคงทำหน้าที่เป็นเรือนรับรองของครอบครัวรอดสุด ที่ทุกคนต่างมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเยือนเเละพักผ่อนร่วมกัน แกะรอยความทรงจำ ก่อนหน้าที่จะเริ่มขั้นตอนออกแบบ คุณวิวัฒน์ได้มีการเก็บข้อมูลภาพรูปแบบบ้านพื้นถิ่นของพัทลุงไว้ ซึ่งมีทั้งแบบเก่าและแบบร่วมสมัย เพื่อนำมาใช้เป็นโจทย์ตั้งต้น […]
จากภูมิปัญญาการสร้าง บ้านไทยพื้นถิ่น และการนำวัสดุสมัยใหม่อย่างเหล็กมาผสมผสานได้อย่างลงตัว โดยมีสถาปนิกเป็นผู้รวบรวมองค์ความรู้และควบคุมทุกอย่างให้ตอบโจทย์
จุดเด่นของ บ้านใต้ถุนสูง เฮือนธรรมคือการออกแบบที่ผสมผสานข้อดีของ บ้านพื้นถิ่นไทย เข้ากับลักษณะพื้นที่ใช้งานของบ้านญี่ปุ่น ลึกๆแล้วความงามของบ้านหลังนี้