Wood and Mountain Cabin บ้านกระท่อม โฮมสเตย์กลางธรรมชาติ

ชวนคุณเดินทางไปอาบป่าพร้อมเยี่ยมเยือนโฮมสเตย์ใหม่ใน บ้านกระท่อม หลังน้อยท่ามกลางธรรมชาติที่  Wood and Mountain Cabin อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ของแบรนด์ Wood and Mountain และ If I were a carpenter แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไทยผู้รักงานไม้และภูมิปัญญาดั้งเดิม พร้อมพูดคุยกับ Sher Maker ทีมสถาปนิกท้องถิ่นที่รักการศึกษาวัสดุ และสถาปัตยกรรมเป็นชีวิตจิตใจ ออกแบบ : Sher Maker บ้านกระท่อม หรือ Cabin คือคีย์เวิร์ดที่เจ้าของโครงการมอบเป็นความคิดตั้งต้น ก่อนที่ทีมสถาปนิกผู้รักในงานไม้จะนำมาพัฒนาต่อยอด ชนิดที่เรียกว่า ‘ได้ทดลองเต็มที่ทุกอย่างกับงานสถาปัตยกรรมประเภทกระท่อม’ ก่อนส่งมอบผลลัพธ์เป็นงานสถาปัตยกรรม ที่ตอบโจทย์ทั้งการใช้งานและใช้ชีวิต แม้จะเป็นงานที่เข้าทางและดูเหมือนง่าย แต่ก็แอบมีรายละเอียดที่ท้าทายอย่างมาก อีกงานหนึ่งของทีมผู้ออกแบบเลยก็ว่าได้ รูปทรง ภายใต้โปรแกรมการทำงานที่ธรรมดา กลับมีรายละเอียดของความไม่ธรรมดาซ่อนอยู่ ซึ่งถูกคิดคำนวณและจัดสรรมาอย่างดี ผ่านการทำความเข้าใจในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมร่วมกันระหว่างสถาปนิกกับเจ้าของ​ “เวลาพูดถึงเคบิน (Cabin) หลายคนมักจะใช้คำว่า Homestay แต่เจ้าของให้คำสำคัญกับเรามาเลยว่า Cabin in the Middle of […]

บ้านเล็กที่มีโถงบันไดกลางบ้าน เป็นพื้นที่สีเขียว

บ้านแคบยาวที่สถาปนิกแก้ปัญหาด้วยการสร้างวิวสวนกลางบ้าน ให้เป็นช่องเปิดแบบ 3 in 1 ใช้นำแสงมาสู่ตัวบ้าน เป็น โถงบันได และคอร์ทยาร์ดที่มีต้นไม้ใหญ่เชื่อม

รวม 8 บ้านหน้าแคบ แต่ภายในแอบแซ่บ

บ้านหน้าแคบ คือ หนึ่งในปัญหาที่ท้าทายสำหรับสถาปนิก ซึ่งจะต้องคิดหาหนทางการแก้ปัญหาให้เจ้าของบ้านได้มีพื้นที่ใช้สอยอย่างพอเพียง

3 GREEN SPACES HOUSE บ้านชั้นเดียวขนาดเล็ก แต่แอบซ่อนมุมพักผ่อนสีเขียวไว้ถึง 3 จุด

บ้านชั้นเดียว ขนาดเล็กหลังนี้ ซ่อนความเซอร์ไพร้ส์ไว้ด้านในกับการออกแบบพื้นที่ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า แม้จะมีพื้นที่ใช้งานที่ค่อนข้างแคบและเล็ก แต่เชื่อไหมว่าที่นี่มีสวนสีเขียวอยู่ถึง 3 จุด ไม่ใช่แค่เพียงส่วนตรงหน้าบ้านเท่านั้น จะมีมุมไหนน่าตามไปเก็บไอเดียบ้าง เปิดบ้าน 3 GREEN SPACES HOUSE แล้วตามไปสำรวจด้านในพร้อมกันได้เลย 3 GREEN SPACES HOUSE เป็น บ้านชั้นเดียว ที่สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชีวิตได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองที่มีความพลุกพล่านอย่างเมืองไซง่อนไปราว 20 กิโลเมตร ที่นี่เกิดขึ้นจากความต้องการของคู่รักหนุ่มสาวเจ้าของบ้าน ที่อยากให้บ้านของพวกเขามีความเป็นส่วนตัว ขณะเดียวกันก็อยากมีสวนไว้พักผ่อนภายในบ้านได้อย่างเต็มที่ สวนขนาดเล็กจึงถูกแทรกให้อยู่แทบทุกมุมของการใช้ชีวิต    ด้วยพื้นที่ของบ้านที่กว้างเพียง 4.4 เมตร และมีความยาวของบ้านทั้งสองด้านไม่เท่ากันคือ 19 เมตร และ 23 เมตร สถาปนิกจึงได้แบ่งพื้นที่ใช้งานอย่างยืดหยุ่น เริ่มตั้งแต่ด้านหน้าบ้าน เมื่อมองภายนอกหลายคนอาจเห็นว่านี่คือบ้านอิฐที่มีดีไซน์ดูน่ารัก พร้อมสวนหน้าบ้านบริเวณลานจอดรถขนาดเล็ก แต่เมื่อก้าวเข้ามาด้านในพื้นที่แรกที่รอทักทายอยู่คือพื้นที่ห้องครัว ซึ่งใช้เป็นพื้นที่ส่วนกลางไปในตัว พิเศษด้วยมุมสวนที่จัดขนานไปตามความยาวของบ้าน เพื่อให้ได้รับแสงแดด ลม และสัมผัสกับต้นไม้ได้ตลอดเวลาที่พักผ่อนอยู่ด้านใน นอกจากสวนบริเวณพื้นที่ห้องครัวแล้ว หลังบ้านยังออกแบบสวนที่มีสระน้ำ เชื่อมพื้นที่ระหว่างห้องนอนกับห้องน้ำโดยมีฝักบัวอาบน้ำกลางแจ้ง เรียกว่าเมื่อตื่นนอนยามเช้า เจ้าของสามารถสัมผัสกับความสดชื่นของสวนที่มองเห็นวิวท้องฟ้าด้านบนได้ทันทีที่เปิดประตูกระจกบานสไลด์ออก จะนั่งห้อยขาสัมผัสน้ำเย็น […]

Chiang Mai City วิถีชน (ใน) เมือง

แฟน “บ้านและสวน” หลายท่านน่าจะคุ้นชื่อของ คุณขวัญชัย สุธรรมซาว กันดี สถาปนิกรุ่นใหม่แห่งบริษัทแผลงฤทธิ์ จำกัด คนนี้เป็นหนึ่งในผู้เปิดแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีประสบการณ์ออกแบบบ้านและอาคารต่างๆ มานานนับ 10 ปี DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Plankrich เมื่อต้องมาออกแบบบ้านของตัวเอง หลายคนอาจคิดว่าเขาจะออกแบบให้มหัศจรรย์พันลึกด้วยเทคนิคพิเศษอย่างไรก็ได้ แต่เอาเข้าจริงบ้านของคุณขวัญชัยกลับดูเรียบง่าย เพราะสิ่งที่เขาเน้นก็คือทำเล ซึ่งสะดวกสำหรับการใช้ชีวิตในเขตเมืองที่ต้องการความคล่องตัว ทว่าปัจจุบันที่ดินในเขตเมืองเชียงใหม่นั้นกลายเป็นพื้นที่ทางธุรกิจหรือคอนโดมิเนียมไปหมด การหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านสักหลังนั้นยากเต็มทน “การสร้างบ้านในเมืองเชียงใหม่เป็นเรื่องยากแล้วครับ เพราะที่ดินมีราคาแพงมาก ไม่อย่างนั้นก็ต้องออกไปอยู่นอกเมือง แต่เมื่อผมเลือกอยู่ในเมืองบ้านเป็นหลังๆ นั้นตัดออกไปได้เลย ทางเดียวที่จะได้ที่อยู่อาศัยที่ใกล้เคียงกับบ้านก็คือตึกแถว ผมตระเวนหาจนมาเจอที่ตรงนี้ ขนาดกำลังพอดีคือ 3 คูหา ไม่ใหญ่เกินไป แล้วจึงปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเลยครับ” การปรับปรุงในที่นี้คือการทุบรื้อทุกส่วนออกทั้งหมด ไม่เหลือแม้กระทั่งบันได คงไว้แค่เพียงเสากับคานเท่านั้น มีการจัดแปลนใหม่ สร้างพื้นที่ใช้สอยใหม่ แม้ทั้ง 3 คูหาจะออกแบบไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่โครงสร้างเดิมที่บังคับอยู่ก็ทำให้ดูไม่แตกต่างกันเท่าไร คุณขวัญชัยเลือกห้องริมขวาสุด (หากหันหน้าเข้าตัวอาคาร) เพราะมีพื้นที่ว่างข้างอาคารก่อนสุดแนวรั้วกับบ้านข้างเคียง ส่วนที่เหลืออีก 2 คูหาทำเพื่อขาย ตึกแถวสามชั้นนี้อาจมีหน้ากว้างไม่ต่างจากตึกแถวทั่วไป แต่มีความลึกน้อยกว่า เมื่อปรับปรุงแล้วจะไม่มีชั้นลอยเหมือนที่เราคุ้นตากัน หากมองขึ้นเพดานจะเห็นว่าคุณขวัญชัยวางตงและพื้นไม้ […]

ปริ่มสุขในพื้นที่จำกัด

  บ้านที่ดีควรเป็นบ้านที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ บ้านหลังนี้ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบให้สัมพันธ์กับอากาศร้อนชื้นของเมืองไทย เบื้องหลังประตูตะแกรงเหล็กสีดำคือบ้านสไตล์โมเดิร์นของ คุณเอ – จิรสีห์ และ คุณสุพินดา เตชาชาญ ซึ่งสร้างบ้านเกือบเต็มพื้นที่ ทำให้บ้านดูใหญ่และโอ่โถง ทั้งที่ขนาดที่ดินไม่ได้ใหญ่มาก เมื่อก้าวเข้าไปภายในบ้านเราสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นที่ฟุ้งกระจายไปทั่วบ้าน พร้อมกับสายลมอ่อนๆ ที่พัดเข้ามาตลอดเวลา “เดิมทีที่ดินตรงนี้เป็นสนามหญ้าของบ้านคุณแม่คุณเอ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 65 ตารางวา และคุณเอต้องการใช้เป็นเรือนหอครับ” คุณรักศักดิ์ สุคนธะตามร์ สถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน และยังเป็นเพื่อนสนิทของคุณเอด้วย เกริ่นนำให้เราฟัง “โจทย์แรกที่ผมได้รับก็คือคุณเอเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ชอบอยู่ในพื้นที่อับๆอยากได้บ้านที่โปร่งโล่ง และต้องการพักผ่อนสบายๆ ในบ้านที่ให้อารมณ์กึ่งๆรีสอร์ต เพราะเป็นคนชอบอยู่บ้าน และต้องมีมุมสำหรับปาร์ตี้สังสรรค์กันทุกเดือน” คุณรักศักดิ์เท้าความถึงวันแรกๆ ของการพูดคุยกับคุณเอ นับจากวันนั้นเขาและทีมงานก็กลับมาทำการบ้าน โดยพิจารณาจากความต้องการของเจ้าของบ้านและข้อจำกัดของพื้นที่ จนได้แนวคิดหลักในการออกแบบ “เรามองว่าจะต้องเป็นบ้านที่อยู่สบาย ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า ประหยัดพลังงาน ที่สำคัญรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด” ตัวอาคารใช้โครงสร้างเหล็กกรุกระจกใส ซึ่งตอบโจทย์ความชื่นชอบบ้านสไตล์โมเดิร์นของเจ้าของบ้าน นอกจากนี้ยังทำประตูเชื่อมระหว่างบ้านคุณเอกับบ้านคุณแม่ จุดเด่นที่น่าสนใจของบ้านนี้คือโครงสร้างเหล็กและประตูบานสูงชะลูดบริเวณทางเข้าบ้าน ซึ่งเปิดได้ทั้งหมด 4 ช่องทาง ทำให้เกิดทางระบายอากาศภายในบ้านระหว่างทิศเหนือกับทิศใต้ หลายท่านอาจสงสัยว่าการเลือกใช้กระจกจะเหมาะกับสภาพอากาศของบ้านเราจริงหรือ คุณรักศักดิ์ให้คำตอบว่า “หากเลือกวางตำแหน่งบ้านในทิศทางที่ถูกต้อง เน้นการรับแสงธรรมชาติเลี่ยงแดดจัด ก็จะทำให้บ้านที่ใช้กระจกได้สัมผัสกับความร่มรื่น ผมและทีมงานจะคำนวณด้วยโปรแกรมทุกครั้งก่อนออกแบบ เพื่อหาทิศทางของกระแสลมที่พัดในแต่ละช่วงเวลาตลอดทั้งปี […]