© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ในยุคที่โควิด – 19 ระบาด ออกไปไหนก็ลำบาก ไหนจะเศรษฐกิจฝืดเคือง การมีแหล่งอาหารในบ้านกลายเป็นสิ่งที่คนไทยเริ่มมองหา นอกจากการปลูกผักสวนครัวแล้ว การเลี้ยงไก่ไว้กินไข่ก็กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากไข่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี และวัตถุดิบคู่ครัวไทย อีกทั้งไก่บางสายพันธุ์เองก็เป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักน่าเอ็นดู สร้างความเพลิดเพลินได้ไม่น้อย “เล้าไก่” จึงกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สามารถออกแบบให้ล้อรับไปกับดีไซน์ของบ้าน หรือเป็นส่วนหนึ่งของบ้านได้อย่างไม่ขัดเขินอีกต่อไป เล้าไก่สวยๆ สามารถออกแบบได้ตามความต้องการของเจ้าของบ้าน แต่มีสิ่งหนึ่งที่อาจทำให้เจ้าของบ้านหลายคนกังวลใจ นั่นคือกลิ่นเหม็นของมูลไก่ แต่รู้หรือไม่การวางตำแหน่งเล้าไก่ในทิศที่เหมาะสม ช่วยลดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นได้ ตำแหน่งการสร้างเล้าไก่หรือโรงเรือนเลี้ยงไก่มีความสำคัญมาก เพราะส่งผลต่อการออกไข่ของไก่ หากโรงเรือนตั้งอยู่ในทิศทางที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้เกิดการถ่ายเทอากาศ ลดอุณหภูมิ ลดความชื้น ลดปริมาณฝุ่นละออง ที่สำคัญคือลดกลิ่นได้ด้วย พื้นโรงเรือนไม่อับชื้นหรือเป็นที่สะสมของสิ่งสกปรก ไก่จะไม่เจ็บป่วยและออกไข่ได้ดี การสร้างโรงเรือนควรตั้งตามแนวยาวทิศตะวันออก – ตะวันตก หากตั้งโรงเรือนขวางแสงอาทิตย์จะทำให้มีพื้นที่สำหรับให้ไก่หลบความร้อนจากแสงแดดได้น้อย ทำให้เสียเนื้อที่โดยเปล่าประโยชน์เมื่อแสงแดดส่องในตอนบ่าย ตัวโรงเรือนอาจตั้งเฉียงออกจากแนวทิศตะวันออก – ตะวันตกได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรเกิน 7 องศาตามแนวทิศตะวันออกไปทางทิศใต้ ทริคเล็กๆ ที่ใช้ได้ผลในการดับกลิ่นมูลไก่คือการทำความสะอาดและเก็บมูลไก่ไปเป็นปุ๋ยให้พืชผัก หรือจะแก้ด้วยการใช้สาร EM โรยที่ฟางรองพื้นก็ช่วยลดกลิ่นได้ดีเช่นกัน เรามีตัวอย่างบ้านน่าอยู่ที่ออกแบบให้มี เล้าไก่สวยๆ อยู่ภายในบริเวณบ้าน มาให้ชมเป็นไอเดียกัน ดังนี้ บ้านไร่ไออรุณ … […]
บ้านไม้ใต้ถุนสูง แบบไทยๆ ได้แรงบันดาลใจจากบ้านทรงไทยมอญของชุมชนใกล้เคียง เน้นการทำช่องเปิดไว้ทางฝั่งทิศตะวันออกให้มากกว่าฝั่งทิศตะวันตก
บ้านชั้นเดียวมินิมัล แบบมูจิ ที่รวมเอาประสบการณ์ 15 ปีในการออกแบบบ้านของ MUJI มาเรียงร้อยเพื่อนำเสนอรูปแบบการอยู่อาศัยตามปรัชญา “ความสุขเล็กๆที่เรียบง่ายและอบอุ่น” นี่คือหัวใจสำคัญของ Yō no Ie House บ้านชั้นเดียวมินิมัล แบบมูจิ ขนาดกะทัดรัดกับแปลนบ้านแบบผังอิสระที่ไร้ผนังกั้น พร้อมทั้งชานไม้ขนาดใหญ่ที่เน้นการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ยืดหยุ่นต่อรูปแบบการอยู่อาศัย และเอื้อต่อการเติบโตของครอบครัว “ไม่ใช่แค่สิ่งก่อสร้างที่เรียกว่าบ้าน แต่เป็นวิถีการดำเนินชีวิต” Yō no Ie House คือแบบบ้านที่มูจิเลือกนำเสนอในวาระครบรอบ 15 ปีที่ได้เริ่มธุรกิจบ้านสำเร็จของตนขึ้น ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปในปี 2004 สิ่งที่ทำให้ MUJI สนใจในธุรกิจบ้านสำเร็จรูปก็คือ คำถามคาใจว่าทำยังไงจะแก้ปัญหาความเสื่อมราคาของตัวบ้านตั้งแต่วันที่ซื้อและถูกรื้อทิ้งเมื่อผ่านไป 30 ปี (ที่ญี่ปุ่นมีกฎหมายที่บังคับให้ต้องรื้อบ้านทิ้งหรือรีโนเวตทุกๆ 30 ปี เพื่อความปลอดภัยของชุมชนโดยรวม) ด้วยเหตุนี้เอง MUJI จึงตั้งใจที่จะนำเสนอบ้านที่สามารถอยู่อาศัยไปได้อย่างมั่นคง และผูกพันธ์กับครอบครัวของเจ้าของบ้านตราบทศวรรษจากรุ่นสู่รุ่นด้วยความเชื่อใน “ความสุขที่เรียบง่ายและอบอุ่น” ซึ่งจะนำพา “ชีวิตที่ดี” มาสู่เจ้าของและชุมชนโดยรวม ความพิเศษของ “ บ้านชั้นเดียวมินิมัล แบบมูจิ ” เรียบง่าย อยู่สบาย […]
ภาพสะท้อนในดวงตาคือ บ้านสวนริมน้ำ เรียบง่ายกลางทุ่งนาดั่งภาพฝัน แต่นัยน์ตาของเขาและเธอนั้นฉายความรู้สึกให้ปรากฏแก่ใจมากกว่าภาพที่อยู่ตรงหน้า เจ้าของ: คุณในดวงตา ปทุมสูติ – คุณรุ่งโรจน์ ไกรบุตร แสงยามเช้าเพิ่งเลียใบหญ้ายังไม่ทันอุ่น กลิ่นดินหมาดน้ำค้างยังเคล้ามาตามลมลูบไล้ผิวกายให้เย็นชุ่มไปถึงใจ แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ 6 ปีก่อนหลังหว่านเมล็ดข้าวลงดินในเดือนตุลาคม คุณก้อย – ในดวงตา ปทุมสูติ และคุณรุ่ง – รุ่งโรจน์ ไกรบุตร ตัดสินใจสร้าง บ้านสวนริมน้ำ ด้วยเงินเก็บทั้งหมดราว 3 แสนบาท แน่นอนว่าไม่ได้ตัวบ้านทั้งหมดที่เห็น แต่ได้เพียงค่าโครงสร้างคอนกรีตและหลังคาซึ่งต้องจ้างช่างมาทำ ส่วนที่เหลือสร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงและพลังใจที่ก่อเป็นความภาคภูมิในแบบฉบับของคนบ้านนอกสองคนนี้ “เราทั้งคู่เคยทำงานและใช้ชีวิตในเมืองกรุงหลายปีแล้วรู้สึกไม่ใช่ เราคุ้นกับวิถีชนบท การอยู่กับธรรมชาติทำให้จิตใจนิ่งและเย็น ในความรู้สึกลึกๆ คือการได้มาทำกินบนผืนดินของบรรพบุรุษ เป็นบ้านเกิดที่ผูกพัน” คุณก้อยเป็นสาวสุพรรณที่อยู่บ้านเกิดเพียงชั้นอนุบาลก็ย้ายไปที่อื่นจนจบคณะครุศาสตร์ เอกภาษาไทยที่เชียงใหม่ จากนั้นทำงานในกรุงเทพฯ ก่อนจะกลับมาสุพรรณบุรีอย่างถาวร เพื่อช่วยงานคุณพ่อที่เป็นวิทยากรบรรยายในโครงการแก้ปัญหาเรื่องเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ซึ่งเป็นหลักสูตรของคุณพ่อเอง ส่วนคุณรุ่งเป็นคนอุทัยธานี เรียนด้านภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม เคยทำงานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิสานแสงอรุณที่เน้นส่งเสริมให้คนเรียนรู้ในการอยู่กับธรรมชาติ ในปี 2554 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ทั้งคู่ตัดสินใจสร้างบ้านสองชั้น โดยต่อเชื่อมกับบ้านชั้นเดียวที่อยู่เดิมเผื่อหนีน้ำในอนาคต “ถ้ารอเก็บเงินให้มากพอก่อนแล้วค่อยสร้างคงไม่มีวันพร้อม หากไม่เริ่มต้น เราก็ไม่มีวันทำได้สำเร็จ” […]