บ้านโมเดิร์นทรงกล่องกลิ่นอายเอเชีย

บ้านรูปทรงตัวแอล (L) ตกแต่งด้วยสไตล์โมเดิร์นร่วมสมัย  เน้นความอบอุ่นขององค์ประกอบไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้กับโทนสีขาวสว่างตาภายใต้กลิ่นอายแบบเอเชีย วางผังบ้านโดยเน้นมุมเปิดที่เชื่อมแต่ละมุมของบ้านให้ต่อเนื่องกันและเปิดออกสู่สระว่ายน้ำนอกบ้าน พร้อมมุมน่ารักพิเศษด้วยห้องฟังเพลงและจิบชาแบบญี่ปุ่น บ้านโมเดิร์นทรงกล่องตัวแอล สถาปนิก : Pijic Architect โดยคุณศรายุทธ ใจคำปัน โทรศัพท์ 08-0493-3617    /  เจ้าของ : คุณศุภชาติ- คุณนีรภา บุตรดีขันธ์ หลังจากประสบอุบัติเหตุใหญ่ทางรถยนต์ จนร่างกายบาดเจ็บหนักและต้องพักฟื้นรักษาตัวอยู่เป็นปี ทำให้ คุณศุภชาติ  บุตรดีขันธ์ นักธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่ รู้สึกถึงความไม่แน่นอนในชีวิตและคิดถึงความฝันที่อยากจะมีบ้านหลังใหม่ของครอบครัว แต่ยังไม่ได้ลงมือทำสักที ในวันที่ร่างกายพร้อมเขาจึงชักชวนภรรยามาตามหาฝัน และสร้างมันให้เป็นจริงขึ้นมาอย่างไม่รีรอ บ้านอารมณ์รีสอร์ต “ตอนแรกก็คิดถึงการสร้างบ้านหลังใหม่ แต่ผมไม่มีเวลามาดูแลงานสร้างนานขนาดนั้น  เลยคิดว่าหาบ้านพร้อมอยู่เลยดีกว่า  เราก็ไปดูบ้านอยู่หลายโครงการ  กว่าจะมาเจอที่นี่ซึ่งตรงกับความชอบของทุกคนในครอบครัว  เป็นบ้านโปร่งสบายอารมณ์เหมือนรีสอร์ต  นึกถึงเวลาตอนไปเที่ยวรีสอร์ตโล่งๆ หรือตอนที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นกันแล้วรู้สึกดี  ลูกชายก็ชอบมาก  พวกเราถูกใจฟังก์ชันและบรรยากาศผ่อนคลายของบ้านหลังนี้ทันทีที่ได้มาดู” แนวทางการออกแบบ บ้านหลังนี้เป็นผลงานการออกแบบของ คุณศรายุทธ  ใจคำปัน สถาปนิกและเจ้าของบริษัท Pijic Architect ซึ่งเดิมตั้งใจสร้างเป็นบ้านของตัวเอง แต่ก็ตกลงใจขายให้คุณศุภชาติ แล้วย้ายไปสร้างและตกแต่งบ้านหลังใหม่ข้างๆ กันแทน ด้วยที่ดินหน้าบ้านไม่ได้กว้างมาก […]

Co-housing Space บ้านที่แชร์พื้นที่ร่วมกันกับธรรมชาติ

ท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผา เรากำลังมุ่งหน้าไปทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย อุณหภูมิในรถเช่าไม่เย็นพอที่จะลดความอบอ้าวของสภาพอากาศด้านนอก หรืออาจเป็นใจของเราเองก็ได้ที่ร้อนขึ้นจากสภาพการจราจรเบื้องหน้า หนึ่งชั่วโมงครึ่งผ่านไปกับระยะทางไม่ไกลนักจากย่านกลางเมือง  เราเลี้ยวเข้าซอยเล็กๆ ผ่านประตูโครงการที่เหมือนประตูบ้านหลังใหญ่มากกว่าเป็นโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งเปิดให้เห็นต้นไม้ใหญ่ ดูคล้ายเป็นหมู่บ้านโมเดิร์นกลางป่า และช่วยเปลี่ยนความรู้สึกร้อนในใจให้เย็นลงได้แบบฉับพลัน “Tanah Teduh” เป็นโครงการบ้านจัดสรรที่ทำให้เรานึกถึงบ้านแบบ Co-housing Space หรือกลุ่มสังคมขนาดเล็กที่ทุกบ้านรู้จักกัน มีพื้นที่หน้าบ้านหรือหลังบ้านร่วมกัน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้ด้วยการออกแบบที่ดี บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ซึ่งเดิมเป็นสวนผลไม้ เจ้าของโครงการพยายามเก็บต้นไม้ใหญ่ไว้ให้ได้มากที่สุด โดยใช้วิธีสร้างบ้านหลบต้นไม้ อาคารทุกหลังเน้นการออกแบบเปิดรับแสงธรรมชาติ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าและทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รู้สึกใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมสีเขียวให้มากที่สุด แนวคิดดังกล่าวทำให้บ้าน 20 หลังในโครงการนี้มีพื้นที่ที่เปิดรับธรรมชาติและดูเป็นสัดส่วน แม้จะไม่มีรั้วกั้นบ้านแต่ละหลัง แต่ต้นไม้และการออกแบบสถาปัตยกรรมก็ช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวได้ไม่ยาก โครงการนี้ออกแบบโดย 10 สถาปนิกระดับแนวหน้าของอินโดนีเซีย บ้านแต่ละหลังมีหน้าตาไม่เหมือนกัน ราวกับเป็นลายเซ็นที่สถาปนิกกำกับไว้ผ่านรายละเอียดงานออกแบบที่ปรากฏ เราตั้งใจมาเยือนบ้านหลังหนึ่งที่ Mr. Andra Martin สถาปนิกผู้เป็นไดเร็กเตอร์ของโครงการนี้ออกแบบเอาไว้ แต่ต้องพบกับความผิดหวังเล็กน้อย เพราะเจ้าของยังไม่ได้มาอยู่บ้านหลังดังกล่าวจริงๆ ทว่า the show must go on เราเริ่มต้นถ่ายบ้าน แต่เหมือนฟ้าลิขิต น้องในทีมรีบวิ่งมาบอกเราอย่างตื่นเต้นว่า “พี่ๆ บ้านด้านหลังนี้เจ้าของบ้านเป็นคนไทยและสวยมาก” แน่นอนว่าใจของเราพุ่งไปถึงบ้านหลังนั้นก่อนขาจะก้าวไปทันเสียอีก […]