บ้านอิฐ
บ้านอิฐขนาดกะทัดรัด ที่เด่นด้วย ช่องแสง ช่องลม และช่องหายใจ
บ้านอิฐขนาดกะทัดรัด ที่โดดเด่นด้วยผนังที่สร้างขึ้นจากอิฐทับซ้อนกันจนเกิดเป็นช่องในแพตเทิร์นอิสระ เพื่อให้แสงและลมธรรมชาติผ่านได้ นำมาสู่สภาวะน่าสบายให้แก่บ้านในเขตร้อนชื้น
บ้านอิฐใต้ถุนสูงฟีลฝรั่งของสถาปนิกนักจัดสวน
บ้านอิฐใต้ถุนสูง ที่ทำใต้ถุนเป็นร้านอาหารแบบเปิดโล่ง ออกแบบบ้านสไตล์ทรอปิคัลผสมผสานตะวันออกและตะวันตก ท่ามกลางสวนสุดชิล Designer Directory : ออกแบบ Jak Ladpli จักษ์ ลัดพลี, Full Scale Studio การได้มาเยือนบ้านแต่ละหลัง เสมือนการเข้ามายืนอยู่ในห้วงความรู้สึกนึกคิดของผู้เป็นเจ้าของ ที่ถ่ายทอดภาพการใช้ชีวิตและความหลงใหลออกมาเป็นสเปซ บ้านอิฐใต้ถุนสูง ที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ร่มเงาไม้น้อยใหญ่ในอำเภอแม่ริม จังหวังเชียงใหม่ หลังนี้ก็เช่นกัน ที่ถ่ายทอดความเป็นคนชอบอยู่กับธรรมชาติ รักการเดินทาง ใช้ชีวิตเอาต์ดอร์ และหลงใหลเสน่ห์ของเก่ามากเรื่องราวของ คุณโจ๊ก – จักษ์ ลัดพลี เจ้าของบ้านที่เป็นทั้งสถาปนิกและนักออกแบบสวน จึงไม่แปลกที่จะเห็นบ้าน ธรรมชาติ และวิถีชีวิตจะสอดผสานเป็นหนึ่งเดียวกันในทุกมิติ บ้านอิฐใต้ถุนสูง ที่ใช้ใต้ถุนเป็นร้านอาหาร ย้อนกลับไปช่วงปลายปี 2019 ที่โควิด – 19 เริ่มระบาด และเป็นจังหวะชีวิตที่คุณโจ๊กมีหลายภารกิจที่ต้องทำไปพร้อมๆกับแผนการสร้างบ้าน จึงชวน คุณอรรถ – อรรถสิทธิ์ กองมงคล สถาปนิกจาก Full Scale Studio มาออกแบบบ้านให้ด้วยโจทย์ที่ต้องการสร้างบ้านชั้นเดียวยกพื้นสูงและมีสระว่ายน้ำ เมื่อจังหวะชีวิตเริ่มคลี่คลาย ผนวกกับความตั้งใจแรกที่อยากเปิดโรงเรียนสอนทำอาหารด้วย […]
บ้านอิฐ ที่ภายนอกปิดทึบ ภายในเปิดโล่ง
Living ASEAN พาบ้านและสวน ทีวี ไปชม บ้านอิฐ ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งภายนอกปิดทึบ ภายในเปิดโล่ง เหมาะกับทุกสภาพอากาศ
บ้านทรงจั่ว โมเดิร์น 3 ชั้น ที่ใช้สัจวัสดุในมุมศิลป์ เปิดรับธรรมชาติให้พื้นที่อยู่อาศัย
บ้านทรงจั่ว 3 ชั้นโดดเด่นด้วยอิฐที่ผสมผสานสไตล์ที่ตอบโจทย์ของครอบครัว บนผืนที่ดินย่านชานเมืองนนทบุรีโดยใช้ประโยชน์ของธรรมชาติบนแนวคิดการออกแบบทั้งพื้นที่บริบท การเลือกใช้วัสดุในการออกแบบ และสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยได้อย่างเรียบง่าย DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Alkhemist Architects แนวคิดการออกแบบ บ้านทรงจั่ว หลังนี้ออกแบบให้ผู้พักอาศัยให้ความรู้สึกถึงสภาวะน่าสบายมากที่สุด ทำให้พื้นที่ชั้นแรก ออกแบบห้องนั่งเล่นเชื่อมต่อส่วนรับประทานอาหาร ที่ยาวเป็นระนาบเดียวกันที่เปิดออกสู่พื้นที่เอ๊าต์ดอร์ข้างบ้าน สร้างความต่อเนื่องทางพื้นที่และเสริมบรรยากาศสวนเขียวขจีที่ช่วยให้ร่มรื่นอีกทั้งพรางความเป็นส่วนตัวได้ดี Alkhemist Architects สถาปนิกผู้ออกแบบบ้านหลังนี้ ใช้แสงและลมธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้ประโยชน์จากแสงทางทิศเหนือที่ความร้อนนั้นเข้ามาอย่างพอดีไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การวางผังของอาคารจึงคิดถึงพื้นที่ว่างให้แสงและลมให้สามารถระบายอากาศได้ดี ด้านข้างของพื้นที่บ้านจึงมีสวนพื้นที่สีเขียวยาวขนานไปกับตัวบ้าน ดังนั้นห้องนั่งเล่นและห้องรับประทานอาหารชั้นหนึ่ง จึงเปิดรับพื้นที่สวนได้ 180 องศา ทำให้บ้านเกิดพื้นที่กิจกรรมจากภายในสู่ภายนอก ช่องเปิดต่าง ๆ ที่ออกแบบนนั้นก็มีส่วนสำคัญที่เชื้อเชิญให้ผู้อยู่อาศัยเกิดการใช้งานทั้ง ช่องเจาะ หน้าต่าง ประตูบ้าน จนไปถึงบันไดที่เป็นตัวเชื่อมสู่พื้นที่ใช้งานอื่น ๆ การวางบันไดทางขึ้นสู่ชั้น 2 เป็นรูปตัวแอล(L)ให้ความรู้สึกลื่นไหลทางพื้นที่ไปสู่ห้องนั่งเล่นที่ถูกวางไว้ด้านหลังซึ่งมีความส่วนตัวมากขึ้นกว่าชั้นที่หนึ่ง พื้นที่ถูกออกแบบให้เป็น Sunken เป็นพื้นที่ต่างระดับลงไป ให้ความรู้สึกอบอุ่น โฮมมี่ หรือเป็นคอมฟอร์ตโซนมากขึ้น จะเห็นได้ว่าห้องนั่งเล่นทั้งสองห้องแม้จะใช้งานพักผ่อนเหมือนกัน แต่มีคาแร็กเตอร์ที่แตกต่างกันชัดเจนและถูกแบ่งใช้งานตามแต่ละช่วงเวลาที่เหมาะสม บริเวณชั้นสองเมื่อเดินแยกจากบันไดขึ้นชั้นสามที่ทำหน้าที่แจกจ่ายพื้นที่ใช้สอย อีกทั้งยังให้ความเป็นส่วนตัวพรางห้องนอนมาสเตอร์ที่อยู่บริเวณด้านหน้าของชั้นสองได้ดี ชั้น 3 จะเป็นโซนของห้องนอนลูก ๆ 2 […]
MYJ House บ้าน ฟาซาดอิฐ กลางเมือง เปิดพื้นที่ส่วนตัวจากภายใน
บ้านกลางเมืองที่มีอิฐเป็นทั้งฟาซาด และคอร์ต ออกแบบพื้นที่ ทรงอาคารจากสภาพแวดล้อม แสงแดด และบริบทโดยรอบ ในขนาดที่ดิน 50 ตารางวา ออกแบบ : BodinChapa Architects บ้าน MYJ House ออกแบบโดยทีมสถาปนิก BodinChapa Architects เดิมเป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในโครงการเก่า ที่เจ้าของซื้อไว้ใกล้กับบ้านเดิมของครอบครัว แล้วต้องการรื้อเพื่อสร้างใหม่ โจทย์ของสถาปนิก คือ การออกแบบบ้านที่มีฟังก์ชันครบตามความต้องการของเจ้าของในขนาดพื้นที่กะทัดรัด และยังคงกลิ่นอายความชื่นชอบของเจ้าของคือความเป็นบ้านอิฐ กำหนดผังจากบริบทโดยรอบ เริ่มจากทิศของแดด เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่กำหนดการวางผังบ้านหลังนี้ โดยเริ่มจากวางฟังก์ชันบันได และห้องซักล้างไว้ฝั่งทิศใต้ที่พระอาทิตย์ส่องตลอดวัน ช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้าพื้นที่พักผ่อนโดยตรง ส่วนทางเข้าบ้านหลังเดิมจะอยู่ฝั่งทิศใต้ที่เป็นด้านสั้น สถาปนิกออกแบบทางเข้าใหม่ให้มาอยู่ฝั่งทิศตะวันออกที่เป็นด้านยาวแทน เพื่อให้ฟังก์ชันต่างๆ ของบ้านถูกจัดวางอย่างลงตัว และเข้า-ออกบ้านได้สะดวกขึ้น ในส่วนของรูปทรงอาคารฝั่งทิศใต้ทางด้านซ้ายมือที่เป็นรูปเฉียงก็เกิดจากองศาการวางบันไดภายในบ้านซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ใช้งานจริง จึงเรียกได้ว่าแทบทุกจุดของบ้านเกิดจากเหตุและผล รูปทรงมีที่มาจากการตอบโจทย์การใช้งาน และมาผสานกับการออกแบบให้ออกมาสวย จนเป็นฟอร์มของบ้าน ใช้งานพื้นที่จำกัดอย่างคุ้มค่า ด้วยพื้นที่ที่จำกัด รวมกับข้อกฎหมายที่ต้องเว้นระยะห่างอาคารจากแนวที่ดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และถ้าต้องการทำช่องเปิดต้องเว้นเข้ามาถึง 2 เมตร สถาปนิกจึงเลือกวิธีออกแบบบ้านให้ใช้งานพื้นที่ได้คุ้มค่าที่สุดด้วยการวางอาคารเกือบเต็มพื้นที่ และเว้าอาคารเข้ามาในส่วนที่ต้องการให้เป็นช่องเปิด จึงทำให้ใช้งานพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า บ้านโปร่ง และทำให้รูปทรงอาคารเกิดความน่าสนใจ […]
Nhà Bè House บ้านอิฐแดง พื้นถิ่น เวียดนาม ผสานบรรยากาศธรรมชาติ
บ้านอิฐ เปลือย เปี่ยมบรรยากาศอบอุ่น และสงบเงียบ ในอำเภอหญ่าแบ่ ชานเมืองโฮจิมินห์ แห่งนี้สร้างขึ้นสำหรับหญิง 4 คน ที่กลับมาอาศัยอยู่ร่วมกันเพื่อดูแลแม่ของพวกเขา เพื่อใช้เวลาร่วมกัน และเติมเต็มควาทรงจำแห่งวัยเยาว์ ด้วยที่ดินเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวยาว และเพื่อให้บ้านหลังนี้รองรับห้องนอนถึง 5 ห้อง การออกแบบพื้นที่ร่วมที่ต่อเชื่อมทั้งสวน และพื้นที่ภายใน จึงทำให้การใช้งานทั้งหมดลงตัวกับผืนที่ดิน อีกทั้งการสร้างให้พื้นที่ร่วมมีบรรยากาศของธรรมชาติแทรกตัวอยู่ในพื้นที่ร่วมของทุกคนช่วยให้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วมกับมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี แต่ก็ยังมีพื้นที่ส่วนตัวในหลากมุมพักผ่อนภายในบ้าน บ้านและสวนที่ต่อเชื่อมกัน การออกแบบให้พื้นที่ภายในนั้นเป็นคอร์ตกลางเพื่อให้ในทุกช่วงเวลาของวันรู้สึกถึงความปลอดโปร่งคล้ายพื้นที่นอกบ้าน ได้มีทั้งร่มเงา และพื้นที่ที่แสงแดดส่องถึง ไม่รู้สึกอุดอู้ เกิดเป็นพลังงานดี ๆ ในการใช้ชีวิต ผ่านทุก ๆ การดำเนินไปในแต่ละพื้นที่ของบ้านหลังนี้ ธรรมชาติที่เสริมการอยู่อาศัยในภาวะสบาย คลองที่ด้านหลัง สวนโดยรอบ และวัสดุอิฐมอญ ทั้งหมดนี้ ทำให้เมื่อยามที่ลมพัดจะนำความชื้นผ่านเข้าสู่ภายในบ้าน กักเก็บเอาไว้ที่ผนังอิฐ ขณะที่สวนโดยรอบช่วยกรองฝุ่นมลภาวะ และสกายไลท์ที่ด้านบนจะพาอากาศร้อนลอยขึ้น ช่วยให้การระเหยของความชื้นภายในสร้างให้เกิดความเย็น และภาวะน่าสบายตลอดทั้งวัน ผนังอิฐก่อให้โปร่งเป็นส่วนตัวจากภายใน บ้านหลังนี้ออกแบบให้มีการก่อผนังอิฐเป็นเสมือนพื้นผิวภายนอกที่ปกป้องทั้งความร้อน สภาพอากาศ และความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่ภายใน จากภายในจะสามารถมองเห็นภายนอกได้อย่างชัดเจน แต่ด้วยความสว่างที่แตกต่าง พื้นที่ภายนอกจะมองเข้ามาได้ยาก และอิฐแดงนั้นต้องการการดูแลรักษาที่น้อย แม้จะเริ่มมีอายุไปตามกาลเวลาก็ยังดูดีเหมือนเช่นวันแรกที่สร้างเสร็จ หย่อนใจในสวนหลังบ้าน สถาปนิกออกแบบให้พื้นที่สวนหลังบ้านนั้นเป็นพื้นที่พิเศษโดยก่อม้านั่งเป็นรูปวงกลม ให้สมาชิกทุกคนได้ออกมานั่งเล่นในยามเช้า […]
โลกส่วนตัวใน…บ้านอิฐ ที่เปี่ยมด้วยสภาวะอยู่สบาย
บ้านอิฐ หน้าตาเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ประกอบด้วยส่วนทึบและโปร่งเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวและกันความร้อนจากทิศตะวันตก
รวมบ้านอิฐแสนน่าอยู่
อิฐเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในบ้านเรา สามารถนำมาตกแต่งให้เกิดลวดลาย ทำให้บ้านดูน่าสนใจได้ไม่ยาก ดังเช่น บ้านอิฐ ที่เรารวบรวมมาให้ชมกันเป็นไอเดีย
บ้านสร้างเองจากอิฐบล็อก สวย เรียบง่าย น่าสบาย
บ้านอิฐบล็อกเรียบง่าย หลังนี้สร้างขึ้นมาจากความต้องการจะมีที่ทำงานศิลปะเป็นสำคัญ โดยเจ้าของบ้านได้ศึกษาทิศทางลม ฝน และแสงแดด พร้อมวางแปลนและลงมือก่อสร้างตั้งฐานรากไปจนถึงโครงหลังคาเองทั้งหมด ทำให้เข้าใจรายละเอียดทุกจุดของบ้าน ส่งผลให้บ้านเต็มไปด้วยชีวิตจิตใจของผู้เป็นเจ้าของ
NARROW BRICK HOUSE “บ้านอิฐ” สไตล์มินิมัล กับไอเดียเชิญแขกชื่อ “ธรรมชาติ” เข้าบ้าน
“บ้านอิฐ” ทรงกล่องของครอบครัวกะทัดรัด ในประเทศอินเดีย ที่อยากให้ธรรมชาติเข้ามาทายทักทุกช่วงเวลา กับการออกแบบที่นำวัสดุธรรมชาติอย่าง “อิฐ” มาสร้างสรรค์เป็นบ้านดีไซน์โมเดิร์น โดย บ้านอิฐ หลังนี้ เน้นการออกแบบเพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาสร้างบรรยากาศ และความสุนทรียภาพแห่งการอยู่อาศัย ถูกสร้างขึ้นตามสัณฐานของพื้นที่ที่ทั้งแคบ และลาดเอียง แต่กลับสามารถจัดการได้ พร้อมกันนั้นยังเติมเต็มทุกประสาทสัมผัสให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติเมืองร้อน ตัวบ้านมีพื้นที่ใช้สอยรวม 117 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนที่ดินตอนลึกขนาด 283 ตารางเมตร และมีหน้ากว้างเพียง 4.8 เมตรมาพร้อมกับความท้าทายในการออกแบบ ด้วยการบรรจุการใช้งานพื้นฐานลงไปบนพื้นที่ที่มีความลาดเอียงตามความยาวของไซต์ พร้อม ๆ กับต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยให้บ้านอยู่สบาย เปิดรับธรรมชาติให้เข้ามาเป็นแขกประจำได้อย่างสนิทสนม เริ่มต้นตั้งแต่เปลือกอาคาร หรือฟาซาดด้านหน้าที่เกิดจากการเรียงอิฐให้มีช่องว่าง เพื่อให้แสงธรรมชาติ และอากาศบริสุทธิ์สามารถไหลเวียนเข้ามาสู่ด้านในของบ้านได้ และทันทีที่เข้ามาจะพบกับพื้นที่นั่งเล่นด้านหน้า รับกับช่องแสงขนาดใหญ่ โดยออกแบบให้มีระดับความสูงลดหลั่นลงไปยังพื้นที่ของห้องครัวที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นไปตามลักษณะความลาดเอียงของที่ดิน การตกแต่งเป็นการผสมผสานทั้งเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน และเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวทำมาจากไม้สีอ่อน ช่วยเสริมบรรยากาศให้บ้านดูอบอุ่น มีจุดเด่น คือต้นไม้จริงในบ้านที่รับแสงจากสกายไลท์เล็ก ๆ ที่ตั้งใจให้อยู่ตรงตำแหน่งของต้นไม้พอดี เปรียบเสมือนเป็นโอเอซิสขนาดเล็กช่วยสร้างความสดชื่น ก่อนนำขึ้นชั้นสองด้วยบันไดทำจากคอนกรีตเปลือย ห้องนอนใหญ่ด้านหน้าบ้านได้ออกแบบให้มีระเบียง และประตูบานเลื่อนที่เปิดต้อนรับแสงและลมที่เข้ามาจากฟาซาดอิฐได้เต็มที่ จึงเรียกว่าบ้านหลังนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของการออกแบบเชิงพื้นที่อย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อมอบฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครันลื่นไหล ต้อนรับธรรมชาติให้เข้ามาทายทักทุกแง่มุม ออกแบบ : Srijit […]
WOMR CABIN ก่อบ้านผ่านความรู้สึกของคู่รักนักออกแบบ
บ้านชั้นเดียว ที่สะท้อนเงาอยู่บนผิวน้ำ พร้อมภาพวิวของต้นไม้สีเขียวที่เติบโตอยู่รายล้อมนี้ คือบ้านที่ทำหน้าที่เป็นโฮมสตูดิโอสำหรับใช้ทำงานและพักผ่อนของคู่รักนักออกแบบ คุณบิ๊ก-สุจินดา ตุ้ยเขียว สถาปนิกแห่งใจบ้านสตูดิโอ และคุณบี๊ท-โสภิดา จิตรจำนอง ฟรีแลนซ์อินทีเรียร์ดีไซเนอร์ ทั้งคู่ค่อย ๆ ช่วยกันเติมแต่งภาพบ้านในฝันหลังแรกทีละนิด ๆ แต่มากด้วยแพสชั่นให้สำเร็จเป็นจริง สำหรับการใช้ชีวิตที่แสนเรียบง่าย แต่เพียบด้วยความสุข “ทุกอย่างค่อนข้างกะทันหัน มีเวลาแค่ประมาณสามเดือนครึ่งให้ออกแบบและก่อสร้าง ก่อนที่เราจะย้ายมาอยู่ที่นี่” เจ้าของ บ้านชั้นเดียว หลังนี้ บอกกับเรา ก่อนที่จะเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำโฮมสตูดิโอเล็ก ๆ ในเมืองเชียงใหม่ คุณบี๊ทเล่าว่า หลังจากอพาร์ตเมนต์เก่าที่เคยอาศัยอยู่หมดสัญญา และขายตึกต่อให้เจ้าของใหม่รีโนเวตเป็นคอนโดมิเนียม เธอและคุณบิ๊กได้ตัดสินใจมาเช่าที่ดินริมน้ำแปลงข้าง ๆ Sher Maker สตูดิโอออกแบบของพี่ตุ่ย รุ่นพี่จากสถาปัตย์ฯ ลาดกระบัง หลังจากแอบมองที่ดินแปลงนี้จากร้านกาแฟ Asama Cafe ฝั่งตรงข้ามมานาน “ตอนแรกก็ลังเล หลายคนก็ไม่เห็นด้วย ถามว่าทำไมไม่ซื้อบ้านไปเลย แต่ด้วยความกะทันหันแบบนี้ เราก็ไม่อยากกดดันตัวเองทำสิ่งที่อาจจะไม่เหมาะกับเรา บวกกับแอบมองที่ดินตรงนี้มานาน พอรู้ว่าปล่อยเช่า และพอเราลองคำนวณเรื่องงบประมาณดูแล้วว่า คุ้มกว่าการเช่าบ้านและรีโนเวตใหม่ก็ตัดสินใจเลย” ด้วยความชอบลองทำอะไรใหม่ ๆ รวมถึงเงื่อนไขของงบประมาณ ทำให้บ้านหลังนี้เป็นเสมือนสนามที่ให้ทั้งคู่ได้ทดลองทั้งเรื่องของวัสดุ ดีเทลการออกแบบ […]
BRICK SCREEN HOUSE บ้านอิฐ หลากแพตเทิร์น ดีไซน์เรียบง่ายในอินเดีย
บ้านอิฐ สะท้อนรสนิยมและบุคลิกภาพของเจ้าของบ้าน เกิดขึ้นจากการคำนึงถึงทิศทางของแสงแดด และสภาพอากาศของประเทศอินเดีย รูปทรงของ บ้านอิฐ หลังนี้ ถูกกำหนดโดยขนาดของที่ดิน ทำให้โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยยังคงมีพื้นที่ว่างรอบ ๆ ตัวบ้านอย่างเหลือเฟือ ดูแล้วเหมือนที่นี่จะเพอร์เฟ็กต์ จนแทบไม่มีปัญหาใด ๆ ให้ต้องแก้ไข แต่แท้จริงแล้วบ้านนี้มีปัญหาใหญ่ นั่นคือส่วนของหน้าบ้านที่หันไปทางทิศใต้ซึ่งมีแสงจ้า ดังนั้นเพื่อขจัดปัญหานี้ ผนังด้านดังกล่าวจึงถูกสร้างเกราะกำบังขึ้นด้วยเปลือกอาคารอิฐที่มีแพตเทิร์นสวยงามยาวต่อเนื่องเกือบตลอดตัวอาคาร ทำหน้าที่เป็นผนังชั้นนอกช่วยกรองแสง และพรางสายตาจากผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ขณะที่ผนังอาคารอีกด้านที่ไม่กระทบกับแดดโดยตรงนั้น เลือกกรุเปลือกอาคารด้วยอิฐลายดอกไม้ มีระเบียงเล็ก ๆ เป็นกันชนอยู่ระหว่างพื้นที่พักอาศัยชั้นใน เพื่อไม่ให้แสงแดดและความร้อนปะทะเข้ามาตรง ๆ แต่ลมยังคงพัดผ่านเข้ามาได้ ช่วยให้อากาศภายในบ้านหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก แต่ในเมื่อบ้านถูกปิดล้อมด้วยเปลือกอาคารอิฐ แสงสว่างดูเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนวิตกว่าอาจไม่เพียงพอ สถาปนิกจึงเรียกแสงด้วยวิธีทำช่องหลังคาสกายไลท์ไว้ด้านบนโถงกลางบ้าน ซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหารและพักผ่อน เพื่อให้แสงสว่างส่องมายังพื้นที่ชั้นล่างนี้ โดยมีต้นไม้ในบ้านช่วยเพิ่มความสดชื่น ให้ความรู้สึกสบายและปลอดโปร่งตลอดทั้งวัน ส่วนงานออกแบบตกแต่ง สถาปนิกยังคงเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยเฉพาะกระเบื้องหินขัดที่นำมาปูพื้น เพื่อกำหนดพื้นที่ใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น พื้นที่รับประทานอาหาร แม้แต่เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งก็ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดี เข้ากับสุนทรียศาสตร์ของอินเดีย เช่น โคมไฟที่แขวนอยู่เหนือคอร์ตกลางบ้าน ชิงช้าไม้ เตียงนอน ฯลฯ ออกแบบ : MS […]
DT HOUSE บ้านซ้อนบ้าน ไอเดียเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้บ้านหน้าแคบ
บ้านหน้าแคบ ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกันดีในเวียดนาม ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิดบ้านเขตร้อน ที่ต้องออกแบบพื้นที่และการใช้วัสดุทนทานต่อสภาพอากาศ
บ้านชั้นเดียว สร้างด้วยอิฐมอญ ในสวนดอกไม้
ดอกบานชื่นสีสดในแปลงตลอดสองข้างทางเดินนำไปสู่ บ้านชั้นเดียว ก่อผนังอิฐโชว์แนวที่มีเหลืองชัชวาลและกุหลาบเลื้อยพันขึ้นไปบนผนังคลุมตัวบ้านบางส่วนเอาไว้ บ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 3 งาน ภายในหมู่บ้านสันก่อเก็ต อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในฤดูหนาวอากาศเย็นจัดอุณหภูมิลดต่ำลงเหลือเลขตัวเดียว ขณะที่กลางวันอากาศเย็นสบายกำลังดีเพียงต้น 20 องศาเซลเซียสเท่านั้น เจ้าของ : คุณพลอยทับทิม สุขแสง เจ้าของ บ้านชั้นเดียว หลังนี้คือคุณพลอย–พลอยทับทิม สุขแสง ผู้เป็นสถาปนิกและหนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัทกิ่ง ก้าน ใบ จำกัด บริษัทจัดสวนที่มีผลงานโดดเด่นในสไตล์มินิมัล บ้านหลังนี้จึงผสมผสานทั้งความเรียบง่ายแบบโมเดิร์นในสไตล์ที่เธอชอบสำหรับการอยู่อาศัยแบบสมัยใหม่ที่สะดวกสบาย แต่เจือปนด้วยบรรยากาศอบอุ่นแบบชนบทของบ้านต่างจังหวัดด้วยการเลือกใช้วัสดุอย่างอิฐมอญมาตกแต่งบ้าน และนำมาตั้งชื่อบ้านว่า “บ่าดินกี่” ในภาษาเหนือแปลว่า “อิฐ“ พลอยเล่าว่าเดิมทีบนที่ดินแปลงนี้มีบ้านแบบครึ่งปูนครึ่งไม้สร้างอยู่กลางพื้นที่ ซึ่งคุณแม่สร้างให้คุณยายตั้งแต่ราว 20 กว่าปีก่อน เมื่อคุณยายเสีย บ้านหลังนี้ถูกปิดไว้ ไม่ได้ใช้งาน ทำให้สภาพค่อนข้างทรุดโทรม และเกิดปัญหาคือปลวกขึ้นจนพื้นไม้ชั้นสองเสียหาย ไม่สามารถขึ้นไปใช้งานได้ ประกอบกับบ้านเดิมใช้งานไม่สะดวกนักตามลักษณะของบ้านยุคก่อน เนื่องจากตัวบ้านค่อนข้างเตี้ย มีหน้าต่างขนาดเล็กแบบบ้านทางเหนือที่มักจะทำช่องเปิดเล็กเพื่อป้องกันลมหนาว ทำให้บ้านดูทึบ พลอยจึงตัดสินใจรื้อบ้านและสร้างใหม่ โดยปรับตำแหน่งตัวบ้านให้ค่อนมาทางด้านหลังเพื่อให้เหลือพื้นที่ใช้งานอื่นๆ ได้มากขึ้น บ้านหลังนี้นำวัสดุของบ้านเดิมมาใช้งานหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องหลังคาลอนคู่ที่ยังอยู่ในสภาพดี นำมาล้างทำความสะอาดและมุงหลังคาใหม่ ไม้จากบ้านเดิมก็นำมาใช้ในส่วนโครงสร้าง ทั้งหลังคา […]
DJ House แบ่งบ้านเป็นสองฝั่งเหมือนเครื่องเล่นแผ่นเสียงของดีเจ
รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ โดยยังคงรูปแบบเดิมของตัวบ้านเอาไว้แล้วเพิ่มความดึงดูดใจด้วยฟาซาดอิฐที่แบ่งออกเป็นสองฝั่งเหมือนเครื่องเล่นแผ่นเสียงของดีเจ
DA NANG HOUSE บ้านหน้าแคบเด่นด้วยฟาซาดอิฐ
DA NANG HOUSE บ้านเวียดนาม ที่มิกซ์ร้านค้าเข้ากับที่อยู่อาศัยได้อย่างลงตัว ด้วยความที่ตัวบ้านหันหน้าทางทิศตะวันตกจึงมีแบบฟาซาดอิฐช่วยกันแดด
TROPICAL CHALET วิลล่าหลังใหญ่ริมทะเลสาบ ไอเดียออกแบบบ้านอิฐจากเมืองดานัง
วิลล่าริมทะเลสาบสำหรับครอบครัวใหญ่ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเรียบง่ายของบริบทอันงดงาม ผ่านการออกแบบที่มีการนำ “อิฐ” วัสดุท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม มาใช้เป็นวัสดุหลัก ออกแบบบ้านอิฐ ซึ่งอิฐในประเทศเวียดนามนั้น ถือเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 4 เพราะเหมาะกับการสร้างบ้านในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เนื่องจากเนื้อวัสดุมีรูพรุนจึงทำหน้าที่ระบายความร้อนช่วยให้บ้านเย็น และเป็นฉนวนได้อย่างดี อีกทั้งยังนำมาสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมได้หลายรูปแบบ เช่นการเรียงต่อกันแบบเว้นช่องว่าง เพื่อสร้างลวดลายที่สวยงามอย่างบ้านหลังนี้ โดยจับคู่กับไม้ และพื้นผิวคอนกรีต ออกแบบบ้านอิฐ ตัวอาคารได้รับการออกแบบเป็นรูปตัวแอล (L) รอบบ้านเป็นสวนขนาดใหญ่ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ออกมาใช้เวลาในการพักผ่อนร่วมกัน องค์ประกอบหลัก ๆ ของอาคารมีอยู่ 2 ประการ ประการแรก คือช่องว่างของฟาซาดอิฐ ช่วยทำหน้าที่สร้างความสวยงามให้แก่อาคาร ไปพร้อม ๆ กับการทำหน้าที่เป็นแผงบังแดด เมื่อเข้ามาที่ชั้นล่างจะพบกับพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ห้องอาหาร ห้องนั่งเล่น และห้องครัว จะสามารถชื่นชมวิวสวนที่แสนร่มรื่น และสูดอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มปอด ประการที่สอง คือรูปแบบอันโดดเด่นของหลังคาทรงเรขาคณิตรูปสามเหลี่ยม ที่วางตัวต่อเนื่องกันคล้ายลูกคลื่น ช่วยทำให้เกิดมุมมองที่ไม่ซ้ำใคร เมื่อมองจากภายนอกจะเห็นส่วนผสมของวัสดุต่างชนิดกันอย่าง เสาและคานคอนกรีตแว็กซ์พื้นผิวเรียบ ทำหน้าที่เป็นกรอบโครงสร้างให้แก่หลังคากระเบื้องดินเผาที่ต่อเนื่องกัน และเป็นเส้นแนวยาวลงมาด้านล่าง หรือเป็นเสาให้แก่อาคาร เสริมความแข็งแรง และความทนทานให้แก่โครงสร้าง จากเหตุผลของการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติ ร่วมกับการออกแบบพื้นที่ใช้สอยแบบโปร่งโล่ง […]
NT’s Habitat บ้านอิฐ กับลูกเล่นช่วยเพิ่มแสงและลมให้บ้านเย็น
บ้านอิฐ สีแดง NT’s Habitat เกิดจากการเปลี่ยนโกดังขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในเมืองฟานเทียต ประเทศเวียดนาม ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งตลอดทั้งปี ให้กลายเป็นบ้านที่น่ารักสำหรับครอบครัว 4 คน ให้การอยู่อาศัยรู้สึกถึงความสบายทั้งอากาศและบรรยากาศ ผลงานการออกแบบโดยสถาปนิกจาก Flex.atelier ได้เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจและสังเกตสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นก่อนออกแบบ บ้านอิฐ หลังนี้ ที่ไม่เพียงแต่ปรับปรุงการดำรงชีวิตให้มีความสุขเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกด้วย การออกแบบบ้านประกอบด้วยพื้นที่เปิดสำหรับเชื่อมต่อและพื้นที่ปิดเพื่อความเป็นส่วนตัว พื้นที่ปิดประกอบด้วยห้องนอน และห้องน้ำ ขณะที่พื้นที่เปิดโล่งประกอบด้วยพื้นที่ทำงาน ห้องครัว และสนามเด็กเล่น ทั้งหมดเชื่อมต่อกับสกายไลท์กลางบ้าน ซึ่งมีจุดประสงค์หลายประการ ประการแรกคือ ช่วยเพิ่มการระบายอากาศลดความร้อน และประการที่สองคือ ให้แสงธรรมชาติส่องสว่างได้อย่างทั่วถึงในเวลากลางวันเพื่อลดการใช้ไฟฟ้า ด้านโครงสร้างสถาปนิกใช้เทคนิคคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป แต่มีความสูงกว่าปกติเพื่อกักเก็บอากาศเย็นให้ได้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจคือส่วนหน้าของอาคารที่ประกอบขึ้นจากอิฐดินเผาสีแดง วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ก่อนนำมาเรียงต่อกันเป็นแพตเทิร์นอย่างระมัดระวัง นอกจากเพิ่มความสวยงามให้แก่เปลือกอาคารด้านหน้าแล้ว ช่องว่างของอิฐยังทำหน้าที่ระบายอากาศ และยอมให้แสงลอดผ่านเข้ามาได้เพิ่มเติมจากสกายไลท์ชั้นหนึ่งของบ้านถือเป็นพื้นที่ที่ครอบครัวจะได้มาใช้เวลาร่วมกันมากที่สุด โดยออกแบบให้อยู่ในพื้นที่ที่มีมุมมองเปิดโล่งและดูแลบุตรหลานได้ง่าย มีห้องสมุดเล็ก ๆ อยู่ใต้บันได ให้เด็ก ๆ ได้นั่งอ่านหนังสือ นอกจากนี้ยังมีมุมรับประทานอาหารแบบสบาย ๆ ส่วนชั้นสองโดยเฉพาะห้องนอนใหญ่ด้านหน้า ออกแบบให้รู้สึกถึงความอบอุ่นด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ เข้ากันดีกับฟาซาดอิฐผืนใหญ่ มีความพิเศษอันเกิดจากแสงที่ลอดผ่านช่องอิฐเข้ามา เป็นแพตเทิร์นของเงาที่ทาบลงบนพื้นผิวต่าง ๆ ของห้อง โดยจะเปลี่ยนองศาไปตามแต่ละช่วงเวลา […]