© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านอิฐ สะท้อนรสนิยมและบุคลิกภาพของเจ้าของบ้าน เกิดขึ้นจากการคำนึงถึงทิศทางของแสงแดด และสภาพอากาศของประเทศอินเดีย รูปทรงของ บ้านอิฐ หลังนี้ ถูกกำหนดโดยขนาดของที่ดิน ทำให้โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยยังคงมีพื้นที่ว่างรอบ ๆ ตัวบ้านอย่างเหลือเฟือ ดูแล้วเหมือนที่นี่จะเพอร์เฟ็กต์ จนแทบไม่มีปัญหาใด ๆ ให้ต้องแก้ไข แต่แท้จริงแล้วบ้านนี้มีปัญหาใหญ่ นั่นคือส่วนของหน้าบ้านที่หันไปทางทิศใต้ซึ่งมีแสงจ้า ดังนั้นเพื่อขจัดปัญหานี้ ผนังด้านดังกล่าวจึงถูกสร้างเกราะกำบังขึ้นด้วยเปลือกอาคารอิฐที่มีแพตเทิร์นสวยงามยาวต่อเนื่องเกือบตลอดตัวอาคาร ทำหน้าที่เป็นผนังชั้นนอกช่วยกรองแสง และพรางสายตาจากผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ขณะที่ผนังอาคารอีกด้านที่ไม่กระทบกับแดดโดยตรงนั้น เลือกกรุเปลือกอาคารด้วยอิฐลายดอกไม้ มีระเบียงเล็ก ๆ เป็นกันชนอยู่ระหว่างพื้นที่พักอาศัยชั้นใน เพื่อไม่ให้แสงแดดและความร้อนปะทะเข้ามาตรง ๆ แต่ลมยังคงพัดผ่านเข้ามาได้ ช่วยให้อากาศภายในบ้านหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก แต่ในเมื่อบ้านถูกปิดล้อมด้วยเปลือกอาคารอิฐ แสงสว่างดูเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนวิตกว่าอาจไม่เพียงพอ สถาปนิกจึงเรียกแสงด้วยวิธีทำช่องหลังคาสกายไลท์ไว้ด้านบนโถงกลางบ้าน ซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหารและพักผ่อน เพื่อให้แสงสว่างส่องมายังพื้นที่ชั้นล่างนี้ โดยมีต้นไม้ในบ้านช่วยเพิ่มความสดชื่น ให้ความรู้สึกสบายและปลอดโปร่งตลอดทั้งวัน ส่วนงานออกแบบตกแต่ง สถาปนิกยังคงเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยเฉพาะกระเบื้องหินขัดที่นำมาปูพื้น เพื่อกำหนดพื้นที่ใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น พื้นที่รับประทานอาหาร แม้แต่เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งก็ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดี เข้ากับสุนทรียศาสตร์ของอินเดีย เช่น โคมไฟที่แขวนอยู่เหนือคอร์ตกลางบ้าน ชิงช้าไม้ เตียงนอน ฯลฯ ออกแบบ : MS […]
บ้านหน้าแคบ ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยกันดีในเวียดนาม ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิดบ้านเขตร้อน ที่ต้องออกแบบพื้นที่และการใช้วัสดุทนทานต่อสภาพอากาศ
ดอกบานชื่นสีสดในแปลงตลอดสองข้างทางเดินนำไปสู่ บ้านชั้นเดียว ก่อผนังอิฐโชว์แนวที่มีเหลืองชัชวาลและกุหลาบเลื้อยพันขึ้นไปบนผนังคลุมตัวบ้านบางส่วนเอาไว้ บ้านหลังนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 3 งาน ภายในหมู่บ้านสันก่อเก็ต อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในฤดูหนาวอากาศเย็นจัดอุณหภูมิลดต่ำลงเหลือเลขตัวเดียว ขณะที่กลางวันอากาศเย็นสบายกำลังดีเพียงต้น 20 องศาเซลเซียสเท่านั้น เจ้าของ : คุณพลอยทับทิม สุขแสง เจ้าของ บ้านชั้นเดียว หลังนี้คือคุณพลอย–พลอยทับทิม สุขแสง ผู้เป็นสถาปนิกและหนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัทกิ่ง ก้าน ใบ จำกัด บริษัทจัดสวนที่มีผลงานโดดเด่นในสไตล์มินิมัล บ้านหลังนี้จึงผสมผสานทั้งความเรียบง่ายแบบโมเดิร์นในสไตล์ที่เธอชอบสำหรับการอยู่อาศัยแบบสมัยใหม่ที่สะดวกสบาย แต่เจือปนด้วยบรรยากาศอบอุ่นแบบชนบทของบ้านต่างจังหวัดด้วยการเลือกใช้วัสดุอย่างอิฐมอญมาตกแต่งบ้าน และนำมาตั้งชื่อบ้านว่า “บ่าดินกี่” ในภาษาเหนือแปลว่า “อิฐ“ พลอยเล่าว่าเดิมทีบนที่ดินแปลงนี้มีบ้านแบบครึ่งปูนครึ่งไม้สร้างอยู่กลางพื้นที่ ซึ่งคุณแม่สร้างให้คุณยายตั้งแต่ราว 20 กว่าปีก่อน เมื่อคุณยายเสีย บ้านหลังนี้ถูกปิดไว้ ไม่ได้ใช้งาน ทำให้สภาพค่อนข้างทรุดโทรม และเกิดปัญหาคือปลวกขึ้นจนพื้นไม้ชั้นสองเสียหาย ไม่สามารถขึ้นไปใช้งานได้ ประกอบกับบ้านเดิมใช้งานไม่สะดวกนักตามลักษณะของบ้านยุคก่อน เนื่องจากตัวบ้านค่อนข้างเตี้ย มีหน้าต่างขนาดเล็กแบบบ้านทางเหนือที่มักจะทำช่องเปิดเล็กเพื่อป้องกันลมหนาว ทำให้บ้านดูทึบ พลอยจึงตัดสินใจรื้อบ้านและสร้างใหม่ โดยปรับตำแหน่งตัวบ้านให้ค่อนมาทางด้านหลังเพื่อให้เหลือพื้นที่ใช้งานอื่นๆ ได้มากขึ้น บ้านหลังนี้นำวัสดุของบ้านเดิมมาใช้งานหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องหลังคาลอนคู่ที่ยังอยู่ในสภาพดี นำมาล้างทำความสะอาดและมุงหลังคาใหม่ ไม้จากบ้านเดิมก็นำมาใช้ในส่วนโครงสร้าง ทั้งหลังคา […]
รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ โดยยังคงรูปแบบเดิมของตัวบ้านเอาไว้แล้วเพิ่มความดึงดูดใจด้วยฟาซาดอิฐที่แบ่งออกเป็นสองฝั่งเหมือนเครื่องเล่นแผ่นเสียงของดีเจ
DA NANG HOUSE บ้านเวียดนาม ที่มิกซ์ร้านค้าเข้ากับที่อยู่อาศัยได้อย่างลงตัว ด้วยความที่ตัวบ้านหันหน้าทางทิศตะวันตกจึงมีแบบฟาซาดอิฐช่วยกันแดด
วิลล่าริมทะเลสาบสำหรับครอบครัวใหญ่ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเรียบง่ายของบริบทอันงดงาม ผ่านการออกแบบที่มีการนำ “อิฐ” วัสดุท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม มาใช้เป็นวัสดุหลัก ออกแบบบ้านอิฐ ซึ่งอิฐในประเทศเวียดนามนั้น ถือเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 4 เพราะเหมาะกับการสร้างบ้านในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เนื่องจากเนื้อวัสดุมีรูพรุนจึงทำหน้าที่ระบายความร้อนช่วยให้บ้านเย็น และเป็นฉนวนได้อย่างดี อีกทั้งยังนำมาสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมได้หลายรูปแบบ เช่นการเรียงต่อกันแบบเว้นช่องว่าง เพื่อสร้างลวดลายที่สวยงามอย่างบ้านหลังนี้ โดยจับคู่กับไม้ และพื้นผิวคอนกรีต ออกแบบบ้านอิฐ ตัวอาคารได้รับการออกแบบเป็นรูปตัวแอล (L) รอบบ้านเป็นสวนขนาดใหญ่ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ออกมาใช้เวลาในการพักผ่อนร่วมกัน องค์ประกอบหลัก ๆ ของอาคารมีอยู่ 2 ประการ ประการแรก คือช่องว่างของฟาซาดอิฐ ช่วยทำหน้าที่สร้างความสวยงามให้แก่อาคาร ไปพร้อม ๆ กับการทำหน้าที่เป็นแผงบังแดด เมื่อเข้ามาที่ชั้นล่างจะพบกับพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ห้องอาหาร ห้องนั่งเล่น และห้องครัว จะสามารถชื่นชมวิวสวนที่แสนร่มรื่น และสูดอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มปอด ประการที่สอง คือรูปแบบอันโดดเด่นของหลังคาทรงเรขาคณิตรูปสามเหลี่ยม ที่วางตัวต่อเนื่องกันคล้ายลูกคลื่น ช่วยทำให้เกิดมุมมองที่ไม่ซ้ำใคร เมื่อมองจากภายนอกจะเห็นส่วนผสมของวัสดุต่างชนิดกันอย่าง เสาและคานคอนกรีตแว็กซ์พื้นผิวเรียบ ทำหน้าที่เป็นกรอบโครงสร้างให้แก่หลังคากระเบื้องดินเผาที่ต่อเนื่องกัน และเป็นเส้นแนวยาวลงมาด้านล่าง หรือเป็นเสาให้แก่อาคาร เสริมความแข็งแรง และความทนทานให้แก่โครงสร้าง จากเหตุผลของการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติ ร่วมกับการออกแบบพื้นที่ใช้สอยแบบโปร่งโล่ง […]
บ้านอิฐ สีแดง NT’s Habitat เกิดจากการเปลี่ยนโกดังขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในเมืองฟานเทียต ประเทศเวียดนาม ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งตลอดทั้งปี ให้กลายเป็นบ้านที่น่ารักสำหรับครอบครัว 4 คน ให้การอยู่อาศัยรู้สึกถึงความสบายทั้งอากาศและบรรยากาศ ผลงานการออกแบบโดยสถาปนิกจาก Flex.atelier ได้เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจและสังเกตสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นก่อนออกแบบ บ้านอิฐ หลังนี้ ที่ไม่เพียงแต่ปรับปรุงการดำรงชีวิตให้มีความสุขเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกด้วย การออกแบบบ้านประกอบด้วยพื้นที่เปิดสำหรับเชื่อมต่อและพื้นที่ปิดเพื่อความเป็นส่วนตัว พื้นที่ปิดประกอบด้วยห้องนอน และห้องน้ำ ขณะที่พื้นที่เปิดโล่งประกอบด้วยพื้นที่ทำงาน ห้องครัว และสนามเด็กเล่น ทั้งหมดเชื่อมต่อกับสกายไลท์กลางบ้าน ซึ่งมีจุดประสงค์หลายประการ ประการแรกคือ ช่วยเพิ่มการระบายอากาศลดความร้อน และประการที่สองคือ ให้แสงธรรมชาติส่องสว่างได้อย่างทั่วถึงในเวลากลางวันเพื่อลดการใช้ไฟฟ้า ด้านโครงสร้างสถาปนิกใช้เทคนิคคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป แต่มีความสูงกว่าปกติเพื่อกักเก็บอากาศเย็นให้ได้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจคือส่วนหน้าของอาคารที่ประกอบขึ้นจากอิฐดินเผาสีแดง วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ก่อนนำมาเรียงต่อกันเป็นแพตเทิร์นอย่างระมัดระวัง นอกจากเพิ่มความสวยงามให้แก่เปลือกอาคารด้านหน้าแล้ว ช่องว่างของอิฐยังทำหน้าที่ระบายอากาศ และยอมให้แสงลอดผ่านเข้ามาได้เพิ่มเติมจากสกายไลท์ชั้นหนึ่งของบ้านถือเป็นพื้นที่ที่ครอบครัวจะได้มาใช้เวลาร่วมกันมากที่สุด โดยออกแบบให้อยู่ในพื้นที่ที่มีมุมมองเปิดโล่งและดูแลบุตรหลานได้ง่าย มีห้องสมุดเล็ก ๆ อยู่ใต้บันได ให้เด็ก ๆ ได้นั่งอ่านหนังสือ นอกจากนี้ยังมีมุมรับประทานอาหารแบบสบาย ๆ ส่วนชั้นสองโดยเฉพาะห้องนอนใหญ่ด้านหน้า ออกแบบให้รู้สึกถึงความอบอุ่นด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ เข้ากันดีกับฟาซาดอิฐผืนใหญ่ มีความพิเศษอันเกิดจากแสงที่ลอดผ่านช่องอิฐเข้ามา เป็นแพตเทิร์นของเงาที่ทาบลงบนพื้นผิวต่าง ๆ ของห้อง โดยจะเปลี่ยนองศาไปตามแต่ละช่วงเวลา […]
บ้านอิฐ ที่ออกแบบกำแพงแบบฟรีฟอร์ม เพื่อหลบหลีกต้นไม้เดิมในพื้นที่ทั้งหมด โดยตัวบ้านใช้วัสดุอิฐ ที่หาได้ง่ายในพื้นที่มาเป็นวัสดุหลัก
บ้านโมเดิร์นทรงกล่อง ที่แฝงตัวเงียบสงบอยู่เบื้องหลังผนังอิฐ ภายในโปร่งสบายด้วยการเชื่อมต่อระหว่างภายนอก-ภายใน และการออกแบบที่คำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ เอื้อให้มีทั้งแสงธรรมชาติ และอากาศหมุนเวียนได้อย่างทั่วถึง
แบบบ้านอิฐ ที่จำลองรูปแบบการใช้ชีวิตแบบอาคารพาณิชย์ที่ครอบครัวคุ้นเคย มาสู่บ้านเดี่ยวที่ยังคงความเคยชินเหล่านั้นไว้ แต่เพิ่มคุณภาพการใช้ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
บ้านอิฐ ที่พึ่งพาพลังงานจากธรรมชาติ ผ่านการใช้วัสดุท้องถิ่น และเทคนิคที่เอื้อต่อการหมุนเวียนของอากาศ และลดความร้อนก่อนจะเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างเป็นรูปธรรม
บ้านอิฐ เปลือยผิว ขนาด 100 ตารางเมตร แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ชานเมืองเม็กซิโกซิตี เด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่เเล้วในพื้นที่อย่าง “อิฐมอญ” มาใช้ในการสร้างบ้าน เพื่อประหยัดงบประมาณการก่อสร้าง และง่ายต่อการทำงานกับช่างในท้องถิ่น เเม้อิฐมอญจะเป็นวัสดุธรรมดา ๆ แต่ผลที่ได้กลับเป็นบ้านที่สื่อถึงเอกลักษณ์พื้นถิ่นได้อย่างน่าสนใจ เอื้อต่อการอยู่อาศัยอย่างเเท้จริง ในขั้นตอนการทำงานออกเเบบ บ้านอิฐ หลังนี้สถาปนิกได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับช่างในท้องที่ถึงวิธีการก่อสร้าง จนได้บ้านอิฐที่มีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กล้อมรอบคอร์ตกลางบ้านเอาไว้ ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลในแง่ของความเป็นส่วนตัว เผื่อว่าในอนาคตที่ดินรอบ ๆ บ้านอาจเกิดงานก่อสร้างอื่น ๆ หรือมีความพลุกพล่านวุ่นวายตามมาในอนาคต อย่างน้อยบ้านหลังนี้ก็ยังมีพื้นที่คอร์ตยาร์ดอยู่ภายในสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ จุดเด่นของบ้านนี้นอกจากการเลือกใช้วัสดุธรรมดาที่หาได้ง่ายเเล้ว ยังให้ความสำคัญในเรื่องของเเสงเงา เห็นได้จากบันไดหลักของบ้านที่มีสกายไลต์อยู่ด้านบน ช่วยเปิดให้แสงธรรมชาติค่อย ๆ ฉาบไล้ลงมายังพื้นที่ภายในบ้าน ผ่านผนังหินภูเขาไฟที่สถาปนิกเลือกนำมาใช้ เกิดเป็นเฉดสีของเเสงเงาที่แบ่งจังหวะของพื้นที่ต่าง ๆ ออกจากกัน ส่วนบานกระจกที่ใช้เป็นประตูบ้าน นอกจากจะเปิดให้แต่ละสวนสามารถมองเห็นกันได้สะดวกแล้ว ยังปล่อยให้แสงเข้าสู่ตัวบ้านได้ในบางจุด ช่วยให้ภาพของอิฐที่ดูหนักเกิดจังหวะที่ดูโปร่งขึ้น ขณะที่พื้นที่ชั้นล่างออกแบบเป็นส่วนรับแขก ครัว คอร์ตยาร์ด และส่วนรับประทานอาหาร ชั้นบนเป็นพื้นที่ส่วนตัวอาทิ ห้องนอน ห้องทำงาน และห้องน้ำ โดยแบ่งห้องนอนออกเป็นสองปีกล้อมคอร์ตกลางไว้ ซึ่งคอร์ตนี้ออกแบบไว้เผื่อกรณีที่เจ้าของบ้านต้องการต่อเติมพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีก เเละนี่ก็คือบ้านอิฐเปลือยที่มีการเล่นกับพื้นที่ รวมถึงการให้แสงธรรมชาติเข้ามามีบทบาทในแต่ละจุดได้อย่างน่าสนใจ […]