บ้านอินเดีย – บ้านและสวน

KOSHISH HOUSE สถาปัตยกรรมยั่งยืน เล่าการใช้งานใหม่ให้วัสดุมีหน้าที่ไม่จำกัด

สร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้กระเบื้องดินเผากว่า 14,858 ชิ้น ให้กลายเป็นส่วนประกอบหนึ่งของบ้านกึ่งสตูดิโอออกแบบดีไซน์โมเดิร์น

NARROW BRICK HOUSE “บ้านอิฐ” สไตล์มินิมัล กับไอเดียเชิญแขกชื่อ “ธรรมชาติ” เข้าบ้าน

“บ้านอิฐ” ทรงกล่องของครอบครัวกะทัดรัด ในประเทศอินเดีย ที่อยากให้ธรรมชาติเข้ามาทายทักทุกช่วงเวลา กับการออกแบบที่นำวัสดุธรรมชาติอย่าง “อิฐ” มาสร้างสรรค์เป็นบ้านดีไซน์โมเดิร์น โดย บ้านอิฐ หลังนี้ เน้นการออกแบบเพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาสร้างบรรยากาศ และความสุนทรียภาพแห่งการอยู่อาศัย ถูกสร้างขึ้นตามสัณฐานของพื้นที่ที่ทั้งแคบ และลาดเอียง แต่กลับสามารถจัดการได้ พร้อมกันนั้นยังเติมเต็มทุกประสาทสัมผัสให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติเมืองร้อน ตัวบ้านมีพื้นที่ใช้สอยรวม 117 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนที่ดินตอนลึกขนาด 283 ตารางเมตร และมีหน้ากว้างเพียง 4.8 เมตรมาพร้อมกับความท้าทายในการออกแบบ ด้วยการบรรจุการใช้งานพื้นฐานลงไปบนพื้นที่ที่มีความลาดเอียงตามความยาวของไซต์ พร้อม ๆ กับต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยให้บ้านอยู่สบาย เปิดรับธรรมชาติให้เข้ามาเป็นแขกประจำได้อย่างสนิทสนม เริ่มต้นตั้งแต่เปลือกอาคาร หรือฟาซาดด้านหน้าที่เกิดจากการเรียงอิฐให้มีช่องว่าง เพื่อให้แสงธรรมชาติ และอากาศบริสุทธิ์สามารถไหลเวียนเข้ามาสู่ด้านในของบ้านได้ และทันทีที่เข้ามาจะพบกับพื้นที่นั่งเล่นด้านหน้า รับกับช่องแสงขนาดใหญ่ โดยออกแบบให้มีระดับความสูงลดหลั่นลงไปยังพื้นที่ของห้องครัวที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นไปตามลักษณะความลาดเอียงของที่ดิน การตกแต่งเป็นการผสมผสานทั้งเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน และเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวทำมาจากไม้สีอ่อน ช่วยเสริมบรรยากาศให้บ้านดูอบอุ่น มีจุดเด่น คือต้นไม้จริงในบ้านที่รับแสงจากสกายไลท์เล็ก ๆ ที่ตั้งใจให้อยู่ตรงตำแหน่งของต้นไม้พอดี เปรียบเสมือนเป็นโอเอซิสขนาดเล็กช่วยสร้างความสดชื่น ก่อนนำขึ้นชั้นสองด้วยบันไดทำจากคอนกรีตเปลือย ห้องนอนใหญ่ด้านหน้าบ้านได้ออกแบบให้มีระเบียง และประตูบานเลื่อนที่เปิดต้อนรับแสงและลมที่เข้ามาจากฟาซาดอิฐได้เต็มที่ จึงเรียกว่าบ้านหลังนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของการออกแบบเชิงพื้นที่อย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อมอบฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครันลื่นไหล ต้อนรับธรรมชาติให้เข้ามาทายทักทุกแง่มุม ออกแบบ : Srijit […]

BRICK SCREEN HOUSE บ้านอิฐ หลากแพตเทิร์น ดีไซน์เรียบง่ายในอินเดีย

บ้านอิฐ สะท้อนรสนิยมและบุคลิกภาพของเจ้าของบ้าน เกิดขึ้นจากการคำนึงถึงทิศทางของแสงแดด และสภาพอากาศของประเทศอินเดีย รูปทรงของ บ้านอิฐ หลังนี้ ถูกกำหนดโดยขนาดของที่ดิน ทำให้โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยยังคงมีพื้นที่ว่างรอบ ๆ ตัวบ้านอย่างเหลือเฟือ ดูแล้วเหมือนที่นี่จะเพอร์เฟ็กต์ จนแทบไม่มีปัญหาใด ๆ ให้ต้องแก้ไข แต่แท้จริงแล้วบ้านนี้มีปัญหาใหญ่ นั่นคือส่วนของหน้าบ้านที่หันไปทางทิศใต้ซึ่งมีแสงจ้า ดังนั้นเพื่อขจัดปัญหานี้ ผนังด้านดังกล่าวจึงถูกสร้างเกราะกำบังขึ้นด้วยเปลือกอาคารอิฐที่มีแพตเทิร์นสวยงามยาวต่อเนื่องเกือบตลอดตัวอาคาร ทำหน้าที่เป็นผนังชั้นนอกช่วยกรองแสง และพรางสายตาจากผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ขณะที่ผนังอาคารอีกด้านที่ไม่กระทบกับแดดโดยตรงนั้น เลือกกรุเปลือกอาคารด้วยอิฐลายดอกไม้ มีระเบียงเล็ก ๆ เป็นกันชนอยู่ระหว่างพื้นที่พักอาศัยชั้นใน เพื่อไม่ให้แสงแดดและความร้อนปะทะเข้ามาตรง ๆ แต่ลมยังคงพัดผ่านเข้ามาได้ ช่วยให้อากาศภายในบ้านหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก แต่ในเมื่อบ้านถูกปิดล้อมด้วยเปลือกอาคารอิฐ แสงสว่างดูเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนวิตกว่าอาจไม่เพียงพอ สถาปนิกจึงเรียกแสงด้วยวิธีทำช่องหลังคาสกายไลท์ไว้ด้านบนโถงกลางบ้าน ซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหารและพักผ่อน เพื่อให้แสงสว่างส่องมายังพื้นที่ชั้นล่างนี้ โดยมีต้นไม้ในบ้านช่วยเพิ่มความสดชื่น ให้ความรู้สึกสบายและปลอดโปร่งตลอดทั้งวัน ส่วนงานออกแบบตกแต่ง สถาปนิกยังคงเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยเฉพาะกระเบื้องหินขัดที่นำมาปูพื้น เพื่อกำหนดพื้นที่ใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น พื้นที่รับประทานอาหาร แม้แต่เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งก็ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดี เข้ากับสุนทรียศาสตร์ของอินเดีย เช่น โคมไฟที่แขวนอยู่เหนือคอร์ตกลางบ้าน ชิงช้าไม้ เตียงนอน ฯลฯ ออกแบบ : MS […]

JP HOUSE บ้านขนาดกะทัดรัด เด่นด้วยเปลือกอาคาร แผ่นเหล็กเจาะรู สีพาสเทล

จะเป็นอย่างไรหากเราเปลี่ยนผนังบ้านที่มีหน้าต่างทรงสี่เหลี่ยมแบบเดิม ๆ ให้กลายเป็นบ้านที่มีเปลือกอาคารเท่ ๆ ดูสดใส จาก แผ่นเหล็กเจาะรู ทำสีฟ้าพาสเทล ซึ่งให้ทั้งความแข็งแรงและปลอดภัย ไปพร้อม ๆ กับช่วยเพิ่มความปลอดโปร่งให้บ้านหายใจได้ JP House หลังนี้ ตั้งอยู่ในเมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย มีลักษณะเป็นอพาร์ตเมนต์ 2 ห้อง เชื่อมติดกัน สร้างขึ้นบนพื้นที่ขนาด 180 ตารางเมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น สำหรับใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย ทำงาน และห้องสตูดิโอวาดภาพและทำเพลง ขณะที่ชั้นล่างเป็นที่อยู่อาศัยของพ่อแม่ผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากหน้าบ้านต้องหันออกสู่ถนน ซึ่งอยู่ตรงกับทิศตะวันออกแบบพอดี สถาปนิกจาก Kumar La Noce จึงออกแบบเปลือกอาคารด้วยแผงเหล็กแผ่นเจาะรูที่เปิด-ปิดได้ เพื่อช่วยกรองแสงแดดไม่ให้ส่องมายังพื้นที่ภายในบ้านโดยตรง จนกลายเป็นองค์ประกอบช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้บ้านดูสวยงามแตกต่างไปจากอาคารทั่วไป พร้อมกันนั้นยังมีความแข็งแรง และสามารถเชื่อมมุมมองและมีปฏิสัมพันธ์กับบรรยากาศภายนอกได้ การตกแต่งภายในของบ้านเน้นทำผนังสีขาว ผสมผสานกับซีเมนต์ขัดมัน และไม้แบบมินิมอล ยกเว้นพื้นที่ที่ต้องการสร้างความโดดเด่นอย่าง บันไดสีฟ้า ที่ค่อย ๆ พาไต่ระดับขึ้นไปยังชั้นต่าง ๆ ของบ้าน โดยพื้นที่ชั้น 2 โซนด้านหน้าออกแบบให้เป็นครัว […]