© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านไทยริมบึง หลังนี้ ล้อมรอบด้วยธรรมชาติที่ร่มรื่น บึงใหญ่ ต้นไม้เขียว และท้องฟ้าใส บ้านหลังนี้จึงเปรียบเหมือนสวรรค์น้อยๆริมบึงกว้าง
บ้านไม้โครงสร้างเหล็ก ในกลิ่นอายแบบไทยๆ ผสมวัสดุสมัยใหม่แข็งแรง ทนทาน และดูแลรักษาง่าย ผสมด้วยไม้จากบ้านเดิมมาเป็นส่วนของพื้นและผนังตัวบ้านเป็นแนวยาวเพื่อขวางรับทางลมและไล่เรียงฟังก์ชันไปตามพื้นที่แบบง่ายๆ
บ้านปูน พื้นถิ่นร่วมสมัย ที่ดึงเสน่ห์ทั้งงานออกแบบและวัสดุท้องถิ่น ตลอดจนภูมิปัญญาช่างมาใช้ได้อย่างลงลึกซึ้งและลงตัว รองรับชีวิตวัยเกษียณได้ดี
บ้านใต้ถุนสูงกลิ่นอายลอฟต์ ที่เน้นทำฝ้าเพดานสูง เพราะใช้หลังคาจั่วเเบบบ้านทรงไทย ซึ่งช่วยในเรื่องการระบายอากาศ เเล้วยังได้พื้นที่สูงโล่งเเบบลอฟต์ โดยโชว์ให้เห็นโครงสร้าง ทั้งโครงหลังคาจั่ว เสาคาน เเละพื้นไม้ คุณจ๋า-วณศิริ นิลสอาด เป็นกราฟิกดีไซเนอร์ เธออาศัยอยู่กับสามี คุณโพธ นิลสอาด นักออกเเบบผลิตภัณฑ์ เเละอาจารย์สายวิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ พร้อมด้วยลูกสาวทั้งสองคน น้องใบพลู – พรพรู เเละน้องใบบัว – พรชนก นิลสอาด ใน บ้านใต้ถุนสูงกลิ่นอายลอฟต์ ที่มีบริเวณกว้างขวาง ที่สำคัญคือ บรรยากาศเขียวชอุ่มร่มรื่นจนไม่เหมือนอยู่กรุงเทพฯสักนิด พอเดินชมจนทั่ว คำถามเเรกที่ผมถามเจ้าของบ้านคือ “โครงบ้านเดิมสวยมากเลย ค่ารีโนเวตเเพงไหมครับ” คุณจ๋ายิ้ม เเล้วตอบนิ่มๆว่า “บ้านนี้สร้างใหม่นะ ไม่ได้รีโนเวต” ผมอึ้งไปนานสองนาน คุณจ๋าเลยเริ่มเล่าเรื่องราวของบ้านนี้ให้เราฟัง “พี่กับเเฟนอยากมีบ้านที่เข้ากับเราทั้งสองคน พี่โพธชอบบ้านไทยที่มีใต้ถุน คุณพ่อเขาเป็นคนอยุธยา มีบ้านริมแม่น้ำป่าสัก ตอนเด็กๆช่วงโรงเรียนปิด เขาก็จะไปเล่นกับเพื่อนๆอยู่ตรงใต้ถุนบ้าน เป็นสเปซโปรดเลย ส่วนพี่ก็ชอบอยู่แบบไทยๆ ง่ายๆ สบายๆ แต่อยากให้มีความร่วมสมัยจากบ้านพื้นที่กว้างโล่งสไตล์ลอฟต์ พอนำความชอบของเราสองคนมารวมกัน ก็ได้เป็นบุคลิกเเบบ ‘Thai […]
บ้านไทยสมัยใหม่ บ้านไม้ครึ่งปูนใต้ถุนสูง สะท้อนภูมิปัญญาไทยและวิถีชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติอย่างพึ่งพา ออกแบบด้วยแนวคิด Low Cost Solution
ภาพลายเส้นและภาพสีน้ำบ้านไทยพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ถ่ายทอดวิถีชีวิตผู้คนในชุมชนต่างๆ ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สถาปนิกและนักวิชาการที่จดบันทึกด้วยการวาดภาพในสมุดคู่ใจยามลงภาคสนาม เป็นส่วนหนึ่งในผลงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ที่ท่านทุ่มเทศึกษามาตลอด 40 ปี ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ แรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ และคนรุ่นใหม่มากมาย กระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) ประจำปี 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นปีแรกที่มีสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และ บ้านและสวน ขอแสดงความยินดีมา ณ โอกาสนี้ การมีรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) เกิดขึ้นเป็นปีแรก อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง อาจารย์ดีใจกับลูกศิษย์มาก เพราะมีลูกศิษย์นักศึกษาหลายคนที่ให้ความสนใจในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตั้งแต่อาจารย์ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านมาหลายสิบปี ในช่วงปีแรกต้องลุยเดี่ยว แต่ในภายหลังมีลูกศิษย์ตามไปช่วยวิจัยด้วยทุกปี และเปลี่ยนรุ่นไปทุกปี เพราะฉะนั้นงานวิจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะไม่ประสบผลสำเร็จเลย หากขาดลูกศิษย์ที่ลงแรงไปช่วยวิจัยด้วยกัน แสดงให้เห็นว่ามีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพียงแต่เรายังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร ทั้งที่จริงแล้วสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในต่างประเทศนั้นค่อนข้างเป็นที่รู้จัก การได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติในปีนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าบ้านเราเริ่มให้ความสำคัญกับสาขานี้มากขึ้น ทำให้ผู้ที่สนใจรุ่นถัดไปมีพื้นที่ยืนอย่างเต็มตัว จึงนับเป็นเรื่องที่น่าดีใจ และยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปให้ดีขึ้น นิยามของคำว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” […]
เรือนไทยประยุกต์ ริมคุ้งน้ำที่สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนอยุธยา ออกแบบให้ดูกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นธรรมชาติ
บ้านไทยโมเดิร์นที่เชื่อมทุกส่วนด้วยทางลาดรองรับผู้สูงอายุ อยู่สบายและประหยัดพลังงาน ทำหลังคาโปร่งแสงทั้งหลังเพื่อใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ เมื่อแรงบันดาลใจและความฝันได้นำพาคุณหมอผู้หลงรักภูเขา การเดินป่า และกลิ่นหอมดินหลังฝนตก มาลงหลักปักฐานสร้างครอบครัวในดินแดนแห่งขุนเขา จึงได้ซื้อที่ดินในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สร้าง บ้านไทย โมเดิร์นยกพื้นสูงมีใต้ถุน ให้กลมกลืนกับวิถีชีวิต บริบท และธรรมชาติที่มีฉากหลังเป็นวิวภูเขา โดยเชื่อมแต่ละเรือนด้วยชานโล่งซึ่งทำหน้าที่เป็นทางลาดขนาดใหญ่ เชื่อมการใช้งานตั้งแต่พื้นดินจนถึงห้องนอนโดยไม่มีบันได ด้วยวางแผนให้เป็นบ้านที่จะสร้างครอบครัวและรองรับวัยเกษียณในอนาคต บ้านใหม่ที่บ้านเกิด เมื่อจุดเริ่มต้นของการสร้างบ้านสำหรับครอบครัวได้รวมการมีวิวสวยๆ และอยู่กับธรรมชาติไว้ด้วย บ้านของสองคุณหมอ คุณต้อม-วงศกร เจริญไทย คุณมิ้นท์-อภิรดา ถนอมวงศ์ทัย และ น้องต้นไม้ – เด็กชายธราดล เจริญไทย จึงมีผืนดิน ต้นไม้ สายลม แสงแดด และทิวเขารวมอยู่ด้วย ผ่านมุมมองและการออกแบบจาก คุณแชมป์-สณทรรศ ศรีสังข์ และคุณแตน-วรัญญู มกราภิรมย์ สถาปนิกแห่ง TA-CHA Design คุณต้อมเล่าย้อนกลับไปว่า “ผมชอบธรรมชาติ ชอบเดินป่าและทำกิจกรรมกลางแจ้ง เลยอยากได้บ้านที่มีพื้นที่เปิดโล่ง มีต้นไม้ เห็นวิวสวยๆ ผมเป็นคนเชียงใหม่ ส่วนภรรยาเป็นคนหล่มสัก ด้วยเรามีแนวคิดคล้ายกัน เมื่อ 6 ปีก่อนจึงมาหาที่ดินสำหรับสร้างบ้าน […]
เพราะประเทศไทยในแต่ละภูมิภาคมีลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นแตกต่างกัน จึงทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ มีลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเฉพาะตัวที่มีเสน่ห์แตกต่างกันไป เราได้รวบรวม บ้านไทย4ภาคร่วมสมัย ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แต่มีการผสมผสานฟังก์ชันการใช้งาน และความทันสมัยให้สอดรับกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบบ้านมีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นให้ภายในบ้านมีการระบายอากาศที่ดี และมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบบ้าน เพื่อให้คนในบ้านอยู่อาศัยได้อย่างสุขสบาย บ้านที่มีต้นไม้เป็นศูนย์กลาง เจ้าของ : คุณสิทธิชัย บูรณะกิจไพบูลย์สถาปัตยกรรม – ตกแต่งภายใน : TA-CHA Designผู้รับเหมา : บริษัททวีมงคลก่อสร้าง (2000) จำกัด แม้หน้าตาของบ้านหลังนี้จะมีรูปแบบร่วมสมัย แต่ผู้ออกแบบได้หยิบสาระสำคัญของบ้านเรือนไทยภาคกลางมาใช้ มีการกำหนดฟังก์ชันการใช้งานเกือบเต็มพื้นที่ โดยมีพื้นที่ชานนอกบ้านใหญ่พอๆกับพื้นที่ใช้งานภายใน และให้ต้นไม้เป็นเหมือนศูนย์กลางที่รวมทุกส่วนไว้ด้วยกัน ชั้นล่างแบ่งเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร แต่ละห้องจะเปิดให้ดูโล่งและโปร่ง ส่วนตู้เก็บของทำเป็นงานบิลท์อิน ขณะที่เฟอร์นิเจอร์อื่นๆเลือกใช้แบบลอยตัว ส่วนชั้นบนก็เป็นห้องนอนของสมาชิกแต่ละคน และพื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมครอบครัวใหญ่เข้าด้วยกัน >> อ่านต่อ บ้านสวนริมคลองเจ้าของ: ครอบครัวตุ้มปรึกษาออกแบบ: คุณพงศกร ตุ้มปรึกษา บ้านริมคลองบางมดที่นำภูมิปัญญาของเรือนไทยพื้นถิ่นภาคกลางมาปรับให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและการใช้ชีวิตของครอบครัว เราจึงได้เห็นการยกใต้ถุนสูงหนีน้ำท่วม หนีปลวก การทำหลังคาทรงสูงให้อากาศไหลเวียน ชายคายื่นยาว มีช่องหน้าต่างและช่องคอสองช่วยระบายความร้อน […]
บ้านเหล็ก บ้านโครงสร้างเหล็ก ยกใต้ถุนสูงที่ใช้สัดส่วนแบบบ้านไม้ไทยเดิม แต่ดูสวยเรียบแบบโมเดิร์นทรอปิคัล
รวม บ้านไทย ร่วมสมัยอยู่สบาย ที่นำภูมิปัญญาของบ้านเรือนไทยมาประยุกต์ใช้ได้อย่างน่าชื่นชม
บ้านดินหลังงามที่มีกลิ่นอายแบบไทยโมเดิร์น มีสนามหลังบ้านให้ออกไปเดินเล่นผ่อนคลายอิริยาบถ สัมผัสกับวิวทุ่งนาได้สุดสายตา โดยในความเป็นไทยของบ้านนี้คือการมีองค์ประกอบแบบไทย ๆ เช่น หลังคาและวัสดุต่าง ๆ ส่วนโมเดิร์นคือการเน้นใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยให้บ้านอยู่สบายขึ้นในบริบทแบบไทย แม้ว่า “เชียงใหม่” จะเปลี่ยนแปลงไปหลาย ๆ ด้านด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจและวิถีการดำเนินชีวิต แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมีเสน่ห์ ในแบบเฉพาะตัวซึ่งไม่มีใครลอกเลียนได้ จึงเป็นเหตุผลที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไร ที่นี่ก็ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ไม่เสื่อมคลาย รวมไปถึงการเป็นจุดหมายของการมาพักอาศัยสร้างบ้านที่อบอุ่นสำหรับครอบครัวท่ามกลางธรรมชาติบริสุทธิ์ ซึ่งตอบโจทย์ทั้งความเรียบง่าย เงียบสงบ ห่างไกลจากเมืองที่พลุกพล่าน แต่ไม่ทิ้งความสะดวกสบายไปเสียทีเดียว จากองค์ประกอบที่ครบถ้วนนี้ ทำให้ คุณพอล วัลเลอร์ และ คุณธัญชนก สุวรรณชัย ตัดสินใจเลือกอำเภอหางดง ซึ่งห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 30 นาทีเพื่อสร้างบ้านหลังงามที่มีกลิ่นอายแบบไทยโมเดิร์น มีสนามหลังบ้านให้ออกไปเดินเล่นผ่อนคลายอิริยาบถ สัมผัสกับวิวทุ่งนาได้สุดสายตา โดยในความเป็นไทยของบ้านนี้คือการมีองค์ประกอบแบบไทย ๆ เช่น หลังคาและ วัสดุต่าง ๆ ส่วนโมเดิร์นคือการเน้นใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยให้บ้านอยู่สบายขึ้นในบริบทแบบไทย มี คุณมาร์คูส โรเซลีบ สถาปนิกจากบริษัท Chiangmai Life Architects (CLA) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการนำวัสดุธรรมชาติมาออกแบบและสร้างงานสถาปัตยกรรมได้อย่างมีเอกลักษณ์ มาช่วยดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ จนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จ […]