ปักชำกิ่ง
ออริกาโน
Oregano ชื่อวิทยาศาสตร์: Origanum vulgare วงศ์: Lamiaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุ 2-3 ปี ลำต้น: ลำต้นกลม ทรงพุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขา ใบ: ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่ป้อม ขนาดเล็ก ขอบใบหยัก มีขนอ่อนๆ ทั่วใบ ก้านใบยาว ใบมีกลิ่นหอม ทั้งลำต้นและใบมีสีเขียว ดอก: ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดเล็กออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีชมพู ผล: ผลทรงกลม ภายในมีเมล็ดสีดำขนาดเล็ก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดครึ่งวันถึงเต็มวัน น้ำ: ปานกลาง ไม่ชอบน้ำขังแฉะ การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกลงแปลงหรือในกระถางในสวนครัวหรือสวนอังกฤษ เก็บเกี่ยวใบมาปรุงอาหารได้เรื่อยๆ นิยมใช้แบบแห้งมากกว่าแบบสด มีสรรพคุณแก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมจากลำไส้ ทำให้เจริญอาหารมากขึ้น ทั้งยังแก้วิงเวียน แก้ไข้ […]
ไทรใบสัก
ไทรใบสัก / ไทรใบจิก/ไทรใบซอ/ไทรใบสัก/ยางใบซอ/ยางหูกวาง/Fiddle Leaf Fig ไทรใบสัก ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus lyrata Warb. วงศ์: Moraceae ประเภท: ไม้พุ่ม ลำต้น: สูงได้ถึง 12 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีกว้างถึงรูปกลม โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบมีติ่งหนามสั้น ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบสีเขียวเข้ม หนาเป็นมัน เห็นเส้นกลางใบและเส้นใบย่อยชัดเจน มีหูใบหุ้มยอด อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดปานกลางถึงรำไร ไม่ชอบแสงแดดจัด น้ำ: น้อยถึงปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่งและตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกประดับสวน หากปลูกลงดินต้นสูงถึง 5-12 เมตร แต่สามารถควบคุมต้นให้โตช้าลงได้ เติบโตได้ดีในที่แสงน้อย ใบไม่ร่วงง่าย จึงปลูกเป็นไม้กระถางตกแต่งในบ้านได้ดี ปัจจุบันมีการกลายพันธุ์เป็นชนิดแคระและชนิดใบด่างอีกด้วย เกร็ดน่ารู้: มีถิ่นกำเนิดทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา ชื่อระบุชนิดตั้งขึ้นตามลักษณะรูปใบที่คล้ายกับพิณฝรั่ง ในธรรมชาติเป็นไม้อิงอาศัยตามเรือนยอดของไม้ใหญ่ก่อนจะหยั่งรากลงมาบนพื้นดิน วิธีปลูก […]
ขั้นตอนการเพาะเมล็ดและ ปักชำกิ่งไม้เลื้อย
การเพาะเมล็ดและ ปักชำกิ่งไม้เลื้อย การขยายพันธุ์ที่นิยมทำกันทั้ง 2 แบบ ซึ่งทั้งสองวิธีมีปัจจัยที่ต่างกันไปอย่างปักชำก็จะได้ผลเร็วกว่าและเป็นวิธีที่ง่ายกว่า ทำได้ทีละหลายๆ กิ่งพร้อมกัน
ยิปโซฟิลา
Baby’s Breath ชื่อวิทยาศาสตร์: Gypsophila paniculata L. วงศ์: Caryophyllaceae ประเภท: ไม้ดอก อายุหลายปี ลำต้น: พุ่มสูง 30-90 เซนติเมตร ลำต้นมีขนเล็กน้อย ใบ: ใบเดี่ยว รูปแถบถึงรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอก: ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงออกที่ปลายยอด มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน กลีบดอกมีทั้งสีขาวและสีชมพู เมื่อบานมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3-0.6 เซนติเมตร อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้กระถางแขวน แต่จะออกดอกงามถ้าปลูกในดินที่มีความเป็นด่างเล็กน้อย (โดยเติมปูนขาวลงในดิน) ใช้จัดในสวนอังกฤษได้ดี นอกจากนี้ยังมีชนิดที่เป็นไม้ล้มลุกอายุสั้น คือ G. elegans M.Bieb. และ G. repens L. แต่ไม่นิยมปลูกประดับแปลง […]
ไทรย้อยใบแหลม
จาเรย/ไทรย้อย/ไทร/ไทรกระเบื้อง/Benjamin’s Fig/Golden Fig/Weeping Fig ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus benjamina L. วงศ์: Moraceae ประเภท: ไม้ต้น ลำต้น: สูง 5-10 เมตร ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว มีทรงพุ่มแผ่กว้าง ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบหนาเป็นมัน ดอก: ช่อดอกออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศ ขนาดเล็ก ผล: ผลกลม เมื่อแก่เป็นสีแดงเข้ม อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดเต็มวัน น้ำ: ปานกลาง ทนน้ำท่วม การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง เสียบยอด การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประธานในสวน ริมทางเดิน ในสวนสาธารณะ หรือปลูกลงกระถางก็ได้ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี แต่ถ้าปลูกในที่แห้งแล้ง ใบจะร่วงมาก ต้นที่ได้จากการปักชำกิ่งหรือเสียบยอดจะแตกพุ่มใหม่ได้แน่น ไทรย้อยใบแหลมมีประสิทธิภาพสูงในการดูดซับมลพิษในอากาศ โดยเฉพาะสารพิษประเภทฟอร์มาลดีไฮด์ […]
ปริกฮอลแลนด์
Asparagus ชื่อวิทยาศาสตร์: Asparagus umbellatus Link วงศ์: Asparagaceae ประเภท: ไม้คลุมดิน อายุหลายปี ลำต้น: พุ่มสูง 0.30-1 เมตร ลำต้นเป็นพุ่มโปร่ง ใบ: ก้านใบยาว 0.50-1 เมตร ใบเปลี่ยนรูปเป็นเส้นใบขนาดเล็ก ปลายแหลม สีเขียวอ่อน ดอก: ช่อดอกออกตามซอกใบ ดอกสีขาวครีม ขนาดเล็ก ห้อยย้อยลง ผล: ผลกลมมีเนื้อนุ่ม เมื่อสุกมีสีแดง อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดเต็มวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้กระถาง หรือปลูกลงแปลงเป็นกลุ่ม เกร็ดน่ารู้: มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา
ฉัตรนาค
Ivory Coast/Leea/Liberia/Sierra Leone ชื่อวิทยาศาสตร์: Leea guineensis G.Don cv. Burgandy วงศ์: Vitaceae ประเภท: ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: พุ่มสูง 2-3 เมตร แผ่กิ่งก้านในพุ่มแน่น ลำต้นสีม่วงอ่อน เมื่ออายุมากสีเข้มขึ้น ใบ: ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น รูปไข่แกมรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบสีม่วงแดงเป็นมัน ปลายยอดมีหูใบเป็นแผ่นรูปไข่สีม่วงแดง ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงออกที่ปลายยอด ดอกสีแดงเข้ม ออกดอกในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ผล: ผลกลม มีเนื้อนุ่ม เมื่อสุกมีสีแดงคล้ำหรือดำ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดครึ่งวัน หรือรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้ประธานในสวน เช่น ริมน้ำตกที่มีแสงรำไร เกร็ดน่ารู้: มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปแอฟริกา
แอหนัง
ปากหลาน/เล่านั่งฮวย/Chinese Wormwood ชื่อวิทยาศาสตร์: Crossostephium chinense (A.Gray ex L.) Makino วงศ์: Asteraceae ประเภท: ไม้คลุมดิน อายุหลายปี ลำต้น: พุ่มสูง 30-50 เซนติเมตร ใบ: ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปช้อน รูปไข่กลับ หรือรูปรี ปลายใบกลม โคนใบแคบยาว แผ่นใบสีเขียวอมเทาถึงสีเทาเงิน อวบหนา มีขนสั้นนุ่มสีขาวปกคลุมทั่วใบ ใบแก่มักเว้าเป็น 3 แฉก ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจุกกลมสีเหลืองออกที่ปลายยอด มักออกดอกในที่มีอากาศหนาวเย็น ผล: เมล็ดมี 5 สัน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดเต็มวัน ชอบอากาศเย็น น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้กระถาง […]
ไทรเกาหลี
ไทรเกาหลี / Fig ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus sp. วงศ์: Moraceae ประเภท: เป็นทั้งไม้ต้นและไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวขุ่น เมื่ออายุมากมีรากอากาศห้อยย้อยลงมายังผิวดิน ใบ: ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบกิ่ง รูปรีถึงรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม ดอก: ดอกเป็นช่อกระจุกบนฐานรองดอกเดียวกัน ออกตามซอกใบ มีดอกเล็กๆ จำนวนมาก ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้จำนวนมากกว่าดอกเพศเมีย ดอกเพศเมียมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผล: ผลเป็นส่วนของฐานรองดอกที่ขยายขนาด ภายในมีเมล็ดเล็กๆ จำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: น้อย-ปานกลาง ทนน้ำท่วมหรือชื้นแฉะได้ดี การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับแปลงหรือไม้กระถาง ถ้าปลูกลงดินต้นจะเติบโตได้ดีและมีขนาดใหญ่ กรณีที่มีพื้นที่น้อยควรหมั่นตัดแต่งทรงพุ่มอยู่เสมอ แข็งแรงทนทาน เจริญเติบโตได้ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร ปลูกเลี้ยงง่าย เกร็ดน่ารู้: ถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย
พู่กันทอง
พู่บราซิล/Golden Plum ชื่อวิทยาศาสตร์: Schaueria flavicoma วงศ์: Acanthaceae ประเภท: ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: สูงได้ถึง 1 เมตร หากไม่ตัดแต่งกิ่ง ใบ: ใบรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก สีเขียวเข้มเป็นมันเงา ดอก: ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ประกอบด้วยใบประดับลักษณะเป็นเส้นสีเหลืองคล้ายพู่ มีดอกเล็กๆ สีขาวแทรกอยู่ระหว่างซอกใบประดับ ออกดอกช่วงฤดูหนาว อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วน มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดด: แสงแดดรำไรถึงครึ่งวัน น้ำ: มากแต่ไม่แฉะ การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกประดับแปลงหรือปลูกเป็นไม้กระถาง ในสภาพแสงแดดรำไร หากปลูกกลางแดดจัดใบมักจะเหลืองและด้านไม่สวยงาม แต่หากปลูกเลี้ยงในที่ร่มเกินไปกิ่งก้านจะยืดยาวและใบประดับจะมีสีเหลืองซีดไม่สดใส เนื่องจากชอบดินที่มีอินทรียวัตถุสูงจึงควรหมั่นใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดินอย่างสม่ำเสมอ เกร็ดน่ารู้: มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล
มะกอกฝรั่ง
มะกอกหวาน/Ambarella/Great Hog Plum/Otatheite Apple ชื่อวิทยาศาสตร์: Spondias cytherea Sonn. วงศ์: Anacardiaceae ประเภท: ไม้ต้น ลำต้น: สูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมเทา ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม ขอบใบหยักมนหรือหยักฟันเลื่อย ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบปลายยอด มีดอกเล็กๆ สีขาวอมเหลืองอ่อน ผลิบานในช่วงปลายฤดูร้อน ผล: ผลสีเขียวรูปรีค่อนข้างกลม ขนาด 4-10 เซนติเมตร เปลือกผลสีเขียวเข้ม และมีแนวสันตามยาวนูนขึ้นเล็กน้อย เมื่อสุกมีสีเขียวอมเหลืองอ่อน ภายในมีเมล็ดแข็ง รอบเมล็ดมีเสี้ยนยาว อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง ไม่ทนน้ำท่วมขัง การขยายพันธุ์: ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: มีทรงพุ่มโปร่ง ควรมีพื้นที่ปลูกอย่างน้อย 4-6 […]
มะลิเขย่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum didymum G.Frost subsp. didymum วงศ์: Oleaceae ประเภท: ไม้รอเลื้อย อายุหลายปี ลำต้น: สูง 2-4 เมตร บางต้นเลื้อยได้ไกลถึง 15 เมตร ใบ: ใบประกอบ 3 ใบ ใบสุดท้ายใหญ่ที่สุด หนาและแข็ง บางครั้งมีใบเดี่ยว โคนใบสอบ ปลายใบแหลม กิ่งยอดและใบเหนียวแข็งและมีขนสั้นปกคลุม เส้นแขนงใบด้านบนเป็นร่องตื้น 4-5 คู่ ดอก: ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว 5-10 เซนติเมตร มีดอกย่อย 15-50 ดอก เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.2 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว 4-5 กลีบ ปลายกลีบลู่ลงหรือบิดพลิ้ว มีกลิ่นหอมแรง ออกดอกเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ผล: ผลเดี่ยวหรือแฝด ทรงกลม ผลแก่เดือนมีนาคม-เมษายน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: […]
มะลิพุทธชาด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum auriculatum Vahl วงศ์: Oleaceae ประเภท: ไม้พุ่มรอเลื้อย อายุหลายปี ลำต้น: มียอดยืดยาวมาก ใบ: ใบเดี่ยว รูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน ยอดอ่อนมีขนสั้น ดอก: ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอดของกิ่งข้าง ดอกสีขาว มีมากกว่า 50 ดอก เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 6 กลีบ มีกลิ่นหอมแรง ทยอยออกดอกเกือบตลอดปี ผล: ต้นที่ปลูกในไทยไม่ติดผล อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับกระถาง และจัดแต่งกิ่งยอดให้เลื้อยพันซุ้มให้มีทรงพุ่มกลมสวยงามหรือมีรูปทรงต่างๆ หากปลูกกลางแจ้งห่างจากต้นไม้อื่นสามารถตั้งพุ่มอยู่ได้ด้วยตัวเอง เกร็ดน่ารู้: พบครั้งแรกในจีน หลังจากนั้นมีการนำไปปลูกในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย สำหรับประเทศไทย นำเข้ามาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับและไม้ดอกหอมกันมานาน
มะลิจันทบูร
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac (L.) Aiton ‘Mali Chanthabun’ วงศ์: Oleaceae ประเภท: ไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี ลำต้น: สูง 0.50-1 เมตร บางครั้งแตกกิ่งกระโดงยืดยาว ใบ: ใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่กลับขนาดใหญ่ โคนใบเว้าหรือมนกลม ปลายใบแหลม เส้นแขนงใบด้านบนเป็นร่องลึก ผิวใบขรุขระ ขอบใบบิดเป็นคลื่น ดอก: กลีบเลี้ยงโค้งงอ กลีบดอกสีขาว เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5-4.5 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกสีขาวอมเขียว ปลายแยกเป็น 8-12 กลีบ บางกลีบเรียงซ้อนสองชั้น กลางกลีบมีสันนูนตามยาว มีกลิ่นหอมแรง ทยอยออกดอกตลอดปี แต่ดกในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน มีดอกน้อยในช่วงฤดูหนาว ผล: ไม่ติดผล อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง แตกกิ่งจำนวนมาก ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง ชอบความชื้นสูง การขยายพันธุ์: […]
มะลิฉัตรดอกบัว
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac (L.) Aiton ‘Mali Chat Dok Bua’ วงศ์: Oleaceae ประเภท: : ไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี ลำต้น: สูง 0.50-1 เมตร แตกกิ่งกระโดงสั้น ใบ: ใบรูปไข่หรือรูปรี มีใบเรียงเป็นวง 2-3 ใบรอบกิ่ง โคนใบหยักเว้า ปลายใบมน ผิวใบขรุขระ เส้นแขนงใบด้านบนเป็นร่องลึก ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุกออกที่ปลายยอด ดอกเดี่ยวหรือมีดอกย่อยจำนวน 3 ดอก กลีบดอกเรียงกันแน่นมากกว่า 5 ชั้น ตอนกลางดอกมีกลีบดอกห่อกันกลมแน่น ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมแรง ทยอยออกดอกเกือบตลอดปี แต่ดกในช่วงปลายฤดูร้อนถึงฤดูฝน ให้ดอกน้อยในช่วงฤดูหนาว ผล: ไม่ปรากฏ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงร่มรำไร น้ำ: ปานกลาง […]
มะลิฉัตรพิกุล
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac (L.) Aiton ‘Mali Chat Phikun’ วงศ์: Oleaceae ประเภท : ไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี ลำต้น: สูง 0.50-1 เมตร แตกกิ่งกระโดงสั้น ใบ: ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามเป็นคู่ มีบ้างที่เรียงเป็นวง 3 ใบรอบกิ่ง ใบรูปรี โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบมน ดอก: ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุก มีดอกย่อย 3 ดอก ออกที่ปลายกิ่ง แฉกกลีบเลี้ยงตรง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 เซนติเมตร กลีบดอกเรียงเป็นชั้น 3-5 ชั้น สีขาวหรือสีขาวปนม่วงแดง สามารถดึงแยกกลีบดอกแต่ละชั้นออกจากกันได้ มีกลิ่นหอมแรง ทยอยออกดอกเกือบตลอดปี แต่ดกในช่วงปลายฤดูร้อนถึงฤดูฝน ให้ดอกน้อยในช่วงฤดูหนาว ผล: ไม่ปรากฏ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันหรือร่มรำไร น้ำ: […]
มะลุลีใบด่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum multiflorum ‘Variegated’ วงศ์: Oleaceae ประเภท: : ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: ทรงพุ่มกะทัดรัด ทุกส่วนมีขนนุ่มปกคลุม ใบ: ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่ โคนใบสอบถึงมน ปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน ขอบใบมีลักษณะด่างสีขาวอมเขียวไม่สม่ำเสมอ ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่งข้าง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว ปลายแยกเป็น 7-8 กลีบ ดอกดกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต: ช้าถึงปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง หากปลูกกลางแจ้งจะเติบโตได้ดีและสวยงามมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หากเป็นช่วงฤดูร้อนหรือฤดูแล้งที่มีแสงแดดแรงจัดและอากาศแห้งจะทำให้ขอบใบที่มีลายด่างเหี่ยวแห้ง มีสีน้ำตาล ลดความสวยงามลงได้ เทคนิคที่ช่วยให้มะลุลีใบด่างสวยงามตลอดปี คือ ควรปรับสภาพอากาศในแต่ละฤดูให้กลมกลืนกัน หากใบมีสีเขียวมากขึ้นควรลดการให้น้ำและปุ๋ยลง หากขอบใบด่างเหี่ยวแห้ง แสดงว่าได้รับแสงแดดมากเกินไปหรือความชื้นในอากาศมีน้อย ควรพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิลงหรือฉีดพ่นน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ แล้วใบจะสวยงามมากขึ้น
มะลุลีใบด่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum multiflorum ‘Variegated’ วงศ์: Oleaceae ประเภท: : ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: ทรงพุ่มกะทัดรัด ทุกส่วนมีขนนุ่มปกคลุม ใบ: ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่ โคนใบสอบถึงมน ปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน ขอบใบมีลักษณะด่างสีขาวอมเขียวไม่สม่ำเสมอ ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่งข้าง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว ปลายแยกเป็น 7-8 กลีบ ดอกดกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต: ช้าถึงปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง หากปลูกกลางแจ้งจะเติบโตได้ดีและสวยงามมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หากเป็นช่วงฤดูร้อนหรือฤดูแล้งที่มีแสงแดดแรงจัดและอากาศแห้งจะทำให้ขอบใบที่มีลายด่างเหี่ยวแห้ง มีสีน้ำตาล ลดความสวยงามลงได้ เทคนิคที่ช่วยให้มะลุลีใบด่างสวยงามตลอดปี คือ ควรปรับสภาพอากาศในแต่ละฤดูให้กลมกลืนกัน หากใบมีสีเขียวมากขึ้นควรลดการให้น้ำและปุ๋ยลง หากขอบใบด่างเหี่ยวแห้ง แสดงว่าได้รับแสงแดดมากเกินไปหรือความชื้นในอากาศมีน้อย ควรพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิลงหรือฉีดพ่นน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ แล้วใบจะสวยงามมากขึ้น