ปุ๋ยเคมี
ปุ๋ย กับความลับของตัวเลขบนกระสอบ
ปุ๋ย หรือธาตุอาหารพืชในรูปแบบของเคมี หรืออินทรีย์ ที่เป็นปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของพืช และความรู้ที่ซ่อนอยู่ในตัวเลขบนกระสอบ ความสำคัญของ ปุ๋ย ที่เหล่าเกษตรกร หรือกลุ่มนักสะสมพันธุ์ไม้ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ วันนี้จะพาทุกคน ไปทำความเข้าใจกับตัวเลขบนกระสอบ หรือบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งบางคนอาจจะรู้จักแล้วแต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จัก รู้จัก ปุ๋ยเคมี กันก่อน ตามพระราชบัญญัติปุ๋ยให้ความหมายไว้ว่า ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม และปุ๋ยเชิงประกอบ ตลอดถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย แต่ไม่รวมถึง ปูนขาว ดินมาร์ล ปูนปลาสเตอร์ หรือยิปซัมไดโลไมต์ หรือสารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ที่มุ่งใช้ในการอุตสาหกรรมหรือกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก็ไม่นับว่าเป็นปุ๋ยอินทรีย์ สูตรปุ๋ย ตัวเลขบนกระสอบ หรือบรรจุภัณฑ์ นั้นเราเรียกว่า “สูตรปุ๋ย” ซึ่งเป็นเลขบอกรับประกันปริมาณธาตุอาหารในรูปของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O5) และโพแทสเซียม (K2O) ที่มีอยู่ในปุ๋ย คิดเป็นร้อยละโดยน้ำหนักของปุ๋ยทั้งหมด โดยบอกเรียงกันตามลำดับเป็น N- P2O5– K2O เสมอ และไม่มีการสลับที่กันเป็นอันขาด ตัวอย่างเช่น บนบรรจุภัณฑ์ระบุสูตรปุ๋ยไว้ […]
4 แนวทาง การใช้ปุ๋ยเคมี อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการปลูกพืชมักมีคำถามว่า การใช้ปุ๋ยเคมีอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือมีสารตกค้างในผลผลิตหรือไม่… ความเป็นจริงแล้ว ปุ๋ยเคมีทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นชนิดเม็ด ชนิดน้ำ หรือชนิดผง ล้วนไม่ก่ออันตรายใด ๆ ต่อผู้ใช้และผลผลิตเลย เนื่องจากปุ๋ยเคมีเป็นสารปรับปรุงดินที่มีธาตุอาหารทางเคมีที่พืชต้องการ 17 ธาตุ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืช พืชนำธาตุอาหารเหล่านี้ไปใช้ในการเจริญเติบโต เสริมสร้างและพัฒนาส่วนต่าง ๆ ของต้น ทั้งราก ยอด ใบ กิ่งก้าน ดอก และผล จึงสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย การใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพขึ้นกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ในที่นี้มีข้อแนะนำที่สามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ เช่น ใช้แนวทาง 4 ถูก นั่นคือ ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลา และถูกวิธี ถูกสูตร ใช้สูตรปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูก ตามความต้องการธาตุอาหารของพืชแต่ละชนิด รวมถึงรูปของธาตุอาหารในปุ๋ยและปริมาณของธาตุอาหารพืช ถูกอัตรา ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่พอเหมาะกับความต้องการของพืชที่ปลูก เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง โดยไม่มีการตกค้างหรือมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และคุ้มค่าต่อการลงทุนในการใช้ปุ๋ยนั้น ถูกเวลา ใช้ปุ๋ยในระยะเวลาที่เหมาะสมกับความต้องการธาตุอาหารนั้นของพืชมากที่สุด เช่น ระยะแรกของการเจริญเติบโต […]
ควรใช้ ปุ๋ยเคมี อย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
“ปุ๋ยเคมี เป็นสารปรับปรุงดิน ไม่ใช่สารพิษ” การใช้ปุ๋ยเคมี จะมีสารตกค้างในผลผลิตหรือไม่ ทั้งที่จริง ปุ๋ยเคมีทุกประเภท ล้วนไม่ก่ออันตรายใดๆ เลย
ปลูกเฟินต้องใส่ปุ๋ยหรือไม่
มีหลายคนเข้าใจว่าเฟินขึ้นง่าย โตเร็ว ขอแค่ที่ร่มๆ อากาศชื้นๆ ก็พอ จริงๆ แล้วธรรมชาติของเฟินก็เหมือนต้นไม้อื่นๆ ที่ต้องการน้ำและธาตุอาหารเพื่อให้ต้นเจริญงอกงาม แต่ก็มีข้อที่แตกต่างตรงที่ เฟินไม่ได้ต้องการปุ๋ยหรือธาตุอาหารมากนัก โดยเฉพาะต้นที่ดูแลดีๆ เปลี่ยนวัสดุปลูกอยู่เสมอ การให้ปุ๋ยเฟินจึงคล้ายกับกล้วยไม้ คือ ให้ทีละน้อย แต่ให้บ่อยๆ ปุ๋ยแบบไหนที่เฟินชอบ ในตลาดมีปุ๋ยจำหน่ายหลายแบบหลายยี่ห้อ ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ฯลฯ และปุ๋ยเคมี มีทั้งชนิดเม็ด ชนิดน้ำ ซึ่งสามารถใช้กับเฟินแต่ละชนิดได้ดีและขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ปลูกเลี้ยง ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นวัสดุจากธรรมชาติ จึงเหมาะกับพืชทุกชนิดรวมทั้งเฟิน แต่อาจมีวัชพืชหรือเชื้อราติดมา ทำให้ต้นพืชเกิดปัญหา ดังนั้นก่อนใช้งาน ควรตากแดดให้แห้งหรืออบฆ่าเชื้อก่อน ถ้าใช้ปุ๋ยคอกจากมูลหมู ควรหมักทิ้งไว้ให้โซดาไฟที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมาสลายก่อนนำมาใช้ ในกรณีของปุ๋ยน้ำชีวภาพ ควรเจือจางก่อนนำมาใช้ เพราะมีส่วนผสมของกากน้ำตาล ถ้าใช้แบบเข้มข้นอาจทำให้ใบไหม้ได้ นอกจากนี้ก็มีปุ๋ยอินทรีย์อีกชนิดที่ปลอดภัยกับเฟินก็คือปุ๋ยปลา ซึ่งมีราคาแพงและหายาก ปุ๋ยเคมี ที่นิยมใช้มีหลายแบบ ควรใช้น้อยกว่าที่ระบุไว้บนฉลาก ในกรณีของปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยละลายช้าให้หว่านรอบโคนต้น โดยเว้นระยะห่างจากโคนต้นพอสมควร เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เฉพาะปุ๋ยละลายช้าจะมีสูตร 3 เดือน 6 เดือน จึงไม่จำเป็นต้องใส่บ่อยๆ ส่วนปุ๋ยเกล็ดละลายช้า […]
ไปรู้จัก ปุ๋ย ทั้ง”ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี” ต่างกันอย่างไร
ปัจจุบันตามท้องตลาดมี ปุ๋ย ทางเลือกมากมายสำหรับผู้บริโภค การเลือกใช้นั้นจึงควรเลือกตามความเหมาะสมของการใช้งาน ราคา และวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น