ป้องกัน – บ้านและสวน

มุ้งลวดขาด เสียหาย เปลี่ยนหรือซ่อมได้อย่างไร

มุ้งลวด เป็นสิ่งที่บ้านเขตร้อนและมียุงชุกชุมอย่างในไทยเราแทบจะขาดไม่ได้ ไปดู วิธีซ่อมมุ้งลวด หรือเปลี่ยนมุ้งลวดใหม่ด้วยตัวเองกัน มุ้งลวด เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญประจำบ้านที่ติดตั้ง เข้ากับกรอบของบานประตู-หน้าต่างเพื่อป้องกันยุงและแมลง ในยามที่เปิดออกให้อากาศได้ถ่ายเท แต่บ่อยครั้งมักเกิดการ ชำรุดเสียหายด้วยฝีมือลูกน้อยวัยกำลังซน เขี้ยวเล็บของ น้องหมาน้องแมว หรือการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ทำให้ จากอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันกลายเป็นช่องโหว่ที่ปล่อยให้ยุงและ แมลงสามารถบินเข้ามาภายในบ้านได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น เมื่อมุ้งลวดอยู่ในสภาพชำรุดเสียหาย ก็ควรรีบซ่อมแซมหรือ เปลี่ยนให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ วิธีซ่อมมุ้งลวด แบบที่ 1 วิธีซ่อมมุ้งลวด ที่มีรอยรั่วขนาดเล็กหรือรอยขาดเป็นแนวยาว ขั้นตอนที่ 1 ตัดแต่งรอยขาดและเก็บขอบลวดที่ชำรุดเสียหายให้เรียบร้อย ขั้นตอนที่ 2 ตัดเทปกาวซ่อมมุ้งลวดให้มีขนาดใหญ่กว่ารูที่ขาดเล็กน้อย ขั้นตอนที่ 3 ลอกฟิล์มกาวออก  แล้วแปะเทปกาวซ่อมมุ้งลวดทับ รอยชำรุด  ใช้มือกดเทปกาวติดกับมุ้งลวดให้แนบสนิท เรียบร้อย เท่านี้มุ้งลวดก็กลับมาใช้ได้ดีดังเดิม แบบที่ 2 วิธีเปลี่ยนมุ้งลวดทั้งบาน ขั้นตอนที่ 1 ใช้คีม ไขควง หรือที่หนีบดึงขอบเส้นยางหรือขอบอะลูมิเนียมของกรอบหน้าต่างออกทั้ง 4 ด้าน ขั้นตอนที่ 2 ลอกแผ่นมุ้งลวดเก่าออก แล้วปัดฝุ่นทำความสะอาดตามขอบร่องต่างๆ ขั้นตอนที่ 3 ตัดแผ่นมุ้งลวดใหม่ให้มีขนาดใหญ่กว่ากรอบด้านละประมาณ 1 […]

7 วิธีป้องกันบ้านพังจาก ความร้อนและความชื้น

ความร้อนและความชื้น ทำให้บ้านพังได้! เช่น ผนังแตก ขึ้นรา อยู่อาศัยไม่สบายและสิ้นเปลืองพลังงาน มาดูวิธี กันร้อน กันชื้น ให้บ้านกัน    1. ใส่ฉนวนกันความร้อนที่หลังคา สามารถติดตั้งได้ 3 ตำแหน่ง คือ บนพื้นผิวหลังคา ใต้วัสดุมุงหลังคา และบนฝ้าเพดาน โดยแนะนำให้ป้องกันความร้อนตั้งแต่ชั้นหลังคา ก็จะลดความร้อนได้ดีกว่าการติดตั้งฉนวนเหนือฝ้าเพดาน เพราะความร้อนที่ผ่านหลังคาลงมาจะน้อยลงและมีโอกาสระบายออกทางช่องระบายอากาศก่อนลงมาถึงฝ้าเพดาน หรืออาจติดตั้งหลายตำแหน่งก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนได้ดียิ่งขึ้น กันร้อน กันชื้น 2. ป้องกันแดดและฝน หลังคาบ้านควรทำชายคายื่น 1-1.5 เมตร เพื่อป้องกัน ความร้อนและความชื้น จากแดดและฝน หากหลังคาไม่มีชายคา จะทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย เช่น ผนังแตก สีลอก ขึ้นรา น้ำซึม 3. ป้องกันน้ำฝนไหลย้อนและคราบน้ำ ลดความเสียหายจากน้ำฝนได้ด้วยการทำขอบคานเอียงเข้าจะช่วยลดการเกิดคราบน้ำที่ผนังได้ ยกระดับฝ้าชายคาให้สูงกว่าขอบคานป้องกันฝ้าเสียหายจากน้ำฝน และทำ “บัวหยดน้ำ” ป้องกันน้ำฝนไหลย้อนเข้าบ้าน 4. ป้องกันความชื้นจากดิน ถ้าจำเป็นต้องทำพื้นบ้านเตี้ยหรือติดดิน ควรปูแผ่นพลาสติกหรือวัสดุกันซึม หรือเทคอนกรีตรองพื้นก่อนทำพื้นบ้าน พร้อมทำระดับท้องรางระบายน้ำให้ต่ำเพื่อช่วยให้ระบายน้ำได้เร็ว (แต่ต้องไม่ต่ำกว่าทางระบายน้ำสาธารณะ) […]