ดีไซน์ห้องน้ำให้สวยและปลอดภัยสไตล์ญี่ปุ่น

ห้องน้ำสไตล์ญี่ปุ่นที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลายคงจะเป็นห้องน้ำในฝันของใครหลายคน ซึ่งมักออกแบบให้มีความเรียบง่ายและใช้วัสดุธรรมชาติอย่าง “ไม้” เป็นหลัก แต่เอาเข้าจริงไม้ที่ต้องเจอความชื้นในห้องน้ำบ่อยๆ อาจมีคราบหรือเชื้อราเข้าจนได้ ดังนั้น การออกแบบห้องน้ำสไตล์ญี่ปุ่นนอกจากจะเลือกเพื่อให้ได้ดีไซน์ที่ตรงใจแล้ว ยังต้องเลือกใช้วัสดุและการวางระบบตั้งแต่ฝ้า ผนัง ไปจนถึงพื้นห้องน้ำ จะได้ใช้งานกันได้อย่างยาวนาน และที่สำคัญต้องปลอดภัยต่อผู้ใช้งานด้วย ฝ้าและผนังสำเร็จรูปทดแทนไม้จริง ห้องน้ำเป็นพื้นที่ที่มีความชื้นสูงเพราะต้องต้องสัมผัสกับน้ำอยู่ทุกวัน โดยเฉพาะบ้านที่ใช้น้ำอุ่น ไอน้ำจะขึ้นไปกระทบกับแผ่นฝ้า หากการระบายอากาศไม่ดีทำให้ความชื้นสะสมและเป็นเชื้อราได้ง่าย แต่หากอยากได้ห้องน้ำสไตล์ญี่ปุ่นแล้วล่ะก็สามารถเลือกใช้ฝ้าและผนังที่ผลิตจากวัสดุทดแทนไม้แทนจะดีกว่า โดยที่สามารถเลือกใช้วัสดุจากแบรนด์นำเข้าที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นโดยตรง  ยกตัวอย่าง Bath Panel สำเร็จรูป BTJ  ผลิตจากวัสดุ Ragid PVC และ หุ้มด้วยฉนวนกันความร้อน Polyurethane Foam ด้านหลังแผ่นวัสดุ ทำให้ได้เป็นแผ่นลายไม้ที่มีความบางเบากว่าไม้จริง ขณะที่ด้านหน้าแผ่นวัสดุเป็นนวัตกรรมพื้นผิวที่มีคุณสมบัติยับยั้งแบคทีเรีย Anti-Bacteria และง่ายต่อการทำความสะอาดและบำรุงรักษา มากกว่านั้นยังมีแผ่นลักษณะเดียวกัน แต่ผิวหน้าทำจากอลูมิเนียนทำสีเพาวเดอร์โค้ต ที่มีคุณสมบัติทนสภาวะภายนอก ทนต่อแสงแดด และน้ำ อีกทั้งยังกึ่งเป็นฉนวนกันไฟได้อีกด้วย เรียกว่าแผ่น ผนัง/ฝ้า Junfunen (จุนฟุนเน็น) สามารถนำมาทำเป็นฝ้าหรือผนังตกแต่งภายนอกได้ แผ่นวัสดุสำเร็จรูปแบบนี้ถูกออกแบบมาให้ติดตั้งโดยสกรูน็อตเข้ากับผนังเดิมที่เป็นปูนฉาบเรียบ โครงเหล็ก โครงอลูมิเนียมซีไลน์ หรือสามารถติดตั้งทับกระเบื้องเดิมได้ หรือในกรณีใช้ในงานฝ้าก็สามารถยึดเข้ากับแผ่นยิปซัมหรือโครงฝ้าเดิมได้เลยโดยไม่ต้องเพิ่มโครงสร้าง หรือในกรณีที่ชอบผนังลายเรียบ รอยต่อน้อย […]

[DAILY IDEA] WHITE & BLACK เสกห้องน้ำสุดเท่ ด้วยกระเบื้องโมเสก

กระเบื้องโมเสก ไม้ตายของพื้นผิวห้องน้ำ มาดูไอเดียใช้โมเสกสุดเท่อย่างสร้างสรรค์กัน

[DAILY IDEA] สนุกกับผนังห้องน้ำ

เพิ่มความสนุกให้กับผนังห้องน้ำ กับเทคนิคใหม่ๆ ที่จะทำให้ห้องน้ำของคุณสนุกสุดๆ

ข้อคิดดีๆ ในการทำห้องน้ำ

† แยกส่วนเปียก (อาบน้ำ) ออกจากส่วนแห้ง (ชักโครก+อ่างล้างมือ) สำหรับห้องน้ำเล็กๆ ควรก่อขอบกันน้ำและแขวนม่านกั้นหรือใช้เป็นห้องน้ำรับรองแขก † พื้น ควรเป็นวัสดุทนน้ำ เช็ดและทำความสะอาดได้ง่าย ที่สำคัญต้องไม่ลื่น ระดับพื้นต้องค่อยๆ ลาดไปยังท่อระบายน้ำที่พื้น เพื่อป้องกันน้ำขัง † ผนัง ควรเป็นวัสดุทนน้ำ ผิวเรียบลื่น รอยต่อไม่มากจะช่วยให้ทำความสะอาดง่าย † ช่องแสง+ระบายอากาศ –แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ช่วยระบายกลิ่น ถ้าไม่มีช่องแสงควรติดตั้งพัดลมดูดอากาศ † ฝ้าเพดาน ควรเป็นวัสดุที่ไม่อมความชื้น † อ่างล้างหน้า เลือกขนาดให้เหมาะกับห้อง การติดตั้งควรทำให้ซ่อมบำรุงได้ง่าย † อ่างอาบน้ำ เหมาะกับคนที่ใช้งานเป็นประจำ ถ้าไม่ใช้ก็ไม่ควรติดตั้ง † ชักโครก เลือกแบบประหยัดน้ำ ขนาดพอเหมาะกับห้องน้ำ † ก๊อกน้ำ แบบก้านโยกใช้งานสะดวกกว่าแบบหมุน คอโค้งสูงช่วยให้ล้างหน้าได้สะดวก (ไม่ต้องก้มตัวมาก) †กระจกเงาบานใหญ่ๆ ช่วยให้ห้องน้ำเล็กๆ ดูกว้างขึ้นได้ แต่ควรติดไว้ในบริเวณที่ไม่เปียกน้ำ † ควรวาล์วปิด-เปิดน้ำเผื่อไว้ในห้องน้ำ หรือติดไว้ที่อุปกรณ์ใช้น้ำ เช่น ชักโครก หรือ่างล้างหน้า […]

ข้อคิดดีๆ ในการทำห้องน้ำ

† แยกส่วนเปียก (อาบน้ำ) ออกจากส่วนแห้ง (ชักโครก+อ่างล้างมือ) สำหรับห้องน้ำเล็กๆ ควรก่อขอบกันน้ำและแขวนม่านกั้นหรือใช้เป็นห้องน้ำรับรองแขก † พื้น ควรเป็นวัสดุทนน้ำ เช็ดและทำความสะอาดได้ง่าย ที่สำคัญต้องไม่ลื่น ระดับพื้นต้องค่อยๆ ลาดไปยังท่อระบายน้ำที่พื้น เพื่อป้องกันน้ำขัง † ผนัง ควรเป็นวัสดุทนน้ำ ผิวเรียบลื่น รอยต่อไม่มากจะช่วยให้ทำความสะอาดง่าย † ช่องแสง+ระบายอากาศ –แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ช่วยระบายกลิ่น ถ้าไม่มีช่องแสงควรติดตั้งพัดลมดูดอากาศ † ฝ้าเพดาน ควรเป็นวัสดุที่ไม่อมความชื้น † อ่างล้างหน้า เลือกขนาดให้เหมาะกับห้อง การติดตั้งควรทำให้ซ่อมบำรุงได้ง่าย † อ่างอาบน้ำ เหมาะกับคนที่ใช้งานเป็นประจำ ถ้าไม่ใช้ก็ไม่ควรติดตั้ง † ชักโครก เลือกแบบประหยัดน้ำ ขนาดพอเหมาะกับห้องน้ำ † ก๊อกน้ำ แบบก้านโยกใช้งานสะดวกกว่าแบบหมุน คอโค้งสูงช่วยให้ล้างหน้าได้สะดวก (ไม่ต้องก้มตัวมาก) †กระจกเงาบานใหญ่ๆ ช่วยให้ห้องน้ำเล็กๆ ดูกว้างขึ้นได้ แต่ควรติดไว้ในบริเวณที่ไม่เปียกน้ำ † ควรวาล์วปิด-เปิดน้ำเผื่อไว้ในห้องน้ำ หรือติดไว้ที่อุปกรณ์ใช้น้ำ เช่น ชักโครก หรือ่างล้างหน้า […]