ผักสลัด ที่นิยมปลูก และบริโภคในเมืองไทย

ผักสลัด ทั่วโลกมีอยู่หลากหลายพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูก และบริโภคในเมืองไทย โดยมากอยู่ในกลุ่มผักกาดหอม ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lactuca sativa เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและยุโรป ปัญหาหลักของผู้ปลูกผักสลัดมือใหม่ คือ ไม่รู้จักผักแต่ละพันธุ์ ไม่รู้ว่าผักหน้าตาแบบนี้มีชื่อเรียกว่าอะไร ผักบางชนิดมีลำต้นและใบคล้ายกัน ทำให้จำและเรียกชื่อสับสน จึงไม่ประสบความสำเร็จในการปลูกเท่าที่ควร ดังนั้นเรามาทำความรู้จักผักสลัดกันก่อน ผักสลัดเป็นพืชฤดูเดียว มีระบบรากแก้วที่สามารถเจริญลงไปในดินได้อย่างรวดเร็ว รากแขนงและรากฝอยหนาแน่นในระดับความลึก 30 เซนติเมตร ลำต้นอวบสั้น ช่วงข้อถี่ ส่วนที่เห็นได้ชัดและเติบโตมากที่สุดคือใบ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามขนาดทรงพุ่ม การห่อหรือไม่ห่อหัว และสีสันของใบ ตั้งแต่สีเขียวอ่อนจนถึงสีเขียวเข้ม สีเขียวปนแดง สีแดง สีม่วง และสีน้ำตาล รวมถึงช่วงฤดูกาลปลูกที่เหมาะสมในแต่ละพันธุ์ โดยมีอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือ 40-50 วันนับจากเมล็ดงอก ผักกาดหอมที่นิยมปลูกกันทั่วโลกแบ่งตามลักษณะเด่นได้ 6 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ลีฟ (Leaf) หรือลูสลีฟ (Loose Leaf) หรือลูสเฮด (Loose Head) ไม่มีการห่อหัว ใบหยักเป็นคลื่นหรือย่น […]

5 โรคพืช ผักตระกูลกะหล่ำ

5 โรคพืช ที่พบบ่อยใน ผักตระกูลกะหล่ำ (Cruciferous Vegetables) ซึ่งเป็นผักกินใบที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย จึงมีการปลูกทั่วทุกภาคและตลอดทั้งปี ทั้งปลูกเป็นอาชีพหลัก อาชีพเสริมหลังการทำนา และปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน  ลักษณะอาการของโรคพืชแต่ละโรค จะมีอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อสาเหตุและพืช โดยบางโรคอาจมีลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการบริหารจัดการโรคพืชนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อต้นพืชและผลผลิต สำหรับผักตระกูลกะหล่ำที่นิยมปลูกในบ้านเรามีหลายชนิด เช่น คะน้า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง กวางตุ้งฮ่องเต้ ผักกาดกวางตุ้งไต้หวัน คะน้าเคล ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปม กะหล่ำดาว บรอกโคลี ผักกาดหัวหรือหัวไชเท้า เทอร์นิป เป็นต้น ผักตระกูลกะหล่ำเหล่านี้ มีโรคพืชที่สำคัญและพบบ่อย ดังนี้   โรคใบจุดคะน้า (Alternaria leaf spot) สาเหตุ เชื้อรา Alternaria brassicicola อาการ เกิดแผลจุดเล็ก ๆ สีเหลืองบนใบ ต่อมาขยายใหญ่ขึ้นเป็นสีน้ำตาล ระบาดมากในสภาพอากาศร้อนชื้น   โรคเน่าเละ (Bacterial soft […]

คะน้า

ผักคะน้า/Chinese Kale/Chinese Broccoli ชื่อวิทยาศาสตร์: Brassica oleracea L. cv. Alboglaba group วงศ์: Brassicaceae ประเภท: ผักล้มลุก อายุ 2 ปี (นิยมปลูกเป็นผักฤดูเดียว) ลำต้น: พุ่มสูง 30-45 เซนติเมตร ลำต้นกลมสีเขียวอ่อน ใบ: ใบรีแกมรูปไข่ แผ่นใบหนา สีเขียวอมเทา ผิวใบมีนวลเกาะ คะน้าที่นิยมปลูกมี 3 ชนิดคือ คะน้าใบกลม ต้นอวบใหญ่ ก้านเล็ก ปลายใบมน ข้อปล้องสั้น ผิวใบเป็นคลื่น คะน้าใบแหลม ใบแคบกว่าคะน้าใบกลม ปลายแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ และคะน้ายอดหรือคะน้าก้าน มีลำต้นอวบใหญ่ ใบแหลม ข้อห่าง จำนวนใบต่อต้นน้อย  เมล็ด: รูปกลม สีน้ำตาลเทา มีขนาดเล็ก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ปลูกได้ทุกฤดู แต่ฤดูหนาวจะเจริญเติบโตได้ดี ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดเต็มวัน […]