ผิวใบด้านบนมีขน
เถาดอกบานตูม
เอน/จิงจ้อขาว ชื่อวิทยาศาสตร์: Merremia umbellata (L.) Hall. f. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: มีรากออกตามข้อ เลื้อยไปตามผิวดิน ใบ: รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนเว้า มนหรือตัดตรง ผิวใบด้านบนมีขนประปราย ใต้ใบมีขนสั้นหนาแน่น ก้านใบมีขนสั้น ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกแบบซี่ร่ม ดอกสีเหลืองอมส้ม รูปกรวยตื้น ปลายแผ่บาน เส้นดอกเป็นแฉกรูปดาว ขนาดดอก 3-4 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกันยายน-กรกฎาคม ผล: เกลี้ยง เมล็ดมีขนสั้นหนาแน่น อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: เป็นวัชพืช พบตามริมถนน ที่รกร้าง ทุ่งหญ้า ยอดและใบอ่อนรับประทานได้ ใบใช้ตำพอกแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
หนาดคำ
เขืองแพงม้า/หนาดดอย ชื่อวิทยาศาสตร์: Inula cappa (Ham. ex. D.Don) DC. วงศ์: Asteraceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 70-150 เซนติเมตร ลำต้น: ลำต้นและกิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองปกคลุม ใบ: เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอกถึงรูปรีแกมขอบขนาน ยาว 5-20 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนมีขนเหนียวติดมือ ใต้ใบมีขนยาวสีเทาเงินหนาแน่น ออกดอกเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ดอก: เป็นช่อใหญ่ ช่อดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยสีเหลืองเป็นกระจุกแน่น รองรับด้วยใบประดับ 2-3 ชั้น สีเขียวอ่อน ผล: รูปขอบขนานแคบ มีขนยาวสีเทาและมีขนยาวสีขาวที่ปลาย อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติพบตามทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง บนเขาสูงทางภาคเหนือและภาคอิสาน ระดับความสูง 800-1000 เมตร เป็นสมุนไพร รากฝนน้ำกินแก้แพ้อาหาร […]