พลาสติก
ทางออกของ ปัญหาขยะพลาสติก จากเวทีเสวนา Redefining Plastic Waste จากงาน SUSTAINABILITY EXPO 2023
ทุกวันนี้คนทั่วโลกต่างตื่นตัว และเห็นความสำคัญว่าขยะพลาสติกสร้างปัญหาให้โลกมากแค่ไหน แต่หลายคนก็อาจจะยังนึกไม่ออกว่าในฐานะคนตัวเล็กๆ คนนึงในสังคมจะเปลี่ยนแปลงอะไรเรื่องขยะพลาสติกได้บ้าง? และสำหรับผู้ผลิตในระดับมหภาคนั้น เค้ามีมุมมองต่อเรื่องเหล่านี้อย่างไร . ในเสวนานี้ที่จัดขึ้นที่ Sustainability Expo 2023 ในวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา room โดย คุณ โบซซึ วุฒิกร สุทธิอาภา บรรณาธิการออนไลน์ และเนื้อหาด้านความยั่งยืน จึงขอพาทุกท่านไปร่วมไขความคิด แลกเปลี่ยนมุมมอง และหาคำตอบร่วมกันในประเด็นของปัญหา ขยะพลาสติก มีประเด็นอะไรบ้าง ไปดูกัน! . ซึ่งเรารวบรวมประเด็นมาให้ทุกท่าน เป็นไอเดียให้เห็นมุมมองใหม่ๆ ว่าเราทำอะไรกับขยะพลาสติกได้บ้าง? ในมุมของคนธรรมดาลงมือทำอะไรได้บ้าง? แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรหากเรามาร่วมกันทำ ไอเดียเหล่านี้อาจทำให้มองเห็นโอกาสต่อยอดขยะพลาสติกให้มีที่ไป เกิดเป็นผลงานสร้างสรรค์ใหม่ๆ ซึ่งช่วยลดการเกิดขยะที่สร้างมลภาวะให้โลก มีประเด็นอะไรบ้าง ไปดูกัน! . . #ภารกิจเรื่องพลาสติกที่ช่วยให้โลกดีขึ้น . แต่ละทีมที่มาร่วมเสวนาในวันนี้ ทุกคนต่างดำเนินงานเกี่ยวข้องกับพลาสติกทั้งสิ้น เริ่มต้นจากห้องวิจัยคิดค้นพลาสติกประเภทใหม่จากวัสดุชีวภาพที่ย่อยสลายได้ วิจัยว่าพลาสติกใช้แล้วนำกลับมาดีไซน์เป็นของชิ้นใหม่ได้อย่างไรอย่างทีม MORE มีทีมที่ทำงานผลิตเม็ดพลาสติกจากพลาสติกใช้แล้วกลับมาทำใหม่ และทีมที่ทำบรรจุภัณฑ์พลาสติกกล่องเครื่องดื่มส่งไปทั่วโลกอย่าง Tetra Pak . ทุกทีมมีภารกิจของตัวเองที่ช่วยให้โลกดีขึ้นผ่านการทำงานกับพลาสติก . […]
พลาสติก ดีไซน์ ใหม่จากการ รีไซเคิล
พลาสติกนี้คือผู้ร้ายเสมอไป เพราะในปัจจุบันนั้นได้มีการคิดแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวในหลากหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการลดความต้องการ การใช้ซ้ำ รีไซเคิล จนนำไปสู่งานออกแบบที่สร้างสรรค์ต่างๆ เป็นการหาหนทางใหม่ๆในการใช้วัสดุสุดทนที่ยากจะย่อยสลายนี้ทั้งยังเพิ่มมูลค่าให้กับพลาสติกไ้ด้อีกทางหนึ่งด้วย
ขวดน้ำพลาสติกใช้ซ้ำ อันตรายจริงหรือไม่ ?
เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะกรอกน้ำไว้ดื่มรับประทาน ซึ่งภาชนะที่นิยมใช้ก็มักจะเป็น ขวดน้ำพลาสติกใช้ซ้ำ เนื่องจากมีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก และราคาประหยัดกว่าขวดน้ำที่ทำจากวัสดุอื่น แต่การที่เรากรอกน้ำใส่ขวด ทำให้เกิด ขวดน้ำพลาสติกใช้ซ้ำ บ่อย ๆ แบบนี้ จะมีผลอันตรายต่อร่างกายของเราจริงหรือไม่ วันนี้ บ้านและสวน หาคำตอบมาให้แล้ว ประเภทของขวด ก่อนอื่นเราต้องมาดูว่าพลาสติกมีกี่ประเภท เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เบอร์ 1 PET หรือ PTET ย่อมาจาก Polyethylene Teraphthalate (โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต) นั่นก็คือพลาสติกโปร่งใส เนื้อเหนียว มีความทนทานต่อแรงกระแทก และมีคุณสมบัติในการป้องกันการแพร่ผ่านของก๊าซได้ดี นำมาใช้ในการผลิตขวดเครื่องดื่มที่ไม่ได้บรรจุแอลกอฮอล์ เช่นประเภทขวดน้ำดื่ม น้ำผลไม้ ขวดน้ำมันพืช เบอร์ 2 High-Density Polyethylene (โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง) พลาสติกชนิดนี้มีความหนาแน่นสูง ทำให้แข็งแรง แต่โปร่งแสงน้อยกว่าโพลีเอทิลีน ความหนาแน่นต่ำ ทนกรดและด่าง ทั้งยังป้องกันการแพร่ผ่านของความชื้นได้ดี คือประเภทถุงพลาสติก ขวดพลาสติกแข็งๆ ขวดนม ขวดยาสระผม ถุงขยะหนาๆ นำกลับมารีไซเคิลเป็นถุงพลาสติก หรือขวดโยเกิร์ต […]
รู้จัก สัญลักษณ์รีไซเคิล พลาสติก กันเถอะ
เราควรลดปริมาณการใช้และนำพลาสติกบางชนิดกลับมาใช้ใหม่หรือการรีไซเคิลนั่นเอง ดังนั้นเราควรมารู้จัก สัญลักษณ์รีไซเคิล เพื่อบอกประเภทของพลาสติกกันค่ะ