Mr. New’s Cabin บ้านพักตากอากาศหลังเล็ก บนเนินโล่ง ที่ เชียงใหม่ ดื่มด่ำกับธรรมชาติผ่านการตั้งอยู่ของตัวบ้าน

Mr. New’s Cabin บ้านชั้นเดียวตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัด เชียงใหม่ ออกแบบโดย Housescape Design Lab เป็นบ้านที่ผู้ออกแบบนิยามว่าเป็น “กระท่อม” ของเจ้าของที่เป็นคนกรุงเทพฯ ที่สร้างเป็นบ้านสำหรับพักผ่อนตากอากาศในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งตั้งใจให้บ้านเชื่อมต่อกับธรรมชาติโดยรอบด้วยการทำช่องเปิดรอบบ้าน และรับวิวน้ำหรือ Lake ที่อยู่หลังบ้าน สร้างด้วยวัสดุเกือบทั้งหมดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Housescape Design Lab ตั้งคำถามต่อสถาปัตยกรรมผ่านการออกแบบ ข้อความที่สถาปนิกตั้งใจสื่อสารลงไปในบ้านหลังนี้ คือ การออกแบบรูปทรงคล้ายหินจริง แต่สร้างด้วยวัสดุคอนกรีต ครอบเสานอกบ้าน และในบ้านที่ใต้อ่างล้างจาน เป็นการสร้างสิ่งคล้ายธรรมชาติให้เกิดคำถามถึงการมีอยู่ระหว่าง “ของจริง” และ “ของสังเคราะห์” ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันทั้งสองอย่างนั้นผสมกลมกลืนจนกลายเป็นสิ่งเดียวกันไปแล้วในอาคารหลังหนึ่ง เช่น ในอาคารใหญ่อย่างห้างสรรพสินค้า ผนังที่กรุด้วยวัสดุหน้าตาเหมือนกับหินจริง แต่ความจริงแล้วกลับเป็นวัสดุสังเคราะห์ขึ้นมาให้ดูเหมือนกับของจริง แต่ในความรับรู้ของคนที่ใช้งานเข้าใจว่านั่นคือหินจริง เป็นการตั้งคำถามที่เกิดจากความสงสัยของสถาปนิก ที่ออกแบบเป็นรูปทรงเหมือนหิน ให้ความรู้สึกเหมือนกับเป็นวัสดุธรรมชาติอยู่ภายในบ้าน แต่เป็นวัสดุอื่นที่ผ่านการสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งเมื่อคนมาเห็นก้อนวัตถุนั้น จะเรียกสิ่งนั้นว่าอะไร คราฟต์บ้านด้วยวัสดุและช่างจากท้องถิ่นในบ้านหลังนี้ ผู้ออกแบบได้ทดลองเทคนิคการผลิตที่มากขึ้นจากผลงานก่อนหน้านี้ นอกจากหลังคา และคอนกรีตที่ใช้เป็นวัสดุจากโรงงาน วัสดุอื่นนอกจากสองอย่างนี้ใช้ของที่มีอยู่โดยรอบในรัศมี 10 กิโลเมตรทั้งสิ้น รวมไปถึงรายละเอียดอย่างประตู […]

Patamma resort ฟื้นฟูป่า ริมน้ำน่าน สู่ รีสอร์ท แบบวิลล่าพื้นถิ่นร่วมสมัย

ป่าทำมา รีสอร์ท แบบวิลล่าริมแม่น้ำน่าน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ตีความให้ความร่วมสมัย ในพื้นที่ที่ตั้งใจสร้างเป็นป่าของชุมชน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: IF (Integrated Field)  เริ่มจากแนวคิดตั้งต้นในการฟื้นคืนป่าให้พื้นที่ริมน้ำ โดยมีอาจารย์จุลพร นันทพานิช แห่งป่าเหนือสตูดิโอ สถาปนิกผู้ทำงานออกแบบที่มุ่งเน้นความสอดคล้องกับธรรมชาติ ช่วยเข้ามาปรับสภาพที่ดินในส่วนที่ติดกับริมแม่น้ำ ทั้งการปลูกต้นไม้ทุกชนิดใหม่จากต้นกล้า ไม่ใช้วิธีล้อมต้นใหญ่มาปลูก เพื่อปล่อยให้ธรรมชาติร่วมทำงาน รอเวลาให้ต้นไม้ค่อยๆ เติบโต ให้ป่าฟื้นฟูตัวเองนานนับปี จากนั้น IF (Integrated Field) จึงเข้ามาออกแบบอาคาร รีสอร์ท ไปพร้อมกับการสร้างป่าแห่งนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น วางอาคารเปิดรับวิวแบบพานอรามา ทีมสถาปนิกจาก IF (Integrated Field) เข้ามาคิดผังการวางอาคารในพื้นที่ริมน้ำที่ถูกปรับเป็นป่า โดยวางอาคารหลัก แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อาคารส่วนต้อนรับ มีห้องอาหาร “ป่ากำกิ๋น” เป็นภาษาเหนือแปลว่าป่าของกิน ทรงอาคารมีที่มาจากรูปทรงของหินที่พบได้บริเวณริมแม่น้ำ รายละเอียดแทบทุกจุดของโครงการ เกิดจากการลงพื้นที่ชุมชนของทีมออกแบบ นำไปสู่การต่อยอดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นงานร่วมสมัยที่น่าสนใจ ซ่อนอยู่ในดีไซน์ของตัวอาคาร ทรงหลังคา เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงวัสดุ เรียกได้ว่าทุกองค์ประกอบมารวมตัวกันก่อตัวเป็น “ป่าทำมา” ที่ถูกทำขึ้นมาอย่างตั้งใจ และพอดี […]

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออฟฟิศริมทุ่งนา ที่ออกแบบอย่างถ่อมตน

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาคารที่รองรับกิจกรรมการทำงานของคนที่หลากหลาย ตั้งแต่นักวิจัยพันธุ์ข้าวในห้องแล็บ พนักงานในออฟฟิศ และชาวนาที่มาติดต่อ ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ หรือใช้ลานอเนกประสงค์เป็นลานตากข้าว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Hanabitate Architect ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา แห่งนี้ เป็นการออกแบบที่สถาปนิกจาก Hanabitate Architect ต้องทำความเข้าใจ และโอบรับผู้ใช้งานเข้าเป็นส่วนหนึ่งโดยไม่ทิ้งใครเอาไว้ เพื่อให้อาคารถูกใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามที่ตั้งใจ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา คือ พื้นที่ทำงานวิจัยพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคเหนือ เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ และต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงพัฒนาข้าวสายพันธุ์บนดอยที่มีความแข็งแรง ลงมาใช้ปลูกในพื้นที่ราบ เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเปิดโล่งแบบใต้ถุน ส่วนชั้นบนเป็นโซนสำนักงาน และห้องทดลองของนักวิจัย วางอาคารตามวิถีคนปลูกข้าว ผังอาคารออกแบบจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานจริง คือ ชาวนาที่ต้องขับรถแทร็คเตอร์เข้ามาติดต่อ ก็ยกอาคารชั้นล่างให้สูงโปร่งเป็นที่จอดรถได้ ชั้นล่างทำเป็นลานโล่งไว้สามารถปรับเปลี่ยนใช้งานได้หลากหลาย เพราะงานวิจัยข้าวไม่ได้ทำเฉพาะในห้อง แต่ต้องออกมาที่หน้างาน พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวบ้านด้วย จึงออกแบบพื้นที่ไว้อย่างหลวมๆ เพื่อรองรับการใช้งานหลายรูปแบบ เช่น เป็นลานตากข้าว เป็นจุดนัดพบระหว่างนักวิจัย และชาวนา ออกแบบอาคารอย่างถ่อมตนเพื่อคนทุกกลุ่ม “การออกแบบอาคารที่ผู้ใช้งานเป็นคนหลากหลายกลุ่ม ต้องนึกภาพเวลาคนกลุ่มต่างๆ […]

Thingamajiggy Coffee Roaster คาเฟ่แม่ริม ถอดดีไซน์จากยุ้งข้าว

Thingamajiggy Coffee Roaster คาเฟ่พื้นถิ่นขนาดกะทัดรัด ตั้งอยู่บนเนินคันนา รูปทรงอาคารตีความดีไซน์จากยุ้งข้าวพื้นถิ่นทางเหนือ พื้นที่ส่วนกลางใช้วัสดุหาง่ายในพื้นที่อย่างไผ่ ทำเป็นโครงสร้างชั่วคราวคลุมไม้ยืนต้นที่รอวันเติบโต DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: YANGNAR STUDIO Thingamajiggy Coffee Roaster ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอาคารขนาด 3×7 เมตร ได้แรงบันดาลใจจากยุ้งข้าว หรือหลองข้าว จุดเริ่มต้นไอเดียการออกแบบมาจากการเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ทางตอนเหนือของไทย และไปเยือนเชียงตุงของสถาปนิก จนออกมาเป็นร้านกาแฟภาษาเรียบง่าย มีพาวิเลียนหลังคาไผ่เป็นส่วนเชื่อมระหว่างอาคาร เน้นใช้วัสดุหาง่าย รวมถึงเทคนิควิธีที่ไม่ซับซ้อน กลมกลืนไปกับธรรมชาติ ไอเดียจากยุ้งข้าว รูปแบบอาคารเริ่มจากสถาปนิก คุณเท่ง-เดโชพล รัตนสัจธรรม แห่ง Yangnar Studio ออกเดินทางไปที่เมืองเชียงตุง ประเทศเมียนมาร์ แล้วเกิดความสนใจในอาคารยุ้งข้าวเก่าในแถบนั้น หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าหลองข้าว เมื่อได้รับโจทย์จากเจ้าของโครงการที่ต้องการทำร้านกาแฟบนเนินคันนาของตัวเอง ด้วยความต้องการคุมงบประมาณ จึงนำรูปแบบอาคารมาถอดดีไซน์จนเกิดเป็นอาคารร้านกาแฟขนาดกะทัดรัดในไซซ์ 3×7 เมตร ที่มีฟังก์ชันบาร์กาแฟ ห้องอบเบเกอรี่ ส่วนตัวอาคารมีสองฝั่ง ตั้งอยู่ตรงข้ามกัน เป็นส่วนบาร์กาแฟ ห้องอบเบเกอรี่ในทิศใต้ และอาคารห้องน้ำในทิศเหนือ […]

บ้านพื้นถิ่นอีสานร่วมสมัย ในจังหวัดขอนแก่น

บ้านพื้นถิ่นอีสานร่วมสมัย น่าสนใจในการเลือกใช้วัสดุและการตีความวิถีคนในถิ่นอีสานปรับพื้นที่ใต้ถุนแปรเปลี่ยนเป็นการจัดวางพื้นที่ต่อเนื่องกัน

ความลงตัวของบ้านพื้นถิ่นกับสไตล์อินดัสเทรียล กลางธรรมชาติในบาหลี

นอกจากตั้งใจจะสร้าง บ้านพักในบาหลี เพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดแล้ว เฟอร์นิเจอร์และงานศิลปะที่สะสมไว้หลายชิ้นจากแอฟริกา ยุโรป และเอเชียยังกลายเป็นโจทย์

บ้านที่มีลมหายใจ…และกำไรของชีวิต

ณ หัวโค้งหนึ่งของทางหลวงชนบทที่ลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในตำบลบ้านชัฏป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มองเข้าไปก็จะเห็นบ้านหลังคาแป้นเกล็ดที่ดูแปลกตากว่าบ้านเรือนโดยรอบ ตัวอาคารคอนกรีตแซมด้วยองค์ประกอบไม้แลดูนิ่งสงบและอบอุ่น บ้านหลังนี้คือบ้านของ คุณเต้อ – นันทพงศ์ ยินดีคุณ และครอบครัว เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ “มีความคิดว่าเมื่อคุณพ่อเกษียณก็อาจมาอยู่ทำสวนทำไร่ ใช้ชีวิตง่ายๆอยู่ที่นี่” คุณเต้อเล่าถึงสาเหตุที่มาปลูก บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน อยู่ที่นี่ “เริ่มมาจากตอนหนีน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปี 2554 เราทั้งครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และผมมาเช่ารีสอร์ตซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่แปลงนี้ และก็เริ่มติดใจบรรยากาศของพื้นที่แถบนี้” แม้จังหวัดราชบุรีจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ หากขับรถก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ แต่อำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังยังมีบรรยากาศแบบชนบทอย่างเต็มเปี่ยม   “ที่นี่ไม่ได้ไกลจากกรุงเทพฯ ผมสามารถขับรถไปทำงานที่อาศรมศิลป์ได้บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่บ้านตากอากาศ แต่เป็นบ้านอีกหลังที่หากคุณพ่อเกษียณแล้วคงมาอยู่กัน” มองจากภายนอกบ้านหลังนี้ดูใหญ่โตทีเดียว แต่ความจริงแล้วการออกแบบเริ่มมาจากการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แล้วจึงนำมาผนวกเข้าด้วยกัน “บ้านที่อยู่ปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ร่วมกัน บ้านใหม่ก็เลยอยากให้ทุกคนได้มีพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็เชื่อมพื้นที่เหล่านั้นด้วยโถงทางเดิน เปิดพื้นที่ตรงกลางเป็นสวนและกั้นความเป็นส่วนตัวของทุกห้องออกจากกัน แต่ก็ยังหลวมพอที่ลมจะไหลเวียนผ่านทุกส่วนของบ้านได้” บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังนี้จึงมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่ทับซ้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีลานหินกรวดซึ่งปลูกต้นไม้ใหญ่สองสามต้นอยู่ตรงกลาง หากมองจากด้านบนก็จะเห็นว่ามีส่วนกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความสดชื่นให้ทุกพื้นที่ในบ้าน แต่มองจากด้านล่างกลับดูนิ่งสงบ เข้ากับห้องทำงานของคุณเต้อที่ต้องการสมาธิในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ทางเดินทั้งหมดภายในบ้านและระเบียงของแต่ละห้องตั้งอยู่บนคานยื่น (Cantilever) ด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม […]

บ้านชั้นเดียว เปลือยผิวด้วยอิฐโชว์แนว

บ้านชั้นเดียว ที่เด่นด้วยผนังอิฐโชว์แนวสีน้ำตาลแดงในแพตเทิร์นใหม่ๆ ดูแปลกตาตัดกับปูนเปลือยขัดมันทาบทับในแนวเฉียงแทรกด้วยงานไม้ไผ่ในแนวตั้ง

Co-housing Space บ้านที่แชร์พื้นที่ร่วมกันกับธรรมชาติ

ท่ามกลางแสงแดดที่แผดเผา เรากำลังมุ่งหน้าไปทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย อุณหภูมิในรถเช่าไม่เย็นพอที่จะลดความอบอ้าวของสภาพอากาศด้านนอก หรืออาจเป็นใจของเราเองก็ได้ที่ร้อนขึ้นจากสภาพการจราจรเบื้องหน้า หนึ่งชั่วโมงครึ่งผ่านไปกับระยะทางไม่ไกลนักจากย่านกลางเมือง  เราเลี้ยวเข้าซอยเล็กๆ ผ่านประตูโครงการที่เหมือนประตูบ้านหลังใหญ่มากกว่าเป็นโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งเปิดให้เห็นต้นไม้ใหญ่ ดูคล้ายเป็นหมู่บ้านโมเดิร์นกลางป่า และช่วยเปลี่ยนความรู้สึกร้อนในใจให้เย็นลงได้แบบฉับพลัน “Tanah Teduh” เป็นโครงการบ้านจัดสรรที่ทำให้เรานึกถึงบ้านแบบ Co-housing Space หรือกลุ่มสังคมขนาดเล็กที่ทุกบ้านรู้จักกัน มีพื้นที่หน้าบ้านหรือหลังบ้านร่วมกัน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้ด้วยการออกแบบที่ดี บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ซึ่งเดิมเป็นสวนผลไม้ เจ้าของโครงการพยายามเก็บต้นไม้ใหญ่ไว้ให้ได้มากที่สุด โดยใช้วิธีสร้างบ้านหลบต้นไม้ อาคารทุกหลังเน้นการออกแบบเปิดรับแสงธรรมชาติ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าและทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รู้สึกใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมสีเขียวให้มากที่สุด แนวคิดดังกล่าวทำให้บ้าน 20 หลังในโครงการนี้มีพื้นที่ที่เปิดรับธรรมชาติและดูเป็นสัดส่วน แม้จะไม่มีรั้วกั้นบ้านแต่ละหลัง แต่ต้นไม้และการออกแบบสถาปัตยกรรมก็ช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวได้ไม่ยาก โครงการนี้ออกแบบโดย 10 สถาปนิกระดับแนวหน้าของอินโดนีเซีย บ้านแต่ละหลังมีหน้าตาไม่เหมือนกัน ราวกับเป็นลายเซ็นที่สถาปนิกกำกับไว้ผ่านรายละเอียดงานออกแบบที่ปรากฏ เราตั้งใจมาเยือนบ้านหลังหนึ่งที่ Mr. Andra Martin สถาปนิกผู้เป็นไดเร็กเตอร์ของโครงการนี้ออกแบบเอาไว้ แต่ต้องพบกับความผิดหวังเล็กน้อย เพราะเจ้าของยังไม่ได้มาอยู่บ้านหลังดังกล่าวจริงๆ ทว่า the show must go on เราเริ่มต้นถ่ายบ้าน แต่เหมือนฟ้าลิขิต น้องในทีมรีบวิ่งมาบอกเราอย่างตื่นเต้นว่า “พี่ๆ บ้านด้านหลังนี้เจ้าของบ้านเป็นคนไทยและสวยมาก” แน่นอนว่าใจของเราพุ่งไปถึงบ้านหลังนั้นก่อนขาจะก้าวไปทันเสียอีก […]