มีสารแคลเซียมออกซาเลต
ว่านพญาหอกหัก
ตะพิด ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium flagelliforme (Lodd.) Blume วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดินคล้ายหัวเผือก รูปทรงกลม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปใบหอกแคบ โคนใบรูปหัวลูกศร ปลายใบแหลม ก้านใบกลมยาวสีเขียว ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีเขียว ปลายสีแดงอ่อน ปลีดอกสีเหลือง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร พักตัวในฤดูหนาว น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ใช้เป็นสมุนไพรแก้โรคผิวหนัง เชื่อว่าเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี หากกินจะรู้สึกคันมากเหมือนมีอะไรมาแทงลิ้น เนื่องจากสารแคลเซียมออกซาเลตที่อยู่ในต้นนั่นเอง
ว่านปรอท
ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium sp. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูงประมาณ 20 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดินคล้ายหัวเผือก รูปทรงกลมขนาดเล็ก ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กว้างหรือรูปหัวใจ เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวเข้ม เส้นใบเด่นชัด ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีขาวนวล มีจุดประสีแดง ปลีดอกสีเหลือง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ ในทางสมุนไพรใช้เป็นยาถอนพิษ ฝี และอาการปวดแสบปวดร้อนจากน้ำร้อนลวกหรือไฟลวก โดยนำหัวหรือใบมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว พอกบริเวณที่เกิดอาการจะช่วยบรรเทาอาการลงได้ แต่หัวว่านนี้เมื่อกินเข้าไปแล้วจะคันมาก เนื่องจากมีสารแคลเซียมออกซาเลตในเนื้อ หมายเหตุ: ว่านปรอทที่ปลูกเลี้ยงกันในปัจจุบันมีหลายพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่เป็นต้นที่เรียกว่า ว่านตะพิดเล็ก หรือ อุตพิดเล็ก (Typhonium sp.) ซึ่งเป็นพืชอีกชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ว่านปรอทในบางตำราก็เป็นพืชในวงศ์ขิงด้วย
ว่านสาวน้อยประแป้ง
ว่านสาวน้อยประแป้ง สาวน้อยประกายเพชร/ไอ้ใบ้/Dumb Cane ชื่อวิทยาศาสตร์: Dieffenbachia seguine (Jacq.) Schott ว่านสาวน้อยประแป้ง วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูง 50-80 เซนติเมตร มีน้ำยางใสทุกส่วนของลำต้น ข้อปล้องชัดเจน สีเขียว เมื่อมีอายุมากขึ้น ลำต้นมักทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี ปลายใบแหลมมีติ่งแหลมสีเขียว มีจุดประสีขาวกระจายทั่วไป ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำยอด ปักชำข้อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นไม้ประดับจากต่างประเทศที่นำเข้ามาปลูกนานแล้ว และมักกลายพันธุ์ไปอีกหลายแบบ ใบเป็นสีขาวแกมเหลืองเกือบทั้งใบ ขอบใบสีเขียว ทุกส่วนของต้นมีสารแคลเซียมออกซาเลต เมื่อถูกน้ำยางจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองอย่างแรง ก่อนใช้ควรศึกษาให้ดีก่อน ความเชื่อ: เป็นว่านเสี่ยงทายโชคลาภ เสน่ห์เมตตามหานิยม หากปลูกไว้หน้าบ้านจะช่วยให้ค้าขายดี
เต่าร้างด่าง
Clustering Fishtail Palm/ Common Fishtail Palm/Jaggery Palm ชื่อวิทยาศาสตร์: Caryota mitis Lour. (Variegated) ประเภท: ปาล์มแตกกอ ความสูง: ที่สวยงามประมาณ 30 – 80 เซนติเมตร ลำต้น: กลายพันธุ์มาจากเต่าร้างแดง ลักษณะคล้ายกัน ใบ: ใบรูปขนนกสองชั้น ก้านใบสั้น ใบย่อยมีแถบด่างกว้าง ใบย่อยรูปสี่เหลี่ยมหยักเว้า ปลายใบแหลมคล้ายหางปลา ช่อดอก:ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ออกระหว่างกาบใบ ผล: กลม ขนาด 1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีม่วงคล้ำ อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินร่วนอุดมสมบูรณ์ แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์:เพาะเมล็ด ใช้เวลา 2 – 4 เดือน สามารถได้ทั้งต้นที่มีลักษณะปกติและต้นที่มีใบด่าง หากแยกหน่อ ต้นที่ได้จะมีลักษณะคล้ายกับต้นเดิม การใช้งานและอื่นๆ : เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางและลงแปลง […]
นางกวัก
นางกวักใบโพธิ์/ว่านกวักศรีมหาโพธิ์/ว่านทรหด/ว่านเศรษฐีใบโพธิ์ ชื่อวิทยาศาสตร์: Alocasia cucullata (Lour.) G.Don วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ความสูง: 30 – 60 เซนติเมตร ลำต้น: ลำต้นใต้ดินเป็นหัวคล้ายเผือก ต้นแก่จะมีลำต้นโผล่สูงขึ้นมาเหนือพื้นและแตกหน่อรอบด้าน ทุกส่วนอวบน้ำ ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบต้น รูปหัวใจ กว้าง 10 – 12 เซนติเมตร ยาว 12 – 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ แผ่นใบมีร่องตื้นตามแนวเส้นใบ ก้านใบยาว ดอก: ออกเป็นช่อเชิงลดที่บริเวณกาบใบ ปลีเป็นแท่งเรียวสีเขียวอ่อน มีใบประดับสีเดียวกันรองรับ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทุกประเภท น้ำ: ปานกลาง ความชื้นสูง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ : เป็นว่านที่ได้รับความนิยมมาแต่ครั้งโบราณ เชื่อว่าจะช่วยให้บ้านร่มเย็น […]