โสมไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Talinum paniculatum (Jacq.) Geartn. วงศ์: Portulacaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 10-20 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นรากสะสมอาหารรูปร่างคล้ายคน ใบ: ออกเวียนสลับถี่เป็นพุ่มใหล้ผิวดิน รูปรีถึงไข่กลับ ขนาด 2-5x 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม ดอก: เป็นช่อใหญ่ สูงได้ถึง 20 เซนติเมตร แตกแขนงเป็นช่อย่อยหลายช่อ อาจมีจำนวนดอกย่อยถึง 30 ดอก ขนาดดอก 0.5-1 เซนติเมตร สีชมพู ปกติมี 5 กลีบ แต่อาจมี 4 หรือ 6 กลีบ เกสรเพศผู้สีเหลืองสด ผล: สีเหลืองหรือชมพู แตกเป็น 3 พู เมล็ดจำนวนมาก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป […]

ผักปลาบ

ผักปลาบใบแคบ /Spreading Dayflower ชื่อวิทยาศาสตร์: Commelina  (L.) Gaertn. วงศ์: Conmelinaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว/วัชพืช ลำต้น: อวบน้ำ แตกกิ่งยาวและแผ่ราบไปตามพื้น สีเขียวหรือเขียวปนแดง ใบ: รูปแถบถึงใบรูปหอก ยาวเรียว ปลายแหลม   ดอก: ช่อดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกาบรองช่อดอกสีเขียว เมื่อดอกบานเต็มที่ ดอกจะชูก้านโผล่พ้นออกมาเหนือกาบ ดอกสีม่วงถึงน้ำเงินอมม่วง มี 3 กลีบ โคนกลีบเป็นก้านคอดเรียว มีเกสรเพศผู้ยาวงอน 6 อัน อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง -มาก แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: แยกไหล การใช้งานและอื่นๆ:  พบตามริมน้ำหรือทุ่งหญ้าที่มีดินชื้นแฉะ ยอดอ่อนกินได้ เป็นสมุนไพร ใบ ตำพอกฝีหรือแผลมีพิษ

มะดัน

ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia schomburgkiana Pierre วงศ์: Clusiaceae ประเภท: ไม้รอเลื้อย ลำต้น: เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ผิวเรียบ ทุกส่วนมีน้ำยางสีเหลือง ใบ: รูปขอบขนานออกตรงข้ามกัน กว้าง 2.5 – 4 เซนติเมตร ยาว 10 – 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักตื้นๆ แผ่นใบหนา ดอก: เดี่ยว ออกจากซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 มิลลิเมตร สีเหลืองอ่อน กลีบดอกแข็งหนา ออกดอกเดือนธันวาคม – มกราคม ผล: รูปรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 – 2 เซนติเมตร ยาว 4 – 5 เซนติเมตร สีเขียวอมเหลืองเป็นมัน เนื้ออวบน้ำ รสเปรี้ยว […]

มันปู

มันปูใบเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์: Glochidion wallichianum Müll.Arg. วงศ์: Euphorbiaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง: สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้น: มีเปลือกสีน้ำตาล ใบ: เดี่ยว รูปรี เรียงสลับในระนาบเดียว ปลายใบแหลม โคนใบมนถึงสอบ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อ ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจุกออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ไม่มีกลีบดอก มีแต่กลีบรวม 6 กลีบ สีแดงเรื่อ ผล: กลมแห้ง หยักเว้าเป็นพู 5 – 6 พู เมื่อแก่มีสีแดงสดและแตกออกภายในมีเมล็ดสีดำ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี ทนดินเค็ม น้ำ: ปานกลางทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกให้ร่มเงา ♦ ยอดอ่อนกินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ขนมจีนน้ำยา […]

มะสัง

 ผักสัง/Wood Apple ชื่อวิทยาศาสตร์: Feroniella lucida (Scheff.) Swingle วงศ์: Rutaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง: สูงได้ถึง 20 เมตร ทรงพุ่ม: รูปกรวยคว่ำ ลำต้น: ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมยาวปกคลุม ใบ: ประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีใบย่อย 3 – 5 คู่ รูปไข่กลับแกมรูปรี ปลายใบมน โคนใบสอบ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อและมีขนอ่อนปกคลุม แผ่นใบเมื่อส่องกับแสงจะเห็นต่อมน้ำมันใสกระจายทั่วใบ ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจุกออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกเล็ก ผล: กลม เปลือกค่อนข้างแข็ง เมื่อสุกมีสีแดง เนื้อในสีขาว มีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมาก ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกประดับสวนเพราะทรงพุ่มที่สวยงามหรือปลูกใส่กระถางเป็นไม้ดัด ♦ ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริกปลาร้า […]

มะม่วงหิมพานต์

 มะม่วงลังกา มะม่วงเล็ดล่อ มะม่วงสิงหล Acajou, Cashew, Maranon ชื่อวิทยาศาสตร์: Anacardium occidentale L. วงศ์: Anacardiaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง: สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้น: มีกิ่งก้านเป็นพุ่มแผ่โดยรอบ เปลือกต้นสีน้ำตาล ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีเหลืองและเหนียว ใบ: เดี่ยว รูปไข่กลับ ออกเวียนสลับปลายใบมน โคนใบสอบ ยอดใบอ่อนสีแดงเรื่อ แผ่นใบหนาเป็นมันเห็นเส้นใบชัดเจน ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว เมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีชมพู ส่วนของฐานรองดอกเจริญเป็นผล ผล: คล้ายชมพู่ เมื่อสุกสีเหลืองหรือสีแดงเรื่อ เรียกว่าผลปลอม ชาวใต้เรียกว่า เต้า ส่วนล่างมีเมล็ดรูปไตห้อยอยู่ เป็นผลที่เกิดจากการผสมเกสรคือส่วนของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่กินกันทั่วไป อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี ทนดินเค็ม น้ำ: น้อย […]

พฤกษ์

กาไพ/จ๊าขาม/จามจุรีสีทอง/มะขามโคก/มะรุมป่า/Indian Walnut/ Siris ชื่อวิทยาศาสตร์: Albizia lebbeck (L.) Benth. วงศ์: Leguminosae-Mimosoideae ประเภท: ไม้ต้นผลัดใบ ความสูง: สูงได้ถึง 25 เมตร ทรงพุ่ม: รูปร่มแผ่กว้าง ลำต้น: เปลือกต้นขรุขระ สีเทาเข้ม และแตกเป็นร่อง ใบ: ประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ มีใบย่อย 2 – 5 คู่ รูปขอบขนาน ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจุกออกตามยอด เกสรสีขาวเห็นเด่นชัด ผลิบานในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ในช่วงเช้า ผล: ฝักแบนยาว ภายในมีเมล็ดแบนรี 4 – 12 เมล็ด อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี น้ำ: น้อย-ปานกลาง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด […]

พญายอ

ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด พญาปล้องทอง เสลดพังพอนตัวเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์: Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau วงศ์: Acanthaceae ประเภท: ไม้รอเลื้อย อายุหลายปี ใบ: เดี่ยว รูปใบหอก ออกตรงข้าม ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบ ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจุกออกที่ปลายยอดในช่วงปลายฤดูหนาวเข้าฤดูร้อน กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีส้มอมแดง ผล: รูปไข่ เมื่อแก่แตกออกมี 4 เมล็ด ดิน: ดินร่วนปนทราย น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้ประดับริมรั้วหรือปลูกเป็นกอรอบโคนไม้ต้นก็สวยงาม แต่ต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอจะไม่รกเกะกะ ♦ ยอดอ่อนนำมาต้มจิ้มน้ำพริก กินกับอาหารรสจัดต่าง ๆ หรือใส่ในแกงแค ♦ ยอดอ่อนรสมัน แก้เส้นเอ็นพิการ ขัดยอก ♦ ใบสดนำมาขยี้ทาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย ♦ ใบสดคั้นเอาแต่น้ำใช้ทาแก้เริม งูสวัด […]

ผักคราด

ผักคราดหัวแหวน/ผักตุ้มหู/ผักเผ็ด/อึ้งฮวยเกี้ย/Para Cress/Toothache Plant ชื่อวิทยาศาสตร์: Acmella oleracea (L.) R.K.Jansen วงศ์: Asteraceae (Compositae) ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน มีขนเล็กน้อยและมีสีแดงเรื่อ ใบ: เดี่ยว รูปสามเหลี่ยมถึงรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว ผิวใบสาก ดอก: ช่อดอกผลิจากซอกใบ ปลายยอดชูตั้งขึ้น แต่ละช่อมีดอกย่อยเล็ก ๆ อัดกันแน่นคล้ายตุ้มหู บางท้องถิ่นจึงเรียก“ผักตุ้มหู” มีกลีบดอกสีเหลืองเรียงเป็นวงรอบ เมื่อดอกแก่จะติดเมล็ด รูปรีเรียว ยาวประมาณ 5 เซนติเมตรสีดำหรือสีน้ำตาลคล้ำ ส่วนปลายมีขนช่วยกระจายพันธุ์ ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดและปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้คลุมดิน หรือไม้กระถาง ♦ ยอดอ่อนกินเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริก ลาบ ก้อย […]

ชมพู่ม่าเหมี่ยว

ชมพู่แดง/ชมพู่สาแหรก/Malay Apple/Pomerac ชื่อวิทยาศาสตร์: Syzygium malaccense (L.) Merr. & L.M.Perry วงศ์: Myrtaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง: สูงถึง 25 เมตร ทรงพุ่ม: กลม หนาทึบ ลำต้น: มีเนื้อไม้ ใบ: เดี่ยว รูปรี ปลายใบเรียวแหลม ออกตรงข้าม ยอดอ่อนสีแดงเป็นมัน ดอก: ผลิบานช่วงฤดูหนาว กลีบดอกแข็งหนางุ้มงอ สีชมพูสด กลิ่นหอมอ่อน ๆ เกสรเพศผู้สีชมพูจำนวนมากหลุดร่วงง่าย ผล: ค่อนข้างกลม เมื่อสุกสีแดงคล้ำ เนื้อสีขาว มีรสเปรี้ยวอมหวาน เมล็ดขนาดใหญ่ ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี น้ำ: มาก ทนน้ำท่วมขังได้ดี แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกริมตลิ่ง ต้นที่ตอนกิ่งจะไม่แข็งแรงเท่าต้นที่เพาะเมล็ด ♦ ออกดอกติดผลได้หลังปลูกแล้ว […]

จิกนา

กระโดนทุ่ง/กระโดนน้ำ/ตอง/ปุยสาย/Indian Oak ชื่อวิทยาศาสตร์: Barringtonia acutangula (L.) Gaertn. วงศ์: Lecythidaceae ประเภท: ไม้ต้นผลัดใบ ความสูง: สูงได้ถึง 13 เมตร ทรงพุ่ม: แผ่กว้าง ลำต้น: มีเนื้อไม้ เปลือกต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่อง ใบ: เดี่ยว รูปใบหอกกลับถึงรูปไข่กลับ ออกเวียนสลับปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักฟันเลื่อย ยอดอ่อนสีแดงเป็นมัน ดอก: ช่อดอกออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ห้อยลง ดอกเล็ก กลีบดอกสีขาวเกสรสีแดงมักร่วงง่ายพร้อมกลีบดอก มีจำนวนมาก ผล: รูปกระสวย ขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร เมล็ดรูปไข่ มีเมล็ดเดียว อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี น้ำ: ปานกลาง ถ้าปลูกในที่แล้งต้นจะโตช้าและแคระแกร็น แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกริมน้ำหรือศาลาในสวน เพราะรากช่วยยึดตลิ่งไม่ให้พัง ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับอาหารที่มีรสจัดหรือรสเปรี้ยว […]

ขิง

 ขิงแกลง/ขิงแดง/ขิงเผือก/Ginger ชื่อวิทยาศาสตร์: Zingiber officinale Roscoe วงศ์: Zingiberaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ความสูง: 1 เมตร ลำต้น: เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน เจริญเป็นพุ่ม ใบ: เดี่ยวรูปแถบ ออกเวียนสลับระนาบเดียว ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบแคบเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม มีขนอ่อนปกคลุมทุกส่วน ดอก: ช่อดอกแทงจากดินชูตั้งขึ้น ผลิบานในฤดูฝน กาบรองช่อดอกสีเขียวอมแดงเรื่อ ดอกย่อยสีเหลืองอมเขียว ช่อดอกอยู่ได้นานเป็นเดือน ผล: เป็นผลแห้ง มีกาบช่อดอกรองรับ เมื่อแก่แตกออก ภายในแบ่งเป็นสามพู มีเมล็ดยาวรีสีน้ำตาล ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี ควรเริ่มปลูกในฤดูฝน จะช่วยให้ขิงแตกหน่อได้เร็ว น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: แยกเหง้า การใช้งานและอื่นๆ: ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับอาหารรสจัดต่าง ๆ และใช้เป็นสารกันบูดกันหืนได้ดี มีมากในฤดูฝน ♦ เหง้าอ่อนใช้ปรุงอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อปลา ♦ เหง้าขิงและใบขิงมีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร […]

ผักชีล้อม

จีอ้อ ผักอัน ผักอันอ้น Water Dropwort ชื่อวิทยาศาสตร์: Oenanthe javanica (Blume) DC. วงศ์: Umbelliferae ประเภท: ไม้อยู่เหนือน้ำ ลำต้น: ต้นตั้งตรง สูง 40 – 50 เซนติเมตร ภายในกลวง เห็นข้อปล้องชัดเจน ใบ: ใบประกอบขนนกสองชั้นปลายคี่ ออกเวียนรอบต้น ใบย่อยรูปรีเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบจักฟันเลื่อย โคนก้านใบโอบหุ้มลำต้นและมีสีแดงเรื่อ ดอก: ออกเป็นช่อซี่ร่มที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาว คล้ายดอกผักชี ออกดอกฤดูร้อน ดิน: ดินเหนียวหรือดินร่วน ระดับน้ำ 10-15 ซม. แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: แยกกอ การใช้งานและอื่นๆ: ทุกส่วนของต้นมีกลิ่นหอม ยอดอ่อนกินเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือลาบได้ ทั้งต้นมีสรรพคุณแก้บวม เหน็บชา ช่วยขับเหงื่อ หรือใช้แต่งกลิ่นอาหาร ผลช่วยขับลมในลำไส้ ชื่อสกุล Oenanthe มาจากภาษากรีกว่า […]

ยอบ้าน

มะตาเสือ/ Beach Mulberry/Cheese Fruit/Noni ชื่อวิทยาศาสตร์: Morinda citrifolia L. วงศ์: Rubiaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง: สูงได้ถึง 10 เมตร ทรงพุ่ม: เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ ลำต้น: เปลือกต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่อง ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 8 – 10 เซนติเมตร ยาว 15 – 25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน ระหว่างใบมีหูใบเรียวเห็นเด่นชัด ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกแน่นที่ซอกใบใกล้ปลายยอด และทยอยบานจากโคนช่อมาปลายช่อ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีขาว เส้นผ่านศูนย์กลางดอกบาน 8 มิลลิเมตร ออกดอกตลอดปี ผล: ผลรวม รูปไข่ เส้นผ่านศูนย์กลาง […]