- Home
- รีโนเวตตึกแถว
รีโนเวตตึกแถว
lei ơi càphê ร้านกาแฟตึกแถว เวียดนาม สัมผัสความสงบและธรรมชาติจากภายใน
lei ơi càphê บ้านกึ่ง ร้านกาแฟตึกแถว สีส้มอิฐ ที่ชวนทุกคนทิ้งความวุ่นวายไว้ภายนอก เพื่อมาสัมผัสความสงบและธรรมชาติจากภายใน ท่ามกลางย่านชุมชนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ที่ห้อมล้อมไปด้วยบ้านตึกแถว หรือบ้านหน้าแคบ นับเป็นบริบทที่ท้าทายนักออกแบบจาก TRAN TRUNG Architects ในการออกแบบพื้นที่ ร้านกาแฟตึกแถว ให้ผสมผสานไปกับพื้นที่พักอาศัยที่อยู่ชั้น 2 และ3 มีมุมมองจากภายในที่ดูเปิดโปร่ง ชักนำแสงและลมให้สามารถไหลเวียนได้อย่างทั่วถึงทุกชั้น เมื่อมองเข้ามาจากพื้นที่หน้าร้าน นับเป็นโชคดีของที่นี่ที่มีต้นไม้ใหญ่จากฟุตบาทคอยช่วยสร้างร่มเงาดูร่มรื่น โดยสีเขียวของต้นไม้ดูตัดกันดีกับผนังอาคารสีส้ม และฟาซาดสังกะสีสีสนิมที่นำมาใช้ปิดบังมุมมองเพื่อความเป็นส่วนตัว ชักชวนให้อยากละทิ้งจังหวะที่เร่งรีบของเมืองภายนอก ก่อนจะค่อย ๆ ชะลอจังหวะให้ช้าลง จนสัมผัสได้ถึงความนิ่ง สงบ และกลิ่นกาแฟอันหอมกรุ่น รอต้อนรับอยู่ภายใน การออกแบบมาจากแนวคิดที่ต้องการเปิดพื้นที่ตรงกลางให้เปิดทะลุถึงด้านบน โดยมีเส้นทางสัญจรอย่างบันไดเหล็กเจาะรูที่ดูโปร่งเบาทำหน้าที่แจกจ่ายผู้คนไปยังแต่ละชั้น แถมยังยอมให้แสงและลมลอดผ่านลงมาถึงชั้นล่าง ซึ่งมีคอร์ตยาร์ด หรือพื้นที่สีเขียวปลูกต้นไม้เขียวชอุ่มสดชื่น เคล้าไปกับกลิ่นหอมหวนของกาแฟ ตัวอาคารไม่เพียงแต่ผสมผสานกับสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่โดดเด่นเป็นของตัวเอง ซึ่งสามารถรับรู้ได้ของการเคลื่อนไหวของลมและแสงที่ปรับทิศทางไปตามช่วงเวลา สังเกตได้จากการตกกระทบของแสงเงาที่ปรากฏบนผนัง นอกจากนี้ การออกแบบของสถาปนิกยังสะท้อนถึงแนวคิด “Reviving the Life Cycle” จากการก่อสร้างและใช้วัสดุที่ถูกทิ้ง หรือถูกมองข้ามให้ได้รับการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ไม่ว่าจะเป็นแผงสังกะสีลอนลูกฟูก […]
The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์
โปรเจ็กต์รีโนเวตอาคารพาณิชย์เก่าสภาพทรุดโทรม สู่ บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์ เปรียบการค้นหาคำตอบของชีวิต ผ่านความหมายของไพ่ และรสชาติของเครื่องดื่ม ที่สร้างสรรค์โดย Mixologist นักดีไซน์เครื่องดื่มผู้ชำนาญ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: MOMstudio จากภายนอก The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต ดูสะดุดตาแตกต่างจากอาคารที่อยู่ใกล้เคียง ซ่อนความลึกลับไว้ภายในซึ่งอยู่เบื้องหลังเปลือกอาคารที่ทำจากแผงวัสดุสีโลหะรูปทรงเหมือนไพ่ โดยติดตั้งแบบบิดองศาเหมือนไพ่กำลังเคลื่อนไหวยามถูกเปิดออก กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าเชื้อเชิญให้อยากเข้ามาหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ภายใน บาร์ลับในรูปลักษณ์ที่ดูคล้ายวิหารแห่งคำทำนายนี้ ผู้ออกแบบจาก MOMstudio ได้แรงบันดาลใจมาจากป้อมปราการในอารยธรรมโลกเก่า หรือยุคกลาง ที่สร้างขึ้นด้วยอิฐ และหิน ฉาบหุ้มด้วยวัสดุ หรือสีสันจากธาตุธรรมชาติอย่าง ดินแดง หรือโลหะอย่าง ทองแดง ดูแล้วศักดิ์สิทธิ์ ปนลึกลับอยู่ในที เชื่อมต่อกับแนวคิดการออกแบบที่ทีมออกแบบได้ตีความคอนเซ็ปต์ของร้านมาจากการเปิดไพ่ทาโรต์ ที่ผู้เปิดไพ่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังไพ่แต่ละใบได้ การเปิดไพ่แต่ละครั้งจึงเปรียบเหมือนการเดินเข้าไปสู่พื้นที่ที่คาดเดาไม่ได้ของ The Fool Speakeasy Bar โดยเรียงลำดับการรับรู้ของผู้ใช้งานตั้งแต่ก่อนเข้าบาร์ที่ลูกค้าจะได้สัมผัสกับการบริการเป็นกันเองของ Mixologist ระหว่างที่กำลังรังสรรค์เครื่องดื่มค็อกเทล จนถึงการได้รับรสจากเครื่องดื่ม เสมือนการเดินทางที่เริ่มต้นจากความไม่รู้ เพื่อพบเจอสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ แล้วจึงค่อย ๆ คลี่คลายในคำตอบที่เลือกด้วยตนเอง ผู้ออกแบบใช้องค์ประกอบของไพ่รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการเล่าเรื่องราวของไพ่ทาโรต์ที่สอดคล้องกันตั้งแต่สถาปัตยกรรมภายนอกไปจนถึงภายใน สถาปัตยกรรมภายนอกทำหน้าที่ปกปิดอาคารถูกห่อหุ้มด้วยผิวของอาคาร 2 […]
SAN รีโนเวทคลินิกเก่าสู่ คาเฟ่บางแสน บรรยากาศโคซี่ที่ตลาดหนองมน
SAN คาเฟ่บางแสน ที่ซ่อนตัวอยู่ในตึกแถวย่านตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรี กับคาแร็กเตอร์สบาย ๆ เป็นกันเอง ตัวอย่างที่ดีของคนอยากเริ่มต้นทำคาเฟ่ เพราะต้องขับรถผ่านซอยเล็ก ๆ อย่างซอยสุขุมวิท 10 (ร้านหมอจรุง) กลางตลาดหนองมน อยู่เป็นประจำ ทำให้คุณหม่อน-ศักรนันทน์ เปี่ยมสัมฤทธิ์ ได้เห็นบรรยากาศและคุ้นเคยกับย่านนี้ ก่อนนำมาสู่การเปิด คาเฟ่บางแสน เล็ก ๆ ของตัวเอง หลังจากได้เห็นป้ายประกาศให้เช่าตึกแถวที่เคยเป็นคลินิกเก่าคู่ตลาดหนองมนมานานกว่า 30 ปี จากทำเลคุ้นเคยและไม่ไกลจากบ้าน คุณหม่อนจึงเข้ามาสำรวจพื้นที่ ก่อนตัดสินใจเช่าและรีโนเวทที่นี่ให้กลายเป็นร้านกาแฟที่เขารับหน้าที่เป็นบาริสต้าด้วยตนเอง จากโครงสร้างและความเป็นตึกแถวดั้งเดิม บวกกับบรรยากาศของคลินิกอายุรกรรมเก่า การรีโนเวทครั้งนี้ทั้งเจ้าของร้านและรุ่นน้องที่มาช่วยตกแต่งต่างมีความเห็นว่า อยากเก็บองค์ประกอบบางอย่างไว้ เพื่อย้อนรำลึกถึงวันวาน ไม่ว่าจะเป็นบานประตูไม้เก่าที่เปิดสู่พื้นที่ด้านหลัง โดยบนบานประตูยังแปะสติกเกอร์ห้ามสูบบุหรี่ซึ่งเป็นฟ้อนต์รุ่นเก่า รวมถึงโคมไฟแขวนแบบรางที่นิยมในอดีต ส่วนผนังหน้าร้านจากที่เคยเป็นผนังอะลูมิเนียมลูกฟูก ให้บรรยากาศแบบคลินิกยุคเก่า ได้รับการเปลี่ยนใหม่ให้ฝั่งที่อยู่ตรงกับเคาน์เตอร์บาร์กลายเป็นผนังกระจกใสจนเกือบชิดเพดาน เพื่อเปิดให้มองเห็นบรรยากาศความเคลื่อนไหวภายในได้ ส่วนประตูทางเข้าอีกฝั่ง ยังคงรูปแบบประตูเดิมของคลินิกไว้ โดยตอนเช้าและบ่ายแสงธรรมชาติจะสาดเข้ามาช่วยเพิ่มมิติของแสงเงา และเพิ่มความสว่าง ภายในโปรงโล่งด้วยโถงดับเบิ้ลสเปซ มองขึ้นไปเห็นชั้นลอย ซึ่งในอนาคตจะปรับเป็นแกลเลอรี่จัดแสดงงานศิลปะต่อไป การวางแปลนเคาน์เตอร์บาร์ เลือกวางตรงตำแหน่งงานท่อระบบเดิมเพื่อลดความยุ่งยาก เคาน์เตอร์ต่อประกอบขึ้นจากไม้สัก ซึ่งมีทั้งความทนทาน และสีสันสวยงาม แก้ปัญหาพื้นที่แคบด้วยการติดกระจกเงาตรงผนัง ช่วยหลอกตาให้ดูเหมือนร้านมีพื้นที่ลึกยาวออกไป […]
ทำออฟฟิศให้เป็นบ้าน กลางกัวลาลัมเปอร์
Work from Home กลายเป็นรูปแบบการทำงานที่ใช้กันในช่วงโควิด -19 ที่ผ่านมา แต่ที่ออฟฟิศสถาปนิก EDI ในมาเลเซีย การ “ทำออฟฟิศให้เป็นบ้าน” ดูจะเป็นแนวทางที่น่าสนใจ แถมกลมกลืนกับพื้นที่ด้วยการให้พื้นที่ชั้นล่างเป็นร้านขายเต้าฮวยอร่อยๆ รีโนเวตแก้ปัญหาสำคัญ แสงและการไหลเวียนอากาศ อาคารพาณิชย์เดิมอายุกว่า 40 ปีในย่าน Petaling Jaya กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้รับการรีโนเวตใหม่ให้อยู่กับบริบทโดยรอบได้อย่างน่าสนใจแต่ก็กลมกลืนกันดีไปกับพื้นที่ซึ่งคึกคักและเต็มไปด้วยร้านค้า ด้วยข้อจำกัดของอาคารพาณิชย์ยาว 21 เมตร ที่มีช่องแสงน้อย สถาปนิกจึงออกแบบแปลนให้ทะลุถึงกันหมดเพื่อนำแสงธรรมชาติและมีการไหลเวียนอากาศที่ดีอันเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ตัวอาคารวางยาวอยู่ในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก มีแสงเข้ามาต่างกันไปตามช่วงเวลา จึงพยายามให้มีผนังกั้นห้องให้น้อยที่สุด และมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ฟาซาดโปร่ง เพิ่มเติมด้วยต้นไม้ Chan Mun Inn และ Wong Pei San ผู้ออกแบบ เล่าให้ฟังว่า จริงๆ แล้วทำออฟฟิศใหม่เสร็จก่อนช่วงโควิด-19 เพียง 2-3 เดือน ตอนแรกมีผนังสีเขียวเป็นสวนแนวตั้งอยู่ภายในด้วย แต่เมื่อมีวิกฤตโรคระบาด ต้นไม้ภายในก็ตายหมดเพราะยากต่อการเข้ามาดูแล จึงได้รีโนเวตอีกรอบ โดยยังเก็บไอเดียการมีพื้นที่สีเขียวเอาไว้ แต่ไปเพิ่มในส่วนของสวนระเบียงด้านหน้าและหลังแทน มีฟาซาดโปร่งเป็นกระจกเพื่อนำแสงและวิวจากภายนอกเข้ามา ต้นไม้ที่ใช้เมื่อมองจากภายในก็จะช่วยสร้างวิวและกรองแสงไปในตัว […]
GRAPH PHUKET ชุบชีวิตตึกเก่าเป็นคาเฟ่ เพื่อส่งต่อรสชาติกาแฟจากเหนือสู่แดนใต้
ท่ามกลางความเคลื่อนไหวของเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต ริมถนนพังงาที่มุ่งหน้าสู่สี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ด ปรากฏคาเฟ่ชื่อ GRAPH Phuket สาขาน้องใหม่ล่าสุดของ GRAPH แบรนด์คาเฟ่ชื่อดังจากเชียงใหม่ ที่เจ้าของแบรนด์อย่าง คุณฆฤพร สาตราภัย ขอขยายสาขามุ่งหน้าลงใต้ สู่ร้าน GRAPH Phuket เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่นักดื่มกาแฟ พร้อมการนำตัวเองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ภายในตึกแถวสไตล์ชิโน-ยูโรเปียนอายุกว่าร้อยปี จากแนวทางของ GRAPH หลาย ๆ สาขา จะพบว่ามักตั้งอยู่ในเมืองเก่าที่มีคาแร็คเตอร์ชัดเจน ทั้งวัฒนธรรมและการเป็นเมืองท่องเที่ยว สำหรับที่ภูเก็ตก็เช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ภูเก็ตถูกเลือกให้เป็นทำเลใหม่ของการขยายสาขาเป็น GRAPH Phuket ครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีเรื่องราวให้พูดถึงไม่แพ้สาขาอื่น เริ่มตั้งแต่ฟาซาดที่ยังเก็บรายละเอียดของสถาปัตยกรรมชิโน-ยูโรเปียนไว้ให้คงเสน่ห์และกลิ่นอายดั้งเดิม ร่วมกับแนวทางการรีโนเวตที่กลมกลืนกับอาคารหลังอื่น ๆ ในย่านโอล์ดทาวน์ของภูเก็ต คุณฆฤพร สาตราภัย เจ้าของแบรนด์ GRAPH เล่าว่า เดิมที่นี่เป็นตึกร้างและทรุดโทรมมานาน กระทั่งได้ตัดสินใจเช่าและรีโนเวตใหม่ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าด้านสถาปัตยกรรมเป็นหลัก สิ่งต่อเติมใดที่ไม่ตรงกับยุคของอาคาร และวัสดุที่ชำรุดจะถูกรื้อออกเกือบหมด เช่น หลังคาสังกะสี ฝ้า โครงสร้างไม้ และบันไดผุพัง ก่อนเสริมด้วยโครงสร้างใหม่ให้แข็งแรง อย่างพื้นชั้น 2 ที่นำไม้เนื้อแข็งมาปูลงไปใหม่ ตงและคานไม้ก็เปลี่ยนใหม่เช่นกัน […]
THAN / LAB บาร์ลับคอนเซ็ปต์สนุก ชวนนึกถึงห้องหลบภัยใต้ดิน
Than / lab โปรเจ็กต์รีโนเวตตึกธนาคารเก่าขนาด 3 ชั้น ใกล้ชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สู่ร้านอาหารและบาร์ลับบรรยากาศเหมือนห้องหลบภัยชั้นใต้ดิน ที่สลับอารมณ์ผ่านบรรยากาศ 3 สไตล์แบบไม่ซ้ำ Charrette Studio ได้ใส่ไอเดียสนุกๆ ลงไปใน Than / lab คอมมูนิตี้ที่รวบรวมทั้งร้านอาหารและบาร์บรรยากาศแปลกใหม่ สำหรับให้ผู้คนได้เข้ามาหลบลี้หนีความวุ่นวายอยู่ภายใน เสมือนที่หลบภัยลับที่ซ่อนตัวอยู่กลางเมือง ตัดขาดจากภายนอก โชว์ความดิบผ่านร่องรอยการทุบรื้อ หลังจากได้รับโจทย์ สถาปนิกได้ใส่ไอเดียจากซีรีส์เรื่องโปรดของสถาปนิกอย่าง Money Heist เริ่มตั้งแต่เมื่อเดินจากริมถนนเข้ามาถึงพื้นที่ด้านหน้า ซึ่งจะยังคงเห็นบานโรลลิ่งชัตเตอร์เดิม แล้วเปลี่ยนผนังด้านหน้าให้ปิดทึบ ชวนสงสัยว่าภายในคืออะไร และมีความน่าสนใจอย่างไร ขณะที่คนด้านในก็จะรู้สึกถึงการตัดขาดจากภายนอก โซนชั้น 1 เปิดเป็นร้านอาหารตกแต่งด้วยใต้ธีม Underground จัดเสิร์ฟเมนูประเภทสเต็ก อาหารตะวันตกรับประทานง่าย และอาหารประเภทเทปันยากิ ออกแบบให้มีบาร์ทำอาหารขนาดยาว บรรยากาศให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในห้องหลบภัยลับชั้นใต้ดิน รอบ ๆ เป็นผนังผิวขรุขระไร้การปรุงแต่ง เสมือนห้องที่ผ่านการบุกทลาย โชว์ความดิบและร่องรอยที่เกิดจากการทุบรื้อสเปซออกไปบางส่วน ตกแต่งไลท์ติ้งให้บรรยากาศดูสลัวราง แสงไฟที่สาดไปกระทบกับผนังจะช่วยขับเน้นเท็กซ์เจอร์ให้เห็นมิติสูงต่ำที่เกิดจากรอยปูนปุปะ ด้านหลังมี Smoking Area เป็นพื้นที่เปิดโล่งเดียวที่ยอมให้แสงสาดเข้ามา ช่วยให้พื้นที่ภายในชั้น […]
QUB ROOMS รีโนเวตตึกแถวเป็นโรงแรมลอฟต์สีดำ
รีโนเวตตึกแถว เป็นโรงแรมลอฟต์ มอบความสงบแม้พักผ่อนอยู่ใจกลางเมืองดึงดูดสายตาอยู่ที่เปลือกอาคาร (Facade) รูปทรงคิวบิกซึ่งทำจากเหล็กสีดำหลากหลายขนาด Qub Rooms รีโนเวตตึกแถว 3 ชั้น ให้กลายเป็นโรงแรมสไตล์ลอฟต์ที่มีเสน่ห์และโดดเด่นที่สุดในย่านการค้าใจกลางเมืองเซมารัง ประเทศอินโดนีเซีย มีจุดเด่นดึงดูดสายตาอยู่ที่เปลือกอาคาร (Facade) รูปทรงคิวบิกซึ่งทำจากเหล็กสีดำหลากหลายขนาด ตรงกลางกรุกระจกเพื่อเป็นช่องนำแสงเข้าสู่ภายในห้องพัก จัดวางสลับกันเพื่อเป็นการหลอกสายตา แทนการแบ่งเปลือกอาคารเป็นชั้น ๆ ทำให้เป็นเสมือนอาคารขนาดใหญ่ เป็นลูกเล่นที่น่าสนใจและช่วยสร้างอัตลักษณ์ที่มีเสน่ห์น่าค้นหาให้แก่โรงแรม จนเกือบลืมไปเลยว่าเดิมที่นี่เคยเป็นแค่ตึกแถวธรรมดา การเปลี่ยนแปลงบทบาทใหม่ครั้งนี้ โครงสร้างเดิมอาทิ ฝ้าเพดาน ผนัง และบันไดได้ถูกรื้อถอนออกไป เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับโรงแรมมากขึ้น บริเวณล็อบบี้และโถงทางเดินใช้เหล็กสีดำในการตกแต่ง บันไดทำจากแผ่นเหล็กเจาะรูเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก แถมสามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวผ่านความโปร่งของบันได สร้างความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าให้กับพื้นที่ส่วนกลาง และหน้าต่างบานเกล็ดทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวอาคารยังทำให้ภายในโรงแรมมีอากาศถ่ายเทตลอดเวลา การตกแต่งภายเน้นใช้ธีมสีโมโนโทนเพื่อช่วยให้ที่นี่ดูเรียบหรูมีสไตล์ ผนังห้องพักแต่ละห้องใช้อิฐทาสีดำกรุเป็นฉากหลัง ผนังโค้งมนด้านนอกห้องพักใช้สีขาวเรียบจับคู่กับความดิบของเพดานปูนเปลือย ประดับท่อสายไฟที่หุ้มด้วยเหล็กสีดำ สร้างบรรยากาศสไตล์ลอฟต์กลิ่นอายโมเดิร์น เป็นความเรียบง่ายที่ซ่อนความเท่ไว้ด้วยโทนสีและเหล่าเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นทำจากงานเหล็กเช่นเดียวกัน และเนื่องจากที่นี่ตั้งอยู่ในเขตเมือง เพื่อลดปัญหาด้านมลพิษและช่วยให้ผู้เข้าพักได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ สถาปนิกจึงใช้ต้นไม้เข้ามาช่วยกรองมลพิษอีกชั้นที่บริเวณผนังบานเกล็ดข้างทางเดินบันไดเหล็กเจาะรูสีดำ เป็นมุมมองที่ช่วยความรู้สึกสบายตาและสดชื่นขึ้นมาทันที นอกจากนี้ยังประดับกระถางต้นไม้ตามจุดต่าง ๆ ด้วย เป็นอีกโปรเจ็กต์การรีโนเวตอาคารขนาดเล็กให้กลายเป็นโรงแรมที่ท้าทายสถาปนิกอย่างมาก ทั้งการเอาชนะข้อจำกัดของอาคารที่ทั้งแคบ แถมยังตั้งอยู่ในย่านที่มีตึกแถวแออัดและพลุกพล่านให้เป็นที่พักผ่อนกลางใจเมือง มอบประสบการณ์การพักผ่อนให้ยิ่งพิเศษมากขึ้นกว่าเคย ออกแบบ : Tamara Wibowo Architects […]
MADI BKK คาเฟ่มินิมอล-นอร์ดิกฟีลอบอุ่น ที่เชื่อว่าวงจรของเพื่อนนำมาซึ่งเรื่องราวดี ๆ
มาดิ! คำชักชวนสั้น ๆ ระหว่างเพื่อนได้กลายมาเป็นชื่อ Madi Bkk คาเฟ่ดีไซน์เรียบง่าย สถานที่ที่อยากให้เหล่าเพื่อน ๆ ได้มาพบปะและใช้เวลาร่วมกัน ตามคอนเซ็ปต์ที่คุณจี๊ป-สาธิยา ศิริพจนากร และคุณเมย์-เมธิกานต์ ขวัญเมือง สองสาวเจ้าของร้านเพื่อนซี้ที่ตั้งใจอยากส่งต่อความเป็น Circle of Friends ให้อบอวลไปด้วยรอยยิ้ม ความสุข และความอบอุ่น ไม่แพ้บรรยากาศของคาเฟ่ที่ตกแต่งสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก เพราะเชื่อในวงจรและพลังของความเป็นเพื่อน แม้ต้องเจอเรื่องราวแย่ ๆ มา ถ้าเรามีเพื่อนที่ดีก็จะช่วยซัพพอร์ตให้ผ่านเรื่องยาก ๆ เหล่านั้นไปได้ จากนิยามความเป็นเพื่อน ผสมผสานกับความฝันของทั้งคู่ที่อยากเปิดร้านกาแฟควบคู่ไปกับ Creator Hub หลังจากมองหาทำเลอยู่นาน ในที่สุดก็มาพบกับตึกแถวเก่าใกล้ปากซอยเจริญกรุง 43 ก่อนลงมือรีโนเวตเปลี่ยนตึกแถวสภาพทรุดโทรมให้กลายเป็น Madi Bkk คาเฟ่บรรยากาศอบอุ่น โดยยังคงเก็บรายละเอียดของอาคารบางอย่างไว้ เพื่อสร้างเสน่ห์และเล่าเรื่องราวการตั้งอยู่ในย่านเก่า คุณจี๊ปเล่าว่า “หลังจากที่มาดูตึก เรารู้สึกชอบที่นี่มาก จึงให้โจทย์อินทีเรียร์ไปว่า อยากได้ร้านสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก ขอแสงธรรมชาติเยอะ ๆ จะเห็นว่าพื้นที่ด้านหลังร้านได้รื้อพื้นไม้ชั้นสองออก เพื่อทำดับเบิ้ลสเปซ มีสกายไลท์ด้านบน ส่วนหน้าต่างก็เปลี่ยนเป็นหน้าต่างกระจกกรอบวงกบไม้ สิ่งที่เก็บรักษาไว้มีแค่ผนังอิฐ กับพื้นไม้จริงชั้นสองเท่านั้น” […]
รีโนเวตทาวน์โฮม ในเชียงใหม่ให้ขาวละมุน
บ้านทาวน์โฮม สองชั้นในเมืองเชียงใหม่ถูกแปลงโฉมรีโนเวตให้กลายเป็นพื้นที่สุดพิเศษนุ่มละมุนในแบบ White and Wood DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INLY STUDIO ออกแบบโดย INLY STUDIO ผู้เคยฝากลงงานไว้ใน Cheeva Spa ซึ่งนอกจากผลงานบ้านอิงธรรรมชาติที่ผ่านหลาย ๆ หลังแล้วนั้น ผลงานตกแต่งภายในในแบบเรียบง่าย แต่อ่อนโยนของพวกเขาก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เติมจังหวะนุ่มนวลให้กับบ้านทาวน์โฮม การเลือกใช้สีขาวเป็นสีหลักนั้น มาจากความต้องการของเจ้าของบ้านที่ชอบสะสมเฟอร์นิเจอร์มีดีไซน์ ประกอบกับแนวทางการตกแต่งที่เน้นเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เผื่อการปรับเปลี่ยนตามใจได้ในภายหลัง สีขาวของบ้านหลังนี้จึงเป็นเหมือนกับฉากหลังให้ชีวิตชีวาของการใช้ชีวิต ตลอดจนช่วยให้เฟอร์นิเจอร์ดูโดดเด่นขึ้น เมื่อผสมเข้ากับสีไม้โทนกลาง ๆ อย่างโอ๊ก และบีช ก็ทำให้พื้นที่ทั้งหมดดูอบอุ่นขึ้น ไม่เพียงแค่สีสันแบบ White and Wood ที่สร้างให้บ้านหลังนี้ดูละมุนตาไปทุกสัดส่วน แต่หากสังเกตดูจะเห็นได้ว่าเกือบทุกพื้นที่จะมีเส้นโค้งมารับอยู่ทุกมุมมอง เส้นโค้งเหล่านี้สร้างให้บ้านสี่เหลี่ยมดูมีมิติน่าค้นหา ลดความแข็งกระด้างของพื้นที่สี่เหลี่ยมลง แก้ปัญหาบ้านหน้าแคบอย่างบ้านทาวน์โฮมได้อย่างดี เกิดเป็นพื้นที่พิเศษที่แตกต่างกันไปในแต่ละส่วนของบ้าน ปรับพื้นที่เปิดโล่งให้ลงตัวแบบพอดี หนึ่งในปัญหาของบ้านทาวน์โฮมโดยมาก คือการที่พื้นที่ทั้งหมดต่อเชื่อมเป็นพื้นที่เดียวกันแบบ Open Plan จะกั้นห้องก็ทำให้เสียพื้นที่ จะใช้แบบเดิม ๆ ก็ขาดความเป็นสัดส่วน ผู้ออกแบบจึงเลือกการแบ่งพื้นที่ผ่านซุ้มโค้งที่แตกต่างกันสองซุ้ม แบ่งเป็น 3 พื้นที่ […]
รู้ไว้ ถ้าไม่อยากให้บ้านพัง! 9 ข้อควรระวังก่อน รีโนเวตบ้าน
ใครมีแผน รีโนเวตบ้าน ปรับปรุงบ้านเก่า มาดู 9 ข้อควรระวังในการปรับปรุงบ้าน กันก่อน เพราะจุดเหล่านี้มีผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้างบ้าน และปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย
THD.HOUSE สร้างบ้านใหม่ให้คุณแม่ได้มีสวนผักไว้ทำยามว่าง
รีโนเวทตึกแถว อายุ 30 ปี สำหรับรองรับชีวิตประจำวันที่เอื้อต่อการใช้งานของผู้สูงอายุไปพร้อม ๆ กับการสร้างความเชื่อมโยงของฟังก์ชันแต่ละห้อง
EUPHORIA BRIDAL GALLERY โชว์รูมชุดเจ้าสาวที่ซ่อนอยู่ใน ตึกแถวหน้าแคบ คล้ายกล่องดีไซน์เรียบง่าย
รีโนเวต ตึกแถวหน้าแคบ ในเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นโชว์รูมชุดเจ้าสาวสีขาวละมุนตา ที่มองเผิน ๆ แล้วคล้ายกับกล่องกระดาษสีขาวเจาะรูดีไซน์เรียบง่าย ด้านหน้าร้านโดดเด่นด้วยดิสเพลย์ชุดแต่งงานในกล่องกระจก ซ้อนอยู่ภายในอาคารกล่องคอนกรีต เป็นโปรเจ็กต์การเปลี่ยนบ้านตึกแถวเก่าขนาด 3 ชั้น ซึ่งมีข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะปัญหาหน้าแคบ แสงส่องเข้ามาไม่ถึง และข้อบกพร่องทางโครงสร้าง เช่น เสาหลายต้น เดิมพื้นที่เคยเต็มไปด้วยฉากกั้น และตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันตก จนทำให้ได้รับผลกระทบจากความร้อนตลอดเวลา จากปัจจัยดังกล่าวได้กลายมาเป็นภารกิจสำคัญของทีมออกแบบจาก ngoac.space ในการปรับปรุงอาคาร เพื่อเปิดเป็นโชว์รูมชุดเจ้าสาวแห่งใหม่บรรยากาศดี ช่วยส่งเสริมชุดเจ้าสาวให้ยิ่งทวีความสวยงาม ดึงดูดลูกค้าให้อยากเข้ามาเยี่ยมชม ทีมออกแบบมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์พื้นที่ เพื่อให้ลูกค้าได้มีปฏิสัมพันธ์กับชุดแต่งงาน ผ่านบรรยากาศและงานดีไซน์ที่ขับเสน่ห์ของชุดแต่งงานให้โดดเด่นขึ้น แถมด้วยการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ไปพร้อมกัน ไม่ได้เน้นการขายชุดเพียงอย่างเดียว โดยชั้นล่างจัดแสดงนิทรรศการบอกเล่าที่มาที่ไปกว่าจะได้ชุดแต่งงานสวย ๆ ก่อนพาขึ้นสู่ชั้นสองเพื่อสัมผัสกับโซนดิสเพลย์จัดแสดงชุดแต่งงานให้ได้เลือกสรร ซึ่งแขวนประดับอยู่บนราวเสมือนเป็นฉากหลังขนานไปกับแนวผนัง ขณะที่ชั้นสามเป็นส่วนออฟฟิศสำหรับพนักงาน ภายใต้โครงสร้างเก่าผู้ออกแบบเลือกปิดผิวบางส่วนที่ไม่ประณีตไว้ แล้วเผยบางส่วนเพื่อสร้างความคอนทราสต์อย่างมีชั้นเชิง เห็นจากเสาคอนกรีตที่เผยให้เห็นร่องรอยความดิบกระด้าง และผิวสัมผัสเปลือยเปล่าขรุขระ ตัดกันกับภาพชุดแต่งงานสีขาวที่แสนนุ่มนวล และด้วยลักษณะอาคารที่เป็นตึกแถว เรื่องแสงสว่างถือเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้ออกแบบจึงกำหนดแหล่งกำเนิดแสงไว้ 2 แห่งบนหลังคา เพื่อดึงแสงลงมายังพื้นที่ชั้นล่าง แล้วกระจายต่อไปยังพื้นที่ส่วนต่าง ๆ […]