© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม อ้อมกอด และความห่วงใย สามารถถ่ายทอดเป็นบทกวีที่บอกเล่าถึงความสุขและคำว่า “ครอบครัว” ได้อย่างชัดเจน เราเชื่อเสมอว่าสิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์หากมีการบ่มเพาะด้วยความรัก เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ จากที่เคยเป็นบ้านชั้นเดียวที่เจ้าของบ้าน คุณก้อย – อาชวี ณ นคร อยู่มาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อเวลาผ่าน สถานะเปลี่ยน โดยเฉพาะเมื่อเธอและสามี คุณแดง – ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบ้านเดิมให้เหมาะสมกับครอบครัวและการใช้งานใหม่ที่จะเกิดขึ้น บ้านนี้อยู่ด้วยกันแบบครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยคุณแม่ (คุณรุ่งรังษี ณ นคร) น้องสาว 2 คน (ดร.ปิยพร – คุณณิชา ณ นคร) น้องนอต – กวิณ และ น้องนน – นวิน เหลืองนฤมิตชัย ลูกชายวัยกำลังซนซึ่งทำให้บ้านหลังนี้เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ การออกแบบพื้นที่จึงเน้นให้เชื่อมโยงกับหัวใจสองดวงน้อยๆ นี้มากยิ่งขึ้น คุณก้อยเล่าให้ฟังว่า “คุยกับมัณฑนากรว่าเราอยากมีพื้นที่เผื่อไว้สำหรับให้ลูกๆ ได้ทำกิจกรรมในแบบของพวกเขาเอง เช่น เวลาที่มีเพื่อนๆ […]
อยากมี บ้านสวย ๆ ดูดีไปได้นานๆ ต้องออกแบบ ต้องแต่งบ้านอย่างไร เริ่มต้นจากอะไร
แฟน “บ้านและสวน” หลายท่านน่าจะคุ้นชื่อของ คุณขวัญชัย สุธรรมซาว กันดี สถาปนิกรุ่นใหม่แห่งบริษัทแผลงฤทธิ์ จำกัด คนนี้เป็นหนึ่งในผู้เปิดแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีประสบการณ์ออกแบบบ้านและอาคารต่างๆ มานานนับ 10 ปี DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Plankrich เมื่อต้องมาออกแบบบ้านของตัวเอง หลายคนอาจคิดว่าเขาจะออกแบบให้มหัศจรรย์พันลึกด้วยเทคนิคพิเศษอย่างไรก็ได้ แต่เอาเข้าจริงบ้านของคุณขวัญชัยกลับดูเรียบง่าย เพราะสิ่งที่เขาเน้นก็คือทำเล ซึ่งสะดวกสำหรับการใช้ชีวิตในเขตเมืองที่ต้องการความคล่องตัว ทว่าปัจจุบันที่ดินในเขตเมืองเชียงใหม่นั้นกลายเป็นพื้นที่ทางธุรกิจหรือคอนโดมิเนียมไปหมด การหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านสักหลังนั้นยากเต็มทน “การสร้างบ้านในเมืองเชียงใหม่เป็นเรื่องยากแล้วครับ เพราะที่ดินมีราคาแพงมาก ไม่อย่างนั้นก็ต้องออกไปอยู่นอกเมือง แต่เมื่อผมเลือกอยู่ในเมืองบ้านเป็นหลังๆ นั้นตัดออกไปได้เลย ทางเดียวที่จะได้ที่อยู่อาศัยที่ใกล้เคียงกับบ้านก็คือตึกแถว ผมตระเวนหาจนมาเจอที่ตรงนี้ ขนาดกำลังพอดีคือ 3 คูหา ไม่ใหญ่เกินไป แล้วจึงปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเลยครับ” การปรับปรุงในที่นี้คือการทุบรื้อทุกส่วนออกทั้งหมด ไม่เหลือแม้กระทั่งบันได คงไว้แค่เพียงเสากับคานเท่านั้น มีการจัดแปลนใหม่ สร้างพื้นที่ใช้สอยใหม่ แม้ทั้ง 3 คูหาจะออกแบบไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่โครงสร้างเดิมที่บังคับอยู่ก็ทำให้ดูไม่แตกต่างกันเท่าไร คุณขวัญชัยเลือกห้องริมขวาสุด (หากหันหน้าเข้าตัวอาคาร) เพราะมีพื้นที่ว่างข้างอาคารก่อนสุดแนวรั้วกับบ้านข้างเคียง ส่วนที่เหลืออีก 2 คูหาทำเพื่อขาย ตึกแถวสามชั้นนี้อาจมีหน้ากว้างไม่ต่างจากตึกแถวทั่วไป แต่มีความลึกน้อยกว่า เมื่อปรับปรุงแล้วจะไม่มีชั้นลอยเหมือนที่เราคุ้นตากัน หากมองขึ้นเพดานจะเห็นว่าคุณขวัญชัยวางตงและพื้นไม้ […]
บ้านมือสองก็คือบ้านเก่าที่ผ่านการใช้งานมาก่อน ดังนั้นเมื่อคิดจะ ซื้อบ้านมือสอง นี้ เราจึงควรรู้วิธีการตรวจสอบและเช็คสภาพบ้านมือสองเบื้องต้นด้วย
มาเข้าเรื่องของการ ปรับปรุงบ้าน หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “รีโนเวต” กันดีกว่าครับ เจ้าของบ้านหลายท่านยังขาดความเข้าใจเรื่องโครงสร้าง ซึ่งก็ไม่ผิด เป็นเรื่องที่เราเรียนรู้กันได้
รีโนเวตบ้าน ในซอยหมู่บ้านเมืองเอก ไม่ไกลจากถนนเลียบคลองเปรมประชากร มี บ้านเก่าหลัง หนึ่งได้รับการชุบชีวิตใหม่ ตัวบ้านโอบล้อมด้วยธรรมชาติ ได้อารมณ์เหมือนรีสอร์ต
บ้านไม้ 2 หลัง อายุเกือบ 50 ปี เต็มไปด้วยเรื่อราวและความทรงจำ ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ภายในบ้านหลังหนึ่งได้รับการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอย ให้สอดรับกับวิถีชีวิตสมัยใหม่ ปรับแต่งหน้าตาให้ร่วมสมัยขึ้น ขณะเดียวกันก็ดูไม่แปลกแยกจากบ้านอีกหลังซึ่งยังคงรูปแบบเดิม
หลายๆคนอาจกลัวปัญหาจากการ "ปรับปรุงบ้านเก่า" แต่จริงๆแล้ว การปรับปรุงบ้านไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แถมยังช่วยให้เราจัดแจงกับความต้องการและยังประหยัดงบได้ด้วย
เมื่อบ้านเริ่มทรุดโทรม ผุพังลง หรือคนที่ซื้อบ้านมือสอง แน่นอนอยู่แล้วว่าต้องทำการ รีโนเวท ให้ดูใหม่อีกครั้ง เราจึงรวบรวม 5แบบบ้านรีโนเวท ในราคาไม่เกิน 5 แสน
บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้สองชั้นหลังเก่าอายุกว่าสี่สิบปี หน้าตาไม่ทันสมัย โครงสร้างและผนังเริ่มผุพัง ปลวกกัดกิน ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ช่วงบ่ายบ้านก็ร้อน อยู่ไม่สบาย
บ้านเก่าอายุกว่าสี่สิบปีหลังนี้แต่เดิมเป็นบ้านของฝั่งตระกูลคุณนพ เรียกกันติดปากว่า "บ้านกงสี" ด้วยว่าอยู่ติดกับบ้านคุณพ่อคุณนพนั่นเอง ภายหลังคุณพ่อได้ซื้อบ้านนี้เก็บเอาไว้ เมื่อคุณนพ - นพพันธ์ ตั้งกัลยานนท์ และ คุณติ๊ก - พันธิตรา เกียรตินิยมศักดิ์ แต่งงานกัน
คุณอรรถเล่าว่า พื้นที่ภายในบ้านเดิมมีการกั้นด้วยผนัง ดูน่าอึดอัด เขาอยากให้พื้นที่ส่วนนั่งเล่น ส่วนรับประทานอาหาร และครัวต่อกันเป็นแนวยาว และต่อเนื่องไปถึงส่วนทำงานซึ่งอยู่ในบ้านอีกหลัง