บ้านฟาร์ม กลางนา สไตล์แคมปิ้ง

บ้านฟาร์ม ชานเรือน หลังคา รางน้ำฝน และเฟอร์นิเจอร์แคมปิ้ง ทั้งหมดดีไซน์เพื่อให้สอดรับกับกิจกรรมทางการเกษตรสมัยใหม่ของ บ้านฟาร์มกลางนา 40 ไร่แห่งนี้

มารู้จักหลังคารูปแบบต่างๆกัน

มาดูกันว่าหลังคามีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร เพื่อเลือกใช้ รูปแบบหลังคา ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการได้มากที่สุด หลังคาเพิงหมาแหงน (Lean-to or Pitched Roof) หลังคารูปแบบเรียบง่ายมีความลาดเอียงด้านเดียว เป็นแบบหลังคาที่เกิดจากการสร้างบ้านหรือที่พักชั่วคราวแบบง่ายๆ การใช้หลังคาเพิงหมาแหงนต้องออกแบบให้ด้านที่ลาดเอียงหันไปหาแสงแดดหรือทิศที่มีฝนสาด แต่อย่างไรก็ดี หลังคาประเภทนี้ไม่สามารถป้องกันแดดและฝนได้ดีเท่าไรนัก สำหรับบ้านที่ใช้หลังคาเพิงหมาแหงนอาจแก้ปัญหาเรื่องแดดด้วยการทำแผงกันแดดด้านข้างเพิ่ม รูปแบบหลังคา หลังคาจั่ว (Gable Roof) เป็นหลังคาที่เกิดจากการนำด้านสูงของหลังคาเพิงหมาแหงนมาชนกันให้เกิดสันหลังคา (Ridge) สามารถกันแดดกันฝนได้ดีในด้านที่มีชายคายื่น ส่วนหน้าจั่วหรือด้านสกัดมักมีปัญหาเรื่องการป้องกันแดดและฝน ซึ่งเราอาจทำชายคาเฉพาะจุดเพิ่มบริเวณเหนือหน้าต่างและประตูเพื่อป้องกันแดดและฝน หลังคาจั่วนิยมใช้กับบ้านในเมืองไทยและบ้านเมืองร้อนทั่วไป การสร้างหลังคาจั่วควรออกแบบให้มีความลาดชันที่พอเหมาะ เพื่อให้น้ำฝนไหลลงได้สะดวก และควรระวังรอยต่อบริเวณสันหลังคา เพราะเป็นจุดที่น้ำฝนรั่วซึมได้ง่าย หลังคาปั้นหยา (Hip Roof) เป็นหลังคาที่พัฒนามาจากหลังคาจั่ว แต่มีชายคาลาดเอียงทั้งสี่ด้าน สามารถกันแดดกันฝนได้รอบ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศของเมืองไทยที่ร้อนและมีฝนตกชุก การก่อสร้างหลังคาปั้นหยาจะยุ่งยากกว่าหลังคาจั่ว เพราะมีรอยต่อของสันหลังคาหรือตะเข้สันมากกว่า หลังคามนิลา (Hip Gable Roof) คือหลังคาปั้นหยาที่ปรับให้ด้านสกัดมีหน้าจั่วทั้งสองด้านบริเวณช่วงบนของหลังคา เพื่อรูปทรงที่สวยงามและการระบายอากาศใต้หลังคาที่ดี หลังคาชนิดนี้เป็นแบบหลังคาของบ้านเรือนไทยภาคกลาง เนื่องจากเหมาะกับภูมิประเทศเขตร้อนที่มีฝนตกชุก หลังคามนิลา นอกจากจะมีชายคากันแดดกันฝนทั้งสี่ด้านแล้ว ยังสามารถระบายอากาศร้อนใต้หลังคาออกทางหน้าจั่วได้ด้วย หลังคาสวิส (Gable Hip Roof)   หลังคาลูกผสมระหว่างหลังคาจั่วกับหลังคาปั้นหยา […]