© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
รู้หรือไม่ว่ามีเฟินก้านดําหลายชนิดที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นพืชถิ่นเดียวหรือพืชเฉพาะถิ่น(EndemicPlants) ซึ่งพบเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น โดยพบขึ้นและแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติบนพื้นที่ที่มีลักษณะจํากัดทางระบบนิเวศ เช่น บนเกาะ ยอดเขา หน้าผาของภูเขาหินปูน แอ่งพรุ ฯลฯ ซึ่งถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจํากัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเฉพาะที่ ค้นพบเฟินก้านดำ เฟินเป็นไม้ใบประดับอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงในเมืองไทยมานานแล้ว โดยเฉพาะเฟินสกุลก้านดํา(Adiantum) ซึ่งก้านใบมีสีดําเป็นมันเงา แผ่นใบแลดูบอบบางพลิ้วไหว แถมยังมีเสน่ห์ตรงใบอ่อนมีสีสวย จนมีการนําเฟินป่าหลายชนิดมาปลูกเป็นไม้ประดับ และมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อคัดเลือกเฟินต้นใหม่ที่สวยงามมากขึ้นเรื่อยๆ รู้จักกับเฟินก้านดําถิ่นเดียวของไทย ซึ่งมีการนํามาทดสอบปลูกเพื่อการอนุรักษ์ หลายชนิดพบขึ้นเฉพาะบนภูเขาหินปูนหรือดินที่สลายมาจากหินปูน เช่น ก้านดําใบบาง ก้านดําคลองพนม ก้านดําทุ่งสง และก้านดําทองแถม โดยแต่ละชนิดมีความสวยงามแตกต่างกันไป ก้านดําทองแถม (A.thongthamii Suk-sathan) เฟินขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก1ชั้น แผ่นใบรูปขอบขนาน ใบย่อยรูปพัดเกือบกลม ปลายใบมน ขอบหยักเป็นพู เนื้อใบหนาคล้ายหนัง มีขนสีเทาเงินปกคลุมหนาแน่นทั้งด้านบนและด้านล่าง พบที่เกาะช้าง จังหวัดตราด โดยขึ้นตามซอกหินบริเวณกลางแจ้งในป่าดิบแล้งบนภูเขา ก้านดําคลองพนม (A. phanomensis S.Linds & D.J.Middleton) เฟินขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก1ชั้น แผ่นใบรูปขอบขนาน ใบย่อยรูปพัด ขอบใบด้านบนหยักเป็นพูตื้น ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นนุ่มหนาสีน้ําตาลถึงเทา พบที่อุทยานแห่งชาติคลองพนมและอุทยานแห่งชาติเขาสก […]