เฟินสไบนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephrolepid sp. วงศ์: Lomariopsidaceae ประเภท: เฟินดิน ลำต้น: ลำต้นเป็นเหง้าสั้น ตั้งตรงหรือเอน มีเกล็ดหรือขนสีน้ำตาลปกคลุม รากเป็นเส้นยาว ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ใบ: ใบประกอบแบบขนนกยาวได้ถึง 3 เมตร ใบย่อยรูปแถบ มีจำนวนมากถึง 100 คู่ ปลายใบเรียวมนถึงแหลม โคนป้าน ขอบจักฟันเลื่อยตื้น ก้านเรียวเล็ก ดูอ่อนช้อยมากกว่าเฟินใบมะขามชนิดเดิมที่จำหน่ายกันในตลาด กลุ่มอับสปอร์: รูปกลม อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลางถึงเร็ว ดิน: ชอบวัสดุปลูกระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดเต็มวันถึงรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แบ่งกอ เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้กระถางแขวนให้ใบห้อยตกลงมาจากกระถาง เลี้ยงง่าย ถ้าปลูกเลี้ยงในสภาพแสงแดดจัด ใบจะสั้นลงและมีสีอมเหลือง

เฟินก้างปลา

เฟินใบมะขาม/กูดสร้อย/Fishbone Fern/Sword Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephrolepid cordifolia (L.) C. Presl วงศ์: Nephrolepidaceae ประเภท: เฟินดิน/ไม้ใบ ลำต้น: ลำต้นเป็นเหง้าสั้น ตั้งตรงหรือเอน มีเกล็ดหรือขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบ: ใบรูปใบหอกแกมรูปแถบ ปลายแหลม โคนสอบ แกนกลางใบด้านบนเป็นร่อง มีเกล็ดเล็กๆ ใบย่อยออกตรงข้ามเป็นคู่และเยื้องกันเล็กน้อย มีจำนวนมากถึง 100 คู่ เรียงถี่ ปลายใบเรียวมนถึงแหลม โคนตัดตรง ขอบจักฟันเลื่อยตื้น ใบบาง กลุ่มอับสปอร์: รูปไต มีเยื่อปิดอับสปอร์ด้านบน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลางถึงเร็ว ดิน: ชอบเครื่องปลูกโปร่งระบายน้ำดี  แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกกอ ผ่าเหง้า การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกลงแปลง ปลูกเป็นไม้กระถางตั้งและแขวน และปลูกในอาคารได้ดี

เฟินพลาสติก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Asplenium thunbergii Kuntze วงศ์: Aspleniaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นเหง้าสั้น พุ่มใบแผ่ออกรอบๆ ใบ: ก้านใบสีน้ำตาลเข้ม ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 20-25 คู่ ขอบใบย่อยหยักลึกถึงแกนกลาง ปลายใบโค้งเล็กน้อย แผ่นใบหนา ค่อนข้างแข็งและหยาบเมื่อใบแก่ สีเขียวเข้มมาก สปอร์เกิดที่ขอบแฉกด้านบนของใบย่อย มีแผ่นปิดเล็กๆ สามารถนำต้นอ่อนที่เกิดบนใบไปขยายพันธุ์ได้ อัตราการเจริญเติบโต: ช้า วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบ ถ่านทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะสปอร์ หรือใช้ต้นอ่อนที่เกิดบนใบ การใช้งานและอื่นๆ :ชอบความชื้นปานกลาง เป็นเฟินต่างประเทศ ปลูกในไทยได้ดี ปลูกเลี้ยงง่าย

หญ้าข้าวก่ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Burmannia disticha L. วงศ์: Burmanniaceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ลำต้น: เป็นเหง้าสั้น ใบ: ใบออกเวียนสลับเป็นกระจุกที่โคนต้น รูปรีถึงไข่กว้าง ขนาด 4-6×7-10 เซนติเมตร ปลายแหลม ขอบบิดเป็นคลื่น ดอก: ก้านช่อดอกยาว 30-60 เซนติเมตร มีใบขนาดเล็กรูปแถบแกมใบหอกหุ้มอยู่เป็นระยะ ช่อดอกอยู่ที่ปลายก้านและแตกแขนงออกเป็น 2 แถว แต่ละดอกมีใบเล็กๆ รองรับ 1 ใบ กลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบเชื่อมติดกัน แล้วแผ่ออกเป็นปีกบางๆ สีม่วงถึงม่วงอมน้ำเงิน เกสรเพศผู้สีเหลือง ดอกย่อยคล้ายกับดอกสรัสจันทร (Burmannia coelestris)  ออกดอกฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามลานหินหรือดินที่ชื้นแฉะ อากาศค่อนข้างเย็น ขึ้นปะปนกับหญ้าอื่นๆ ในช่วงฤดูฝน

ว่านกีบแรด

 กีบม้าลม/กีบแรด/ว่านกีบม้า/Giant Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Angiopteris evecta (G.Forst.) Hoffm. วงศ์: Marattiaceae ประเภท: เฟินดิน ลำต้น: เป็นเหง้าสั้น บางส่วนอยู่ใต้ดิน เมื่อทิ้งใบ ส่วนหูใบขนาดใหญ่ที่โคนต้นจะดูคล้ายกีบ (ง่ามนิ้ว) สัตว์ ติดอยู่ ใบ: ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงเวียน ยาว 1 – 1.50 เมตร ใบย่อยรูปขอบขนาน โคนใบย่อยมน ปลายใบเรียวแหลม สีเขียวเป็นมัน กลุ่มของอับสปอร์รูปทรงรีเรียงตามขอบใบ ดิน: ดินร่วน ชอบดินที่เป็นกรดเล็กน้อย น้ำ: ปานกลาง ความชื้นสัมพัทธ์สูง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: แยกหัวหรือเพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ใบจะเหี่ยวแห้งและตายในที่สุด เป็นว่านทางเสน่ห์เมตตามหานิยม ชาวชนบทใช้หัวเป็นยาแก้พิษตานซางในเด็ก เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง อาเจียน แต่ควรใช้กับว่านร่อนทอง บางท่านกินเป็นยาแก้ปวดศีรษะ แก้พิษไข้ […]