- Home
- วรางคนางค์ นิ้มหัตถา
วรางคนางค์ นิ้มหัตถา
คุยกับ “โครงการสวนผักคนเมือง” ที่ปรึกษาให้เราเริ่มต้นลงมือปลูกผักทานเองได้
ยุคที่มีโรคระบาดและเศรษฐกิจย่ําแย่ ผู้คนเริ่มประสบปัญหาทั้งเรื่องปากท้องและเรื่องสุขภาพ การปลูกผักรับประทานเองกลายเป็นอีกหนึ่งคําตอบที่หลายคนเริ่มให้ความสนใจ แต่จะเริ่มต้นลงมือทําได้อย่างไร นั่นจึงเป็นที่มาให้เราได้พูดคุยกับกลุ่มสวนผักคนเมืองที่เป็นผู้ผลักดันให้เกิดกิจกรรมปลูกผักขึ้นในสังคมคนเมืองและย่านที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและแนวทางให้คุณได้เริ่มต้นลงมือปลูกผักด้วยตัวเอง กว่าจะเป็น โครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) เป็นองค์กรหนึ่งในบ้านเราที่มีวัตถุประสงค์ทําเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เพื่อเป็นทางออกของการช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้สารเคมี การทําลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยต่อมาหลายภาคี ทั้งกระทรวงสาธารณสุข สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายของมูลนิธิ เล็งเห็นว่าพื้นที่เมืองซึ่งมีทางออกของปัญหาด้านอาหารการกินและสุขภาพน้อยกว่าพื้นที่ในชนบทที่เป็นแหล่งผลิต จึงได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนให้คนในเมืองได้มีสุขภาพดีผ่านอาหารการกินและการทําเกษตร มูลนิธิจึงดําเนินการในนามของ“โครงการสวนผักคนเมือง” ต่อมาหลังวิกฤติน้ําท่วมในช่วงปี พ.ศ.2554 คนเมืองที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักยิ่งตระหนักและตื่นตัวกับวิกฤติดังกล่าวมากขึ้นเพราะต้องพึ่งการนําเข้าอาหารจากการขนส่งภายนอกเพียงอย่างเดียว ยกเว้นคนเมืองที่ปลูกผักบริโภคเอง ทั้งที่ร่วมกับโครงการและยังไม่ร่วมหลายครอบครัว โดยเฉพาะสวนดาดฟ้าที่ยังคงมีวัตถุดิบทําอาหารรับประทานได้ปกติ ถ้าปลูกคนเดียวไม่ได้ก็ต้องช่วยกัน “สวนผักคนเมืองนอกจากสร้างอาหารสําหรับบริโภคได้แล้ว ยังเป็นพื้นที่สีเขียวที่ทําให้คนมืองได้กลับมาทํางานด้วยกัน เราคิดว่าพื้นที่รูปธรรมที่ทําเกษตรกรรมหรือเพาะปลูกอาหารควรจะทําให้คนเมืองหันมามีปฏิสัมพันธ์กัน สร้างการมีส่วนร่วมกันในองค์กรและชุมชนผ่านการปลูกผัก ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องทําให้คนหันกลับมาพูดคุยกัน อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศเดิมอีกด้วย”คุณวรางคนางค์ นิ้มหัตถา หัวหน้าโครงการสวนผักคนเมืองมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) เล่าให้เราฟัง นอกเหนือจากประชาสัมพันธ์ให้คนตระหนักถึงความสําคัญของอาหารอินทรีย์แล้ว ยังทําให้คนเป็นผู้บริโภคที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์อินทรีย์และเป็นผู้ผลิตไปด้วยในตัว จนเกิดเป็นพื้นที่รูปธรรมที่ทําเกษตรร่วมกัน โดยกลุ่มคนที่จะสามารถเป็นสมาชิกของโครงการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.ต้องใช้พื้นที่ส่วนกลางของชุมชน องค์กร หรือพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ปลูกผักด้วยกัน ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมด้วยกันได้ และยังให้ผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมหาความรู้ รวมถึงเก็บผลผลิตเล็กๆน้อยๆจากแปลงไปได้ 2.ต้องรวมกลุ่มกันอย่างน้อย10ครอบครัวขึ้นไป 3.ปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมีใดๆ ให้ความสําคัญกับการปลูกที่สอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น การปลูกผักลงดิน เพราะในเมืองยังมีผืนดินที่สามารถปลูกได้ดี พรรณไม้ทั่วไปสามารถงอกเงยในดินได้ไม่ยาก […]