การป้องกันวัชพืช ก่อนการจัดสวน เพื่อลดภาระการดูแลในระยะยาว

การป้องกันวัชพืช ก่อนการจัดสวน เป็นวิธีที่ดีที่สุด และเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งต้องเริ่มในขั้นตอนการเตรียมดิน ก่อนการปลูกต้นไม้ และหญ้าสนาม การป้องกันวัชพืช เป็นการกำจัดวัชพืชที่มีอยู่ในพื้นที่ก่อนการจัดสวน ซึ่งหลังจากการสำรวจพื้นที่ที่จัดสวนว่ามีวัชพืชชนิดใดบ้างแล้ว ให้ประเมินหาวิธีการที่เหมาะสม และเลือกใช้อุปกรณ์กำจัดวัชพืชที่เป็นไปได้ โดยอาจพิจารณาจากวิธีการที่ บ้านและสวน นำมาแนะนำ ดังต่อไปนี้ ประเภทของวัชพืช ที่มักพบบ่อยและกำจัดยากในสนามหญ้า การกำจัดวัชพืชหลังการจัดสวน ให้เบาบางและหมดสิ้น 1. ใช้แรงคน และเครื่องมือที่เหมาะสมในการขุดถอนออกทิ้ง ต้องประเมินดูขนาดพื้นที่, ปริมาณวัชพืช และกำลังคนว่าพอสู้ไหว ถ้าทำได้จะวิธีนี้ได้ผลดีมากเช่นกัน แต่การขุดวัชพืชออกนั้น ต้องขุดพรวนลึก ๆ จึงจะเอาลำต้นใต้ดินขึ้นมาได้ โดยเฉพาะวัชพืชที่กำจัดยากต่อไปนี้ คือ แห้วหมู หญ้าชันกาด หญ้าคา วัชพืชพวกนี้มีเศษรากหรือลำต้นใต้ดินหลงเหลืออยู่ใต้ดินเล็กน้อยก็งอกขึ้นใหม่ได้ วัชพืชใบกว้างที่กำจัดยาก เช่น ผักโขม  ผักโขมหนาม ไมยราบใหญ่ ไมยราบเลื้อย   มีวิธีการกำจัดที่หลายคนใช้แล้วได้ผล คือ พื้นดินบริเวณที่วัชพืชจำพวก แห้วหมู หญ้าชันกาด หญ้าคา ขึ้นหนาแน่น กำจัดด้วยการขุดดินออกเป็นบล็อกขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้างตามความหนาแน่นของวัชพืช โดยขุดให้ลึกลงไปถึงชั้นลำต้นใต้ดินของวัชพืชแล้วเอาออกไปทิ้งทั้งหมด ไม่ต้องมานั่งทุบพรวนดินเพื่อเก็บออกทีละต้น แล้วสั่งดินที่ไม่มีวัชพืชเข้ามาถมแทนที่ […]

การกำจัดวัชพืชหลังการจัดสวน ให้เบาบางและหมดสิ้น

ปัญหาชวนปวดหัวของนักจัดสวนและเจ้าของบ้านคือ เมื่อจัดสวนไปแล้วสักระยะหนึ่ง จะมีวัชพืชขึ้นแทรกอยู่ในสนามหญ้า โดยเฉพาะวัชพืชจำพวกใบแคบ อย่าง พวกหญ้าต่าง ๆ และหญ้าแห้วหมู บ้านและสวน จึงนำเสนอวิธี การกำจัดวัชพืช จำพวกหญ้าและแห้วหมูที่ขึ้นแทรกในสนามหญ้า ที่เกิดขึ้นหลังการจัดสวนไปแล้ว โดยที่พยายามรักษาหญ้าสนามไม่ให้เสียหาย ดังนี้ 1. การดูแลรักษาสนามหญ้า ถ้าหญ้าที่เราปลูกมีความสมบูรณ์แข็งแรงวัชพืชก็ขึ้นแทรกได้ยาก ดังนั้น ควรมีการวางแผนการดูแลรักษาสนามหญ้าอย่างสม่ำเสนอ และปฏิบัติให้ตรงตามกำหนด เพื่อให้หญ้าสนามสมบูรณ์แข็งแรง เช่น การตัดตรงเวลาและตัดให้มีความยาวที่เหมาะสม ไม่ปล่อยให้หญ้ายาวมาก ๆ แล้วค่อยตัดสั้นทีเดียว เพราะ จะทำให้หญ้าจะอ่อนแอ หรือไม่ปล่อยให้น้ำท่วมขังในสนามหญ้าบ่อย ๆ 2. การกำจัดโดยใช้แรงงานคน แม้ว่าจะมีการเตรียมดินก่อนการจัดสวนเป็นอย่างดีแล้ว ก็อาจจะมีวัชพืชติดมาและขึ้นแทรกหลังการจัดสวนได้ ดังนั้น เมื่อพบเห็นวัชพืชขึ้นแทรก พยายามขุดเอาหัวหรือลำต้นใต้ดินออกไปด้วย ซึ่งหลังการจัดสวนในช่วงแรก ๆ อาจต้องทำบ่อย ๆ ทุกอาทิตย์ เพื่อให้วัชพืชเบาบางลง และหมดไปในที่สุด 3. การกำจัดด้วยสารเคมี หากพบว่าสนามหญ้ามีวัชพืชขึ้นมาก และมีพื้นที่กว้างเกินกว่าจะใช้กำลังแรงคนขุดถอนได้ การกำจัดวัชพืช ก็มีความจำเป็นต้องใช้สารกำจัดวัชพืช ซึ่งปัจจุบันมีสารเคมีที่ผลิตออกมาใช้กำจัดวัชพืชแบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ในที่นี้ขอแนะนำ สารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในสนามหญ้า ไว้ให้เลือกใช้ […]

6 วิธีป้องกันกำจัดวัชพืช ในแปลงเกษตรอย่างปลอดภัย

นอกจากวัชพืชจะมาแย่งสารอาหารของพืชผักที่เราปลูกไว้แล้ว แต่รู้ไหมว่า…วิธี กำจัดวัชพืช เหล่านี้อย่างไรให้ปลอดภัย เราได้รวบรวมมา 6 วิธีด้วยกัน

ดอกไม้ข้างทางและต้นหญ้าที่นำมาปลูกดีๆก็สวยได้ ไม่แพ้ใคร

ในช่วงที่ฝนตกเกือบทุกวันและสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยให้ได้ออกเดินทางไปซื้อต้นไม้ที่ไหน ทำให้เราเริ่มมองเห็นความสวยงามของธรรมชาติใกล้ตัวที่อาจเคยละเลยไป ดอกไม้ข้างทางหลายชนิดเริ่มออกดอกบานสะพรั่งในช่วงนี้ ซึ่งหลายชนิดหากนำมาปลูกดีๆก็สามารถออกดอกสวยงามและมีความน่ารักเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร ที่สำคัญดูแลง่ายมาก ผู้ปลูกแทบไม่ต้องทำอะไรเลยก็สามารถขยายพันธุ์และโตเองได้เรื่อยๆ จะมีต้นอะไรที่เราเก็บมาฝากนั้น ตามมาดูกันเลยครับ สาบแร้งสาบกา ชื่อวิทยาศาสตร์ Ageratum conyzoides (L.) L. วงศ์ Compositae ต้นไม้ล้มลุก มีอายุเพียงหนึ่งปี สามารถสูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด พบขึ้นทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าหรือตามริมถนน ดอกเป็นช่อตามง่าม ดอกเป็นสีฟ้า สีม่วงน้ำเงิน หรือสีขาว ดอกคล้ายสาบเสือ แต่ดอกเล็กและกลีบสั้นกว่า ทุกส่วนของต้นมีกลิ่นฉุน ใบและบริเวณส่วนยอดของลำต้นเป็นสมุนไพร ใบแก้ไข้หวัด เจ็บคอ ปวดบวมตามข้อ ห้ามเลือด หรือต้มน้ำดื่มแก้ไข้มาลาเรีย รากตำคั้นน้ำดื่มแก้บิด ท้องเสีย หรือทาตามตัวเพื่อลดไข้ มะแหลบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Peucedanum dhana A. Ham. วงศ์ Apiaceae จัดเป็นต้นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงได้ถึง 40-100 เซนติเมตร โตเร็ว ชื่นชอบดินทรายหรือดินทั่วไป ในธรรมชาติพบตามพื้นที่โล่ง ป่าผลัดใบที่ระดับความสูง 600 เมตรขึ้นไป พบบนดอยทางภาคเหนือ […]

จิงจ้อเหลี่ยม

จิงจ้อแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Operculina turpethum (L.) S. Manso วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน หรือพันไม้ระดับต่ำ กิ่งมีปีกขนาบเป็นเหลี่ยม 3 เหลี่ยม สีเขียวเรื่อม่วงแดง ใบ: มีหลายแบบ เช่น รูปไข่แกมใบหอก รูปหัวใจแคบ-กว้าง ปลายเรียวแหลม โคนเว้า ขอบจักฟันเลื่อยหยาบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ใต้ใบมีขนนุ่ม ดอก: เดี่ยวหรือช่อขนาดเล็ก ใบประดับ 2 ใบ กลีบเลี้ยงสีเขียวเรื่อแดงรูปท้องเรือ 5 อัน ดอกสีขาว รูปกรวย ปลายแผ่ติดกัน ขนาดดอก 4-5 เซนติเมตร ออกดอกเดือนตุลาคม-เมษายน ผล: รูปกลม เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดสีดำ มีขน 4 เมล็ด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: […]

จิงจ้อเหลือง

จิงจ้อขน/จิงจ้อใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์: Merremia vitifolia (L.) Hall. f. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน หรือพันไม้พุ่มเตี้ยๆ ลำต้นกลมมีขนแข็ง สีน้ำตาลเป็นเส้นยาว ใบ: รูปหยักเว้า 5 พู โคนเว้า ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ดอก: ออกเป็นช่อกระจุก ดอกสีเหลืองสด รูปกรวยตื้น ปลายแผ่บานหยักเป็น 5 แฉก เส้นดอกเป็นแฉกรูปดาว ขนาดดอก 3-4 เซนติเมตร ออกดอกเดือนตุลาคม-มีนาคม ผล: แห้งสีฟางข้าว มี 4 เมล็ดหรือมากกว่า เมล็ดสีดำหรือน้ำตาล อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: เป็นวัชพืช

เถาดอกบานตูม

 เอน/จิงจ้อขาว ชื่อวิทยาศาสตร์: Merremia umbellata (L.) Hall. f. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: มีรากออกตามข้อ เลื้อยไปตามผิวดิน ใบ: รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนเว้า มนหรือตัดตรง ผิวใบด้านบนมีขนประปราย ใต้ใบมีขนสั้นหนาแน่น ก้านใบมีขนสั้น ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกแบบซี่ร่ม ดอกสีเหลืองอมส้ม รูปกรวยตื้น ปลายแผ่บาน เส้นดอกเป็นแฉกรูปดาว ขนาดดอก 3-4 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกันยายน-กรกฎาคม ผล: เกลี้ยง เมล็ดมีขนสั้นหนาแน่น อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: เป็นวัชพืช พบตามริมถนน ที่รกร้าง ทุ่งหญ้า ยอดและใบอ่อนรับประทานได้ ใบใช้ตำพอกแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

เถาสะอึก

 ฉะอึก/มะอึก ชื่อวิทยาศาสตร์: Merremia hederaceae (Burm. f.) Hall. f. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: เกลี้ยง เลื้อยพันต้นหญ้าหรือไม้พุ่ม ใบ: รูปหัวใจ ปลายแหลม ขอบหยักเป็น 3 พู ใบเสีเขียวเข้ม ดอก: ออกเป็นช่อกระจุก กลีบเลี้ยงรูปไข่ 5 กลีบ ดอกสีเหลือง กลางดอกสีขาว รูปกรวยตื้น ปลายแผ่บานแยก 5 แฉก ขนาดดอก 1-2 เซนติเมตร ออกดอกเดือนกันยายน-มีนาคม ผล: กลม ปลายแหลม มี 4 พู เมล็ดมีขน อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: เป็นวัชพืช […]

จิงจ้อผี

จิงจ้อเขา ชื่อวิทยาศาสตร์: Jacquemontia paniculata (Burm. f.) Hall. f. วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: ทอดเลื้อยตามผิวดินหรือพันไม้ระดับต่ำ กิ่งอ่อนมีขนสีขาว ใบ: รูปหัวใจ ปลายเรียวแหลม ใต้ใบมีขนตามเส้นใบ ดอก: ออกเป็นช่อแบบซี่ร่มขนาดเล็ก ดอกสีฟ้าอมม่วงอ่อนถึงขาว ดอกรูปกรวยตื้น ปลายแผ่ติดกัน ขอบหยัก 5 แฉก ขนาดดอก 2 เซนติเมตร ออกดอกเดือนตุลาคม-มีนาคม ผล: กลมเกลี้ยง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ขอบมีปีกสั้นๆ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: เป็นวัชพืช พบตามริมถนน ริมทุ่งนา ที่ความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลถึง 600 เมตร

ทหารกล้า

Gallant Soldier/Smallflower Galinsoga ชื่อวิทยาศาสตร์: Gallinsoga parviflora Cav. วงศ์: Asteraceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 20-60 เซนติเมตร ลำต้น: สีเขียว ตั้งตรง มีขนปกคลุม แตกกิ่งก้านมาก    ใบ: รูปไข่ ปลายแหลมยาว 5-6 เซนติเมตร มีขนสั้นทั่วไป มีเส้นใบ 3 เส้นสั้นๆ จากโคนใบ ขอบใบจักฟันเลื่อยตื้น ดอก: ออกเป็นช่อ ดอกย่อยเป็นแบบช่อกระจุก มักออกเป็นคู่ที่ซอกใบและปลายกิ่ง ขนาดเล็ก 5-8 มม. กลีบดอกวงนอกสีขาว 4-5 กลีบ ดอกวงในสีเหลืองจำนวนมาก ออกดอกเกือบตลอดปี .ผล: สีดำ ขนาดเล็ก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไปที่มีความอุดมสมบูรณ์ น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไรถึงแดดจัด […]

หางเสือลาย

หางเสือ/หูเสือ ชื่อวิทยาศาสตร์: Nosema cochininense (Lour.) Merr. วงศ์: Lamiaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 1-1.50 เมตร ลำต้น: แตกกิ่งใกล้โคนต้น มีขนสากปกคลุมทั่วไป กิ่งก้านเป็นเหลี่ยมสันมน สีม่วงแดง   ใบ: รูปรี รูปใบหอกถึงขอบขนาน ยาว 3-7 เซนติเมตร สีเขียวเข้มถึงเขียวปนม่วงแดง ขอบหยักมนหรือเรียบ มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอก: เป็นช่อทรงกระบอก กว้าง-2 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร มีใบประดับรองรับช่อดอก 1 คู่ ดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดเล็กสีม่วงอ่อน มีเกสรเพศผู้เป็นสันยาวยื่นออกมาเป็นพู่ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติพบตามทุ่งหญ้าที่โล่งแจ้ง ป่าโปร่ง […]

หนาดคำ

เขืองแพงม้า/หนาดดอย ชื่อวิทยาศาสตร์: Inula cappa (Ham. ex. D.Don) DC. วงศ์: Asteraceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ความสูง: 70-150 เซนติเมตร ลำต้น: ลำต้นและกิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองปกคลุม    ใบ: เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอกถึงรูปรีแกมขอบขนาน ยาว 5-20 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนมีขนเหนียวติดมือ ใต้ใบมีขนยาวสีเทาเงินหนาแน่น ออกดอกเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ดอก: เป็นช่อใหญ่ ช่อดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยสีเหลืองเป็นกระจุกแน่น รองรับด้วยใบประดับ 2-3 ชั้น สีเขียวอ่อน ผล: รูปขอบขนานแคบ มีขนยาวสีเทาและมีขนยาวสีขาวที่ปลาย อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติพบตามทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง บนเขาสูงทางภาคเหนือและภาคอิสาน ระดับความสูง 800-1000 เมตร เป็นสมุนไพร รากฝนน้ำกินแก้แพ้อาหาร […]

หญ้าเหลี่ยม

แมลงหวี่/เทียนป่า/นางอั้วโคก/ไส้ปลาไหล ชื่อวิทยาศาสตร์: Exacum tetragonum Roxb. วงศ์: Gentianaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุปีเดียว/วัชพืช ความสูง: 30-80 เซนติเมตร ลำต้น: ตั้งตรง แตกกิ่งน้อย ลำต้นเป็นสันเหลี่ยมและเป็นครีบแคบๆ ตามสัน ใบ: รูปรีถึงรูปไข่แกมขนาน ยาว 2-8 เซนติเมตร ไม่มีก้านใบ ดอก: ออกเป็นช่อ ดอกย่อยมีก้าน ยาว 1-3 เซนติเมตร มีใบประดับเล็กๆ รองรับ 1 คู่ กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนเชื่อติดกัน มีสันแผ่เป็นครีบเล็กๆ 4 มุม กลีบดอกสีม่วง 4 กลีบ ปลายกลีบสีเข้มและจางลงที่โคนกลีบเป็นสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง 4 อัน อับเรณูเป็นแท่งยาว ผล: แห้งและแตกเมื่อแก่ มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก […]

หญ้าปลวกดิน

หญ้าข้าวตอก/ไหวดิน ชื่อวิทยาศาสตร์: Plectranthus striatus Benth. วงศ์: Lamiaceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ความสูง: 15-30 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นเหลี่ยม มีขนสั้นเกือบเกลี้ยงหรือขนค่อนข้างยาว     ใบ: รูปไข่กว้าง ขอบหยักมน ดอก: ช่อดอกค่อนข้างใหญ่ แตกแขนงมาก ดอกเล็ก สีขาวประสีม่วงอ่อน อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติพบตามชายป่า ริมทางเดินในป่า และทุ่งหญ้าทั่วไปทั้งบนเขาและที่ราบ เป็นสมุนไพร (ล้านนา) ใบ ตำผสมน้ำแล้วย่างไฟ บดเป็นผงทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

หญ้าดอกลาย

ผักหอมโคก/หญ้าดีควาย/หญ้าดีแฟน/หูกระต่าย ชื่อวิทยาศาสตร์: Swertia angustifolia Ham. ex D.Don วงศ์: Gentianaceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ความสูง: 30-50 เซนติเมตร ลำต้น: เป็นเหลี่ยม       ใบ: เดี่ยวออกตรงข้าม รูปรีแคบ ยาว 2.5-3 เซนติเมตร โคนใบสอบปลายแหลม ขอบเรียบ ดอก: ช่อดอกออกที่ยอด จำนวดอกต่อช่ออาจมากหรือน้อย ดอกสีขาว 4 กลีบ มีขีดและจุดสีน้ำเงินทั่วกลีบ โคนกลีบมีต่อมเล็กๆ เกสรเพศผู้ 4 อัน ผล: แก่แห้งแตก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติพบขึ้นแซมในทุ่งหญ้า ป่าโปร่ง หรือป่าสนที่ความสูง 300-1000 เมตร พบมากทางภาคเหนือและอิสาน เป็นสมุนไพร ทั้งต้นทำยาดอง […]

หญ้างวงช้าง

ผักแพวขาว/หญ้างวงช้างน้อย/หวายงวงช้าง/Indian Heliotrope/Scorpion Weed/Wild Clary ชื่อวิทยาศาสตร์: Heliotropium indicum L. วงศ์: Boraginaceae ประเภท: พืชล้มลุก อายุสั้น/วัชพืช ความสูง: 20-80 เซนติเมตร ลำต้น: มีขนทั่วไป ใบ: รูปไข่ถึงรี ยาว 3-15 เซนติเมตร โคนมนถึงเว้าเล็กน้อย ขอบหยักเว้าหรือจักฟันเลื่อยตื้น ใบหนา ผิวใบย่น ดอก: เป็นช่อยาวเรียวและโค้งม้วนงอที่ปลายเป็นช่อเดี่ยวๆ หรือเป็นคู่ ดอกเล็กเรียงเป็นสองแถวทางด้านบน สีขาวหรือม่วงอมชมพู กลางดอกสีเหลือง บานจากโคนไปปลายช่อ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติพบตามริมทาง ที่รกร้าง หรือริมคูคลองทั่วไป เป็นสมุนไพร ทั้งต้น แก้ไข้ เจ็บคอ กระหายน้ำ ไอ หืด ลักปิดลักเปิด ดับพิษร้อน […]

หญ้ากำมะหยี่

Acuate ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagascea mollis Cav. วงศ์: Asteraceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ความสูง: 60-80 เซนติเมตร ลำต้น: เจริญเป็นพุ่ม แผ่กว้าง ลำต้นและกิ่งก้านมีขนสั้น ใบ: รูปไข่แกมใบหอก ปลายเรียวแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อยตื้น สีเขียวเทา ใต้ใบมีขนมาก ขนาด 1-3 x 3-7 เซนติเมตร ดอก: เป็นช่อกลม มีใบรองรับช่อดอก 2-3 ชั้น ดอกย่อยสีขาวมี 5 กลีบ โคนกลีบเป็นหลอดเล็ก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติพบตามริมทาง ที่รกร้าง พบมาทางภาคกลาง ภาคเหนือและภาคอิสาน

หญ้าลูกข้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์: Borreria laevicaulis (Miq) Ridl. วงศ์: Rubiaceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ความสูง: 15-40 เซนติเมตร ลำต้น: ตั้งตรง มีขนเล็กน้อย ใบ: เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปใบหอกถึงรูปขอบขนานแกมใบหอก ยาว 3-6 เซนติเมตร สีเขียวหรือเขียวปนม่วงแกมน้ำตาล ดอก: ดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก อัดแน่นเป็นช่อกลม กลีบดอกเป็นหลอดสั้นๆ สีขาว ผล: ผลค่อนข้างกลม แตกตามขวาง อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินปนทรายหรือหิน น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติพบตามพื้นที่โล่ง พบมาทางภาคเหนือ เป็นสมุนไพร ใช้ทั้งต้นร่วมกับผักเป็ดแดง มะกรูด มะนาวและแก่นสลัดไดดองกับน้ำซาวข้าว ดื่มแก้โรคผอมแห้ง