วัสดุสร้างบ้าน
Health & Well-being Materials วัสดุสร้างบ้านที่ดีและปลอดภัย
การเลือกใช้วัสดุสร้างบ้านที่ดีและปลอดภัย เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราอยู่บ้านอย่างมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงได้แนะนำหลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดีใช้งานได้ยาวนาน ไม่เสียหรือต้องซ่อมบ่อย เป็นบ้านที่อยู่แล้วเย็นสบาย ไม่ลื่นล้ม ไม่รั่วซึม ไม่สะสมฝุ่น ปลอดภัยกับทุกคนในบ้าน ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านทุกคนมีความสุข มีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจด้วยเช่นกัน มาดูหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดี และตัวอย่างคุณสมบัติวัสดุกัน 4 หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดี ( Well-Being Materials ) วัสดุที่มีความยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco- Friendly Materials) ได้แก่ วัสดุที่มีอายุการใช้งานยาวนาน หรือ วัสดุทดแทนวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้เทียม หินเทียม เพื่อลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ วัสดุที่สามารถลดการใช้พลังงาน (Energy Saving Materials) ได้แก่ หลอดไฟประหยัดพลังงาน กระจกประหยัดพลังงาน เป็นต้น วัสดุรีไซเคิล และวัสดุ Upcycling (Recycle & Upcycling Materials) […]
วางแผนซ่อมบ้านอย่างมืออาชีพ เรื่องง่ายๆ ที่คุณก็ทำเองได้
ไม่มีสิ่งใดยั่งยืนโดยไม่ถูกกาลเวลาทำลาย เช่นเดียวกันกับ ‘บ้าน’ ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนชื้นของไทย จนเกิดการทรุดโทรมไปตามกาลเวลา เจ้าของบ้านแบบเราจึงอยากซ่อมแซมและปรับปรุงบ้านให้กลับมาใหม่และน่าอยู่อีกครั้ง แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน หรือต้องวางแผนอย่างไร วันนี้เราจึงมีแนวทางมาฝาก! 1. สำรวจบ้าน ลิสต์จุดที่ต้องการซ่อม การ วางแผนซ่อมบ้าน ต้องเริ่มจากการเช็คจุดที่เราอยากซ่อมแซมปรับปรุง พร้อมจดลิสต์ให้ละเอียดว่าจุดไหนเกิดปัญหาอะไร เพื่อที่จะได้วางแผนซ่อมแซมและปรับปรุงในขั้นต่อไป และสามารถบอกช่างได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้การเช็คว่าบ้านมีปัญหาจากจุดไหนบ้างนั้น มีคำแนะนำอยู่ 2 ข้อคือ สังเกตปัญหาด้วยตัวเองก่อน โดยเฉพาะปัญหาที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น ปัญหาหลังคารั่ว มีน้ำซึม ซึ่งเราสามารถเห็นและสัมผัสได้ ยิ่งช่วงหน้าฝนยิ่งเห็นได้ง่าย หรือผนังร้าว เป็นต้น จ้างช่างมืออาชีพมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อวางแผนการซ่อมแบบจริงจัง โดยเฉพาะการตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างบ้านที่ต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน เพราะหากโครงสร้างบ้านทรุดโทรมจนอยากจะซ่อมแซม การรื้อสร้างใหม่อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า 2. เรียงลำดับความเสียหาย ประเมินความเร่งด่วน หลังจากทราบจุดที่ต้องการซ่อมแซมอย่างแน่นอนแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเรียงลำดับความเสียหายและความสำคัญ ว่าจุดไหนคือจุดเร่งด่วนต้องรับซ่อมแซม จุดไหนยังพอพลัดผ่อนไปได้ พร้อมทั้งอย่างลืมจัดตารางว่ามีรายการใดที่พอจะทำไปพร้อมๆ กันได้ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย นอกจากนี้อย่าลืมประเมินตัวเองว่า นอกจากการซ่อมจุดที่เกิดความเสียหายของบ้านแล้ว เจ้าของบ้านอย่างเราต้องการต่อเติมส่วนไหนหรือเปลี่ยนแปลงส่วนใดหรือไม่ เพราะหากคุณอยากต่อเติมบ้าน การ วางแผนซ่อมบ้าน พร้อมต่อเติมในคราวเดียวกันจะทำให้คุณประหยัดเงินและเวลาได้มากขึ้น เช่น ต้องซ่อมพื้น […]