© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ว่านลูกไก่ทอง หลายคนอาจจะรู้จักกันแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าต้นไม้ชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มเฟินที่ปลูกเลี้ยงง่าย ดูแลไม่ยาก และนอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย
แม้จะเป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่ยังหาข้อพิสูตรไม่ได้ แต่พรรณ ไม้เมตตาม หานิยมเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นว่านและพรรณไม้ประจำถิ่นของไทยที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และปลูกเพื่อความสวยงามได้ นอกจากนั้นพรรณไม้ส่วนใหญ่ยังมีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจอีกด้วย ซึ่งหากคุณนำไปใช้เพื่อเสริมความมั่นใจ ไม่ว่าตัวคุณจะหน้าตาแบบไหนก็ย่อมสามารถสร้างความประทับใจให้กับคนที่คุณหลงรักหรือแอบชอบอยู่ได้ ไม่มากก็น้อย โดยเราได้อ้างอิงมาจากหนังสือ “ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย” โดยคุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลมาจากตำราสมุนไพรและความเชื่อโบราณของไทย 1.ว่านดอกทองชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma cf. pierreana Gagnep. มีอำนาจในทางเพศรุนแรงมาก ใช้ได้ทั้งราก หัว ต้น ใบ และดอก แม้แต่น้ำที่รดต้นว่าน ถ้าใครได้สัมผัส โดยเฉพาะเพศหญิง จะเกิดอาการทางเพศรุนแรงมาก ถ้านำหัว ต้น หรือใบ ใส่ลงในภาชนะที่บรรจุน้ำ เช่น โอ่ง บ่อน้ำ ผู้ใดกินเข้าไปจะมีความรู้สึกทางเพศอย่างรุนแรง หลงงมงายอยู่ในกามโลก หากใครได้กลิ่นหอมของว่านชนิดนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย จะพากันมัวเมาอยู่ในโลกียรสมิได้สร่างซา จึงนิยมเด็ดดอกแล้วนำไปแช่น้ำมันเก็บไว้ใช้เป็นยาเสน่ห์ หากปลูกไว้ตามบ้าน ร้านค้า เรือค้า ห้างร้าน บริษัทต่างๆ สถานที่เริงรมย์ หรือแหล่งสำราญ ตามบาร์ ตามไนท์คลับ ย่อมเป็นมหาเสน่ห์เมตตามหานิยม มีผู้คนไปอุดหนุนจุนเจืออยู่มิขาด หากได้ปลูกคู่กับว่านดอกทองตัวผู้ยิ่งวิเศษนัก […]
“ว่านมงคล” ใช้เรียกกลุ่มต้นไม้หลากหลายชนิดที่เชื่อกันว่ามีคุณค่าทางด้านสมุนไพรและมีความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อ หนึ่งในวัฒนธรรมการปลูกต้นไม้ที่สำคัญและอยู่คู่กับสังคมไทยมานานจนถึงปัจจุบัน แม้กระแสแฟชั่นการจัดสวนจะเปลี่ยนไปแค่ไหน ว่านก็ยังคงอยู่แทรกไปกับสวนได้อยู่เสมอ มาดูกันว่ามีว่านมงคลชนิดใดที่ควรจะมีไว้ติดบ้านกัน 1. ว่านเสลดพังพอนตัวเมีย Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau ไม้รอเลื้อยที่สามารถเติบโตได้ทั้งแสงแดดตลอดวันและครึ่งวัน หากตัดแต่งเสมอจะให้ทรงพุ่มสวยงาม สามารถนำใบสดมาตำแล้วคั้นเป็นน้ำหรือผสมเหล้าขาวทาบริเวณที่แพ้หรือเป็นผื่นคัน รักษาพิษแมลงกัดต่อยและโรคงูสวัดได้ เชื่อว่างูและสัตว์มีพิษจะกลัว 2. ว่านมหากาฬ Gynura pseudochina (L.) DC. var. hispida Thwaites ไม้ล้มลุก สูง 15 – 30 เซนติเมตร ชอบแสงแดดตลอดวัน ใบมีสีสันสวยงาม นิยมนำใบสดมาโขลกผสมสุราปิดพอกฝี ช่วยถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อนแก้อักเสบ เชื่อว่าหากปลูกคู่กับว่านมหาปราบจะสามารถป้องกันอันตรายได้ 3. ว่านหางจระเข้ Aloa vera (L.) Burm.f. ไม้ล้มลุกที่ทุกส่วนอวบน้ำ ภายในเป็นวุ้นใส ชอบแสงแดดตลอดทั้งวัน นำวุ้นภายในใบมาล้างยางสีเหลืองออกแล้วทาปูนแดง ใช้ปิดขมับแก้อาการปวดหัว และยังมีสรรพคุณแก้ระคายเคือ งรักษาแผลสดภายนอก แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และดูดพิษ 4. […]
ว่านมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยมาแต่โบราณ ทั้งในเรื่องของความเชื่อว่าเป็นพืชสิริมงคลแล้ว ยังเป็นพืชที่มี สรรพคุณเป็นยา
ว่าน เป็นชื่อเรียกของพืชบางชนิดที่มีหัวบ้าง และไม่มีหัวบ้าง มีสารพัดประโยชน์ ทั้งนำมาทำยา และยังมีความเชื่อกันว่า ทำให้อยู่ยงคงกระพันและเป็นสิริมงคล
พอเอ่ยถึง “ว่าน” หลายคนก็มักบอกว่า เหย…แก่อ่ะ แล้วก็คิดเลยเถิดไปว่า เป็นพวกงมงาย ฝักใฝ่มนตร์ดำ อำนาจลี้ลับ ท่องบ่นคาถาทั้งวัน มีรอยสักทั้งตัว ฯลฯ ซึ่งถ้าศึกษากันให้ลึกซึ้งแล้ว จะพบว่าว่านนั้นมีที่มาที่ไป อย่าง สรรพคุณทางยาก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผล และนับเป็นภูมิปัญญาระดับชาติที่ทุกคนควรสืบทอด ว่านมีที่มาอย่างไร ความหมายของคำว่า “ว่าน” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง “ชื่อเรียกพืชบางชนิดที่มีหัวบ้าง ไม่มีหัวบ้าง ใช้ทำยาบ้าง หรือเชื่อกันว่าทำให้อยู่ยงคงกระพันและเป็นสิริมงคล เช่น ว่านนางล้อม ว่านเสน่ห์จันทร์แดง” ตามตำราว่ากันว่า ความเชื่อเรื่องว่านมีมาแต่ก่อนคริสตกาลประมาณ 200 ปี เริ่มจากชาวโรมันเก็บหน่อไม้ฝรั่งมากิน และในอีก 300 ปีต่อมาจึงนำมาใช้ทำยารักษาโรค แก้แมลงกัดต่อย แก้ปวดฟัน ออกัสตุส (Augustus) จักรพรรดิองค์แรกของชาวโรมันยังเชื่อว่า หากใครนำหน่อไม้ฝรั่งที่ตากแห้งมาชงน้ำดื่มพร้อมกับเสกคาถาจะช่วยให้อยู่ยงคงกระพัน ในบ้านเรายังไม่ทราบแน่ชัดว่า ความเชื่อเรื่องว่านมีกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อใด แต่คาดว่าคงได้รับอิทธิพลจากชาวมอญและขอม เพราะในตำราพิชัยสงครามปลายสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า “ว่าน” คือ สุดยอดคงกระพัน ก่อนออกศึกนักรบทุกคนต้องอาบน้ำว่านหรือเคี้ยวว่านเพื่อให้หนังเหนียว ฟันแทงไม่เข้า ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ความเชื่อเรื่องว่านก็ยังคงมีอยู่ในสังคมไทย โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 […]