© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
เมื่อก่อสร้างบ้านแล้วมีปัญหาจะ เลิกสัญญาก่อสร้าง ฟ้องร้อง ต้องทำอย่างไร หรือหากไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือจะฟ้องร้องได้ไหม
ในกรณีที่ผู้รับเหมาก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเวลา แต่งานที่ส่งมอบนั้นชำรุดบกพร่อง ไม่ถูกต้องตามที่ตกลงกันไว้ต้องทำอย่างไร การรับประกันงานผู้รับเหมา เมื่อผู้รับเหมาได้ส่งมอบงานทั้งที่งานก่อสร้างดังกล่าวยังชำรุดบกพร่องอยู่ ซึ่งในระหว่างที่ก่อสร้างเจ้าของบ้าน(ผู้ว่าจ้าง)ก็ได้แจ้งให้ผู้รับเหมาแก้ไขให้ถูกต้อง โดยกำหนดระยะเวลาแล้วก็ตาม แต่ผู้รับเหมาเพิกเฉย หรือส่งมอบงานที่ชำรุด และผู้รับเหมายังเรียกร้องให้เจ้าของบ้านชำระเงินค่าจ้าง การรับประกันงานผู้รับเหมา การแก้ไข เจ้าของบ้านมีสิทธิยึดหน่วงเงินค่าจ้าง ไม่ชำระให้จนกว่าผู้รับเหมาทำการแก้ไขงานที่ชำรุดบกพร่อง หรือทำให้ถูกต้องตามที่ตกลงไว้ ให้ผู้รับเหมารายอื่นมาทำต่อได้ หากผู้รับเหมาไม่แก้ไขงานที่ชำรุดบกพร่อง เจ้าของบ้านสามารถจ้างผู้รับเหมารายอื่นมาแก้ไขหรือทำต่อได้ ซึ่งผู้รับเหมาเจ้าเดิมจะต้องรับเสี่ยงความเสียหาย(เช่น ราคาวัสดุอาจจะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาด) และออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ข้อกฎหมายอ้างอิง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 594 ถ้าในระหว่างเวลาที่ทำการอยู่นั้นเป็นวิสัยจะคาดหมายล่วงหน้าได้แน่นอนว่า การที่ทำนั้นจะสำเร็จอย่างบกพร่อง หรือจะเป็นไปในทางอันฝ่าฝืนข้อสัญญา เพราะความผิดของผู้รับจ้างไซร้ ผู้ว่าจ้างจะบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างแก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้คืนดี หรือทำการให้เป็นไปตามสัญญาภายในเวลาอันสมควร ซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้นก็ได้ ถ้าและคาดกำหนดนั้นไป ท่านว่าผู้ว่าจ้างชอบที่จะเอาการนั้นให้บุคคลภายนอกซ่อมแซมหรือทำต่อไปได้ ซึ่งผู้รับจ้างจะต้องเสี่ยงความเสียหายและออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น มาตรา 599 ในกรณีที่ส่งมอบเนิ่นช้าไปก็ดี หรือส่งมอบการที่ทำชำรุดบกพร่องก็ดี ท่านว่าผู้ว่าจ้างชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ เว้นแต่ผู้รับจ้างจะให้ประกันตามสมควร กฎหมายการรับประกันงาน กฎหมายได้กำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างต้องประกันผลงานไว้ว่า ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องรับผิดชอบการชำรุดบกพร่องที่ปรากฏภายใน 1 ปีนับแต่วันส่งมอบ หรือที่ปรากฏภายใน 5 ปี สำหรับสิ่งปลูกสร้างติดกับพื้นดิน ยกเว้นโรงเรือนทำด้วยไม้ เว้นแต่ผู้รับเหมาจะจงใจปิดบังความชำรุดบกพร่อง ความรับผิดชอบนั้นจะมีอยู่ตลอดไป ทั้งนี้ ระยะเวลารับประกันดังกล่าวสามารถตกลงให้เพิ่มขึ้น […]
หาก ผู้รับเหมาไม่ส่งมอบงาน เลยกำหนดสัญญาแล้วแต่งานก่อสร้างมีปัญหาต้องแก้ไข ทนายความจะมาตอบให้ว่า เจ้าของบ้านจะทำอะไรได้บ้างตามข้อกฎหมาย พร้อมมีคดีตัวอย่างมาให้ศึกษากัน เมื่อมีการตกลงว่าจ้างให้ผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านแล้ว ระยะเวลาในการก่อสร้างให้เสร็จสำหรับเจ้าของบ้าน(ผู้ว่าจ้าง) ย่อมถือเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นหากผู้รับเหมา(ผู้รับจ้าง)ไม่เริ่มทำงาน ทั้งที่เจ้าของบ้านได้ส่งมอบพื้นที่ให้ดำเนินการก่อสร้างแล้ว มีการทำงานล่าช้า หรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่เคยตกลงไว้ ผู้รับเหมาไม่ส่งมอบงาน ตามกำหนด สามารถทำอย่างไรได้บ้าง การแก้ไข ผู้รับเหมาไม่ส่งมอบงาน หากเจ้าของบ้านสามารถคาดหมายได้ว่างานนั้นจะไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ เจ้าของบ้านสามารถยกเลิกสัญญากับผู้รับเหมา โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดเวลาตามสัญญาก็ได้ ทั้งนี้การที่ผู้รับเหมาทำงานล่าช้าหรือไม่ได้เริ่มทำงานนั้น ต้องไม่ใช่สาเหตุที่เกิดจากเจ้าของบ้าน กรณีที่ผู้รับเหมาส่งมอบงานเกินกำหนดเวลาในสัญญา และงานที่ส่งมอบปรากฎว่ายังมีข้อบกพร่อง เจ้าของบ้านก็สามารถชะลอการจ่ายค่าจ้างไว้ได้ จนกว่าผู้รับเหมาจะซ่อมแซมเสร็จ ถ้าเจ้าของบ้านค้างชำระค่าจ้าง ผู้รับเหมาก็มีสิทธิหยุดงานที่รับจ้างไว้จนกว่าเจ้าของบ้านจะได้ชำระค่าจ้างที่ค้างชำระจนครบทุกงวดได้ ถ้าในสัญญาจ้างก่อสร้างที่มีกำหนดชำระค่าจ้างเป็นงวดๆ และมีการเขียนระบุไว้ว่า “ถ้าผู้ว่าจ้างค้างชำระค่าจ้างงวดใดงวดหนึ่งให้ผู้รับจ้างมีสิทธิหยุดงานที่รับจ้างไว้ จนกว่าผู้ว่าจ้างจะได้ชำระค่าจ้างครบตามงวดชำระ และการหยุดงานในกรณีดังกล่าวมิให้นับระยะเวลาตามสัญญา” ข้อกฎหมายอ้างอิง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 593 ถ้าผู้รับจ้างไม่เริ่มทำการในเวลาอันควร หรือทำการชักช้า ฝ่าฝืนข้อกำหนดแห่งสัญญาก็ดี หรือทำการชักช้าโดยปราศจากความผิดของผู้ว่าจ้าง จนอาจคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าการนั้นจะไม่สำเร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ก็ดี ผู้ว่าจ้างชอบที่จะเลิกสัญญาเสียได้ มิพักต้องรอคอยให้ถึงเวลากำหนดส่งมอบของนั้นเลย มาตรา 599 ในกรณีที่ส่งมอบเนิ่นช้าไปก็ดี หรือส่งมอบการที่ทำชำรุดบกพร่องก็ดี ผู้ว่าจ้างชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ เว้นแต่ผู้รับจ้างจะให้ประกันตามสมควร กรณีคดีตัวอย่าง เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงมีอยู่ว่า เจ้าของบ้านว่าจ้างผู้รับเหมาให้ก่อสร้างบ้านพักอาศัยของตัวเอง ซึ่งได้มีการตกลงชำระค่าจ้างก่อสร้างกันเป็นงวดๆ จำนวน […]
25ปัญหาบ้าน ที่มักออกแบบและก่อสร้างพลาด เพื่อเป็นจุดสังเกตเมื่อสร้างบ้านหรือเลือกซื้อบ้าน จะได้ไม่ต้องมาปรับปรุงและลดการซ่อมแซมบ้านตั้งแต่ต้นทาง 1.ทีวีแขวนผนังกับสารพัดสาย คนที่ต้องการติดตั้งทีวีแขวนผนังมักมี 2 เหตุผล คือ ประหยัดพื้นที่วาง และต้องการความเรียบง่าย ซึ่งการติดตั้งจริงๆไม่ได้ง่ายเพียงแค่แขวนทีวีเฉยๆ เพราะมักลืมคิดถึงการต่อเชื่อมกับอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งต้องเสียบสารพัดสายโยงกัน จึงมักเห็นสายต่างๆห้อยจากทีวีลงมาต่อกับเครื่องที่วางอยู่ด้านล่าง ดังนั้นถ้าคิดจะแขวนทีวีให้สวย ต้องทำผนังอีกชั้นที่เจาะรูเพื่อซ่อนการเดินสายต่างๆ รวมถึงการเตรียมปลั๊กไฟไว้อย่างเพียงพอ ก็จะไม่ต้องพ่วงสายให้ดูรกตา 25ปัญหาบ้าน 2.ตู้หนังสือแอ่น ตู้หรือชั้นที่มักแอ่นและเสียหายเร็วคือตู้หนังสือ เพราะหนังสือนั้นหนักกว่าที่เราคิด ดังนั้นหากต้องการทำตู้เก็บหนังสือควรระวัง 2 เรื่อง คือ ควรวางตู้หนังสือตามแนวคานพื้นซึ่งรับน้ำหนักได้ดีกว่าบริเวณกลางห้องที่ไม่มีคาน และการเลือกตู้และชั้นที่ใช้วัสดุแข็งแรงอย่างเหล็กหรือโครงไม้ หากทำด้วยแผ่นพาร์ทิเคิลหรือแผ่นเอ็มดีเอฟควรเลือกหน้ากว้างของชั้นแต่ละช่องไม่เกิน 60 เซนติเมตร หรือน้อยกว่านั้นยิ่งดี ก็ป้องกันชั้นแอ่นและลดการซ่อมแซมในอนาคต 25ปัญหาบ้าน 3.หน้าต่างเปิดออก แต่ลมไม่เข้า ถ้าจะติดตั้งหน้าต่างบานเปิด อย่าลืมดูทิศทางลม เพราะสามารถเปิดรับลมได้ด้านเดียว จึงควรเปิดรับลมประจำถิ่นซึ่งพัดมาทางทิศใต้และตะวันตกเฉียงใต้เป็นหลัก อีกทั้งหน้าต่างที่มีการเปิดยื่นออกไป เช่น บานเปิดและบานกระทุ้ง ควรระวังเปิดไปเจอทางเดินซึ่งอาจเผลอเดินชนได้ 4.มือจับของประตูอะลูมิเนียม ประตูกรอบบานอะลูมิเนียมมักมีขนาดกรอบแคบกว่ากรอบไม้ ทำให้พื้นที่ในการติดมือจับน้อยกว่า จะเห็นได้ชัดเมื่อใช้มือจับแบบตรงปกติกับประตูบานเปิด ซึ่งจับไม่สะดวกเพราะมือจับอยู่ชิดเกินไป จึงควรใช้มือจับที่ออกแบบยื่นออกด้านข้างก็จะจับได้สะดวกขึ้น 5.เปิดประตูทีไร “ปัง” ทุกที ไม่ว่าใครจะอยาก […]
การเลือกทำเลบ้านที่ดีและปลอดภัย ควรพิจารณาเรื่อง แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ตำแหน่งหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่ใกล้บ้าน และการเว้นระยะให้ปลอดภัยกับตัวอาคาร ใครจะรู้ว่าสิ่งที่มองไม่เห็นและอยู่ใกล้ตัวอย่าง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จึงเป็นที่มาการศึกษาผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อผลกระทบด้านสุขภาพของ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ซึ่งนำไปสู่การเลือกทำเล สร้างบ้าน ที่ดีและปลอดภัยสำหรับบ้านยุคปัจจุบัน ซึ่งนอกจากข้อพิจารณาพื้นฐานอย่าง การจราจร อาคารข้างเคียง และสาธารณูปโภคแล้ว ก็ควรพิจารณาเรื่อง แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ตำแหน่งหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่ใกล้บ้านซึ่งมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการเว้นระยะให้ปลอดภัยกับตัวอาคาร มาดูกันว่ามีข้อควรระวังอะไรบ้าง ระวัง! ต้องเว้นระยะห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูง แน่นอนว่าระบบจำหน่ายไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เราต้องการ แต่เราทราบหรือไม่ว่า การเลือกทำเลที่ตั้งและ สร้างบ้าน ควรต้องคำนึงถึงระยะห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูงด้วย โดยการไฟฟ้านครหลวงมีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นตัวบ้านหรือระเบียงส่วนยื่นไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร และระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับตัวบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานที่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือกลทุกชนิด จะต้องอยู่ห่างจากส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่า 3.90 เมตร (อ้างอิงขนาดแรงดันไฟฟ้าของสายไฟฟ้าแรงสูง 230,000 โวลต์) ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยเราควรหลีกเลี่ยงการเลือกบ้านหรือทำเลอาคารที่อยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง สายส่งไฟฟ้า หรือหม้อแปลงไฟฟ้าเหล่านี้ มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยระหว่างสิ่งปลูกสร้างกันสายไฟฟ้าแรงสูง ระยะห่างระหว่างสายไฟฟ้าแรงสูงกับอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง/ป้ายโฆษณา หมายเหตุ : […]
รวมวิธีสร้างบ้านให้ใช้พื้นที่ดินได้คุ้มค่าสูงสุด ไม่เปลืองที่ ลดงบประมาณการก่อสร้าง บ้านประหยัดงบ เมื่อเริ่มต้นสร้างบ้าน เจ้าของบ้านส่วนใหญ่คงต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะใช้พื้นที่อย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งความคุ้มค่านี้ไม่ได้หมายถึงการสร้างให้ประหยัดที่สุดหรือมีราคาถูกที่สุด แต่คำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามที่คุ้มค่ากับพื้นที่ที่มีอยู่ รวมถึงการวางแผนใช้พื้นที่ให้มีประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น พื้นที่ใต้บันได พื้นที่ใต้พื้นบ้าน ที่เก็บของ ก็จะไม่เปลืองงบประมาณที่ต้องมาทำเพิ่มภายหลัง มาดูกันว่า บ้านประหยัดงบ มีข้อควรพิจารณาอะไรก่อนลงมือก่อสร้างบ้าง 1. วางแผนงบประมาณก่อนสร้างบ้าน การสร้างบ้านไม่ได้มีเฉพาะค่าก่อสร้างตัวบ้านเท่านั้น ยังมีค่าใช้จ่ายอีกหลายอย่างซ่อนอยู่ บางอย่างตัดได้ บางอย่างตัดไม่ได้ มาดูกันว่าเราต้องเตรียมกระเป๋าให้หนากันแค่ไหน เพื่อจะได้สร้างบ้านให้สมดุลกับงบประมาณ บ้านประหยัดง สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน 66% งานก่อสร้างบ้าน (งานโครงสร้าง สถาปัตยกรรม ไฟฟ้า และสุขาภิบาล) 22% งานตกแต่งภายใน 4% งานตกแต่งสวน 5% ค่าออกแบบสถาปัตยกรรม วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมไฟฟ้า และสุขาภิบาล 2% ค่าออกแบบตกแต่งภายใน 0.5% ค่าออกแบบสวน 0.5% งานยื่นขออนุญาตสร้างอาคาร งานขอน้ำ ไฟฟ้า เลขที่บ้าน หมายเหตุ : สัดส่วนนี้คิดจากบ้านราคา […]
ผังบ้าน ทิศสร้างบ้าน เป็นเรื่องสำคัญ การวางผังบ้านให้เหมาะกับ ทิศแดด ทิศลมและฝนของเมืองไทยหลบแดดในช่วงฤดูร้อน และไม่ต้องเปียกฝนสาดในช่วงฤดูฝน
“บ้านและสวน” จะมาไขข้อข้องใจ 9 ปัญหายอดฮิตเกี่ยวกับกฎหมายการสร้างบ้านซึ่งหลายคนสงสัยและมักเข้าใจผิด มีอะไรบ้างมาดูกัน
เพื่อให้ทุกคนได้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนของบ้านทั้ง 2 แบบที่แตกต่างกัน เราจึงได้คัดเลือกข้อดีข้อเสียของทั้งบ้านไม้และบ้านปูนมาฝากดังนี้
ถึงแม้การ สร้างบ้านใหม่ จะทำให้มีหลายๆอย่างเปลี่ยนไป แต่ก็ไม่สามารถลบเลือนความทรงจำเก่าๆ ในบ้านหลังเดิมได้ ยิ่งถ้าบ้านที่สร้างใหม่นั้นอยู่บนพื้นที่เดิม
การมีบ้านสักหลังมีเรื่องให้คิดมากมาย 10 คำถามที่จะพูดถึงต่อไปนี้ฟังดูเป็นเรื่องง่ายๆทว่าเมื่อลองพิจารณาดีๆแล้วสามารถนำไปใช้เป็นแนวคิดในการ สร้างบ้าน ได้เลย