- Home
- สวนผักคนเมือง
สวนผักคนเมือง
คุยกับ “โครงการสวนผักคนเมือง” ที่ปรึกษาให้เราเริ่มต้นลงมือปลูกผักทานเองได้
ยุคที่มีโรคระบาดและเศรษฐกิจย่ําแย่ ผู้คนเริ่มประสบปัญหาทั้งเรื่องปากท้องและเรื่องสุขภาพ การปลูกผักรับประทานเองกลายเป็นอีกหนึ่งคําตอบที่หลายคนเริ่มให้ความสนใจ แต่จะเริ่มต้นลงมือทําได้อย่างไร นั่นจึงเป็นที่มาให้เราได้พูดคุยกับกลุ่มสวนผักคนเมืองที่เป็นผู้ผลักดันให้เกิดกิจกรรมปลูกผักขึ้นในสังคมคนเมืองและย่านที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและแนวทางให้คุณได้เริ่มต้นลงมือปลูกผักด้วยตัวเอง กว่าจะเป็น โครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) เป็นองค์กรหนึ่งในบ้านเราที่มีวัตถุประสงค์ทําเกษตรกรรมแบบยั่งยืน เพื่อเป็นทางออกของการช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้สารเคมี การทําลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยต่อมาหลายภาคี ทั้งกระทรวงสาธารณสุข สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายของมูลนิธิ เล็งเห็นว่าพื้นที่เมืองซึ่งมีทางออกของปัญหาด้านอาหารการกินและสุขภาพน้อยกว่าพื้นที่ในชนบทที่เป็นแหล่งผลิต จึงได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนให้คนในเมืองได้มีสุขภาพดีผ่านอาหารการกินและการทําเกษตร มูลนิธิจึงดําเนินการในนามของ“โครงการสวนผักคนเมือง” ต่อมาหลังวิกฤติน้ําท่วมในช่วงปี พ.ศ.2554 คนเมืองที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักยิ่งตระหนักและตื่นตัวกับวิกฤติดังกล่าวมากขึ้นเพราะต้องพึ่งการนําเข้าอาหารจากการขนส่งภายนอกเพียงอย่างเดียว ยกเว้นคนเมืองที่ปลูกผักบริโภคเอง ทั้งที่ร่วมกับโครงการและยังไม่ร่วมหลายครอบครัว โดยเฉพาะสวนดาดฟ้าที่ยังคงมีวัตถุดิบทําอาหารรับประทานได้ปกติ ถ้าปลูกคนเดียวไม่ได้ก็ต้องช่วยกัน “สวนผักคนเมืองนอกจากสร้างอาหารสําหรับบริโภคได้แล้ว ยังเป็นพื้นที่สีเขียวที่ทําให้คนมืองได้กลับมาทํางานด้วยกัน เราคิดว่าพื้นที่รูปธรรมที่ทําเกษตรกรรมหรือเพาะปลูกอาหารควรจะทําให้คนเมืองหันมามีปฏิสัมพันธ์กัน สร้างการมีส่วนร่วมกันในองค์กรและชุมชนผ่านการปลูกผัก ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องทําให้คนหันกลับมาพูดคุยกัน อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศเดิมอีกด้วย”คุณวรางคนางค์ นิ้มหัตถา หัวหน้าโครงการสวนผักคนเมืองมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) เล่าให้เราฟัง นอกเหนือจากประชาสัมพันธ์ให้คนตระหนักถึงความสําคัญของอาหารอินทรีย์แล้ว ยังทําให้คนเป็นผู้บริโภคที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์อินทรีย์และเป็นผู้ผลิตไปด้วยในตัว จนเกิดเป็นพื้นที่รูปธรรมที่ทําเกษตรร่วมกัน โดยกลุ่มคนที่จะสามารถเป็นสมาชิกของโครงการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.ต้องใช้พื้นที่ส่วนกลางของชุมชน องค์กร หรือพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ปลูกผักด้วยกัน ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมด้วยกันได้ และยังให้ผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมหาความรู้ รวมถึงเก็บผลผลิตเล็กๆน้อยๆจากแปลงไปได้ 2.ต้องรวมกลุ่มกันอย่างน้อย10ครอบครัวขึ้นไป 3.ปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมีใดๆ ให้ความสําคัญกับการปลูกที่สอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น การปลูกผักลงดิน เพราะในเมืองยังมีผืนดินที่สามารถปลูกได้ดี พรรณไม้ทั่วไปสามารถงอกเงยในดินได้ไม่ยาก […]
พลังประชาชนที่เปลี่ยน “กองขยะ” สู่ “สวนผักคนเมืองเชียงใหม่”
อยากให้ทุกคนนั่งไทม์แมชชีนไปเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว ตอนนั้นนอกจากจังหวัดเชียงใหม่จะต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 แล้วยังมีฝุ่น pm2.5 อยู่เช่นกัน กลุ่มสถาปนิกใจบ้าน สตูดิโอและภาคีอื่นๆได้สำรวจพื้นที่สีเขียวและพื้นที่รกร้างต่างๆในเมือง จนมาพบกับกองขยะร้างที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์จนกลายมาเป็นสวนผักคนเมืองเชียงใหม่ในที่สุด แปลงผักบางส่วนเปิดให้คนมาเรียนรู้ พักผ่อนหย่อนใจ และเก็บผักไปปรุงอาหารได้ฟรี เริ่มจาก 3 ครอบครัว ซึ่งปลูกและเก็บไปแบ่งปัน 19 ครอบครัว ช่วงที่ล็อกดาวน์ ผู้คนเริ่มเผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านอาหาร ใจบ้าน สตูดิโอเข้าไปคุยกับพี่น้องผู้ที่อยู่ในบริเวณชุมชนริมคลองแม่ข่า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงานและเป็นคนชายขอบของสังคมว่าเขาจะสามารถดำรงชีวิตอย่างไรในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้แล้วก็พบว่าพวกเขาส่วนใหญ่เริ่มตกงานมาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางมาที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ รายจ่ายครึ่งหนึ่งของเงินเดือนคือค่าอาหารเลี้ยงชีพ เมื่อรายได้ต่อวันไม่มี หลายครอบครัวที่ต้องดูแลผู้สูงอายุและเด็กจึงกลายเป็นภาระหน้าที่ซึ่งลำบากมาก ทางออกคือครอบครัวเหล่านี้ต้องปลูกผักบริเวณพื้นที่ริมคลองแม่ข่าที่มีสภาพน้ำเน่าเสียและไม่เอื้อต่อการบริโภค หลังจากนั้นจึงเริ่มคุยกับเครือข่ายต่างๆมาเริ่มบุกเบิกที่ดินตรงนี้เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลูกผักสร้างอาหารให้คนในชุมชน บ้ารึเปล่า…นี่มันกองขยะ พื้นที่ขนาด 2.5 ไร่นี้เดิมเป็นกองขยะ 5 พันตันที่ถูกทิ้งมานานร่วม20 ปี ซึ่งรวบรวมมาจากช่วงที่เชียงใหม่ประสบภัยน้ำท่วมโดยมีเทศบาลเมืองเชียงใหม่เป็นเจ้าของ หลังจากที่พูดคุยกันอยู่หลายครั้ง ใจบ้าน สตูดิโอและภาคีที่เกี่ยวข้องได้รับความอนุเคราะห์ในการใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับสวนผักคนเมืองเชียงใหม่ในที่สุด “หลังจากได้ที่ดินมาแล้ว งานต่อไปคือการระดมทุน ระดมกล้าไม้ ระดมเมล็ด หรืออุปกรณ์การเกษตร เมื่อเริ่มต้นทำก็ขุดดินไปเจอยางรถยนต์ กรมเจ้าท่าจึงนำดินมาช่วยถมให้ ส่วนภาคเอกชนหลายที่ก็บริจากถ่านไบโอชาร์ในการบำบัดดินและขุดน้ำบาดาล ถ้าสรุปความรู้สึกสั้นๆจะสรุปได้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่มั่นคง แต่ด้วยพลังของประชาชนสามารถสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นได้ มันคือโอกาสท่ามกลางวิกฤต” คุณตี๋-ศุภวุฒิ บุญมหาธนากรผู้ก่อตั้งใจบ้าน […]
แหล่งเรียนรู้วิธีปลูกผักปลอดสารพิษ สำหรับสวนผักคนเมือง
เชื่อว่าหลายคนเคยเจอปัญหา พยายาม ปลูกผัก ไว้ทานเองที่สวนหลังบ้าน แต่ทำอย่างไรก็ผักก็ไม่สวย ไม่โต เหมือนคนอื่นๆ เขา บ้างโทษว่าตัวเองเป็นคนมือร้อนปลูกต้นไม้ไม่ขึ้นบ้าง จนเริ่มท้อใจที่จะปลูกผักไว้ทานเอง เรื่องเหล่านี้มีทางออกค่ะ การจะ ปลูกผัก ให้เติบโตสวยงามได้ น่าทาน โดยไม่พึ่งพาสารเคมีนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่วัสดุปลูกที่ต้องมีสารอาหารครบถ้วน ตำแหน่งปลูกทิศทางที่เหมาะสม การรดน้ำสม่ำเสมอ ซึ่งฟังดูเหมือนจะยุ่งยาก แต่อย่าเพิ่งท้อใจเพราะมีแหล่งเรียนรู้วิธีปลูกผักสไตล์คนเมืองอีกหลายแห่งที่เปิดสอนให้สามารถปลูกผักหลังบ้านให้งามได้ มีที่ไหนใกล้บ้านน่าเรียนรู้บ้าง ไปดูกันเลย •ปฏิทินปลูกผัก ปลูกอย่างไรให้มีผักกินทั้งปี •เริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ต้องรู้จักระบบน้ำกันหน่อย •มือใหม่อยากปลูกผักไว้ทานเอง ควรปลูกอะไรดี ศูนย์อบรมบ้านสวนเรียนรู้ ORGANIC WAY ศูนย์อบรมแห่งนี้เป็นสวนผักที่ปลูกบนพื้นปูน มีการเพาะเห็ด เพาะเมล็ดงอก เพาะถั่วงอก และการเลี้ยงไส้เดือนให้ได้เรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจที่อยู่ในเมืองไม่มีความรู้หรือเกิดปัญหาเมื่อลองปลูก มีข้อจำกัดด้านเวลา พื้นที่ ได้ลงมือปฏิบัติปลูกผักจริง โดยเน้นทำกิจกรรมแบบให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม เรียนรู้เรื่องที่สนใจในเรื่องเดียวกันได้มาทำในสิ่งที่รักร่วมกัน เช่น เป็นอาสาสมัครเพื่อทดลองปลูก หลักสูตรการฝึกอบรมเรื่องการปลูกผักแบบง่าย การทำอาหารด้วยผักที่ปลูก โดยมีครูหน่อย – พอทิพย์ เพชรโปรี เป็นผู้ดูแล โดยเน้นกิจกรรมที่ทำกับเด็กๆ เช่น […]
แปลงผักสวนครัว…เลือกกระบะปลูกแบบไหนให้สวย
แปลงผักสวนครัวจัดอย่างไรให้สวย วิธีที่แนะนำคือสร้างแปลงผักให้เป็น Raised bed Garden ที่กำลังเป็นที่นิยมของคนเมืองในปัจจุบัน