- Page 2 of 11
สวนปทุมวนานุรักษ์

สวนปทุมวนานุรักษ์ อีกหนึ่งสวนป่ากลางเมือง ปอดของคนกรุง และพื้นที่พักใจแห่งใหม่

สวนปทุมวนานุรักษ์ คือสวนชุมชนในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และทางทิศใต้ของคลองแสนแสบ

วิธีใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างถูกต้อง และอยู่ร่วมกับน้ำอย่างมีความสุข

ทุกวันนี้สภาพดินฟ้าอากาศค่อนข้างแปรปรวน และสร้างผลกระทบที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่การดำเนินชีวิตไปจนถึงสวนในบ้าน โดยเฉพาะเรื่อง “น้ำ” ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม น้ำหลาก หรือน้ำกัดเซาะ การเตรียมรับมือปัญหาดังกล่าวด้วยความเข้าใจ จึงน่าจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้การอยู่ร่วมกันระหว่างคน สวน และ น้ำ เป็นไปได้ด้วยดี และมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 10 บ้านสวนริมน้ำต่างจังหวัด เย็นกาย เย็นใจ เติมสวนสวยด้วย “พรรณไม้ริมน้ำ” อยู่ร่วมกันกับน้ำ น้ำ เป็นทรัพยากรที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดสวน การทำความเข้าใจว่าที่ตั้งของสวนหรืออาณาเขตของบ้านอยู่ในบริเวณไหน ก็ช่วยให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำได้อย่างถูกต้อง และอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างมีความสุข ในที่นี้ขอแบ่งพื้นที่อย่างง่าย เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ 1.ป่าฝน ต้นน้ำ แม้ว่าป่าต้นน้ำจะเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ไม่อนุญาตให้ประชาชนเป็นเจ้าของได้ แต่ที่ราบสูงและภูเขาที่เป็นพื้นที่ของเอกชนซึ่งมีบริเวณติดต่อกับป่าธรรมชาติก็ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์และเกี่ยวพันกับพื้นที่ต้นน้ำ ส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรกรรม โดยดึงน้ำไปใช้รดพืชพรรณและเป็นที่ระบายน้ำในสวนออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง จึงควรงดใช้สารเคมี และควรมีการจัดทางระบายน้ำให้น้ำจากแหล่งเกษตรกรรมได้รับการบำบัด ก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งด้วย  นอกจากนี้ ควรอนุรักษ์ต้นไม้บริเวณรอบ ๆ โดยเฉพาะริมน้ำ ทั้งไม้ยืนต้นและไม้ชายน้ำ เนื่องจากมีส่วนในการยึดเกาะตลิ่งและดูดซับน้ำ จึงช่วยชะลอความรุนแรงของน้ำและลดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ราบลุ่มได้ รวมถึงไม่ควรสร้างศาลาหรือสิ่งก่อสร้างที่ขวางทางน้ำ ซึ่งอาจก่อปัญหาเรื่องทิศทางการไหลและความแรงของน้ำในบริเวณดังกล่าว ส่วนการทำฝายชะลอน้ำก็ควรศึกษาความสมดุลของแหล่งน้ำว่ามีความจำเป็นหรือไม่ เพราะในพื้นที่บางแห่งมีน้ำน้อยในช่วงฤดูแล้ง การสร้างฝายมากเกินไปจะเป็นการขังน้ำให้เน่าเสีย และทำให้น้ำไหลไปยังพื้นที่ด้านล่างได้น้อยกว่าปกติ สำหรับวัสดุที่ใช้ก่อสร้างฝายควรเป็นหิน หรือไม้ไผ่ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าการสร้างฝายคอนกรีตถาวร ซึ่งอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของน้ำตามธรรมชาติได้ 2.กลางน้ำ ใกล้ชุมชน พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มที่มีคนอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก จึงได้รับผลกระทบจากน้ำได้ง่าย ควรสังเกตปริมาณน้ำในที่ดินและบริเวณรอบ […]

รวม 12 ปัญหาสวน ที่พบบ่อยในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน

สวนหรือพื้นที่สีเขียวในบ้าน นอกจากจะช่วยให้ความร่มรื่น ช่วยให้บ้านเย็นขึ้นได้แล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่ใช้พักผ่อนหย่อนใจและใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันกับครอบครัวได้อีกด้วย แต่หลายบ้านก็มักจะประสบกับ ปัญหาสวน ไม่สวย โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนและช่วงหน้าร้อนที่สภาพอากาศและอุณหภูมิ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของพืชพรรณเปลี่ยนแปลงอย่างมากจนเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อต้นไม้ตามมาได้ เช่น ใบไม้ไม่เขียว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล หญ้าและวัชพืชขึ้นรกจนเป็นป่า ดังนั้น เจ้าของบ้านจึงต้องเตรียมรับมือและหมั่นสังเกตดูแลอยู่เสมอ เพื่อให้สวนสวยทุกฤดูกาล ปัญหาสวนหน้าร้อนช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ซึ่งจะมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 35 องศาเซลเซียสขึ้นไป อีกทั้งยังร้อนอบอ้าว จนส่งผลให้ทั้งเราและบ้าน รวมถึงสวนต้องเผชิญกับแสงแดดตลอดทั้งวัน ซึ่งถึงแม้ว่าแสงแดดจะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี แต่แสงแดดที่มากจนเกินไปก็ทำให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ในสวนตามมาได้เช่นเดียวกัน • ต้นไม้ได้รับน้ำไม่เพียงพอเนื่องจากในช่วงหน้าร้อนที่มีสภาพอากาศร้อนจัด ต้นไม้จะเกิดการคายน้ำเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้นไม้มีโอกาสเหี่ยวเฉาหรือขาดน้ำได้ง่าย จึงแนะนำให้หมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่มากเป็นเท่าตัวของช่วงเวลาปกติ โดยเฉพาะสนามหญ้าที่ต้องมั่นใจได้ว่าพื้นดินชุ่มจริง ๆ ซึ่งเวลาที่เหมาะสมในการรดน้ำต้นไม้คือ ช่วงเวลาไม่เกิน 6-9 โมงเช้า ที่อากาศกำลังดีและเป็นเวลาที่ต้นไม้เริ่มสังเคราะห์แสง หรือช่วงเวลาประมาณ 5 โมง ไม่มีแสงแดดแรงจัดจนเกินไป เพราะหากรดน้ำในช่วงเวลาประมาณหลังเที่ยงเป็นต้นไป แทนที่ต้นไม้จะสามารถดูดน้ำจากใต้ดินไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้นได้มากขึ้น น้ำที่รดไปอาจไม่ได้ถูกต้นไม้นำไปใช้ นอกจากนี้ การรดน้ำควรรดบริเวณโคนไปจนถึงราก และหลีกเลี่ยงบริเวณดอกและใบ เพราะจะทำให้ดอกร่วง และยิ่งถ้าน้ำไม่ระเหยบวกกับแสงแดดที่ส่องมาอาจทำให้เกิดอาการใบเน่า หรือใบไหม้ตามมาได้ […]

สวน 15 นาที

ส่องไอเดีย สวน 15 นาที ทั่วกรุงเทพ แก้ปัญหา มุมอับ รกร้าง แหล่งมั่วสุม

สวน 15 นาที โครงการนำร่องพัฒนาพื้นที่สาธารณะเชื่อมกิจกรรมของชุมชน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ระบบรดน้ำอัตโนมัติ พร้อมขั้นตอนการติดตั้ง และอ่านค่าแสดงผล

ฤดูร้อนในทุกๆปี ปัญหาการรดน้ำพืชเกิดปัญหาแทบจะทุกปี ไปรู้จัก ระบบรดน้ำอัตโนมัติ พร้อมทั้งขั้นตอนการติดตั้งและตัวอย่างการอ่านค่าแสดงผลต่างๆ

การจัดสวน สำหรับสาวโสด ที่อยู่ในโหมดสุดสตรองค์

การจัดสวน เมื่อสถิติของผู้หญิงวัยทำงานเลือกที่จะครองตัวเป็นโสดมากกว่าการแต่งงานสร้างครอบครัว และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

สวนครัวบนดาดฟ้า อาคารพาณิชย์เก่าที่มีพืชผักกว่า 100 ชนิด

Little Girl Garden สวนครัวบนดาดฟ้า อาคารพาณิชย์เก่า 4 ชั้นครึ่ง ขนาด 4 x 7 เมตร กับนานาผักสวนครัวที่มาจากการทดลองปลูกผัก

อุปกรณ์รดน้ำในสวน ผู้ช่วยดูแลต้นไม้ที่ควรมีติดบ้าน

หากเราจะกล่าวถึงปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ของการดูแลต้นไม้ แน่นอนว่า “น้ำ”คือสิ่งที่เราจะพูดถึงมากกว่าสิ่งใด

สวนป่า ร่มรื่น ดูแลง่าย บนเนื้อที่ 245 ตารางเมตร

สวนป่า หลังส่งต่อกิจการให้ผู้อื่นดูแล ซึ่งพอดีกับช่วงวัยเกษียณ คุณเสี่ยว - ทินกร เทิดวิกรานต์ ตั้งใจจะออกท่องเที่ยวพักผ่อน แต่แผนการต้องมาหยุดชะงัก เพราะการแพร่ระบาดของโควิด – 19

สวนป่ากลางเมืองที่เต็มไปด้วยพรรณไม้ พร้อมให้ความรู้เรื่องต้นไม้

บ้านและสวน จึงจะขอพาคุณมารู้จักกับ แพลนท์เนอรี กรีน คาเฟ่ (Plantnery Green Café) คาเฟ่ที่มาในคอนเซ็ปต์ สวนป่าในเมือง

ปลูกผักข้างบ้าน

ออกแบบสวนครัว บนพื้นที่เล็กแคบ ให้ใช้งานเอนกประสงค์

ผู้มีพื้นที่จำกัด แต่อยากปลูกผักข้างบ้าน เพื่อสร้างผลผลิตที่ปลอดภัยและสร้างแหล่งอาหารด้วยตนเอง จะบริหารจัดการอย่างไรให้ใช้งานได้เอนกประสงค์

รู้จัก ตัวห้ำตัวเบียน แมลงที่มีประโยชน์

แมลงที่มีประโยชน์ จะคอยกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร บางชนิดก็วางไข่เพื่อขยายพันธุ์ ซึ่งเราเรียกแมลงพวกนี้ว่า “ตัวห้ำ ตัวเบียน”