สายไฟ
2 เทคนิคการต่อสายไฟ (สายอ่อน) แบบผูกเงื่อน
สิ่งสำคัญในการ ต่อสายไฟ คือต้องแน่นและแข็งแรง เพื่อไม่ให้สายไฟหลุดง่าย มีเคล็ดไม่ลับการต่อสายไฟสายอ่อนหรือสายฝอยแบบดึงไม่หลุด สามารถใช้งานได้นานและปลอดภัย ที่ใครๆ ก็ทำเองได้ มาฝากกัน ต่อสายไฟ วิธีที่ 1 1. ใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายออกข้างละประมาณ 3 เซนติเมตร จากนั้นบิดหรือหมุนสายทองแดงให้เป็นเกลียว 2. ใช้มือดัดหรืองอสายไฟให้เป็นเหมือนห่วงหรือรูปเกือกม้า โดยให้เอียงหรือทำมุมประมาณ 45 องศา ทั้งสองเส้น จากนั้นนำสายไฟมาคล้องเข้าด้วยกัน 3. ให้ปลายสายไฟรอดผ่านห่วงของแต่ละเส้น (คล้ายๆกับการผูกเงื่อนพิรอด) แล้วใช้มือดึงปลายสายไฟเข้าหากัน 4. จากนั้นออกแรงดึงสายไฟทั้งสองข้างแบบสุดกำลัง แล้วพันเก็บสายส่วนเกินให้เรียบร้อยอีกครั้ง เราก็จะได้สายไฟที่ต่อเสร็จแล้ว อย่างแน่นหนาและไม่หลุดง่าย วิธีที่ 2 1. ใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายออกข้างละประมาณ 3 เซนติเมตร จากนั้นนำสายไฟ (สีเทา) มาพาดกับสายไฟอีกเส้นหนึ่งคล้ายกับเครื่องหมายคูณ (X) ในลักษณะขวาทับซ้าย โดยให้มีพื้นที่ว่างเหลือเล็กน้อยประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วพันในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ส่วนสายไฟอีกเส้นหนึ่งให้พันในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา 2. จากนั้นให้พันสายทองแดงเอียงหรือชิดมาทางด้านขวา แล้วพันไปเรื่อยๆจนสุดสาย จากนั้นก็ให้พันสายทองแดงย้อนกลับมาอีกด้านหนึ่งเช่นเดียวกัน […]
5 ขั้นตอนตรวจระบบไฟฟ้าด้วยตัวเอง
ระบบไฟฟ้าในบ้าน ควรหมั่นตรวจสอบให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเรา มาดูวิธีตรวจสอบระบบไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยตัวเองกัน 1. เริ่มด้วยการทดสอบมิเตอร์ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าในบ้าน เริ่มตรวจโดยปิดสวิตช์ไฟทุกจุด รวมทั้งถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ออกให้หมด จากนั้นไปดูมิเตอร์ที่หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กยังหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่ว ให้ลองตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องตัดไฟรั่วว่ายังทำงานดีอยู่หรือไม่ ด้วยการกดปุ่มทดสอบหรือ Test (ควรกดปุ่มทดสอบนี้เป็นประจำทุก 1 – 3 เดือน) ถ้ายังใช้ได้ดี สวิตช์หรือคันโยกจะตกลงมาทันทีเพื่อตัดกระแสไฟฟ้า และรวมถึงเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ 2. ตรวจสอบเมนสวิตช์ ดูว่ามีมดหรือแมลงเข้าไปทำรังในตู้หรือไม่ เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ลูกย่อยยังสามารถใช้ปลดวงจร ระบบไฟฟ้าในบ้าน ได้หรือไม่ ป้องกันไฟรั่วและไฟดูดได้ดีอยู่หรือไม่ หากมีอุปกรณ์ชำรุดหรือเสียหายควรหามาเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย 3. ตรวจสอบสายไฟฟ้าว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายบ้าง โดยเฉพาะสายไฟที่ซ่อนอยู่บนฝ้าเพดานอาจเปื่อยกรอบเนื่องจากผ่านการใช้งานมานาน หรือถูกหนูกัดแทะฉนวนจนสายขาดได้ (ในกรณีที่ไม่ได้หุ้มสายไว้ด้วยท่อร้อยสายไฟ) ถ้าพบก็ต้องเปลี่ยนใหม่โดยด่วน 4. ตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้า ดูว่าหลวม มีรอยแตกร้าว หรือรอยไหม้บ้างหรือไม่ ถ้าเต้ารับหลวมก็ขันสกรูให้แน่นดังเดิม แต่ถ้าแตกร้าวหรือพบรอยไหม้ก็ควรเปลี่ยนใหม่ และควรทดสอบเต้ารับทุกจุดว่ามีไฟหรือไม่ โดยใช้ไขควงวัดไฟทดสอบ 5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มักมีการจับต้องขณะใช้งาน เช่น เครื่องซักผ้า โดยตรวจว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ด้วยการใช้ไขควงวัดไฟแตะที่ตัวเครื่องส่วนที่เป็นโลหะ […]
ขาของตัวเสียบปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐาน กลม หรือ แบน?
แม้มาตรฐานนี้จะถูกประกาศใช้มานานมากกว่าสิบปีแล้ว แต่ยังคงมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปลั๊กแบบหัวแบนขายกันอยู่จนทุกวันนี้ สาเหตุมาจากสองสามเหตุผล
ชนิดของสายไฟ แต่ละสีแตกต่างกันอย่างไร
สายไฟในบ้านมีอายุการใช้งานยาวนับ 10 ปีก็จริง แต่เมื่อถึงเวลาที่สายไฟเสื่อมสภาพ ก็ต้องเปลี่ยนใหม่จึงควรรู้จัก ชนิดของสายไฟ สีของสายไฟ ภายในบ้าน
อัพเดทราคาสายไฟ เปลี่ยนซ่อมซื้อใหม่เลือกใช้ให้ถูก
ราคาสายไฟ สายไฟที่ใช้ภายในบ้านนั้นใช้กับไฟแรงดันต่ำคือ 220 โวลต์ มีให้เลือกใช้ ทั้งสายไฟเดี่ยว สายไฟแกนคู่ ฯลฯ ทำจากลวดทองแดง หุ้มฉนวนพีวีซีใน แต่ละเส้นแล้วนำมาติดรวมกันด้วยฉนวนภายนอกอีกทีหนึ่ง ราคาสายไฟ และการเลือกสายไฟก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ใช้งานนั่นเอง การดูว่าสายไฟมีขนาดถูกต้องหรือไม่ให้ดูที่เปลือกของสายไฟ ปกติจะระบุ มาตรฐานการผลิต ขนาดสาย อุณหภูมิการใช้งานและแรงดันไฟฟ้า สำหรับชนิดของสายอาจระบุเป็นชื่อเรียก อาทิ VAF หรือระบุเป็นตารางของมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น TIS 11-2531 Table 2 ซึ่งหมายถึงสายพีวีซีคู่ชนิดแบน และสายพีวีซีคู่นี้จะมีสองสี คือ สีดำ ใช้เดินเป็นสายเส้นไฟ และสีเทา ใช้เป็น สายนิวทรัล เพื่อให้เห็นภาพกันชัดๆ เราตามไปดูพร้อมๆ กันเลยว่า สายไฟ รวมถึงสายโทรศัพท์ที่นิยมใช้ในบ้านนั้นมีหน้าตาอย่างไร วันหน้าจะได้ซื้อหามา ใช้งานไม่ผิดฝาผิดตัว แถมยังปลอดภัยด้วยนะ 1 สายไฟ VAF-GRD ขนาด 2×2.5/1.5 ตารางมิลลิเมตร ทนแรงดันได้300 โวลต์ เป็นสายชนิดแบนที่มีสายดิน (สีเขียว) รวมอยู่ในเส้นเดียวกัน […]
10 เรื่องไฟฟ้าในบ้านที่คุณต้องรู้
ในชีวิตประจำวันของคนเราส่วนใหญ่ต้องใช้ ไฟฟ้า เป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีคนจำนวนไม่มากนักที่จะให้ความสนใจเรื่องไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ภายในบ้าน