สิ่งศักดิ์สิทธิ์ – บ้านและสวน

ศาลพระภูมิ-ศาลเจ้าที่ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ศาลพระภูมิ-ศาลเจ้าที่ สองชื่อนี้ต่างกันอย่างไร และใครเป็นคนอยู่อาศัยในบ้านเล็กๆ เหล่านี้กันแน่? ศาลพระภูมิ-ศาลเจ้าที่ เป็นคำที่เราส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่หลายๆ คนอาจยังไม่เคยทราบว่า “ศาลพระภูมิ” และ “ศาลเจ้าที่” มีความแตกต่างกันอย่างไร มีที่มาจากไหน และใครเป็นผู้อาศัยอยู่ในบ้านหลังเล็กๆ เหล่านั้นกันแน่ วันนี้ บ้านและสวน จะมาเล่าให้ฟัง ศาลพระภูมิ-ศาลเจ้าที่ ต่างกันอย่างไร บ้านโดยทั่วไปนิยมตั้งทั้งศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่คู่กัน โดยให้ศาลพระภูมิอยู่ทางซ้ายมือ อาจเรียกรวมๆ ได้ว่า ศาลพระภูมิเจ้าที่ หรืออาจตั้งศาลเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างศาลทั้งสองประเภทคือ ศาลพระภูมิมักจะมีลักษณะเป็นวิหาร ตั้งอยู่บนฐานที่เป็นเสาเพียงต้นเดียวซึ่งยกระดับอยู่สูงว่าศาลเจ้าที่ ส่วนศาลเจ้าที่มักจะมีลักษณะเป็นเรือนบ้านแบบไทย ตั้งอยู่บนฐานที่มีเสา 4 ถึง 6 ต้น อยู่ในระดับต่ำกว่าศาลพระภูมิ ทำไมศาลพระภูมิต้องตั้งบนเสา 1 ต้น? ศาลพระภูมิ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่สิงสถิตของ “พระภูมิ” เทพารักษ์ผู้ปกปักรักษาพื้นที่และบ้านเรือน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผสมปนเปกันระหว่างความเชื่อดั้งเดิมของคนไทย กับศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดูที่เข้ามาในภายหลัง ความเชื่อเรื่องการตั้งศาลพระภูมิบนเสาต้นเดียวนั้น อาจมีที่มาจากหลายๆ แห่ง แต่มีตำนานหนึ่งที่กล่าวถึง ท้าวทศราช เจ้าเมืองพาลีผู้กดขี่ข่มเหงราษฎร จนถูกพระนารายณ์ลงโทษให้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก เมื่อสำนึกผิดแล้ว พระนารายณ์จึงให้อภัยและให้ท้าวทศราชทำหน้าที่พระภูมิ […]

ตี่จูเอี้ย

ตี่จู่เอี้ยยุคใหม่…ไหว้เจ้าแบบโมเดิร์น

ใครเป็นลูกหลานชาวจีนคงจะคุ้นชินกับ “ตี่จู่เอี้ย” หรือศาลเจ้าที่ในบ้านเป็นอย่างดี เพราะถือเป็นของสำคัญที่จำเป็นต้องมีไว้คู่บ้านของครอบครัวชาวจีนเสมอ ตี่จู่เอี้ยแบบดั้งเดิมจะมีลักษณะเหมือนศาลเจ้าขนาดจำลองและทาสีแดง ซึ่งคงจะดูเข้ากันดีกับบ้านของชาวจีนในสมัยก่อน แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นมาถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งบ้านที่อยู่อาศัยของเราได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตก ตี่จู่เอี้ยแบบเดิมจึงดูค่อนข้างแปลกแยก และกลายเป็นเรื่องหนักอกของชาวจีนรุ่นใหม่ที่รักการแต่งบ้านสไตล์โมเดิร์น ตี่จู่เอี้ย บ้านและสวน ขอเสนอการออกแบบ “ตี่จู่เอี้ย” ให้เข้ากับบ้านโมเดิร์น สรุปเป็นไอเดียง่ายๆ เน้นความสวยงามกลมกลืน สะดวกใช้ และไม่ผิดกฎ มาฝากกัน ไอเดียออกแบบ “ตี่จู่เอี้ย” ให้เข้ากับบ้านสไตล์โมเดิร์น ไอเดียที่ 1 จัดองค์ประกอบให้สวยงาม มีข้อกำหนดว่าผนังรอบๆตี่จู่เอี้ยนั้นจะต้องโล่งและไม่รกรุงรัง แต่ในทางปฏิบัติอาจจะเพิ่มเติมการตกแต่งบางส่วนเข้าไป เพื่อให้เกิดองค์ประกอบที่ดูสวยงามและช่วยเสริมสร้างความน่าเคารพของตัวศาลได้มากขึ้น เช่น เหนือศาลอาจติดกรอบรูปซึ่งเป็นรูปเทพเจ้า หรือคำอวยพรเขียนด้วยตัวหนังสือจีนสวยๆ ไอเดียที่ 2 ประโยชน์สองต่อ ออกแบบให้ก่อยื่นออกจากผนังจะมีพื้นที่ด้านบนของตัวศาลที่สามารถวางของได้ แต่ของที่จะวางควรจะเป็นรูปเคารพหรือรูปปั้นเทพเจ้าที่เป็นสิริมงคล เช่น ฮก ลก ซิ่ว ถือว่าใช้ประโยชน์ได้ถึงสองต่อ ไอเดียที่ 3 กลมกลืนกับผนัง การเลือกวัสดุและสีสันของศาลนั้น ควรเลือกจากความเหมาะสม โดยอาจคำนึงถึงสีที่ถูกโฉลกและสีที่เข้ากับการตกแต่ง การใช้สีและวัสดุของศาลให้เข้าหรือเหมือนกับผนัง จะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องกลมกลืน ดูเป็นหนึ่งเดียวกัน ไอเดียที่ 4 ฝุ่นไม่เข้า กฎข้อหนึ่งของตี่จู่เอี้ย […]