สิ่งแวดล้อม
ธรรมชาติโอชา บรรยากาศเขียวชอุ่มร่มรื่นบนเนื้อที่ 6 ไร่
ความสะพรั่งสดชื่นด้วยสวนป่าที่รายรอบ ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังเดินชมสวนพฤกษศาสตร์ ทำให้ ธรรมชาติโอชา ร้านอาหารดังย่านบางกรวย
คืนสมดุลให้โลกและชีวิตด้วย นวัตกรรมความยั่งยืน
เมื่อแนวทางการตั้งรับเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) แบบเดิมอาจไม่เพียงพอแล้ว จึงควรหาทางการแก้ปัญหาเชิงรุกที่เห็นผลเร็วในระยะสั้นทำควบคู่กันไปด้วย นวัตกรรมความยั่งยืน บ้านและสวน จึงชวนมาคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน รองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center; RISC) ทั้งยังเป็นสถาปนิก และหัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้ทุกคนเห็นแนวทางใหม่ๆที่จะแก้ปัญหาด้านความยั่งยืนด้วย นวัตกรรมความยั่งยืน ในอนาคต ซึ่งมีทั้งเรื่องใหญ่ไกลตัวที่ควรรู้ไว้ และเรื่องเล็กใกล้ตัวที่ทำแล้วได้ทั้งประโยชน์ ประหยัดเงิน และมีความสุขด้วย รู้จักความยั่งยืน (Sustainability) แบบเข้าใจง่ายฉบับอาจารย์สิงห์ “ความยั่งยืน” มีหลายคำนิยามมาก สรุปเป็นใจความง่ายๆ คือ “สิ่งต่างๆที่เราทำนั้นต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือส่งผลกระทบน้อยแบบที่ยังกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ และสามารถส่งต่อสู่รุ่นต่อไปในอนาคตได้ ด้วยคุณภาพที่เทียบเท่ากับสิ่งที่เราได้ในปัจจุบัน” เพื่อให้ลูกหลานเรายังดำรงอยู่บนโลกด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีต่อๆไป และเราควรสร้างวิถียั่งยืนของตัวเอง ถ้ามองความยั่งยืนในมุมกว้างขึ้นว่าคืออะไร ในอดีตนิยามว่าประกอบด้วย 3 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อมดี เศรษฐกิจเติบโตได้ และเป็นสังคมที่ทำให้คนมีความสุข ต่อมามี SDGs 17 […]
รักษ์โลก ไปกับ MADMATTER STUDIO แบรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่เติบโตไปกับความยั่งยืน
คอลเล็กชั่น fall winter 2022 ที่ Madmatter ได้ปล่อยออกมาโดยต้องการให้เป็น
คอลเลคชั่น Fall Winter 2022 ที่ Madmatter Studio ได้ปล่อยออกมา โดยต้องการให้เป็นคอลชั่นที่จริงจังมากขึ้น ซึ่งมีจุดเด่นคือเป็นการร่วมกันกับแบรนด์ knit circle เพื่อทดลองด้วยการนำวัสดุที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาให้เป็น full-line fashion แบบครบจบทั้งตัวในคอลเลคชั่นเดียว จนเกิดเป็นไอเท็มใหม่ ๆ อย่างเสื้อไหมพรม เสื้อโปโล และเสื้อยืดซึ่งเป็นไอเท็มที่สามารถใส่ได้ทุกวัน ทุกโอกาส แต่อะไรคือแก่นความคิดที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาแบรนด์ครั้งนี้ จนได้มาถึงจุดสมดุลระหว่างธุรกิจแฟชั่น และความยั่งยืนใส่ใจสิ่งแวดล้อม ก่อเกิดเป็นผลงานที่ดีไซน์มาแล้วใช้ได้จริง นี่คือบทสัมภาษณ์ผู้อยู่เบื้องหลัง Madmatter Studio ผู้สนใจธุรกิจแฟชั่นดีไซน์บนความยั่งยืน
สนทนากับ รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร ถึงเรื่อง ‘อาคารเขียว’ จากเทรนด์สู่วิถีชีวิตยุคใหม่
อาคารเขียว ไม่ใช่ เทรนด์หรือแนวโน้มความนิยมด้านการออกแบบมากมาย ที่มาแล้วก็ผ่านไปแต่คือแนวคิด ‘เทคโนโลยีอาคาร’ ที่มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน รวมถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแรงผลักดันให้เราทุกคนต้องหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้อย่างจริงจัง room ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการผู้จัดการบริษัท แอฟริคัส จำกัด ( Africvs )มาร่วมพูดคุยให้ความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางอันเหมาะสมในการประยุกต์เรื่องอาคารเขียวให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน “ความสุขในการทำงานของเราคือการอยู่แวดล้อมด้วยคนที่มีความเข้าใจในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ก่อนคิดว่าต้องทำอะไรยิ่งใหญ่แบบก้าวกระโดด แต่ถึงตอนนี้เรารู้ว่าต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถึงจะช่วยเปลี่ยนโลกได้ ถ้าเราใจร้อน ไม่มีความสุข เราทำงานตรงนี้ไม่ได้” จุดเริ่มต้นความสนใจใน ‘อาคารเขียว’ “จริง ๆ เรื่องของการประหยัดพลังงานมีมานานแล้ว สมัยผมจบปริญญาตรีแล้วมาทำงานสถาปัตย์ฯ ตอนนั้นเรารู้สึกว่าทำไมเราถึงไม่มีการเรียนการสอนเรื่องพวกนี้เลย แต่ว่าในระดับการศึกษาเดียวกันในต่างประเทศ เขามีการพูดถึงเรื่องการประหยัดพลังงานไปไกลแล้ว เลยตัดสินใจไปเรียนต่อที่อเมริกาทางด้านเทคโนโลยีอาคาร แล้วรู้สึกว่าเปิดมุมมองใหม่ให้เรามาก หลังจากเรียนจบทางด้านนั้นมา ผมก็เรียนต่อปริญญาเอกด้านอาคารสิ่งแวดล้อม ที่อเมริกาหรือในยุโรปเขาศึกษากันเรื่องของอาคารเขียว ซึ่งมาจากเรื่องของการประหยัดพลังงาน เรื่อยมาจนถึงเรื่องการประหยัดวัสดุ และการรักษาสภาพแวดล้อม ระหว่างนั้นก็ได้มีโอกาสทำงานเกี่ยวกับอาคารเขียวตอนอยู่ที่อเมริกาเพราะเรียนปริญญาเอกอยู่ที่นั่น 5 ปี มีเรื่องของการเข้าไปตรวจวัดประสิทธิภาพ การประเมินอาคาร แล้วมีระบบเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวพ่วงเข้ามา พอเรียนจบผมก็กลับมาเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ ประจวบเหมาะกับว่ามีการประกวดแบบอาคารของปตท. ซึ่งเขาเขียนไว้ว่าต้องเป็นอาคารเขียว ตอนนั้นสถาปนิกบ้านเรายังไม่ค่อยรู้ว่ามันคืออะไร […]
5 ปรากฏการณ์ ECO ที่กลายเป็น New Normal ไปแล้วในปัจจุบัน
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หนึ่งในกระแสที่มาแรงมาก ๆ ก็คือกระแสของความ ECO จากการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพปากท้องของผู้คนที่ต้องป่วยไข้กันมากขึ้นทุกวัน รวมทั้งปัญหาแหล่งอาหารของโลกที่นับวันจะมีตัวเลือกน้อยลงเรื่อย ๆ นี่จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าวิถีทางของความ ECO นั้น คือคำตอบของอนาคตอย่างชัดเจน และวันนี้บ้านและสวนจะมาเล่าให้ฟังถึงปรากฏการณ์ ECO ที่เกิดขึ้นใกล้ตัวเรากว่าที่เคย อ่าน : ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิถีพอเพียง 1.Sharing Economy เป็นลักษณะที่เข้ากันได้ดีกับไลฟ์สไตล์ของผู้คนในปัจจุบัน กล่าวคือเป็นแนวคิดสังคมเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน เน้นการเช่าแทนการซื้อ ซึ่งเกิดประสิทธิผลขึ้นได้จากความสามารถทางด้านเทคโนโลยี และข้อมูลดิจิทัลในโลกออนไลน์ปัจจุบัน ที่ทำให้การจับคู่ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยังสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่สามารถเลือกและเข้าถึงสินค้าเเละบริการต่าง ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อมาเป็นเจ้าของ เช่น รถยนต์ ที่อยู่อาศัย จักรยาน หรือเครื่องใช้ภายในบ้านขนาดใหญ่ต่าง ๆ ส่งผลให้โมเดลธุรกิจประเภทนี้ที่มีความเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์กลายเป็นหนึ่งธุรกิจดาวรุ่ง มีผู้ประกอบการหลายรายหันมาเปิดบริการจำนวนมาก จนนับได้ว่ามีผู้ประกอบอยู่ในธุรกิจรูปแบบนี้เป็นหลักร้อยทีเดียว กลายเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจว่า เหตุใดธุรกิจเหล่านี้จึงยังคงมีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ดังที่เราจะเห็นได้จาก Co-Working Space ที่กระจายตัวอยู่ในหลากหลายทำเล หรือแม้แต่ Co-Living Space ที่ผู้คนเลือกจะแบ่งปันพื้นที่อยู่อาศัยร่วมกัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น พื้นที่ครัว หรือพื้นที่ซักผ้า คงเหลือไว้แต่พื้นที่ส่วนตัวอย่าง […]