- Page 7 of 16

บ็อกเซอร์ (Boxer) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์บ็อกเซอร์ มีการขนานนามว่าเป็นสุนัขปีเตอร์แพน (Perter Pan) เพราะเป็นสุนัขที่ไม่รู้จักเหนื่อย และเป็นมิตรกับทุกคน ซึ่งมาจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ 3 พันธุ์ คือ 1.สุนัขพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ (Bullenbeisser) เป็นสุนัขนักล่าที่สูญพันธุ์ไปแล้ว 2.สุนัขไม่ทราบสายพันธุ์ 3.อิงลิช บูลด็อก (English bulldog) ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 มีชาวเยอรมัน Georg Alt ได้นำสุนัขเพศเมียพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ผสมพันธุ์กับสุนัขที่ไม่ทราบสายพันธุ์ และได้ออกลูกสุนัขเพศผู้ออกมาเป็นสุนัขแคระ สีครีมปนขาว (Cream with White) ชื่อ Lechner’s Box ซึ่งสุนัขชื่อ Lechner’s Box ตัวนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของสายพันธุ์บ็อกเซอร์ที่ได้รู้จักกันทุกวันนี้ โดยสุนัขชื่อ Lechner’s Box ได้ผสมพันธุ์กับสุนัขเลือดชิด (Inbreed) คือสุนัขที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันผสมพันธุ์กัน และได้ออกลูกสุนัขเพศเมียออกมา ชื่อ Atl Shecken ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสุนัขพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ หรือสุนัขพันธุ์ Bier boxer และสุนัขชื่อ Atl Shecken […]

เกรฮาวด์ (Greyhounds) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ เกรฮาวด์ (Greyhounds) ถือเป็นสุนัขสายพันธุ์โบราณ ที่มีต้นกำเนิดมาจากตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ จากนั้นเกรฮาวด์ได้ถูกนำเข้ามายังทวีปยุโรปในช่วงยุคมืด เพื่อชื่นชมความสามารถในการล่าสัตว์ของสายพันธุ์นี้ และจากการที่เกรย์ฮาวด์เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่สามารถวิ่งได้เร็วมากกว่าสุนัขล่าสัตว์อีกหลากหลายสายพันธุ์ ทำให้สุนัขพันธุ์เกรฮาวน์ได้รับความนิยมมากขึ้น และเกิดเป็นกีฬาแข่งขันความเร็วของสุนัขเกรฮาวด์ในประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นนักสำรวจเรือชาวสเปน และอังกฤษได้นำสุนัขพันธุ์เกรฮาวน์เข้ามายังประเทศอเมริกา และได้กลายเป็นสุนัขพันธุ์แรก ๆ ที่ได้เข้าแข่งขันประกวดสุนัข และได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในสมาคม American Kennel Club ในปี 1885 ลักษณะทางกายภาพ โดยปกติสุนัขเพศผู้ มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 71-76 เซนติเมตร และหนักประมาณ 27-40 กิโลกรัม ส่วนในเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่ามีส่วนสูงเฉลี่ยประมาณ 68-71 เซนติเมตร และมีน้ำหนักในช่วง 27-34 กิโลกรัม เกรฮาวด์ เป็นสุนัขที่มีขนค่อนข้างสั้น ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา โดยสุนัขเกรฮาวน์มีสีทั้งหมดประมาณ 30 แบบ ซึ่งเกิดจากความหลากหลายของสีขาว, สีดำด่าง, สีเหลืองทอง, สีน้ำตาลแดงและเทา โดยแต่ละสีสามารถปรากฏแบบเดี่ยว ๆ หรือผสมรวมกัน อายุขัย เนื่องจากสุนัขเกรฮาวน์เป็นสุนัขขนาดใหญ่ ทำให้มีอายุขัยสั้นกว่าสุนัขพันธุ์อื่น ซึ่งโดยปกติมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 10-12 ปี […]

โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง (Hip Dysplasia)

โครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การเดิน การรับน้ำหนักตัวของคนและสัตว์ จำเป็นที่จะต้องมีกระดูก และข้อต่อในจุดต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการหมุน การเหวี่ยง ซึ่งการยึดติดกันของกระดูกแต่ละชิ้น จะทำให้ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย ข้อสะโพกเป็นข้อต่อที่จะยึดระหว่างแนวกระดูกเชิงกราน กับกระดูกท่อนขาหลังในสัตว์ ซึ่งข้อต่อนี้เป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวอยู่ 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของร่างกาย จึงเป็นข้อต่อที่จำเป็นมากในการยืน การเคลื่อนไหว หากเกิดความเจ็บปวดที่ข้อต่อ หรือ โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง มักทำให้สัตว์ไม่อยากลุกยืน หรือเดิน ที่น้อยลงกว่าปกติ ลักษณะทางกายวิภาคของข้อต่อสะโพกจะประกอบด้วย หัวกระดูกที่มีลักษณะกลมมน ( Femoral Head ) สวมเข้ากับกระดูกเชิงกราน ที่มีลักษณะเป็น เบ้า โค้ง ( Acetabulum ) ซึ่งจะรับพอดี เข้ารูปกับหัวกระดูก โดยจะมีเยื่อหุ้มข้อ ปกคลุมระหว่างหัวกระดูก และเบ้ากระดูก ซึ่งจะทำให้น้ำที่เป็นเหมือนสารหล่อลื่นเหนียว ๆ ไม่หลุด รั่ว ออกไปที่อื่น น้ำหล่อลื่นนี้จะทำให้กระดูกสองส่วนนี้ไม่มีการเสียดสี ชนกัน ลดความร้อนที่เกิดระหว่างการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ทำให้ผิวกระดูกทั้งสองส่วนนี้ไม่เกิดความเสียหายจากการสัมผัสกัน หรือจากความร้อนที่เกิดขึ้น อีกทั้งระว่างกระดูกสองชิ้นนี้ ยังมีเอ็นที่ช่วยยึดเข้าด้วยกัน โดยเส้นเอ็นนี้จะมีลักษณะที่เหนียว […]

โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease)

โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง หรือ Legg-Calve-Perthes Disease, Perthes disease หรือ coxa plana เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาขาดเลือดไปเลี้ยงในตำแหน่งของหัวกระดูก (femur) ทำให้บริเวณที่เกิดมีอาการกระดูกตาย ซึ่งหัวของกระดูก femur โดยปกติจะสวมเข้าไปในเบ้า (Acetabulum) ของกระดูก pelvis ซึ่งเป็นบริเวณของข้อสะโพก (Hip joint) มีลักษณะของข้อเป็น ball and socket ถ้าหากหัวกระดูก femur มีการพัฒนาของเนื้อตายหรือมีเลือดมาเลี้ยงน้อยลง จะทำให้การทำงานของข้อผิดปกติไป และอาจทำให้เกิดข้ออักเสบตามมา กระดูกที่ตายส่งผลให้เกิดการสูญเสียความแข็งแรง และการยุบตัวของหัวกระดูก femur ได้ ซึ่งชื่อโรค เป็นการตั้งชื่อ โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease) โดยการรวมนายแพทย์ 3 คนที่ค้นพบโรคนี้ขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันใน ค.ศ. 1910 สาเหตุการเกิดโรค สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีการศึกษาถึงสาเหตุอาจจะเกิดจากมีการรบกวนการไหลเวียนของเลือดมายังส่วนของสะโพกโดยตรง หรือมีการขัดขวางการไหลเวียนเลือดจากการอุดตันของก้อนเลือดที่แข็งตัวภายในหลอดเลือดเอง  ทำให้กระดูกมีความอ่อนแอ และเสื่อมสภาพลง ซึ่งอาจนำไปสู่การหักของกระดูกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปจะมีการพัฒนาของเยื่อไฟบรัส (Fibrous tissue) […]

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (dilated cardiomyopathy : DCM)

โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ หรือ dilated cardiomyopathy (DCM) เป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข และถือเป็นโรคหัวใจอันดับที่สองที่พบได้มากรองจากโรคลิ้นหัวใจเสื่อม หรือ degenerative mitral valve disease (DMVD) โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ เป็นโรคที่พบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น บ๊อกเซอร์ โดเบอร์แมน เกรทเดน และอาจพบได้บ้างในสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง เช่น ค๊อกเกอร์ สเเปเนียล โดยโรคนี้จะพบได้มากในสุนัขอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรค อาจเกิดจากความผิดปกติของยีน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติโดยตรง หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ โน้มนำ เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือโปรโตซัว ความเป็นพิษจากยาบางชนิดที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เช่น ยาดอกโซรูบิซิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง หรืออาจเกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิด เช่น ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ นอกจากนั้นอาจเกิดจากการขาดโปรตีนบางชนิด เช่น ทอรีน หรือ แอล คาร์นิทีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีความสำคัญต่อการทำงานของหัวใจ การขาดโปรตีนดังกล่าวอาจเกิดจากชนิดของอาหารที่กิน ที่อาจส่งผลต่อเมตาบอริซึมหรือการสร้างโปรตีน เมื่อระดับโปรตีน โดยเฉพาะ ทอรีน และ แอล […]

โรคลมชักในสุนัขและแมว (epilepsy)

โรคลมชักในสุนัขและแมว หรือ epilepsy เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติ หรืออาจเรียกได้ว่าเกิดไฟฟ้ารั่วในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก (seizure) ให้เห็น โดยสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งอาการ หรือ โรคลมชักในสุนัขและแมว อาจจะพบเห็นได้หลายแบบ ได้แก่ พบเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป (isolated seizure) เกิดการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง (cluster seizure) หรือเกิดการชักต่อเนื่องไม่หยุด (status epilepticus) ซึ่งการชักต่อเนื่องไม่หยุดนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบแก้ไขและรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน จุดกำเนิดของไฟฟ้ารั่วหรือจุดลมชัก เรียกว่า seizure focus ชนิดของอาการโรคลมชัก 1. การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized epilepsy) เป็นการชักที่เกิดขึ้นจากการที่มีการกระจายตัวของกระแสไฟฟ้าที่รั่วไปทั่วทั้งสมอง ทำให้สุนัขแสดงอาการแบบชักเกร็งกระตุกทั้งตัว อาจพบอาการเหยียดเกร็งแหงนคอ (รูปที่ 1) ร่วมกับอาการตะกรุยขาทั้ง 4 ข้าง อาจพบอาการน้ำลายไหล ปัสสาวะหรืออุจจาระราด รวมทั้งสามารถพบอาการร้องครางขณะชักร่วมด้วย บางครั้งจะพบอาการกัดลิ้นได้บ้างเช่นเดียวกับการชักในคน พบอาการได้ตั้งแต่เพียงแค่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายนาทีได้ การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวจะพบการสูญเสียระดับความรู้สึกตัวร่วมด้วย บางครั้งสุนัขหรือแมวสามารถพบอาการก่อนจะมีอาการชักได้ เช่น เดินวน กระวนกระวาย ร้อง […]

รับเลี้ยงสุนัขและแมวจรจัด

เรื่องต้องรู้ก่อนจะ รับเลี้ยงสุนัขและแมวจรจัด

ปัญหาสุนัขและแมวจรจัดเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทุกภาคส่วนพยายามหาทางแก้ไขอย่างยั่งยืนร่วมกัน แน่นอนว่าทางแก้ปัญหาที่ง่ายทางหนึ่งคือการลดจำนวนสุนัขและแมวจรจัดเหล่านี้ การลดจำนวนประชากรทำได้หลายวิธีและหนึ่งในวิธีที่ดีก็คือการเปลี่ยนจากสุนัขและแมวที่ไม่มีเจ้าของให้มีเจ้าของ หรือพูดให้ง่ายก็คือการหาบ้านให้สัตว์เหล่านี้นั่นเองค่ะ หลายท่านที่อยากจะเลี้ยงสุนัขหรือแมวสักตัวคงมีตัวเลือกของการรับอุปการะสัตว์เหล่านี้อยู่ในใจ เพราะนอกจากเราจะได้เพื่อนซี้สี่ขาเพิ่ม หมาแมวเหล่านี้ได้บ้านใหม่แล้ว ยังมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสุนัขและแมวจรจัดในสังคมอีกด้วย แต่การจะรับสุนัขหรือแมวสักตัวมาเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์จรจัดมาก่อนหรือไม่สิ่งที่เราควรจะคิดก่อนเป็นอันดับแรกคือ ตัวเรามีความพร้อมจะเลี้ยงพวกเขาเหล่านี้แล้วหรือยัง เพราะถ้าตัวเราไม่มีความพร้อมที่จะเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นเหตุผลด้านสถานที่ เหตุผลของเวลา หรือเหตุผลจากปัจจัยที่สำคัญอย่างเงินก็ดีแล้วล่ะก็ เราอาจจะกำลังเป็นสาเหตุของปัญหาสุนัขและแมวจรจัดแทนที่จะเป็นคนช่วยแก้ปัญหานี้ก็ได้ ซึ่งการเตรียมความพร้อมก่อนจะ รับเลี้ยงสุนัขและแมวจรจัด ซึ่งจริงๆ ก็มีพื้นฐานเหมือนการเตรียมตัว เพื่อจะเลี้ยงสุนัขและแมวทั่วไป แต่อาจจะมีรายละเอียด ข้อจำกัด หรือเงื่อนไขบ้างอย่างที่เราควรต้องรู้ก่อนรับสัตว์เหล่านี้มาเลี้ยง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นบ้านของสุนัขและแมวจรจัดเหล่านี้ได้อย่างถาวร   การเตรียมตัวรับสมาชิกใหม่    1.เตรียมความรู้และความเข้าใจ ความรู้และความเข้าใจเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากสำหรับการรับสัตว์สักตัวเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในบ้าน ความเข้าใจนี้ครอบคลุมทั้งความเข้าใจ ”เขา” และความเข้าใจ ”เรา” ซึ่ง “เขา” ที่ว่าคือน้องหมาหรือน้องแมวที่เรากำลังจะรับมาเลี้ยง หากเป็นไปได้เราควรจะเล็งไว้บ้างว่าน้องหมาหรือน้องแมวตัวไหนที่เราจะรับเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ เพื่อจะได้รู้ข้อมูลพื้นฐานของเขา เช่น เป็นสุนัขหรือเป็นแมว สายพันธุ์อะไร ตัวใหญ่แค่ไหน ขนสั้นหรือขนยาว ตัวเมียหรือตัวผู้ อายุเท่าไหร่ มีประวัติมาอย่างไรบ้าง เพราะประวัติสามารถบอกนิสัยคร่าวๆ และเงื่อนไขของสัตว์แต่ละตัวได้ เช่น สุนัขหรือแมวบางตัวมีประวัติเรื่องการทำร้ายร่างกาย อาจทำให้สัตว์เหล่านั้นมีนิสัยหวาดระแวงคนแปลกหน้าหรือสัตว์ตัวอื่นมากกว่าปกติ บางตัวเป็นสัตว์เลี้ยงพิการที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เป็นต้น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสัตว์เหล่านี้จะทำให้เราสามารถนำมาเตรียมอุปกรณ์สถานที่ต่างๆ […]

โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease)

โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease)  หรือโรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valve Regurgitation) เป็นโรคหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข โดยพบได้มากในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ พุดเดิ้ล ดัชชุน เนื่องจาก โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจ จึงพบได้มากในสุนัขที่อายุมาก โดยมักพบในสุนัขที่อายุมากกว่า 7 ปี ขึ้นไป ยกเว้นในสุนัขบางพันธุ์ เช่น คาร์วาเลียร์​ คิงส์ ชาล์ส สเปเนียล อาจเป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก โดยอาจพบได้ตั้งแต่อายุ 4-5 ปี อุบัติการณ์การเกิดโรคจะพบในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย และตัวผู้มักจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าเพศเมีย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของลิ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าโรคลิ้นหัวใจเสื่อมเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ด้วยเหตุนี้พ่อแม่สุนัขที่เป็นโรคนี้จึงสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติสู่ลูกและอาจส่งผลให้ลูกเป็นโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้นได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคนี้ได้โดยการไม่นำสุนัขที่เป็นโรคนี้ไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ โรคลิ้นหัวใจเสื่อม มักเกิดรอยโรคที่ลิ้นหัวใจไมทรัล ซึ่งเป็นลิ้นที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้าย ในภาวะปกติลิ้นไมทรัลจะทำหน้าที่ในการกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับสู่หัวใจห้องบนซ้าย ในขณะที่หัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว เมื่อเกิดการเสื่อมของลิ้นไมทรัล อาจทำให้ลิ้นหนาตัว หรือโป่ง จึงทำให้ปลายลิ้นสบกันไม่สนิท และทำเกิดการรั่วขึ้น  เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวเพื่อไล่เลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จึงมีเลือดบางส่วนไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนซ้าย เมื่อความรุนแรงของการเสื่อมเพิ่มมากขึ้น […]

ความสำคัญและความจำเป็นของชั้นเรียน Puppy Class

ผมเชื่อว่าหลายท่านที่เลี้ยงสุนัข มักไม่สนใจในเรื่องของการฝึก หรือศึกษาในแนวทางการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานที่ดีให้แก่ลูกสุนัข เพื่อให้โตขึ้นไปเป็นสุนัขโตที่ดี หรือมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งสำคัญ มักมองแค่ว่าสุนัขก็คือสุนัข เลี้ยง ๆ ไว้ในบ้านมีอาหารให้กิน มีที่นอน มีของเล่นให้เล่น ก็เพียงพอแล้ว หรือบางท่านก็เน้นแต่การตามใจโดยไม่ได้คำนึงถึงการฝึกหรือปูพื้นฐานที่ดีให้แก่ลูกสุนัข แต่เกือบทุกท่านจะกลับมาคำนึงหรือรู้สึกถึงความสำคัญของการฝึกหรือศึกษาวิธีการเลี้ยงดู เมื่อสุนัขของตัวเองเริ่มมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นเช่น ขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง เห่าหอน ขี้กลัว ดุ ก้าวร้าว ฯลฯ บางตัวแสดงอาการตั้งแต่ยังเล็ก (ก่อน 4 เดือน) ก็ยังพอจะกลับมาปรับปรุงให้เข้ารูปเข้ารอยได้เร็ว แต่หลายตัวกว่าเจ้าของจะสังเกตเห็นก็คือตอนหลังจากเป็นวัยรุ่นแล้ว (ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป) แบบนี้ก็จะลำบากทั้งเจ้าของและคนฝึกครับ ทั้งที่เรื่องเหล่านี้สามารถป้องกันได้ถ้าเลี้ยงถูกวิธีหรือปูพื้นฐานที่ดีตั้งแต่ตอนเป็นลูกสุนัข ด้วยเหตุนี้ การฝึกและการสอนตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัขจึงเป็นวิ่งจำเป็นและสำคัญมากครับ ด้วยเหตุผลที่ว่า 1. ระบบการเรียนรู้ของสุนัข แม้จะเรียนรู้ไปได้เรื่อย ๆ ตลอดชีวิต แต่ช่วงสำคัญของสุนัขที่จะเปิดรับเพื่อดูดซับและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือเพื่อการปรับตัวให้มีพื้นฐานทางนิสัยที่ดี จะอยู่ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 3 เดือนครับ ช่วงนี้ลูกสุนัขจะเปิดรับและสร้างความคุ้นเคยกับสิ่งที่เราป้อนให้เขาได้อย่างรวดเร็ว และหลังจากนั้นประตูที่เปิดบานนี้จะค่อย ๆ ปิด ซึ่งพอปิดแล้ว ปัญหาคือการภายหลังจากการปิดแล้ว การจะปูพื้นพฤติกรรมใหม่มันจะเริ่มอยู่ในเรื่องของการปรับพฤติกรรมใหม่ ซึ่งถ้ามาปรับแก้ไขหลังจากประตูปิดไม่นานเร็วก็จะยังแก้ไขได้เร็ว แต่ถ้าปล่อยไว้นาน […]

7 วิธีเล่นกับสุนัข ทั้งสนุกและสร้างสรรค์

การเล่นกับสุนัขมีประโยชน์หลายอย่าง นอกจากความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว หากเล่นได้ถูกต้องและสร้างสรรค์ยังช่วยฝึกฝน พัฒนาสมองและเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้กับสุนัขอีกด้วย ที่สำคัญที่สุดเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น วันนี้บ้านและสวน Pets จึงมีเคล็ดลับและ วิธีเล่นกับสุนัข แบบสร้างสรรค์มาฝากค่ะ การเล่นสนุกกับสุนัขมีหลายวิธี ที่ได้ทั้งความสนุกเพลิดเพลิน มีทั้งรูปแบบที่วางขายอยูู่ หรือจะ DIY จากของเหลือใช้หรือของใกล้ตัวก็เล่นได้ง่าย ๆ ลองเลือกดูจาก 7 วิธีเล่นกับสุนัข ที่ บ้านและสวน Pets นำมาฝากได้เลยค่ะ เล่นซ่อนแอบ – การเล่นแบบนี้คือให้สุนัขนั่งรอและคอย คุณไปแอบแล้วส่งเสียงให้สุนัขตามหาคุณให้เจอ หรือ เอาของเล่นหรือขนมไปซ่อน แล้วกระตุ้นให้สุนัขไปหา การเล่นแบบนี้เป็นเกมที่ดีมากในการฝึกประสาทสัมผัสเรื่องการดมกลิ่น เมื่อน้องเจอเราก็ให้ชมหรือให้ขนมเป็นรางวัล   อยู่มือไหนนะ? – การเล่นแบบนี้เป็นเกมลับสมองที่ง่ายมาก เพียงแค่คุณหยิบขนมสุนัขซ่อนไว้ในมือ ปล่อยให้สุนัขดมมือของคุณแล้วถามเขาว่าขนมอยู่มือไหนนะ? สุนัขจะใช้จมูกดมกลิ่น ตอนแรกอาจจะเป็นการเดา แต่เมื่อประสาทสัมผัสถึงกลิ่นขนมที่ชัดเจน เขาจะใช้จมูกดันมือที่มีขนมอยู่อย่างเต็มที่ เราก็ค่อยหงายมือออกและยื่นขนมให้เป็นรางวัล   ไปเก็บมาซิ! – คุณนำลูกบอลมาแล้วชักชวนให้สุนัขเล่น โดยเริ่มจากให้สุนัขทำตามลำดับคำสั่งคือ นั่ง-คอย-ไปเก็บมาและปล่อย โดยคุณเป็นผู้เก็บบอลไว้ จนกว่าจะเริ่มเกมต่อไป ซึ่งการเล่นแบบนี้สอนให้สุนัขรู้จักกติกาว่าเมื่อไรจะต้องทำอะไร […]

น้ำมันตับปลา vs น้ำมันปลา เหมือนกันหรือไม่ ?

จากประสบการณ์การทำงานหลายปีของผู้เขียน พบว่ามีความสับสนของเจ้าของเกิดขึ้นบ่อยมาก ระหว่างน้ำมันปลา และ น้ำมันตับปลา บางครั้งบอกให้ไปซื้อน้ำมันปลากิน สุดท้ายได้น้ำมันตับปลามากินเฉยเลย ทั้งนี้อาจเป็นความคุ้นเคยแต่เด็กของเราด้วย เราอาจจะรู้สึกคุ้นเคยกับน้ำมันตับปลามากกว่า ทั้งที่จริง ๆ แล้ว น้ำมันตับปลา และ น้ำมันปลา แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทั้งส่วนประกอบ สรรพคุณ และข้อบ่งใช้ วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพามาทำความรู้จักน้ำมันทั้งสองชนิดนี้กันให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ซื้อให้สัตว์เลี้ยงของเรากินได้อย่างถูกต้องตามประโยชน์ที่เราต้องการค่ะ น้ำมันตับปลา (cod liver oil) มาเริ่มกันที่น้ำมันตับปลาก่อนนะคะ น้ำมันตับปลา คือน้ำมันที่สกัดมาจากตับของปลา ส่วนใหญ่เป็นปลาทะเล เช่น ปลาค็อด ภาษาอังกฤษจึงเรียกว่า cod liver oil น้ำมันตับปลาเต็มไปด้วยวิตามินเอ และดีสูง ซึ่งวิตามินเอจะช่วยสร้างเยื่อบุผิวหนัง และกระดูก สร้างภูมิต้านทานโรค และช่วยบำรุงสายตาให้สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืด หรือในที่ที่มีแสงสลัว ส่วนวิตามินดีจะสำคัญในการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัสจากอาหารค่ะ แต่ถึงแม้ว่าน้ำมันตับปลาจะอุดมไปด้วยวิตามินเอ และดีสูง แต่ตับก็เป็นแหล่งอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นการทานน้ำมันตับปลามากเกินความจำเป็น ก็อาจทำให้ร่างกายประสบปัญหาคลอเลสเตอรอลสูงเกินตามไปด้วย นอกจากนี้วิตามินเอ และดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน หากทานน้ำมันตับปลามาก […]

การทำหมันสุนัขและแมว

ข้อดีและข้อเสียของการ ทำหมันสุนัข และแมว

การควบคุมจำนวนสัตว์เลี้ยง การทำหมันสุนัขและแมว โดยการผ่าตัด เป็นวิธีที่สัตวแพทย์แนะนำ เนื่องจากเป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพถาวร