- Page 8 of 16

เมื่อสุนัขหรือแมวจมูกแห้ง แปลว่าป่วยจริงหรือไม่?

ผู้เลี้ยงสุนัขและแมวส่วนใหญ่มักจะเคยได้ยินมาว่า ความชื้นหรือแห้งของจมูกนั้น สามารถบอกถึงการเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงได้ และบางครั้งเวลาที่เราเห็น สุนัข หรือ แมวจมูกแห้ง ผิดปกติ ก็อาจจะรู้สึกกังวลว่า ตอนนี้สัตว์เลี้ยงของเรากำลังป่วยอยู่หรือเปล่า หมาจมูกแห้ง บ้านและสวน Pets คงต้องขอเล่าว่าตามหลักกายวิภาคศาสตร์แล้ว จมูกสุนัขและแมวจะประกอบด้วย รูจมูก (Nares) ขีดแบ่งแยกตรงกลาง (Philtrum) และ พื้นผิวด้านบนปลายจมูกซึ่งเป็นตรงส่วนที่ไม่มีขน (Nasal planum) ซึ่งตรงส่วนที่เรียกว่า Nasal planum นี่ละคือส่วนที่เราสังเกตได้ว่า สุนัข หรือ แมวจมูกแห้ง อยู่หรือไม่ ปกติแล้วหน้าที่หลักของจมูก คือ การดมกลิ่น ซึ่งจมูกสุนัขสามารถรับกลิ่นได้ดีกว่ามนุษย์ถึงพันเท่า ส่วนอีกหน้าที่สำคัญสำหรับจมูกในสุนัขและแมว คือ การระบายความร้อน โดยบริเวณจมูกและฝ่าเท้าของสุนัขและแมวจะมีต่อมเหงื่อ (Eccrine sweat glands) ซึ่งเป็นต่อมเหงื่อที่มีลักษณะเป็นท่อเปิดออกบนพื้นผิวของผิวหนัง ทำให้สามารถขับน้ำออกมาได้ แต่การระบายความร้อนวิธีนี้ไม่ใช่วิธีหลักที่ร่างกายของสุนัขและแมวใช้ เพราะ การระบายความร้อนของสุนัขและแมวจะระบายออกจะใช้วิธีการการหายใจมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์ที่มีต่อมเหงื่ออยู่ที่บริเวณผิวหนัง มีงานวิจัยที่ทดลองเทียบคุณสมบัติของเหงื่อมนุษย์และสุนัขแล้วพบว่า เหงื่อของมนุษย์และสุนัขมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก เนื่องจากมีองค์ประกอบของน้ำที่คล้าย ๆ กัน แต่ด้วยปริมาณต่อมเหงื่อของสัตว์ที่น้อยกว่ามนุษย์ ทำให้เราไม่เห็นเม็ดเหงื่อที่ชัดเจนเหมือนในมนุษย์หรืออาจทำให้ดูว่าแห้งได้ […]

ประเภท และ ความสำคัญของการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยง

หากสุนัข หรือแมวที่เราเลี้ยงอยู่ในบ้านตลอด ไม่เคยได้ออกไปไหน หรือที่ทุกคนเรียก การดูแลแบบนี้ว่า “ระบบปิด” หรือแบบ Indoor ยังจะจำเป็นต้องให้น้อง ๆ ได้รับการฉีดวัคซีน หรือไม่ คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองของน้อง ๆ หลายท่านคงเคยมีความสงสัยกันว่า การฉีดวัคซีนในลูกขนปุยของเราจำเป็นจะต้องทำไหม ควรจะทำแบบไหน เมื่อไหร่บ้าง ถึงจะดีกับลูก ๆ ของเรามาที่สุด วันนี้ บ้านและสวน Pets มาไขข้อข้องใจกับประเภท วิธีการ และ ความสำคัญของการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยง กันค่ะ ต้องบอกตามตรงว่า การฉีดวัคซีนใน สุนัข และแมว รวมถึงสัตว์พิเศษบางชนิด (Exotic pet) นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะโรคร้ายแรงบางโรคหากติดแล้วอาจจะไม่มีทางรักษาให้หายได้ บางโรคก่อความผิดปกติ อาการรุนแรง รักษาได้ยากถึงแม้จะใช้ยา และนวัตกรรมที่ดีที่สุด ก็ทำได้อย่างยากลำบาก และอาจจะพรากชีวิตสมาชิกที่เรารักไปอย่างรวดเร็ว โดยโรคร้ายแรงเหล่านั้นล้วนประกอบอยู่ในวัคซีนป้องกันโรคหลัก ที่น้องหมา น้องแมวควรได้รับ นอกจากนี้โรคบางอย่างนอกจากจะเป็นอันตรายต่อตัวน้อง ๆ เองแล้ว ยังสามารถส่งผ่าน ติดต่อมายังคน […]

บี้เห็บ ไม่ได้ จริงหรือมั่ว

เจ้าของสุนัขและแมวหลาย ๆ บ้านน่าจะต้องมีประสบการณ์กับปัญหากวนใจอย่าง “เห็บ” มาบ้างไม่มากก็น้อย และเจ้าของหลาย ๆ ท่านก็คงอดใจไม่ได้ที่จะจับเห็บออกจากตัวน้องหมาแล้ว บี้เห็บ เหล่านั้นซะ แต่บ่อยครั้งเรามักได้ยินคำห้ามที่ว่า “ไม่ควร บี้เห็บ เพราะจะทำให้เกิดเห็บตามมามากมายเป็นทวีคูณ” ทำไมถึงมีคำกล่าวเช่นนี้ แล้วจริง ๆ มันเป็นตามที่เค้าบอกกันมาหรือไม่ วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพาไปรู้กันครับ รู้จักเห็บ เห็บ (tick) เป็นแมลงชนิดหนึ่งมีหลายสปีชีส์พบได้ทั่วโลกตามลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่แตกต่างกันออกไป สำหรับประเทศไทยเรา มักพบเห็บสุนัขสีน้ำตาล หรือ Brown dog tick มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rhipicephalus sanguineus กินเลือดเป็นอาหาร ชอบอาศัยบนตัวสุนัข (จึงเรียกว่าเห็บสุนัขสีน้ำตาล) แต่ก็สามารถกัดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นรวมถึงคนได้เช่นกัน นอกจากประเทศไทยแล้วเห็บชนิดนี้ สามารถพบได้ทั่วโลกโดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อน เห็บสุนัขสีน้ำตาลมี 8 ขา ลำตัวแบนแต่เมื่อกินเลือดตัวจะพองขึ้น มีขนาดต่างกันไปตามระยะ (life stage) ของวงจรชีวิต (life cycle) ตั้งแต่ตัวเล็กเท่าหัวเข็ม จนถึงกินเลือดจนตัวเต่งเหมือนลูกเกด วงจรชีวิตเห็บ […]

อายุหมา, อายุแมว, เมื่อเทียบกับมนุษย์

อายุหมา อายุแมว เมื่อเทียบกับมนุษย์ ?

อายุหมา ถ้าเทียบกับอายุเราแล้ว เค้าจะอายุเท่าไรบ้างนะ บางคนก็คงเคยได้ยินว่า ถ้าเอาอายุสุนัขคูณด้วย ‘7’ เราก็จะได้เป็นอายุที่เทียบเท่ามนุษย์ อายุหมา และอายุแมว เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์ ได้กลายเป็นการศึกษาที่ได้ลงรายละเอียดไว้ด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ในปี ค.ศ. 2019 ได้มีงานวิจัยเผยแพร่ว่า “เปรียบเทียบอายุสุนัขและแมวกับมนุษย์ ไม่ได้เทียบแค่การคูณด้วยเจ็ดอย่างที่เราเคยได้ยินมา” โดยนักวิจัยได้ทำการเทียบสารพันธุกรรม (DNA) ของสุนัขพันธุ์ลาบาดอร์แต่ละช่วงอายุ กับ สารพันธุกรรมของมนุษย์ (ที่ใช้สุนัขเพียงพันธุ์เดียวก็เพื่อให้ได้สารพันธุกรรมเดียวกันทั้งหมดในการเทียบปัจจัยต่าง ๆ เช่น การพัฒนาแต่ละช่วงอายุที่เหมือน ๆ กัน) ด้วยวิธีการทดลอง เพื่อดูลักษณะของสารพันธุกรรม ทำให้ได้ผลเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ออกมา นักวิจัยสามารถแปรผลการทดลองนี้ออกมาได้เป็นสูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่เป็นค่า Logarithm คือ “อายุมนุษย์ = 16ln(อายุสุนัข)+31” ยกตัวอย่างเช่น สุนัขอายุ 4 ปี เมื่อเทียบในสูตรจะเทียบเท่าอายุมนุษย์ 53 ปี ซึ่งผลที่ได้จากการคำนวณจะเป็นอายุโดยคร่าว ๆ ของสุนัข แต่ทั้งนี้ด้วยความที่อายุขัยสุนัขพันธุ์เล็กและพันธุ์ใหญ่มีความต่างกันออกไป จึงทำให้ค่า เปรียบเทียบอายุสุนัขและแมวกับมนุษย์ ที่ได้อาจจะเป็นค่าประมาณการ เปรียบเทียบอายุสุนัขและแมวกับมนุษย์ เปรียบเทียบ อายุหมา กับมนุษย์ […]

ประเภทปลอกคอสุนัข และวิธีการเลือกใช้งานที่เหมาะสม

สุนัขทุกตัวมีความแตกต่างกัน  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขนาด สายพันธุ์ นิสัยอารมณ์ และการเลี้ยงดูต่าง ๆ เหล่านี้คือสิ่งที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกปลอกคอสุนัข บ้านและสวน Pets มีข้อมูล ประเภทปลอกคอสุนัข มาให้รู้จัก เพื่อให้เราเลือกสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุดให้สุนัขของเราค่ะ เลือกปลอกคอสุนัข ดูจากอะไร  ปลอกคอสุนัขนอกจากจะเป็นการบ่งบอกหรือแสดงถึงการมีเจ้าของ และเป็นเครื่องประดับแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ มีประโยชน์สำหรับการฝึกหรือใช้จูงด้วยค่ะ โดยการเลือกปลอกคอสุนัขสักเส้นนั้น เราจะต้องพิจารณาจากตัวของสุนัขของเราเป็นหลัก ดังนี้ค่ะ ขนาดของน้องสุนัข เจ้าของควรเลือกปลอกคอสุนัขตามขนาดของรอบคอ โดยเลือกปลอกคอที่มีขนาดความยาวและความกว้างพอเหมาะกับช่วงคอของน้อง ไม่หลวมหรือแน่นคับจนเกินไป ส่วนขนาดของแถบปลอกคอ ถ้าหากเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก ความกว้างของแถบปลอกคอควรอยู่ที่ประมาณครึ่งนิ้ว ในขณะที่สุนัขพันธุ์ใหญ่ ปลอกคอควรมีความกว้างตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป เพื่อที่จะได้แข็งแรงพอที่จะควบคุมสุนัขได้ ส่วนความยาวของปลอกคอ ควรจะพอดีกับรอบคอสุนัข ไม่หลวมจนหลุดเมื่อดึงกับสายจูง หรือ รัดแน่นจนเกินไปจนทำให้น้องรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออก หรือทำให้เกิดบาดแผลที่คอน้องได้ ลักษณะนิสัยของสุนัข สุนัขพันธุ์เล็กบางตัวมีพลังงานสูง หรือ อาจเป็นสุนัขที่หันเหความสนใจได้ง่าย อย่าง แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย ดังนั้นเพียงแค่ปลอกคอไนลอนปกติขนาดนิ้วครึ่งอาจจะควบคุมน้องไม่อยู่ หากต้องจูงพวกเขาไปตามที่ต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนใส่ปลอกคอที่มีลักษณะเป็นสายรัดอกแทนเพื่อลดแรงดึงรั้งที่บริเวณคอ เป็นต้น หรือสุนัขที่ชอบรั้งสายจูง เอาหน้าทิ่มดมพื้นตลอดอย่างเช่นบีเกิ้ล ก็จะมีสายจูงที่รัดช่วงกระบอกปากเพื่อบังคับให้น้องหมาเงยหน้าขณะเดิน ซึ่งแน่นอนว่าปัจจุบันมีสีสัน ลวดลายต่างๆให้เจ้าของเลือกซื้อได้มากมายเลยค่ะ ประเภทปลอกคอสุนัข ประเภทของปลอกคอสุนัขมีหลากหลายชนิดแล้วแต่ประโยชน์การใช้และการเลี้ยงดูหรือไลฟ์สไตล์ของผู้เลี้ยง […]

โรคระบบทางเดินหายใจผิดปกติของสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น

โรคระบบทางเดินหายใจผิดปกติของสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น (Brachycephalic syndrome) เป็นกลุ่มโรคของสุนัขและแมวที่มีจมูกสั้น เกิดปัญหาที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น (Upper airway abnormalities) โดยการตั้งชื่อ โรคระบบทางเดินหายใจผิดปกติของสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น หรือ Brachycephalic syndrome มาจาก Brachy หมายถึงสั้น และ Cephalic หมายถึงส่วนหัว เนื่องจากมีลักษณะกะโหลกศีรษะขนาดใหญ่แต่สั้นแบน ทำให้โครงสร้างของหน้า จมูก และปากสั้น นอกจากนี้ยังสามารถเรียกชื่อโรคทางภาษาอังกฤษได้อีกหลายแบบ ได้แก่ Brachycephalic respiratory syndrome, Brachycephalic airway obstructive syndrome หรือ Congenital obstructive upper airway disease เป็นต้น องค์ประกอบของการเกิดโรค Brachycephalic syndrome เกิดจากความผิดปกติจากหลายองค์ประกอบ  สามารถพบความผิดปกติได้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดความผิดปกติร่วมกัน ซึ่งจะทำให้การหายใจเข้าไปยังปอดเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยลักษณะความผิดปกติที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวสัตว์ได้ มีดังนี้ ความผิดปกติที่สามารถพบได้บ่อยในสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น รูจมูกตีบแคบ (Stenotic nares) เป็นการเจริญผิดปกติของรูจมูก ทำให้มีรูแคบหรือยุบแฟบเข้าไปเมื่อหายใจเข้า ทำให้สัตว์หายใจติดขัดเนื่องจากมีปัญหารูจมูกตีบแคบ เพดานอ่อนยาวกว่าปกติ […]

พุดเดิ้ล (Poodle) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ มีแนวคิดว่าสุนัขสายพันธุ์ พุดเดิ้ล (Poodle) มาจากทวีปเอเชีย และหลังจากนั้นหลายศตวรรษต่อมาก็ได้มีการตั้งรกรากในประเทศเยอรมนี โดยในศตวรรษที่ 15 พุดเดิ้ลกลายเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในฝรั่งเศส ซึ่งมักมีเพียงราชวงศ์และขุนนางเท่านั้นที่เป็นเจ้าของสุนัขพันธุ์นี้ ในขณะนั้นสุนัขสายพันธุ์พุดเดิ้ลถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท (ทั้งหมดเป็นสายพันธุ์แท้ ซึ่งหมายความว่าพวกมันไม่ได้ผสมพันธุ์กับสุนัขสายพันธุ์อื่น เพื่อสร้างความแตกต่าง) ได้แก่ พุดเดิ้ล สแตนดาร์ด (Standard Poodle), พุดเดิ้ลขนาดกลาง (Mid-Sized Poodle) และพุดเดิ้ล มินิเจอร์ (Miniture Poodle) ปัจจุบันพุดเดิ้ล สแตนดาร์ดและพุดเดิ้ล มินิเจอร์สามารถพบได้บ่อยที่สุดแต่พุดเดิ้ล สแตนดาร์ดจะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่า หลายปีผ่านไปพุดเดิ้ล สแตนดาร์ดเริ่มถูกใช้เพื่อการล่าเป็ด พวกมันเป็นสุนัขล่าสัตว์ที่ยอดเยี่ยม เนื่องจากมีความฉลาดและมีความแข็งแรง ด้วยความฉลาดนี้จึงทำให้พวกมันแตกต่างจากสุนัขสายพันธุ์อื่น ๆ ทำให้คณะละครสัตว์เริ่มฝึกพวกมันให้แสดงโชว์ ชนชั้นสูงของประเทศฝรั่งเศสเริ่มนำพวกมันมาอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น จนในที่สุดพวกมันก็ได้รับการพัฒนาจนมีชื่อเสียง หลังจากนั้นสุนัขพันธุ์พุดเดิ้ลก็ได้กลายมาเป็นสุนัขประจำชาติของประเทศฝรั่งเศสจนถึงทุกวันนี้ ต่อมาพุดเดิ้ลได้อพยพไปพร้อมกับชาวอาณานิคมเริ่มแรกและได้รับการยอมรับจาก AKC ในปีค. ศ. 1887 (รวมกันเป็นสายพันธุ์เดียวถึงแม้ว่าจะมีพุดเดิ้ล สแตนดาร์ดและพุดเดิ้ล มินิเจอร์รวมอยู่ด้วยก็ตาม) นอกจากนี้พุดเดิ้ลยังเป็น 1 ใน 10 อันดับแรกของสุนัขที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอีกด้วย […]

เชทแลนด์ ชีพด็อก (Shetland Sheepdog) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ เชทแลนด์ ชีพด็อก (Shetland Sheepdog) มีต้นกำเนิดมาจากเกาะเกาะเชทแลนด์ (Shetland Islands) ของประเทศสกอตแลนด์ โดยมีลักษณะที่สามารถทำงานหนักได้ มีความฉลาดและซื่อสัตย์ แต่ก่อนเชทแลนด์ ชีพด็อกถูกใช้เพื่อต้อนและปกป้องฝูงแกะ พวกมันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเกษตรกรและคนเลี้ยงสัตว์ ต่อมาเชื่อกันว่าเชทแลนด์ ชีพด็อกเป็นลูกผสมระหว่าง สุนัขพันธุ์คอลลี่ กับ สุนัขขนาดเล็กบางชนิด เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหลายอย่าง ในช่วงปี 1800 เชทแลนด์ ชีพด็อกได้เดินทางไปยังประเทศสกอตแลนด์และประเทศอังกฤษ โดยพวกมันยังคงทำหน้าที่ในการเป็นสุนัขต้อนสัตว์เช่นเคย ในช่วงเวลาเหล่านี้ พวกมันได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีขนาดเล็กกระทัดรัดและมีความชำนาญในการต้อนสัตว์ ถึงแม้ว่าสุนัขสายพันธุ์นี้จะเป็นที่รักของใครหลาย ๆ คนแต่สุนัขสายพันธุ์นี้ ทำให้เกิดข้อโต้เถียงกันอย่างมากทั้งในอังกฤษและอเมริกา ผู้เพาะพันธุ์หลายคนและเจ้าของไม่สามารถตกลงกันได้ว่าเชทแลนด์ ชีพด็อกควรจะมีลักษณะเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ทำให้สโมสรและองค์กรที่แสดงความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับสายพันธุ์นี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งในปี 1930 กลุ่มเหล่านี้ก็สามารถตกลงร่วมกันเกี่ยวกับลักษณะของเชทแลนด์ ชีพด็อกตามที่ต้องการได้ ช่วงต้นในปี 1970 เชทแลนด์ ชีพด็อกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกมันติดอันดับ 1 ใน 10 ของสายพันธุ์สุนัขที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอเมริกา จนกระทั่งทุกวันนี้เชทแลนด์ ชีพด็อกก็ยังคงเป็นที่ชื่นชอบของคนในครอบครัว เนื่องจากพวกมันมีความซื่อสัตย์และความแข็งแรง ลักษณะทางกายภาพ ขนและสีขน เชทแลนด์ ชีพด็อก […]

บาเซนจิ (Basenji) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ บาเซนจิ (Basenji) ได้รับชื่อเล่นว่า สุนัขที่ไม่ค่อยเห่า (the barkless dog) เนื่องจากโดยธรรมชาติของ บาเซนจิ เป็นสุนัขที่ค่อนข้างเงียบ ไม่ค่อยส่งเสียง และถือเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน โดยมีความเกี่ยวข้องทั้งในประเทศแอฟริกาและอียิปต์ ซึ่งสุนัขพันธุ์บาเซนจิตัวแรกที่ถูกนำไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งแรก ในฐานะของขวัญจากสมเด็จฟาร์โรแห่งแม่น้ำไนล์ ในปี 1940 บาเซนจิ นิยมใช้ในการฝึกทักษะในการล่า สุนัขสามารถใช้ทักษะสัญชาตญาณในการตามล่าหาชนเผ่าและพลเมืองยุคแรก ๆ เนื่องจากความถนัดในด้านการล่าทำให้สุนัขพันธุ์นี้ จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขล่าเนื้อ และในปัจจุบันสุนัขพันธุ์นี้เป็นที่จดจำ เนื่องจากมีลักษณะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากพันธุ์อื่น คือ หน้าผากเหี่ยวย่น, หางม้วนงอ, และมีดวงตาคล้ายกับเมล็ดแอลม่อน นอกจากนี้สุนัขบาเซนจิยังเป็นสุนัขที่มีความเป็นมิตรและฉลาดอีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ สุนัข บาเซนจิ จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขขนาดเล็ก แต่มีความสง่างาม มีขนสั้น, หูตั้ง, หางม้วนงอขนาดเล็ก และมีคอที่สวยงาม บางคนมองว่าลักษณะของสุนัขบาเซนจิคล้ายกับกวางขนาดเล็ก นอกจากนี้ สุนัขพันธุ์นี้ยังมีบริเวณหน้าผากที่เหี่ยวย่นโดยเฉพาะในตอนเด็กและ ตอนที่แก่มาก ๆ และมีรูปทรงตาคล้ายกับเมล็ดแอลม่อน ทำให้สุนัขมีลักษณะดูเคร่งครึม น้ำหนักเฉลี่ยของสุนัขบาเซนจิ ประมาณ 11 กิโลกรัม และสูงประมาณ 40.6 เซนติเมตร […]

เชาเชา (Chow Chow) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ เชาเชา หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเชา ถือเป็นสุนัขอีกหนึ่งพันธุ์ที่มีเชื้อสายยาวนาน เชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศมองโกเลีย และถือเป็นสุนัขประจำเผ่าสำหรับใช้งานการล่าสัตว์ โดยสุนัขพันธุ์เชาเชาถูกพูดถึงตั้งแต่ในช่วง 206 ปีก่อนคริสตศักราช ในช่วงราชวงศ์ฮั่น สายพันธุ์นี้ยังถือเป็นตำนานของประเทศจีน คือ ลิ้นของเชาเชาจะมีสีเทาดำ เชื่อว่าเกิดจากการเลียชิ้นส่วนของท้องฟ้าเมื่อโลกถูกสร้างขึ้นครั้งแรก อย่างไรก็ตามสุนัขพันธุ์เชาเชายังไม่ได้ถูกตั้งชื่อนี้ จนกระทั่งมีพ่อค้าชาวอังกฤษนำสุนัขรูปร่างหมีบางตัวเข้าไปในตู้สินค้าในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการนำสุนัขออกนอกประเทศ ทำให้ชื่อเชาเชา (Chow chow) ที่เป็นคำแสลงของการขนส่งสินค้าแบบสุ่ม และจากการที่สุนัขเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดเชาเชา จึงถูกเรียกด้วยชื่อนี้เรื่อยมา ในช่วงปลายศตรรษที่ 19 ได้มีการก่อตั้งสมาคมสุนัขพันธุ์เชาเชาขึ้นในประเทศอังกฤษ ซึ่งสายพันธุ์นี้ได้ถูกกล่าวขานว่ามีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยจากบรรพบุรุษ และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการนำเข้าสุนัขพันธุ์เชาเชาเข้ามาในประเทศ และได้รับการจดทะเบียนจากสาคม AKC ในปี 1903 เนื่องจากความมีเสน่ห์ และลักษณะที่น่าจดจำ ทำให้สุนัขพันธุ์นี้ได้รับความนิยมในกลุ่มคนทั่วไปและกลุ่มคนดัง และยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์เชาเชามีลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีกระโหลกขนาดเล็ก มีหูขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยมที่ส่วนปลายโค้งมน และสายพันธุ์นี้มีขน 2 ชั้นซึ่งประกอบด้วยทั้งขนเรียบและขนหยาบ โดยขนจะหนาเป็นพิเศษบริเวณคอ ทำให้มีลักษณะที่โดดเด่นคล้ายกับแผงคอ ซึ่งสีของขนมีทั้งหมด 5 สี ไม่ว่าจะเป็น […]

อิงลิช บูลล์ด็อก (English Bulldog) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ บูลล์ด็อก (English Bulldog) เป็นชื่อสามัญของสุนัขสายพันธุ์ที่เรียกว่า อิงลิช บูลล์ด็อก หรือ บริติช บูลล์ด็อก โดยบูลล์ด็อกสายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ อเมริกัน บูลล์ด็อก และเฟรนช์ บูลล์ด็อก โดยต้นกำเนิดของสายพันธุ์บูลล์ด็อกนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่หลายคนเชื่อว่า บูลล์ด็อกมาจากเกาะอังกฤษ โดยคำว่า “บูล (bull)” ในชื่อนั้นมาจากการที่พวกมันตกเป็นเหยื่อของกีฬาที่โหดร้ายอย่างกีฬาการต่อสู้กับวัว ตั้งแต่กีฬาถูกห้ามในปี 1835 บูลล์ด็อกได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านที่เป็นที่ชื่นชอบ เนื่องจากมีความซื่อสัตย์และมีอารมณ์สงบนิ่ง ภายในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมาสายพันธุ์บูลล์ด็อกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากบูลล์ด็อกมีลักษณะเฉพาะตัวโดยเป็นสุนัขที่รูปร่างตันขาสั้นมีกล้ามเนื้อแข็งแรง มีใบหน้าเหี่ยวย่นและมีลักษณะเด่นของจมูกที่หุบเข้าไปในใบหน้า โดยมี The American Kennel Club (AKC), The Kennel Club (UK) และ United Kennel Club (UKC) คอยทำหน้าที่ในการดูแลมาตรฐานการปรับปรุงพันธุ์ ลักษณะทางกายภาพ บูลล์ด็อก (English Bulldog) เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีลักษณะไหล่หนาและหัวที่เข้าคู่กัน โดยทั่วไปจะมีผิวหนังที่หนาบริเวณคิ้ว ตามด้วยตาที่กลมโตสีดำ ปากสั้นและจมูกมีลักษณะคล้ายเชือกพับซ้อนกันเป็นชั้นอยู่เหนือจมูก […]

เวสต์ ไฮแลนด์ ไวท์ เทอร์เรีย (West Highland White Terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ เวสต์ ไฮแลนด์ ไวท์ เทอร์เรีย หรือมีชื่อที่รู้จักกันว่าเวสตี้ (Westie) มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสกอตแลนด์ (Scotland) มักนำมาเป็นสุนัขนักล่าสัตว์เล็ก เช่น กบ (Foxes), แบดเจอร์ (Badgers), และศัตรูพืช (Vermin) ในปี ค.ศ. 1600 กษัตริย์ประเทศฝรั่งเศส ได้นำสุนัขพันธุ์นี้เข้ามาในประเทศฝรั่งเศส และได้ขนานนามว่าเป็นสุนัขทำงาน (Earthdog) ในต่อมาได้มีการเลิกนำสุนัขพันธุ์เวสต์ ไฮแลนด์ ไวท์ เทอร์เรีย มาเป็นสุนัขนักล่า เพราะสุนัขมีสีขนค่อนข้างคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก จึงทำให้นายพรานยิงพลาดบ่อย ๆ สุนัขพันธุ์นี้ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในการล่าสัตว์ ดังนั้นลูกสุนัขที่เกิดขึ้นจะถูกเก็บไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงการยิงพลาดไปโดนสุนัขโดยไม่ตั้งใจ จึงนิยมนำสุนัขมาใช้เพื่อควบคุมสัตว์ศัตรูพืช หรือสัตว์ตัวเล็กเช่น กระต่ายป่า ในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 ประเทศอังกฤษ ได้มีการขึ้นทะเบียนสุนัขสายพันธุ์นี้เป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1908 สหรัฐอเมริกา และสมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้จดทะเบียนสายพันธุ์จัดอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์เทอร์เรีย […]