หัวลำโพง – บ้านและสวน

TAMNI HOSTEL เมื่อตำหนิ คือ เสน่ห์

“ตำหนิ” คือร่องรอยอันเป็นสิ่งยืนยันการข้ามผ่านกาลเวลาของสิ่งหนึ่งๆ เป็นร่องรอยที่สร้างเอกลักษณ์อันแตกต่างให้กับสิ่งๆนั้น เพราะฉะนั้น “Tamni Hostel” จึงเหมือนเป็นภาพแทนของร่องรอยสิ่งที่เป็นชุมชนในพื้นที่ซอยพระยาสิงหเสนีแห่งนี้นั่นเอง เดิมทีพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ดินของเจ้าของโรงแรม Tamni Hostel ในปัจจุบัน แต่หากย้อนกลับไป 30-50 ปีที่แล้ว การแบ่งพื้นที่เพื่อปล่อยเช่าคือคำตอบของธุรกิจในตอนนั้น จนกระทั่งผ่านกาลเวลา และพื้นที่ในซอยพระยาสิงหเสนี ได้ตกมาถึงคุณ ธัญ สิงหเสนี เจ้าของโรงแรมแห่งนี้ การนำพาพื้นที่แห่งนี้ให้ไปสู่ยุคสมัยถัดไปจึงเป็นเหมือนโจทย์สำคัญที่ทำให้ Tamni Hostel เกิดขึ้น การออกแบบ Tamni Hostel นั้น มีขึ้นเพื่อสร้างให้ชุมชนได้กลับมาคึกคักดังเช่นวันวานมากกว่าจะเป็นในแง่ของธุรกิจ เพราะเมื่อลักษณะของชุมชนที่ทำธุรกิจโรงกลึงขนาดเล็ก และค้าเหล็กเป็นสำคัญ เริ่มที่จะตามยุคสมัยไม่ทัน การเพิ่มความเป็นไปได้ใหม่ๆจึงเป็นเหมือนทางออกหนึ่งที่จะสร้างให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง Hostel, Cafe และพื้นที่สำนักงานผสมกับ AirBnb เป็นเหมือนกับห้องรับแขกของชุมชนที่ทำให้คนจากพื้นที่ต่างๆเดินทางเข้ามามากขึ้น เมื่อพื้นที่แห่งนี้กลับมาเป็น Destination ที่น่าสนใจ การต่อยอดไปในอนาคตก็คงไม่ไกลเกินจะเกิดขึ้นได้จริง ในส่วนของงานออกแบบนั้น อาคารทั้งหมดได้ถูกออกแบบจากโครงสร้างเดิมของ “หมู่ตึกแถว” ในซอยพระยาสิงหเสนี แห่งนี้ ผสานกับการเลือกใช้องค์ประกอบอาคารเดิมมาผสมผสานในการใช้งานใหม่ ซึ่งคอนเซปต์ในคำว่า “ตำหนิ” นั้นยังคงมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะการปรับใช้องค์ประกอบอาคารเดิมในรูปแบบใหม่นั้น เปรียบเสมือนชุมชนที่ต้องมีการปรับตัวไปตามยุคสมัย และมากกว่านั้น […]

สถานีกลางบางซื่อ ๙ ความพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางรถไฟไทย

การรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังพลิกโฉมระบบการเดินทางที่เคยเป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศกว่า ๑๐๕ ปี โดยเปลี่ยนถ่ายจากสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง) สู่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงสถานีรถไฟอย่างเช่นแต่ก่อนเท่านั้น แต่ยกระดับเป็นศูนย์กลางการคมนาคมระบบรางที่เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆอย่างเต็มรูปแบบ และกำลังจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว เรามาดูความพร้อมก่อนการเปิดใช้บริการและความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางรถไฟไทย สะท้อนผ่าน ๙ ไฮไลต์ของสถานีกลางบางซื่อที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้บริการที่สะดวก ปลอดภัย และการเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของประเทศ ๑ ชุมทางระบบราง  สู่การเดินทางไร้รอยต่อ “ย่านพหลโยธิน” คือชื่อเดิมของบริเวณนี้ เป็นชุมทางของเส้นทางรถไฟทุกภูมิภาคมารวมกันบนพื้นที่ 2,475 ไร่ จึงเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมระบบรางแห่งใหม่ เป็น Grand Station หรือสถานีรถไฟหลักที่ได้พัฒนาให้เป็น “ศูนย์กลางรถไฟไทย” ทุกระบบและรองรับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ เป็นโอกาสในการเพิ่มขีดความสามารถของไทยที่สามารถเชื่อมโยงทุกภูมิภาคเข้าด้วยกัน ในพื้นที่ใช้สอยกว่า 270,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 624,000 คนต่อวัน มี 24 ชานชาลาเชื่อมต่อการเดินทางระบบรางกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆให้เป็น “การเดินทางไร้รอยต่อ น้ำ บก อากาศ” ได้แก่ เชื่อมต่อการคมนาคมทางราง คือ รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง รถไฟชานเมือง และเชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้ามหานคร เชื่อมต่อการคมนาคมทางอากาศ คือ รถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 […]

เจาะลึกสถานีกรุงเทพ สถาปัตยกรรมหลังคาโค้งกว้างที่สุดเมื่อ 105 ปีก่อน

50 เมตร คือความกว้างของหลังคาโค้งที่พาดช่วงยาวโดยไม่มีเสากลางของสถานีกรุงเทพ คงไม่น่าตื่นเต้นเมื่อเทียบกับสมัยนี้ แต่เมื่อกว่า 105 ปีก่อนนั้น เป็นที่น่าตื่นตาที่สุดแห่งหนึ่งในพระนครเลย และเชื่อไหมว่าโครงสร้างหลังคานี้ยังไม่เคยต้องซ่อมครั้งใหญ่เลยจนปัจจุบัน สถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในยุคสร้างเมืองที่เปิดรับความรู้และเทคโนโลยีทางวิศวกรรมและศิลปสถาปัตยกรรมจากต่างชาติ จึงมีความผสมผสานและเป็นสิ่งบอกเล่าประวัติศาสตร์ได้น่าสนใจพอๆกับสถาปัตยกรรมที่เป็นสถานีต้นทาง เป็นจุดเริ่มต้นการสร้างเส้นทางไปยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เพื่อรักษาเอกราชในยุคล่าอาณานิคม และเป็นอีกจุดเปลี่ยนของเมือง เมื่อเกิดชุมทางการขนส่งขนาดใหญ่ ณ ทุ่งวัวลำพอง แห่งนี้ มารู้จัก สถานีกรุงเทพ ซึ่งมีรหัสสถานี 1001 ในอีกมุมมองกัน ลำดับการก่อสร้างและอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมของสถานีกรุงเทพ สถานีกรุงเทพ มีรูปแบบเป็นทรงประทุนเรือ หรือ อาร์คโค้ง หรือ ทรงกระบอกฝ่าซีกสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง วางผังอาคารเป็นรูปตัวอี (E) มีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟในเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี มีจุดเด่น คือ กระจกสีช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งติดตั้งกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า ๆ กับตัวอาคารสถานี มีนาฬิกาเรือนใหญ่ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านในเป็นเอกลักษณ์ เป็นเครื่องบอกเวลาที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น นาฬิกาทั้งสองเรือนถูกสั่งทำพิเศษให้มีไฟส่องสว่างในตัว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้าปัด 120 เซนติเมตร และเข็มนาฬิกามีขนาดยาวประมาณ 60 เซนติเมตร อาคารที่มีอายุมากกว่าชั่วอายุคน และมีผู้คนเข้าใช้งานแบบที่เรียกได้ว่า “สมบุกสมบัน” […]

การรถไฟแห่งประเทศไทย

ตึกแดง-ตึกขาว สำนักงานอายุร้อยปีของการรถไฟฯ

บันทึกภาพ อาคารพัสดุยศเส - อาคารตึกบัญชาการ สำนักงานอายุร้อยปีของการรถไฟแห่งประเทศไทย ก่อนบางส่วนจะย้ายไปสู่ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ที่จะเปิดให้บริการปลายปีนี้

สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย

บันทึกภาพ ‘สถานีรถไฟ กรุงเทพ’ ก่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ

ก่อนทุกอย่างจะย้ายไปที่ 'สถานีกลางบางซื่อ' นี่คือชุดภาพถ่าย สถาปัตยกรรม องค์ประกอบอาคาร การใช้งานพื้นที่ อาชีพ วิถีชีวิตของคนรถไฟ และคนใช้บริการรถไฟ ที่เราบันทึกได้จากการขออนุญาต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินสำรวจ ‘สถานีรถไฟ กรุงเทพ’ และอาคารสำคัญ ‘ย่านสถานีกรุงเทพ’ ซึ่งทำให้เราได้เข้าใจ แปลกใจ และประทับใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้า และอยากนำกลับมาถ่ายทอดให้ทุกคนได้ชมกัน