ห้องน้ำผู้สูงอายุ
บ้านรีโนเวตของคนสามวัย
จากบ้านเก่าของครอบครัว ปรับโฉมสู่ บ้านรีโนเวตของคนสามวัย ให้ดูโปร่งโล่ง อบอุ่น อยู่สบาย ใช้งานสะดวกมากขึ้นสำหรับผู้สูงอายุ บ้านเก่าปรับปรุงใหม่ของสมาชิกสามช่วงวัยซึ่งประกอบด้วย คุณแนท – นบพระพร สถาวิพัฒน์ เชฟทำขนมจากคาเฟ่แห่งหนึ่งในย่านสุขุมวิท คุณแม่วัยเกษียณ และคุณยาย รวมถึงคุณนัท น้องชายของคุณแนทที่แวะมาเยี่ยมเยียนเป็นประจำ บ้านรีโนเวตของคนสามวัย บรรยากาศแสนอบอุ่นหลังนี้เดิมทีเป็นบ้านเก่าอายุสี่สิบกว่าปีที่ถือเป็นพื้นที่ความทรงจำร่วมกันของทุกคนในครอบครัว ตามที่คุณแนทเล่าว่า “ตอนนั้นคุณป้า คุณแม่ คุณน้า สามพี่น้องย้ายจากต่างจังหวัดมาเรียนที่กรุงเทพฯ ก็เลยซื้อบ้านหลังนี้อยู่ด้วยกันค่ะ ต่อมาคุณป้าและคุณน้าแยกย้ายไปอยู่ที่อื่น เลยเหลือแค่ครอบครัวของคุณแม่ ส่วนแนทก็เกิดและโตที่บ้านหลังนี้ อยู่ที่นี่มาสามสิบกว่าปีแล้วค่ะ” ปรับบ้านใหม่เพื่อสมาชิกสูงวัย ก่อนหน้านี้บ้านผ่านการต่อเติมมาแล้วหลายครั้งโดยคุณพ่อ ผู้เคยทำอาชีพรับเหมาก่อสร้าง แต่เมื่อคุณพ่อจากไปบ้านก็เริ่มทรุดโทรมลง คุณแม่จึงตัดสินใจรีโนเวตบ้านใหม่ทั้งหมด นอกจากเพื่อให้สวยเหมือนใหม่และดูอบอุ่นน่าอยู่ขึ้นแล้ว จากประสบการณ์การได้ดูแลคุณพ่อที่ป่วย คุณแม่และลูกๆ พบว่าการจัดสรรพื้นที่ภายในบ้านเดิมไม่สะดวกสำหรับการใช้งานของผู้สูงอายุ จึงตั้งใจปรับปรุงบ้านใหม่ให้เหมาะกับผู้สูงวัยมากขึ้น และชวนคุณยายมาอยู่ด้วยกัน คุณหนุ่ม – สิทธิชัย ชมภู สถาปนิกจาก PERSPACETIVE ตีโจทย์ที่ได้รับจากเจ้าของบ้าน โดยแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัยชั้นล่าง ทั้งห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องครัว […]
ป้องกันอันตรายในบ้านผู้สูงอายุ
เพราะผู้สูงอายุคือผู้ใช้งานในบ้านที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ การออกแบบบ้านจึงควรรองรับการใช้งานของผู้สูงอายุด้วย มาดู 7 จุดที่ควรระวังในการ ออกแบบบ้านผู้สูงอายุ มาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ควรทำ และไม่ควรทำบ้าง ทางลาดไม่อันตราย ทางลาดเป็นองค์ประกอบแรกที่ควรรู้ในการ ออกแบบบ้านผู้สูงอายุ การทำทางลาดอาจทำให้เปลืองพื้นที่บ้านไม่น้อย แต่จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อมีผู้สูงอายุที่เดินขึ้นลงบันไดลำบาก หรือมีการใช้รถเข็น โดยมีหลักการทำทางลาดที่ปลอดภัยดังนี้ แบบบ้านผู้สูงอายุ มีความลาดเอียงที่สามารถขึ้นลงได้ปลอดภัย โดยมีอัตราความลาดเอียงดังนี้ อัตราความลาดเอียงน้อยกว่า 1 : 10 ลาดชันเกินไป ก่อให้เกิดอันตรายได้ อัตราความลาดเอียง 1 : 10 ต้องมีผู้ช่วยเข็นรถเข็น อัตราความลาดเอียง 1 : 12 – 1 : 20 ผู้นั่งรถเข็นสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทางลาดมีความยาวไม่เกิน 6 เมตร มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร หากทางลาดมีความยาวเกิน 6 เมตร ต้องมีชานพักยาว 1.50 เมตร และถ้าทางลาดทุกช่วงยาวรวมกันมากกว่า 6 เมตร ทางลาดต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 […]
ติดตั้งราวกันลื่นในห้องน้ำไม่ยากอย่างที่คิด
ราวกันลื่น ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยกําลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีสมาชิกวัยเกษียณอยู่บ้านมากขึ้น แน่นอนว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์อํานวยความสะดวกต่างๆ ให้เหมาะกับผู้สูงวัย โดยเฉพาะในห้องน้ำที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ห้องน้ำผู้สูงอายุ อีกหนึ่งสวนที่ต้องพิจารณาคือการเลือกราวจับหรือ ราวกันลื่น มาติดตั้งเพื่อเพิ่มความปลอดภัย นอกจากจะช่วยพยุงตัวและป้องกันอันตรายแล้ว ยังเป็นการเสริมกําลังใจให้ผู้สูงวัยรู้สึกว่ายังแข็งแรง สามารถดูแลตัวเองได้ โดยมีให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ เช่น ราวจับรูปตัวไอ (I) ราวจับรูปตัวแอล (L) ราวจับเข้ามุม ราวจับแบบพับได้ ฯลฯ ขั้นตอนการติดตั้ง ราวกันลื่น 1.ใช้ดินสอหรือปากกาทำเครื่องหมายที่เราจะติดตั้งราวจับหรือราวทรงตัวในห้องน้ำ โดยระยะติดตั้งมาตรฐานที่แนะนำ ควรสูงจากพื้น 60-85 เซนติเมตร หรือตามความเหมาะสมของผู้ใช้งาน 2.จากนั้นใช้ดินสอทำเครื่องหมายตำแหน่งที่จะเจาะรูให้ครบทุกจุด แล้วใช้สว่านเจาะรูตามเครื่องหมายที่ได้ทำไว้ 3.ใช้ดอกสว่าน ขนาด 8 มิลลิเมตร หรือดูขนาดดอกสว่านได้จากชุดสกรูว์และพุกที่มีมาให้พร้อมกับราวจับ โดยเจาะไปที่ผนังให้ลึกประมาณ 2.5 เซนติเมตร 4.นำพุกที่ให้มาใส่ไปในรูที่เจาะไว้ แล้วใช้ค้อนค่อยๆตอกพุกเข้าไป จนแน่ใจแล้วว่าปลายพุกขยายตัวแล้ว 5.จากนั้นขันสกรูว์ยึดชิ้นงานกับพุก แล้วครอบฝาครอบปิดให้สนิทเพื่อความสวยงาม 6.ทดลองใช้งาน เพื่อยืนยันว่าราวจับหรือราวกันลื่นยึดติดกับผนังแข็งแรงดีแล้ว หากยังไม่มั่นคงแน่นหนา ให้ขันสกรูว์ย้ำอีกครั้ง เพียงเท่านี้ผู้ใช้งานก็สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ TIPS -ราวจับควรทำจากวัสดุที่แข็งแรงและปลอดภัย เช่น สเตนเลส ผิวเรียบ […]
แก้ปัญหาพื้นห้องน้ำลื่น
ห้องน้ำเป็นจุดที่ผู้สูงอายุมักจะลื่นล้มอยู่เสมอ จากปัจจัยทางด้านร่างกายที่อ่อนแรงตามอายุ แต่สามารถป้องกันในเบื้องต้นได้ด้วยการแก้ไข พื้นห้องน้ำลื่น ด้วยวิธีดังนี้