ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
เถางูเขียว
เครืองูเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์: Vanilla aphylla Rolfe วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: เกือบกลมหรือแบนเล็กน้อย และเป็นสี่เหลี่ยมขอบมน ผิวต้นเกลี้ยง สีเขียวเข้ม ปล่องยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร รากออกที่ข้อ ใบ: ปกติไม่มีใบ ดอก: ออกดอกเป็น็นช่อสั้นตามข้อ 2-3 ดอก กลีบดอกสีขาวอมเขียว กลีบปากสีขาว โคนเชื่อมติดกับเส้าเกสร ลักษณะม้วนห่อขึ้น ด้านในสีเหลืองอมน้ำตาล ปลายผายออกเป็นแผ่นยาว ขอบย้วยเป็นคลื่น มีขนยาวสีชมพูเรื่อหนาแน่น ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติเป็นไม้เถาเลื้อย อวบน้ำ […]
สามปอยหลวง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Vanda denisoniana Bens.& Rchb.f. var. hebraioca Rchb.f. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: กลม แข็ง ตั้งตรง ใบ: รูปขอบขนาน พับเป็นราง แผ่นใบหนาและเหนียว ดอก: ออกดอกเป็นช่อโปร่ง ลักษณะดอกคล้ายสามปอยดง แต่กลีบดอกสีเหลืองไม่มีลายตาข่าย กลีบปากสีเหลืองอ่อน ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ตัดดอก
เอื้องลิ้นดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Luisia thailandica Seidenf. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: กลมยาวและแข็ง ตั้งตรง สูง 20-50 เซนติเมตร ใบ: กลมยาวคล้ายต้น เรียงเป็นระยะๆ รอบต้น ดอก: ออกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหนาเป็นมันและงุ้มลงมาคลุมกลีบปาก สีเหลืองอมเขียว กลีบปากเป็นแผ่นหนา สีม่วงอมน้ำตาลเข้ม แยกเป็นสองช่วง ช่วงโคนผิวเรียบและมีหูปาก ช่วงปลายแผ่เป็นแผ่นกลมหรือรูปไข่ ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ดอกบานหลายวัน ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติบางครั้งก็พบขึ้นบนหิน
เอื้องม้าลาย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Phalaenopsis minus Seidenf. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: คล้ายตากาฉ่อ (P.deliciosum) ใบ: รูปขอบขนาน คล้ายตากาฉ่อ แต่กว้างกว่า ดอก: ออกเป็นช่อ บานค่อนข้างพร้อมกัน กลีบเลี้ยงละกลีบดอกสีเหลืองนวล มีแถบเส้นสีม่วง กลีบปากแคบ สีเหลือง ปลายแหลม มีแต้มจุดประสีม่วง ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นกล้วยไม้ที่พบเฉพาะในประเทศไทย พบได้ในภาคอิสาน แต่หายาก
เหยือกน้ำดอย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Acanthephippium striatum Lindl. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ลำต้น: มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นเหนือดินมีลักษณะเป็นหัว ใบ: รูปขอบขนาน แผ่นใบหนาอวบและแข็ง ดอก: ออกเป็นกระจุกจากโคนหัว ดอกสีขาว โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเปิดออก ทำให้ดอกเป็นถุง กลีคบปากเล็ก สีเหลือง ทยอยบานครั้งละ 1-2 ดอก ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: ใบไม้ผุผสมอิฐมอญทุบ น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: เป็นกล้วยไม้หายาก
กะเรกะร่อนปากเป็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cymbidium finlaysonianum Lindl. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: ขึ้นเป็นกอแน่น พบมากตามต้นตาลในท้องนา ต้นสั้นมีใบหุ้ม ใบ: เป็นแถบยาวหนาและแข็ง โคนใบซ้อนแน่น มีกระจุกรากจำนวนมาก ดอก: ออกดอกเป็นช่อห้อย เก่า ยาว 20-60 เซนติเมตร ช่อดอกโปร่ง กลีบดอกรูปแถบแคบยาว สีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ หูกลีบปากกระดกตั้งขึ้นทั้งสองข้าง สีม่วงแดง กลีบปากสีขาว ปลายมีแถบรูปคล้ายเกือกม้า สีม่วงแดง มีสันนูนตามยาว 2 แนว ทยอยบานเป็นเวลานาน ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ กาบมะพร้าว รากเฟินชายผ้าสีดา เศษกระถางแตก หินภูเขาไฟ เป็นต้น น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ […]
เอื้องสายน้ำครั่ง
เอื้องครั่งสายสั้น ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium parishii Rchb.f. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: เป็นลำกลมหรือคดโค้ง ยาว 10-30 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1.2 เซนติเมตร ขึ้นเป็นกลุ่มไม่มีทิศทางแน่นอน ผิวต้นมีเยื่อกาบใบสีเทาอ่อนอมขาวหุ้ม ใบ: รูปขอบขนานแกมใบหอก ขนาด 8-10 x 2 เซนติเมตร แผ่นใบบาง มี 3-5 ใบ และร่วงเมื่อต้นเจริญเต็มที่ ดอก: ออกตามข้อเป็นช่อสั้น ช่อละ 1-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง โคนกลีบปากกระดกห่อขึ้น ขอบฉีกเป็นริ้วละเอียด สีม่วง มีปื้นกว้างสีม่วงเข้ม 2 ปื้นที่กลางกลีบ ดอกขนาด 3.5-5 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ดิน: วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี โปร่ง ระบายน้ำและอากาศดี เช่น ถ่านทุบ อิฐมอญทุบ […]
เอื้องผึ้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium lindleyi Steud. ชื่อพ้อง: Dendrobium aggregatum Roxb. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น: เป็นลำรูปรี มักแบนเล็กน้อย ขนาด 5-12 x 1.5-2 เซนติเมตร ผิวแห้ง สีเขียวเข้ม ขึ้นเป็นกระจุกแน่น แต่ละต้นมี 1 ใบที่ยอด ใบ: รูปรี ขนาด 6-12 x 2-2.5 เซนติเมตร แผ่นใบหนา แข็ง และเหนียว สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลมมนหรือหยักเว้าตื้นๆ ดอก: ช่อดอกเกิดจากข้อห้อยลงเป็นพวง มากกว่า 20 ดอก ดอกขนาด 2.5-3 เซนติเมตร กลีบดอกสีเหลืองอ่อนไปจนถึงเหลืองสด กลีบปากใหญ่ โคนกระดกห่อขึ้น ปลายผายออกกว้าง สีเหลืองเข้ม ขอบสีอ่อนกว่า มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม วัสดุปลูก: […]
ตดหมูตดหมา
กระพังโหมตัวเมีย ตดหมา ย่านพาโหม ชื่อวิทยาศาสตร์: Paederia linearis Hook. f. วงศ์: Rubiaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้น: สีเขียวอ่อน ขนาดเล็ก ใบ: รูปแถบยาว ปลายแหลม โคนใบยื่นเป็นติ่งหู ดอก: ออกเป็นช่อตามซอกใบและหลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก ดอกสีขาว รูปหลอด ด้านในสีม่วงเข้ม ปลายแยก 5 แฉกตื้นๆ และหยิกย่น ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผล: รูปไข่หรือกลม เมื่อแก่แห้งและแตก อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ทั่วไป น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: เป็นยาสมุนไพร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับลมหรือใช้ใบตำพอกแก้ปวดศีรษะ ลำต้นและใบมีกลิ่นเหม็น เนื่องจากมีสาร Methyl mercaptan ดมื่อต้มกลิ่นเหม็นจะหายไป […]