The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์

โปรเจ็กต์รีโนเวตอาคารพาณิชย์เก่าสภาพทรุดโทรม สู่ บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์ เปรียบการค้นหาคำตอบของชีวิต ผ่านความหมายของไพ่ และรสชาติของเครื่องดื่ม ที่สร้างสรรค์โดย Mixologist นักดีไซน์เครื่องดื่มผู้ชำนาญ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: MOMstudio จากภายนอก The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต ดูสะดุดตาแตกต่างจากอาคารที่อยู่ใกล้เคียง ซ่อนความลึกลับไว้ภายในซึ่งอยู่เบื้องหลังเปลือกอาคารที่ทำจากแผงวัสดุสีโลหะรูปทรงเหมือนไพ่ โดยติดตั้งแบบบิดองศาเหมือนไพ่กำลังเคลื่อนไหวยามถูกเปิดออก กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าเชื้อเชิญให้อยากเข้ามาหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ภายใน บาร์ลับในรูปลักษณ์ที่ดูคล้ายวิหารแห่งคำทำนายนี้ ผู้ออกแบบจาก MOMstudio ได้แรงบันดาลใจมาจากป้อมปราการในอารยธรรมโลกเก่า หรือยุคกลาง ที่สร้างขึ้นด้วยอิฐ และหิน ฉาบหุ้มด้วยวัสดุ หรือสีสันจากธาตุธรรมชาติอย่าง ดินแดง หรือโลหะอย่าง ทองแดง ดูแล้วศักดิ์สิทธิ์ ปนลึกลับอยู่ในที เชื่อมต่อกับแนวคิดการออกแบบที่ทีมออกแบบได้ตีความคอนเซ็ปต์ของร้านมาจากการเปิดไพ่ทาโรต์ ที่ผู้เปิดไพ่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังไพ่แต่ละใบได้ การเปิดไพ่แต่ละครั้งจึงเปรียบเหมือนการเดินเข้าไปสู่พื้นที่ที่คาดเดาไม่ได้ของ The Fool Speakeasy Bar โดยเรียงลำดับการรับรู้ของผู้ใช้งานตั้งแต่ก่อนเข้าบาร์ที่ลูกค้าจะได้สัมผัสกับการบริการเป็นกันเองของ Mixologist ระหว่างที่กำลังรังสรรค์เครื่องดื่มค็อกเทล จนถึงการได้รับรสจากเครื่องดื่ม เสมือนการเดินทางที่เริ่มต้นจากความไม่รู้ เพื่อพบเจอสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ แล้วจึงค่อย ๆ คลี่คลายในคำตอบที่เลือกด้วยตนเอง ผู้ออกแบบใช้องค์ประกอบของไพ่รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการเล่าเรื่องราวของไพ่ทาโรต์ที่สอดคล้องกันตั้งแต่สถาปัตยกรรมภายนอกไปจนถึงภายใน สถาปัตยกรรมภายนอกทำหน้าที่ปกปิดอาคารถูกห่อหุ้มด้วยผิวของอาคาร 2 […]

ไอเดีย ฟาซาดอิฐ ไม่ซ้ำใคร! กับ โครงสร้างคอร์เบล

ความสวยงามทางสถาปัตยกรรมนั้นอาจมีเทคนิคหลายวิธีการ อาทิตย์ที่ผ่านมา room ได้นำเสนอผลงานจากวัสดุอิฐที่หลากหลาย วันนี้ room Design Tips จึงขอแนะนำไอเดียงานโครงสร้างจากวัสดุอิฐ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ นอกจากความสวยงามแล้ว ยังช่วยระบายอากาศ กันแสงแดด หรือความเป็นส่วนตัวให้แต่ละยูนิตในอพาร์ตเมนต์ ไอเดียงานโครงสร้างอิฐวันนี้ จึงมีตัวอย่างผลงาน Sienna Apartments จากสถาปนิก Sameep Padora & Associates ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเมืองไฮเดอราบาด ที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองและสวนสาธารณะที่อยู่ติดกัน ไฮเดอราบาดเป็นหนึ่งในเมืองแรก ๆ ในอินเดียที่เริ่มก่อสร้างอาคารแบบสมัยใหม่ ไฮไลต์ของฟาซาด (façade) ที่ประกอบไปด้วยผนังที่ช่วยป้องกันแสงแดด สถาปนิกได้ทำงานร่วมกันกับช่างก่ออิฐจากเมืองพอนดิเชอร์รี่ ทางตอนใต้ของอินเดีย และออกแบบระบบของผนังที่ทำจากกำแพงอิฐหนา 9 นิ้ว เพื่อรับน้ำหนักของทับหลังที่เป็นหิน หน้าต่างกระจกที่ไม่ได้ถูกใช้งานติดตั้งอยู่ในช่องเปิดที่เกิดจากงานอิฐและส่วนที่ยื่นมาของทับหลัง โดยใช้เทคนิคโครงสร้างคอร์เบล (โครงสร้างแป้นหูช้าง )ใช้ในการเชื่อมต่อโครงสร้างระหว่าง คาน กับเสาหรือผนังนั้นอย่างสมบูรณ์แบบ ไม้แม่แบบจึงได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ช่างก่ออิฐทำงานด้วย ถือว่าโครงการอพาร์ตเมนต์นี้ประสบความสำเร็จจากการออกแบบเทมเพลตไม้แบบ low-tech ก่อสร้างโดยช่างท้องถิ่นแบบเรียบง่ายแต่แม่นยำ ด้วยความเชี่ยวชาญของช่าง ทั้งช่างและสถาปนิกจึงได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันอีกด้วย #รู้หรือไม่ โครงสร้างคอร์เบล ( CORBEL STRUCTURE […]

ASTON GILBERT คาเฟ่นครศรีฯ เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติกลางสวนป่ายางพารา

Aston Gilbert คาเฟ่นครศรีฯ กลางสวนยางพารา ในอำเภอพรหมคีรี เกิดขึ้นจากความตั้งใจของคุณแชมป์-ภวัต สุวรรณมาศ เจ้าของร้านที่อยากดึงเอกลักษณ์สภาพแวดล้อมที่ตั้ง ซึ่งอยู่ในสวนยางพารากว่า 30 ไร่ ของครอบครัว ให้มาเป็นส่วนหนึ่งกับอาคารเพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์การดื่มกาแฟที่แปลกใหม่ พร้อม ๆ กับการได้เฝ้ามองสีสันของธรรมชาติที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: VARC HD+ID สถาปนิกผู้ออกแบบ Aston Gilbert จาก VARC HD+ID เล่าว่า เนื่องจากบริบทรอบ ๆ ของที่ตั้งอยู่กลางสวนยางพารา รอบ ๆ เป็นสวนผลไม้ และชุมชนเล็ก ๆ มีถนนลัดเลาะไปตามภูเขา จึงออกแบบอาคารของคาเฟ่ให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติ ไม่ดูแปลกแยกจากบริบทจนเกินไป นำมาสู่รูปแบบสถาปัตยกรรมสไตล์โมเดิร์นแบบถ่อมตน โชว์สัจวัสดุและความงามของธรรมชาติรอบ ๆ ที่ตั้ง ซึ่งไม่ซ้ำกันสักวันอย่างในฤดูฝนสวนยางจะเขียวชอุ่มสดชื่น ต่างจากฤดูร้อนที่จะมองเห็นต้นยางทิ้งใบสีน้ำตาล ลำต้นโอนเอนไปตามแรงลม และแสงแดดที่ลอดผ่านกิ่งก้านลงมายังพื้นดินเบื้องล่าง ภาพเหล่านี้ถูกสะท้อนไปที่ฟาซาดกระจกเงานับ 90,000 ชิ้น ซึ่งช่วยเปลี่ยนมู้ดของอาคารไปตามแต่ละช่วงเวลา และกระจกเงาที่ใช้กรุฟาซาดนี้ ยังนับเป็นงานสุดท้าทายของสถาปนิก เสมือนการทดลองเรียนรู้ไปพร้อมกัน ทั้งเจ้าของร้าน ผู้ออกแบบ และช่างประจำท้องถิ่น […]

NARROW BRICK HOUSE “บ้านอิฐ” สไตล์มินิมัล กับไอเดียเชิญแขกชื่อ “ธรรมชาติ” เข้าบ้าน

“บ้านอิฐ” ทรงกล่องของครอบครัวกะทัดรัด ในประเทศอินเดีย ที่อยากให้ธรรมชาติเข้ามาทายทักทุกช่วงเวลา กับการออกแบบที่นำวัสดุธรรมชาติอย่าง “อิฐ” มาสร้างสรรค์เป็นบ้านดีไซน์โมเดิร์น โดย บ้านอิฐ หลังนี้ เน้นการออกแบบเพื่อให้ธรรมชาติเข้ามาสร้างบรรยากาศ และความสุนทรียภาพแห่งการอยู่อาศัย ถูกสร้างขึ้นตามสัณฐานของพื้นที่ที่ทั้งแคบ และลาดเอียง แต่กลับสามารถจัดการได้ พร้อมกันนั้นยังเติมเต็มทุกประสาทสัมผัสให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติเมืองร้อน ตัวบ้านมีพื้นที่ใช้สอยรวม 117 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนที่ดินตอนลึกขนาด 283 ตารางเมตร และมีหน้ากว้างเพียง 4.8 เมตรมาพร้อมกับความท้าทายในการออกแบบ ด้วยการบรรจุการใช้งานพื้นฐานลงไปบนพื้นที่ที่มีความลาดเอียงตามความยาวของไซต์ พร้อม ๆ กับต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะช่วยให้บ้านอยู่สบาย เปิดรับธรรมชาติให้เข้ามาเป็นแขกประจำได้อย่างสนิทสนม เริ่มต้นตั้งแต่เปลือกอาคาร หรือฟาซาดด้านหน้าที่เกิดจากการเรียงอิฐให้มีช่องว่าง เพื่อให้แสงธรรมชาติ และอากาศบริสุทธิ์สามารถไหลเวียนเข้ามาสู่ด้านในของบ้านได้ และทันทีที่เข้ามาจะพบกับพื้นที่นั่งเล่นด้านหน้า รับกับช่องแสงขนาดใหญ่ โดยออกแบบให้มีระดับความสูงลดหลั่นลงไปยังพื้นที่ของห้องครัวที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นไปตามลักษณะความลาดเอียงของที่ดิน การตกแต่งเป็นการผสมผสานทั้งเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน และเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวทำมาจากไม้สีอ่อน ช่วยเสริมบรรยากาศให้บ้านดูอบอุ่น มีจุดเด่น คือต้นไม้จริงในบ้านที่รับแสงจากสกายไลท์เล็ก ๆ ที่ตั้งใจให้อยู่ตรงตำแหน่งของต้นไม้พอดี เปรียบเสมือนเป็นโอเอซิสขนาดเล็กช่วยสร้างความสดชื่น ก่อนนำขึ้นชั้นสองด้วยบันไดทำจากคอนกรีตเปลือย ห้องนอนใหญ่ด้านหน้าบ้านได้ออกแบบให้มีระเบียง และประตูบานเลื่อนที่เปิดต้อนรับแสงและลมที่เข้ามาจากฟาซาดอิฐได้เต็มที่ จึงเรียกว่าบ้านหลังนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของการออกแบบเชิงพื้นที่อย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อมอบฟังก์ชันการใช้งานที่ครบครันลื่นไหล ต้อนรับธรรมชาติให้เข้ามาทายทักทุกแง่มุม ออกแบบ : Srijit […]

บ้านตอบโจทย์ครอบครัวต่างวัย เปิดสเปซเชื่อมต่อความสุข

เมื่อถึงคราวต้องปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัย จากบ้านที่เป็นอาคารพาณิชย์ในตัวเมืองเชียงใหม่ สู่การสร้างบ้านหลังใหม่ ซึ่งเป็นอีกบทหนึ่งของชีวิต แน่นอนว่าต้องเป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ เหนืออื่นใดคือต้องเติมเต็มความสุขให้สมาชิกทุกคน แม้จะต่างวัยกันแค่ไหน แต่ก็อยู่ร่วมกันได้อย่างอบอุ่น จากทำเลที่มองเห็นวิวดอยคำ ดอยสุเทพ และใกล้กับอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ในจังหวัดเชียงใหม่ ครอบครัวขยายของสองทันตแพทย์ ทพ. วัลลภ ธีรเวชกุล และ ทพญ. สรินภรณ์ ธีรเวชกุล ได้ไว้วางใจให้ทีมสถาปนิกจาก STUDIO SATi มารับหน้าที่ออกแบบบ้านให้สอดคล้องกับบริบท และความต้องการของสมาชิก 3 เจเนอเรชั่นที่ย้ายเข้ามาอยู่พร้อมหน้ากันถึง 7 คน โดยมีคุณยาย 2 ท่าน คุณพ่อคุณแม่ ลูกชาย ลูกสาว และหลาน ความท้าทายจึงอยู่ที่การออกแบบให้ทุกคนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กัน ไปพร้อม ๆ กับมีพื้นที่สำหรับกิจกรรมส่วนตัว รวมถึงเป็นพื้นที่ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ๆ ในบ้านด้วย เนื่องจากตัวบ้านหันไปทางทิศใต้กึ่งตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่รับแดดบ่ายโดยตรง การออกแบบสถาปัตยกรรมจึงต้องคำนึงถึงปริมาณแสงและความร้อนเป็นพิเศษ สถาปนิกออกแบบผนังด้านหน้าบ้านเป็นลักษณะแนวผนังทึบก่ออิฐมอญบิดมุมให้เกิดองศาที่พอเหมาะเพื่อช่วยบังสายตาและกันแสงแดด โดยมีช่องเปิดให้ลมพัดผ่านและมองเห็นวิวได้ “เราออกแบบให้ตัวโถงบันไดและสระว่ายน้ำอยู่ด้านหน้าบ้าน ให้เป็นส่วนรับแดดช่วงบ่าย การใช้น้ำมาเป็นองค์ประกอบจะช่วยให้บ้านไม่ร้อนมาก และมีโถงบันไดด้านหน้าซึ่งเป็นจุดรับความร้อนได้ดี ออกแบบให้มีผนังอิฐเฉียงเพื่อบังแดดและบิดมุม […]

BRICK SCREEN HOUSE บ้านอิฐ หลากแพตเทิร์น ดีไซน์เรียบง่ายในอินเดีย

บ้านอิฐ สะท้อนรสนิยมและบุคลิกภาพของเจ้าของบ้าน เกิดขึ้นจากการคำนึงถึงทิศทางของแสงแดด และสภาพอากาศของประเทศอินเดีย รูปทรงของ บ้านอิฐ หลังนี้ ถูกกำหนดโดยขนาดของที่ดิน ทำให้โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยยังคงมีพื้นที่ว่างรอบ ๆ ตัวบ้านอย่างเหลือเฟือ ดูแล้วเหมือนที่นี่จะเพอร์เฟ็กต์ จนแทบไม่มีปัญหาใด ๆ ให้ต้องแก้ไข แต่แท้จริงแล้วบ้านนี้มีปัญหาใหญ่ นั่นคือส่วนของหน้าบ้านที่หันไปทางทิศใต้ซึ่งมีแสงจ้า ดังนั้นเพื่อขจัดปัญหานี้ ผนังด้านดังกล่าวจึงถูกสร้างเกราะกำบังขึ้นด้วยเปลือกอาคารอิฐที่มีแพตเทิร์นสวยงามยาวต่อเนื่องเกือบตลอดตัวอาคาร ทำหน้าที่เป็นผนังชั้นนอกช่วยกรองแสง และพรางสายตาจากผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ขณะที่ผนังอาคารอีกด้านที่ไม่กระทบกับแดดโดยตรงนั้น เลือกกรุเปลือกอาคารด้วยอิฐลายดอกไม้ มีระเบียงเล็ก ๆ เป็นกันชนอยู่ระหว่างพื้นที่พักอาศัยชั้นใน เพื่อไม่ให้แสงแดดและความร้อนปะทะเข้ามาตรง ๆ แต่ลมยังคงพัดผ่านเข้ามาได้ ช่วยให้อากาศภายในบ้านหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก แต่ในเมื่อบ้านถูกปิดล้อมด้วยเปลือกอาคารอิฐ แสงสว่างดูเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนวิตกว่าอาจไม่เพียงพอ สถาปนิกจึงเรียกแสงด้วยวิธีทำช่องหลังคาสกายไลท์ไว้ด้านบนโถงกลางบ้าน ซึ่งเป็นมุมรับประทานอาหารและพักผ่อน เพื่อให้แสงสว่างส่องมายังพื้นที่ชั้นล่างนี้ โดยมีต้นไม้ในบ้านช่วยเพิ่มความสดชื่น ให้ความรู้สึกสบายและปลอดโปร่งตลอดทั้งวัน ส่วนงานออกแบบตกแต่ง สถาปนิกยังคงเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยเฉพาะกระเบื้องหินขัดที่นำมาปูพื้น เพื่อกำหนดพื้นที่ใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น พื้นที่รับประทานอาหาร แม้แต่เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งก็ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดี เข้ากับสุนทรียศาสตร์ของอินเดีย เช่น โคมไฟที่แขวนอยู่เหนือคอร์ตกลางบ้าน ชิงช้าไม้ เตียงนอน ฯลฯ ออกแบบ : MS […]

REFRACTION HOUSE บ้านผนังบล็อกแก้ว ช่วยกันร้อนและกระจายแสงให้บ้านโปร่ง

โปรเจ็กต์การทดลองจาก RAD + ar กับการตั้งคำถามถึงวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างบ้าน ที่จำเป็นต้องหันหน้าเผชิญกับแสงแดดจากทิศตะวันออกและตะวันตก ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านออกมาสวยงามน่าอยู่ พร้อม ๆ กับการปกป้องพื้นที่ด้านในจากความร้อนของแสงแดด นำมาสู่การเลือกใช้ “บล็อกแก้ว” มาออกแบบเป็นองค์ประกอบของเปลือกอาคารขนาดใหญ่ จากปัญหาตำแหน่งที่ตั้งซึ่งขวางอยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก แน่นอนว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศอินโดนีเซีย ย่อมต้องเจอะเจอกับแสงแดดจัดจ้าและความร้อนตลอดทั้งวัน ไม่อำนวยต่อการเปิดรับแสงธรรมชาติโดยตรงสักเท่าไหร่นัก จึงต้องคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้การออกแบบผนังส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สามารถป้องกันแสงแดดและลดความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติของ บล็อกแก้ว ที่ช่วยหักเหแสง กันความร้อน กันเสียง และไม่ทำให้บ้านทึบ วัสดุชนิดนี้จึงกลายเป็นคำตอบเพื่อให้บรรลุถึงความยั่งยืน   ด้วยการนำบล็อกแก้วมาออกแบบเป็นผนังทั้งส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สำหรับทำหน้ากันแสงแดดและลดความร้อนให้บ้าน โดยยังยอมให้แสงสว่างส่องลึกเข้าไปยังตัวบ้านด้านในได้ ทั้งนี้พื้นที่ระหว่างเปลือกอาคารบล็อกแก้วกับพื้นที่ใช้งานภายในบ้าน สถาปนิกได้ออกแบบให้มีระเบียงขนาดใหญ่คั่นอยู่ตรงกลางเพื่อใช้พักผ่อน โดยการเว้นสเปซดังกล่าวนี้ เผื่อไว้ในเวลากลางคืนที่ความร้อนจะถูกปล่อยออกมาจากบล็อกแก้ว จึงไม่กระทบกับการอยู่อาศัยมากนัก ขณะเดียวกันห้องต่าง ๆ ที่หันหน้าไปยังหน้าบ้าน ก็จะรับแสงสว่างได้อย่างเพียงพอในช่วงกลางวัน จนแทบไม่ต้องเปิดไฟใด ๆ เลย    ขยับเข้ามายังพื้นที่ใช้งานด้านใน ออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง โอบล้อมด้วยผนังบล็อกแก้วทั้งสามด้าน สร้างความร่มรื่นด้วยการปลูกไม้ฟอร์มสวยอย่าง ต้นแปรงล้างขวด ซึ่งมีดอกสีแดง และกิ่งก้านห้อยระย้า ช่วยสร้างเส้นสายพลิ้วไหว ตัดกับความดิบกระด้างของวัสดุ และโครงสร้างของบ้านได้อย่างดี โดยที่แสงธรรมชาติจากคอร์ตยอร์ดยังส่องผ่านไปยังผนังบล็อกแก้ว ช่วยให้พื้นที่บ้านชั้นในดูสว่างขึ้นได้อีกทาง  นับเป็นการออกแบบบ้านที่ทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมของที่ตั้งได้อย่างแยบยล […]

HOA’S HOUSE บ้านคอนกรีต หลังใหญ่กลางตลาด กับการใช้งานอาคารแบบมิกซ์ยูส

Hoa’s House บ้านคอนกรีต หลังใหญ่กลางตลาดในเมืองไซง่อนที่พลุกพล่าน กับการออกแบบให้มีฟังก์ชันแบบมิกซ์ยูส ทั้งอยู่อาศัยและสร้างรายได้ไปพร้อมกัน หากสัญจรผ่านไปมาตรงหัวมุมสามแยกของตลาด สิ่งที่อดเหลียวมองขึ้นไปไม่ได้ คือภาพ บ้านคอนกรีต หลังใหญ่ที่ตั้งตระหง่านดูเคร่งขรึมโดดเด่นกว่าใครในย่าน โดยตั้งอยู่บนพื้นที่ 113 ตารางเมตร กับขนาดความสูงถึง 6 ชั้น แสดงตัวตนผ่านงานดีไซน์ที่เน้นโชว์พื้นผิวคอนกรีตที่เรียบง่าย และปกคลุมด้วยต้นไม้สีเขียว ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบอกว่า สะท้อนตัวตนของเธอออกมาได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเจ้าของอาคาร เธอต้องการสร้างที่นี่ให้แตกต่างจากตึกแถวหลังอื่น ๆ ที่อยู่แวดล้อม เพื่อให้ใครเห็นแล้วจดจำได้ง่าย บวกกับต้องการต่อยอดธุรกิจเปิดพื้นที่ชั้นล่างให้เช่า ส่วนชั้นบนเป็นพื้นที่พักอาศัยส่วนตัว H.2 ทีมสถาปนิกผู้ออกแบบจึงต้องคิดฟังก์ชันเผื่อสำหรับการใช้งานที่หลากหลายดังกล่าว เริ่มตั้งแต่ชั้น 1ที่ออกแบบให้เป็นโรงรถ และร้านค้าให้เช่า ชั้น 2 ทำเป็นอพาร์ตเมนต์ขนาดเล็ก 3 ห้อง และชั้น 3 เป็นอพาร์ตเมนต์ขนาดใหญ่ 3 ห้อง ให้เช่า ส่วนชั้น 4 ออกแบบให้มีห้องนอนใหญ่ 1 ห้อง ห้องนอนเล็ก 2 ห้อง พร้อมห้องนั่งเล่น ชั้น 5 […]