ออกแบบสนามเด็กเล่น – บ้านและสวน

MAGMA FLOW PUBLIC SPACE ปะทุความสดใสด้วยสวนแมกมา กระตุ้นย่านให้คึกคักมีชีวิตชีวา

Magma Flow Public Space ขยายภาพลาวาปะทุ สู่ไอเดียการออกแบบสวนสาธารณะสีสันสดใส กระตุ้นให้ย่านถนนคนเดินในหนิงป่อ มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ซึ่งเป็นย่านการค้าและที่อยู่อาศัยแห่งใหม่อันสำคัญให้คึกคัก ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของโปรเจ็กต์นี้ คือการมีบันไดขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นทางเดินไปยังชั้น 2 ของอาคารที่พักอาศัยใกล้เคียง ก่อนจะถ่ายเททางเดินลงสู่พื้นที่ทางเท้าด้านล่าง ซึ่งกลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบและสีสันสะดุดตา จุดไฮไลต์ของพื้นที่ คงหนีไม่พ้นภาพขั้นบันไดที่ทอดตัวจากอาคารสู่พื้นชั้นล่าง สีเหลือง สีส้ม และสีแดง สีสันโทนร้อนที่เห็นนี้ ถูกนำมาใช้เป็นธีมสีหลัก อันเป็นตัวแทนของภาพแมกมาที่ไหลปะทุลงมาจากยอดภูเขาไฟ เป็นภาพดึงดูดสายตาให้ผู้คนอยากมาใช้เวลาพักผ่อนในพื้นที่ใช้สาธารณะ แทนการเล่าเรื่องภาพภูเขาไฟและแมกมาที่ไหลนอง ด้วยเหล่าสเตชั่นสำหรับทำกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ ที่สามารถใช้งานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จุดพักผ่อนในแต่ละสเตชั่นออกแบบโดยเลียนแบบการปะทุของภูเขาไฟ แม้แต่สไลด์เดอร์สำหรับเด็ก ๆ บางอันที่คล้ายกับแมกมาไหลลงไปตามเนินเขา นอกจากนี้ยังมีชิงช้า กระดานหก เนินเขาจำลอง ทางลาด อุโมงค์ ฯลฯ เป็นอีกพื้นที่สาธารณะที่ทำหน้าที่เป็นจุดไฮไลต์ของเมือง และเป็นจุดรวมความบันเทิงภายในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ออกแบบ : 100 Architects (https://100architects.com/) ภาพ : Rex Zhou เรียบเรียง : Phattaraphon

โรงเรียน ที่เน้นเล่นเพื่อเรียน(รู้) Kensington Learning Space

โรงเรียน แนวคิดใหม่ที่ออกแบบโดยบริษัท Plan Architect แห่งนี้ ไม่ใช่เพียงรูปทรงอาคารที่น่าสนใจและแตกต่างจากโรงเรียนทั่วไป แต่เบื้องหลังของรูปทรงที่เกิดขึ้น ล้วนมาจากแนวคิดของการเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ใช้พื้นที่ตามจินตนาการ ค้นหาการรับรู้ใหม่ผ่านพื้นที่ “เล่น” ที่ปลุกเร้าความสนใจ ด้วยรูปทรงอิสระและผนังโค้งที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ และนี่ก็คือ Kensington Learning Space โรงเรียนสอนพิเศษ ที่เชื่อว่าการเล่นคือ การเรียนรู้ที่ดีที่สุด หรือที่เรียกว่าหลักสูตร Play-based Learning นั่นเอง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Plan Architect “เรียน ผ่าน การเล่น” กับโรงเรียนที่เป็นเหมือนกับโรงเรียนสอนพิเศษ มีกิจกรรมที่หลากหลาย การสร้างทักษะต่าง ๆ รวมถึงการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการเล่นเป็นหลัก เพื่อสร้างความรู้สึกให้ผู้เรียน “อยากไปโรงเรียน” เพราะในวัยแรกเรียนรู้เช่นนี้ การสร้างทัศคติที่ดีต่อการเรียนเป็นเรื่องที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลให้พื้นที่ต่าง ๆ ของโรงเรียน ได้รับการออกแบบให้มีบรรยากาศน่าสนใจและไม่จำเจ เหมือนห้องเรียนที่อยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมอย่างที่เราทุกคนคุ้นชินเมื่อพูดถึง “โรงเรียน” จาก ห้องสี่เหลี่ยม สู่ อาคารรูปวงกลม สำหรับรูปทรงของอาคารแห่งนี้ ทีมสถาปนิกได้เริ่มต้นจากการกำหนดพื้นที่ใช้งานขึ้นก่อน และแบ่งพื้นที่สีเขียวออกตามขนาดที่ดิน จากนั้นได้มีการเรียบเรียงการเข้าถึงแต่ละพื้นที่ด้วยรูปแบบ Linear ไล่เรียงกันไป ด้วยวิธีการนี้ การเข้าถึงแต่ละพื้นที่ทั้งการใช้งานและธรรมชาติโดยรอบ จึงสามารถทำได้ทั้งสองฝั่งของอาคาร การออกแบบอาคารในรูปแบบ Linear ข้างต้นนั้น […]