- Home
- อาหารกัญชา
อาหารกัญชา
เมนูกัญชา จากต้นไม้ต้องห้ามสู่การศึกษา-ต่อยอด-และนำมาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันกฎหมายปลดล็อกบางส่วนของต้นกัญชาและกัญชงที่ไม่ใช่ส่วนช่อดอกและเมล็ดให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จัดอยู่ในรายการของยาเสพติด โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โรงพยาบาลที่นำร่องเรื่องการแพทย์แผนไทยโดยใช้สมุนไพรบำบัดรักษาโรคก็ไม่หยุดที่จะเริ่มต้นศึกษาสรรพคุณในด้านต่างๆของกัญชา เพื่อนำมาใช้รักษาคนไข้และต่อยอดเป็นวัตถุดิบที่ช่วยชูรสในการประกอบอาหารอย่างปลอดภัย เมนูกัญชา ปัจจุบันโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรมีหน่วยงานที่ศึกษาเรื่องกัญชาทางการแพทย์ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ปลูกและนำกัญชามาสกัดเพื่อผลิตยาอย่างถูกต้องสำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไข้และรักษาในแพทย์แผงปัจจุบันและแพทย์แผนไทย ทำให้มีองค์ความรู้และงานวิจัยที่เกี่ยวกับสรรพคุณในส่วนต่างๆของกัญชามากพอสมควร ก่อนนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาต่อยอดเป็นเมนูอาหาร “มาชิมกัญ” ที่นำเอาส่วนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อย่างถูกกฎหมายอย่างส่วนใบของกัญชามาใช้ประกอบอาหารทั้งทำก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัดกะเพรา เล้งแซ่บ ขนมปัง ยำและเครื่องดื่ม อาหารที่ปรุงใช้ข้อมูลตั้งต้นจากภูมิปัญญาเดิมของตำหรับยาไทยมารังสรรค์เป็นอาหารที่มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol) หรือสาร THC ในปริมาณที่น้อย โดยเริ่มต้นให้บริการเฉพาะเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลก่อน ซึ่งการนำกัญชามาใช้ในเมนูอาหารถือว่าเป็นตัวนำร่องก่อนต่อยอดในธุรกิจสปาและการท่องเที่ยวต่อไป เพื่อให้ความรู้ด้านงานวิชาการการใช้ประโยชน์จากกัญชาเกิดความแพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดยทำงานร่วมกับองค์กรอาหารและยา (อย.) และสถาบันกลุ่มกัญชาทางการแพทย์เกี่ยวกับการควบคุมหรือกำกับให้ข้อมูลความรู้ กินใบกัญชาแล้วอันตรายหรือไม่ ในจำนวนสารทั้งหมดในต้นกัญชากว่า 500 ชนิด จะมีสารหลักที่สำคัญและนำมาสกัดเพื่อใช้ประโยชน์ รวมถึงมีงานวิจัยรับรองในปริมาณมากอย่างกว้างขวาง คือ สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol) หรือสาร THC ซึ่งมีชื่อเล่นว่า “สารเมา” มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol) หรือสาร CBD ซึ่งไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในกัญชาสายพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยจะมีสาร THC มากกว่าสาร CBD หากบริโภคในปริมาณสูง ระยะยาวจะทำให้เสพติด ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้ไม่เกินวันละ 5-8 ใบ สำหรับผู้ที่เคยรับประทานมาก่อน […]