อโลคาเซีย
อัปเดต 9 อโลคาเซียตัวใหม่ๆ สายพันธุ์ที่มาแรง น่าสะสม
อโลคาเซีย (Alocasia) หรือที่หลายคนคุ้นเคยในชื่อ “แก้วหน้าม้า” หรือ “นางกวัก” เป็นไม้ใบสวยอีกสกุลหนึ่งในวงศ์ Araceae ที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้ เพราะขณะนี้กำลังกลับมาเป็นที่นิยมของเหล่านักสะสมอีกครั้ง ฉบับนี้จึงรวบรวมต้นอโลคาเซียตัวใหม่ๆฮอตฮิตมาให้ชมกัน อโลคาเซียเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน ลำต้นเหนือดินเกิดจากกาบใบซ้อนกัน ใบเดี่ยวรูปหัวใจหรือลูกศร หลายชนิดได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีใบโดดเด่น สวยงามแปลกตา ปลูกเลี้ยงในกระถางใช้เป็นไม้ประดับตามระเบียง ริมหน้าต่าง หรือแม้แต่ในตัวบ้านได้ดี อโลคาเซียเป็นไม้ใบที่ปลูกเลี้ยงง่าย นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีแยกหน่อ ชอบแสงรำไร ไม่ควรโดนแสงแดดจัดโดยตรงเพราะจะทำให้ใบไหม้ ชอบชื้นแต่ไม่แฉะ ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือวัสดุปลูกต้องเก็บความชื้น มีอินทรียวัตถุและระบายน้ำได้ดี หลีกเลี่ยงไม่ให้มีน้ำขังในจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่า หมั่นสำรวจและกำจัดหนอนผีเสื้อที่มักมากัดกินก้าน ใบ และอาจลามไปกินถึงเหง้า อย่างไรก็ตาม อโลคาเซียเกือบทุกชนิดมีสารแคลเซียมออกซาเลตที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อบริเวณที่สัมผัส เช่น ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดงและคัน ดังนั้นจึงควรปลูกให้ห่างบริเวณที่มีเด็ก สัตว์เลี้ยง หรือคนเดินผ่านไปมา เรื่อง: อังกาบดอย ภาพ: Botanic at Home ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับไม้ใบหลากหลายชนิดได้เพิ่มเติมใน หนังสือ ไม้ใบ : Foliage Plants โดยสำนักพิมพ์บ้านและสวน
เยี่ยมแหล่งสะสมไม้ใบของคุณเสวกและคุณศิริวิทย์ ริ้วบํารุง และเคล็ดลับการดูแล
แฟนประจํา “บ้านและสวน” หลายท่านคงคุ้นเคยกับชื่อของ คุณวิทย์ – ศิริวิทย์ ริ้วบํารุง นักจัดสวนมากฝีมือผู้มีผลงานลงในนิตยสารหลายฉบับ รวมถึงเป็นเจ้าของร้าน Little Tree และ Whispering Cafe กันดี การเติบโตมาพร้อมกับสวนกล้วยไม้ของคุณพ่อ รวมถึงการส่งประกวดต้นไม้ตั้งแต่เด็ก เป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้คุณวิทย์ชื่นชอบและหลงใหลต้นไม้ สะสมไม้ใบดูร่มรื่น เต็มไปด้วยไม้ใบและเฟินหลากหลายชนิด “ผมโตและผูกพันกับต้นไม้มาตั้งแต่เด็ก ในสวนกล้วยไม้ของคุณพ่อ (คุณเสวก ริ้วบํารุง)มีโอกาสได้เห็นต้นไม้แปลกๆ จากการประกวดต้นไม้เลยทําให้รู้สึกชอบ ต้นไหนที่เราไม่มีก็รู้สึกอยากมีบ้าง ผมชอบทั้งไม้ดอกและไม้ใบ แต่ที่บ้านส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ร่ม มีข้อจํากัดเรื่องแสง ไม้ใบจึงเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของที่นี่มากกว่า “ต้นที่ผมสะสมมีเฟิน ฟิโลเดนดรอน อโลคาเซีย และหน้าวัวใบ ที่นี่มีไม้ลูกผสมหลากหลาย ทําให้เราได้ต้นแปลกใหม่ไม่เหมือนที่อื่น หลายครั้งเราได้ต้นแปลกๆ จากการขยายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นการผสมเกสร เพาะเมล็ดพันธุ์ หรือเกิดจากสปอร์โดยไม่ได้ตั้งใจ นี่แหละคือสีสันของการเล่นต้นไม้ แต่หลังๆ มานี้ผมหันมาสะสมเฟินเป็นพิเศษ เนื่องจากวันหนึ่งมีเซียนต้นไม้ท่านหนึ่งเข้ามาถามผมว่านี่เป็นเฟินอะไร ทําไมเขาไม่มี ก็กลายเป็นจุดสนใจให้มีบรรดาเซียนต้นไม้แวะมาที่นี่บ่อยๆ “ถึงตอนนี้ก็ประมาณ 20 ปีแล้วที่ผมสะสมเฟินและไม้ใบ ความรู้ส่วนใหญ่ได้จากการลองผิดลองถูก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเฟินต้องเลี้ยงในที่ที่มีอากาศชื้นอย่างภาคเหนือ แต่ความจริงแล้วในกรุงเทพฯ ก็สามารถเลี้ยงได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่องแสงและการให้น้ําที่เหมาะสม […]
ปลูกบอนที่ไม่ใช่บอนสี อโลคาเซีย(Alocasia)และโคโลคาเซีย(Colocasia) ที่น่าสะสม
เพราะกระแสต้นไม้ใบยังคงฮอตฮิตและไม่จางหายไปจากความสนใจของใครหลายๆคนง่ายๆ บางชนิดราคาถูกลง เปิดโอกาสให้เหล่านักสะสมหน้าใหม่สามารถเริ่มหามาปลูกได้สบายกระเป๋า และหลายชนิดกำลังกลับมาเป็นที่นิยมและสนใจของเหล่านักสะสมไม้ใบในขณะนี้ รวมอโลคาเซีย (Alocasia) หรือที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยในชื่อบอนกระดาด แก้วหน้าม้า หรือ นางกวัก และโคโลคาเซีย (Colocasia) ได้แก่ เผือก หรือบอนแกง ซึ่งสำหรับใครที่พึ่งเคยได้ยินหรือไม่รู้จัก ลองมารู้จักต้นไม้กลุ่มบอนเหล่านี้ที่น่าสนใจกัน รู้จักอโลคาเซีย และ โคโลคาเซีย อโลคาเซียและโคโลคาเซียเป็นสกุลหนึ่งในวงศ์ ARACEAE จึงมีลักษณะที่คล้ายกับญาติในวงศ์ตัวอื่นๆอย่างบอนสี อโกลนีมา ฟิโลเดนดรอน หน้าวัวใบ ฯลฯ โดยเฉพาะรูปทรงของดอกและรูปร่างของใบ อโลคาเซียที่เรามักนำใช้ประโยชน์และพบเห็นได้ทั่วไป คือบอนกระดาดที่เรานิยมนำมาปลูกประดับในสวนสไตล์ทรอปิคัล นอกจากนั้นยังมีไม้กอขนาดย่อมๆที่เรานิยมนำมาปลูกในกระถางตั้งไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลอย่างนางกวัก แก้วหน้าม้า หรือแก้วสารพัดนึก ส่วนโคโลคาเซียจะนิยมปลูกไว้บริโภค มีว่านมเหศวรและว่านลิงค์ดำที่เป็นต้นไม้มงคลเช่นกัน อโลคาเซียและโคโลคาเซียเป็นต้นไม้ล้มลุกอายุหลายปี พบได้ในธรรมชาติแถบเอเชียและออสเตรเลีย มักขึ้นในป่าดิบชื้นหรือตามริมแหล่งน้ำ หลายชนิดจะเหลือเพียงเหง้าหรือกอเล็กๆในช่วงฤดูหนาว หลายคนเข้าใจผิดหรือแยกไม่ออกระหว่างต้นไม้ในสกุลอโลคาเซีย กับ โคโลคาเซีย (Colocasia) ได้แก่ เผือก บอนแกง บอนห้วย ฯลฯ ซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อ Alocasia ที่แปลว่า “ไม่ใช่โคโลคาเซีย” จุดสังเกตที่ชัดที่สุดของต้นไม้สองสกุลนี้คือลักษณะของหัว อโลคาเซียจะมีลำต้นอยู่ใต้ดินในลักษณะของเหง้ายาว มีลำต้นเหนือดินที่เกิดจากการซ้อนกันของกาบใบ […]